เลเซอร์สิว รักษาได้เร็ว หน้าใสไร้สิวทันใจ


รวมข้อมูลการเลเซอร์สิว

สิว เป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความกังวลใจให้กับใครหลายคน ในบางครั้งก็ทำให้ขาดความมั่นใจไปเลยทีเดียว เพราะทำให้ผิวหน้าแลดูหมองคล้ำ มีริ้วรอย รูขุมขนกว้าง ผิวหน้าไม่เนียนใส ซึ่งโดยทั่วไปสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทายา รับประทานยา การกดสิว แต่วิธีเหล่านี้ต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่าจะหาย ผิวหน้าที่ได้อาจไม่เรียบเนียน และยังมีคงเห็นรอยสิว

การเลเซอร์สิว จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่รวดเร็วกว่า มีส่วนช่วยให้ใบหน้าแลดูเรียบเนียนขึ้น และที่สำคัญคือมีความปลอดภัยสูง HDmall.co.th จึงได้รวบรวมข้อมูลการเลเซอร์สิวโดยละเอียด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาสิวที่มีประสิทธิภาพสูงมาฝากกัน


เลือกอ่านข้อมูเลเซอร์สิวได้ที่นี่

  • สิวคืออะไร?
  • สิวเกิดจากสาเหตุอะไร?
  • เลเซอร์สิวคืออะไร?
  • เลเซอร์สิวใช้กับสิวประเภทไหนได้บ้าง?
  • เลเซอร์สิวเหมาะกับใคร
  • ข้อดีของการเลเซอร์สิว
  • ข้อเสียของการเลเซอร์สิว
  • การเตรียมตัวก่อนเลเซอร์สิว
  • ขั้นตอนการเลเซอร์สิว
  • การดูแลตัวเองหลังเลเซอร์สิว
  • ผลข้างเคียงของเลเซอร์สิว
  • เลเซอร์สิวกี่วันหาย?

  • สิวคืออะไร?

    สิว (Acne Vulgaris) เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมัน การอุดตันของรากขน การอุดตันของเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วในรูขุมขน และการติดเชื้อแบคทีเรียพี-แอคเน่ (Propionibacterium Acnes: P. Acne) โดยทำให้ผิวหนังเกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งจะมีลักษณะอาการของสิวได้หลายรูปแบบ เช่น สิวชนิดที่ไม่อักเสบ ที่เกิดจากการอุดตันในรูขุมขน เช่น สิวหัวเปิด (Open Comedones) หรือสิวหัวดำ เป็นจุดสีดำที่ผิวหนัง สิวหัวปิด (Closed comedones) หรือสิวหัวขาว เป็นตุ่มเล็กๆ สีขาวที่ผิวหนัง

    อีกชนิดคือสิวชนิดที่อักเสบ ที่เกิดจากการอุดตันภายในรูขุมขน และมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย เช่น สิวอักเสบตุ่มแดง (Papules) เป็นสิวสีแดงขนาดเล็ก สิวหัวหนอง (Pustules) เป็นสิวที่ภายในมีหนอง สิวหัวช้าง (Nodulocystic Acne) เป็นสิวหลายหัวที่อยู่ติดกัน และสิวซิสต์ (Cysts) เป็นถุงน้ำขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง ภายในจะเป็นหนองหรือสารเหลวคล้ายเนย

    สิวเกิดจากสาเหตุอะไร?

    สิวเกิดได้จากปัจจัยหลากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

    • เกิดจากการอุดตันของรูขุมขน ที่เกิดจากต่อมไขมัน รากขน หรือเซลล์ผิวหนังที่ตาย
    • เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen Hormone) ของเพศชาย และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone Hormone) ในเพศหญิง
    • เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียพี-แอคเน่ (Propionibacterium Acnes: P. Acne)
    • เกิดจากกรรมพันธุ์ ผู้ที่มีพ่อและแม่เป็นสิวทั้งคู่ โอกาสที่จะเกิดสิวมีค่อนข้างสูง
    • เกิดจากฝุ่นละออง และมลภาวะต่างๆ เช่น อากาศหนาวเย็น อากาศที่มีความชื้นสูง และแสงแดด เป็นต้น
    • เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การใช้เครื่องสำอางบำรุงผิวหรือการแต่งหน้าที่มากเกินไป การล้างหน้าหรือล้างเครื่องสำอางไม่สะอาด การทำความสะอาดหน้าหรือการขัดถูผิวหน้าที่มากจนเกินไป การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตสูงและผลิตภัณฑ์จากนมวัวมากจนเกินไป ความเครียด และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ เป็นต้น
    • เกิดจากโรคบางชนิดที่ทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ เช่น โรคของต่อมหมวกไต โรคซีสต์ในรังไข่ รวมถึงภาวะการตั้งครรภ์
    • เกิดจากการใช้ยาบางประเภท เช่น สเตียรอยด์ (Steroid) ยาต้านโรคลมชัก (Antiepileptics) ยาต้านโรคจิต (Antipsychotics) เป็นต้น

    เลเซอร์สิวคืออะไร?

    เลเซอร์สิว (Acne Clear Laser) เป็นการบำบัดและรักษาสิวด้วยการใช้แสงเลเซอร์ เพื่อจัดการที่ต้นเหตุของสิว โดยทำลายสิ่งที่ทำให้เกิดการอุดตันที่รูขุมขน ทำให้ต่อมไขมันทำงานลดลง สิวยุบและแห้งลง และยังช่วยยับยั้งการเกิดสิวอุดตัน ลดการอักเสบและรอยแดงสิว ทำให้รูขุมขนกระชับ ผิวเรียบเนียน และจะต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

    เช็กราคาเลเซอร์สิว

    เลเซอร์สิวใช้กับสิวประเภทไหนได้บ้าง?

    เลเซอร์สิวที่แพทย์เลือกใช้ในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลากหลายประเภท จะแตกต่างกันไปตามสภาพผิวและลักษณะของสิว ดังนี้

    • แสงที่ตามองเห็น (Visible Light) เป็นการใช้เครื่องมือฉายแสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า วิธีนี้มักจะใช้สำหรับรักษาสิวทั่วไป โดยการรักษาสิวจะใช้แสงสีฟ้าที่มีความยาวคลื่น 470 นาโนเมตร มีคุณสมบัติในการรักษาสิว และแสงสีแดงที่มีคุณสมบัติในการกระตุ้นสร้างคอลลาเจนใต้ชั้นผิวหนัง ลดริ้วรอยบนใบหน้า กระชับรูขุมขน รวมไปถึงลดการอักเสบของผิวอีกด้วย ซึ่งมักจะฉายคู่กับแสงสีน้ำเงิน ส่องไปยังบริเวณที่เป็นสิวเพื่อช่วยทำให้สภาพผิวบริเวณนั้นแข็งแรงขึ้นและไม่มีรอยแผลเป็น
    • รังสีอินฟราเรด (Infrared) เป็นการรักษาสิวด้วยการฉายรังสีอินฟราเรด วิธีนี้ใช้สำหรับรักษาสิวทั่วไป ซึ่งรังสีอินฟราเรดเป็นรังสีความร้อน โดยจะเข้าไปกระตุ้นและเร่งการผลิตอะดิโนซินไตรฟอสเฟต (Adenosine Triphosphate: ATP) ให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรียพี-แอคเน่ ในรูขุมขน ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดสิว กระตุ้นให้มีการผลิตคอลลาเจน และอีลาสติน (Elastin) ทำให้สภาพผิวในบริเวณนั้นดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยรักษารอยแผลได้เป็นอย่างดี
    • เลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2 Laser) เป็นการใช้แสงเลเซอร์ที่มีความยาวคลื่น 10,600 นาโนเมตร วิธีนี้เหมาะกับการใช้รักษาสิวหิน สิวข้าวสาร สิวอุดตันที่มีจำนวนมากและสะสมมานาน อีกทั้งยังสามารถช่วยลดการเกิดสิวใหม่ได้ด้วย โดยเข้าไปช่วยเปิดหัวสิวที่อุดตันในรูขุมขน ทำให้สามารถกดสิวอุดตันออกมาได้ง่าย ไม่ทำให้เกิดการอักเสบเหมือนการกดสิวแบบทั่วไป เป็นการแก้ปัญหาสิวอุดตันได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลทันที
    • การบำบัดแบบโฟโตนิวเมติก (Photopneumatic Therapy) เป็นการยิงแสงเลเซอร์จำนวนมาก วิธีนี้จะใช้รักษาสิวทั่วไป สิวหัวดำ และสิวหัวขาว โดยจะยิงไปยังผิวหนังบริเวณที่เป็นสิวเพื่อเปิดหัวสิว ก่อนที่กดบีบสิวเพื่อขับของเหลวข้างในออกมา และทำให้สิวยุบลง
    • เลเซอร์เพาซ์ดายด์ (Pulsed Dye Laser: PDL) หรือ V-Beam Laser เป็นเลเซอร์ มีความยาวคลื่นแสงที่ 595 นาโนเมตร วิธีนี้ช่วยรักษาสิวอักเสบได้ดี เพราะเลเซอร์ชนิดนี้นอกจากใช้ในการดูแลรักษาปัญหาเส้นเลือดฝอยบนใบหน้า ลดรอยแดงจากสิวได้แล้ว ยังสามารถช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียพี-แอคเน่ และลดการทำงานของต่อมไขมัน กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ให้ชั้นผิวด้วย ทำให้รู้ขุมขนเล็กลง ผิวเรียบเนียน

    เลเซอร์สิวเหมาะกับใคร?

    ผู้ที่เหมาะกับการเลเซอร์สิว อาจมีดังต่อไปนี้

    • ผู้ที่มีปัญหาสิวเรื้อรัง
    • ผู้ที่มีปัญหาสิวอักเสบ สิวอุดตัน หรือสิวชนิดต่างๆ
    • ผู้ที่มีปัญหารอยดำ รอยแดงจากสิว
    • ผู้ที่มีปัญหาผิวหน้ามัน และรูขุมขนกว้าง

    อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาแพทย์ถึงประเภทเลเซอร์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวของแต่ละคนก่อนรับบริการ

    ข้อดีของการเลเซอร์สิว

    • สิวอุดตัน และสิวอักเสบ
    • ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว ทำให้การเกิดสิวลดลง
    • สิวหายเร็วหายเร็วกว่าวิธีอื่น
    • ช่วยทำให้รูขุมขนกระชับขึ้น
    • รอยแดงจากสิวจางลง
    • ช่วยทำให้ผิวซึมซับครีมบำรุงได้ดีขึ้น
    • ช่วยลดความมันบนใบหน้าลง
    • เป็นการรักษาที่ตรงจุด และมีความแม่นยำมาก
    • มีความปลอดภัยสูง
    • ไม่รู้สึกเจ็บขณะทำเลเซอร์ หรือเจ็บน้อยกว่าการกดสิว
    • ไม่ต้องพักฟื้น
    • สามารถทำได้กับทุกสภาพผิว
    เช็กราคาเลเซอร์สิว

    ข้อเสียของการเลเซอร์สิว

    • ผลลัพธ์ที่ได้หลังทำเลเซอร์สิวของผู้ที่รับบริการไม่เหมือนกัน ซึ่งจะให้ผลที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาพผิวและการอักเสบที่รุนแรงของแต่ละชนิดสิว
    • ไม่สามารถรักษาสิวให้หายขาดเลยได้เพียงแค่ทำครั้งเดียว ควรต้องรักษาหลายครั้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี
    • มีราคาจะค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องทำการเลเซอร์สิวหลายครั้ง

    การเตรียมตัวก่อนเลเซอร์สิว

    เบื้องต้นควรตรวจเช็กสภาพผิวและปรึกษาแพทย์ เพื่อวางแผนการรักษา ควรทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เนื่องจากผู้ที่รับบริการแต่ละคนมีสภาพผิวที่ไม่เหมือนกัน และเพื่อผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ การเตรียมความพร้อมของร่างกายและสภาพผิวหน้าเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ซึ่งควรเตรียมตัวก่อนเลเซอร์สิว ดังนี้

    • ทำความสะอาดร่างกาย และงดใช้เครื่องสำอางทุกชนิด ในวันที่มาทำเลเซอร์
    • หลีกเลี่ยงแสงแดดก่อนทำเลเซอร์อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
    • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ผิวหน้าต้องสัมผัสกับความร้อน เช่น การอบผิว การแช่น้ำพุร้อน หรือการอยู่หน้าเตาเป็นเวลานาน ประมาณ 1-2 สัปดาห์
    • หลีกเลี่ยงการทดลองเครื่องสำอางที่เป็นผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่ก่อให้เกิดการแพ้ สำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย ประมาณ 2-4 สัปดาห์
    • หลีกเลี่ยงการกด บีบ แกะสิว ก่อนทำเลเซอร์ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพราะอาจทำให้ผิวระคายเคืองหรืออักเสบได้
    • หมั่นทาครีมกันแดดเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ก่อนทำเลเซอร์อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
    • งดใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือเครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของกลุ่ม Hydroxy Acids กลุ่ม Benzoyl Peroxide และกลุ่ม Retinol เป็นต้น เพราะอาจทำให้มีสภาพผิวหนังบอบบางและอักเสบได้ ประมาณ 2-4 สัปดาห์
    • งดยาสำหรับใช้รักษาสิวและลดความมันบนใบหน้า เช่น ไอโซเตรทติโนอิน (Isotretinoin) อย่างน้อย 6 เดือน
    • งดยากลุ่มละลายลิ่มเลือด เช่น Aspirin Warfarin Heparin ก่อนการรักษาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อป้องกันเลือดออกและช้ำง่าย แต่ควรปรึกษาแพทย์ที่รักษาโรคประจําตัวด้วย
    • งดยากลุ่มวิตามินหรือสมุนไพรต่างๆ อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันเลือดออกง่ายและลดบวมช้ำ
    • งดขัดผิวก่อนทำเลเซอร์ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ เพราะอาจทำให้สภาพผิวบอบบางกว่าเดิมได้
    • ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง เพราะยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงต่อการรักษาด้วยเลเซอร์

    ขั้นตอนการเลเซอร์สิว

    การทำเลเซอร์สิวจะมีขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในการทำแตกต่างกันไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการอักเสบของสิวและปัญหาผิวของผู้รับบริการว่ามีมากน้อยแค่ไหน รวมไปถึงประเภทของเลเซอร์และประสิทธิภาพของเครื่องที่แพทย์เลือกใช้ ซึ่งโดยทั่วไป การเลเซอร์สิวมีขั้นตอนดังนี้

    1. เจ้าหน้าที่ทำความสะอาดผิวหน้า เอาผ้ามาเก็บผม และปิดตาให้ผู้ที่รับบริการ เพื่อป้องกันแสงเลเซอร์เข้าตาก่อนทำ
    2. ใช้เจลเย็นทาบนใบหน้า เพื่อให้รู้สึกสบายและไม่ร้อนขณะทำ
    3. ในบางกรณีที่ใช้วิธีรักษาด้วยเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2 Laser) ก่อนทำจะทายาชาบนหัวสิวก่อนประมาณ 45 นาที เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายและไม่เจ็บระหว่างทำ
    4. แพทย์ยิงเลเซอร์ไปยังหัวสิว ลำแสงจากเลเซอร์จะทำให้ ผิวหนังที่หุ้มหัวสิวอยู่เกิดเป็นรูเล็กๆ เพื่อจะกดเอาก้อนไขมันที่อยู่ข้างใต้ออกมาโดยใช้อุปกรณ์กดสิว โดยขั้นตอนการยิงเลเซอร์จะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที (เครื่องเลเซอร์บางประเภท ระหว่างทำจะมีการเป่าลมเย็น เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวไหม้จากความร้อน)
    5. เจ้าหน้าจะทำความสะอาดผิวหน้า และอาจมีการทายาหรือครีมลดการระคายเคืองของผิวร่วมด้วย
    6. แพทย์ให้คำแนะนำการดูแลตัวเองหลังทำเลเซอร์

    การดูแลตัวเองหลังเลเซอร์สิว

    หลังจากการรักษาด้วยเลเซอร์สิวแล้ว สภาพผิวหน้าจะอ่อนแอและบอบบาง ทำให้ผิวสัมผัสแสงได้ไวมากกว่าเดิม โดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรก จึงควรดูแลผิวเป็นพิเศษตามคำแนะนำของแพทย์ เนื่องจากปัญหาผิวหน้าของผู้ที่รับบริการแต่ละคนไม่เหมือนกัน และเพื่อที่จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ควรทำดังนี้

    • งดล้างหน้าหรือระวังไม่ให้หน้าโดนน้ำหลังทำเลเซอร์ภายใน 24 ชั่วโมง
    • งดขัดผิวหลังทำเลเซอร์ ประมาณ 1-2 อาทิตย์ เพราะอาจทำให้สภาพผิวบอบบางกว่าเดิมได้
    • ควรทำความสะอาดผิวหน้าอย่างอ่อนโยน โดยใช้น้ำเกลือ​ก็จะช่วยทำให้ผิวฟื้นตัวได้เร็วขึ้น หลังทำเลเซอร์ครบ 24 ชั่วโมงไปแล้ว
    • ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 PA++ ขึ้นไปเป็นประจำทุกวัน
    • ทาครีมบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอยู่เสมอ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำให้ผิวแพ้ง่ายและเกิดการอุดตัน
    • หลีกเลี่ยงแสงแดดหลังทำเลเซอร์อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์
    • หลีกเลี่ยงการแกะเกา หรือสัมผัสผิวหน้าบริเวณที่ทำเลเซอร์จนกว่าจะหาย
    • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว หรือเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกลุ่ม Hydroxy Acids กลุ่ม Benzoyl Peroxide และกลุ่ม Retinol ในช่วงหลังทำการเลเซอร์ไปก่อน ตามคำแนะนำของแพทย์
    • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพผิว และดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 1.5-2 ลิตร ในแต่ละวัน
    เช็กราคาเลเซอร์สิว

    ผลข้างเคียงของเลเซอร์สิว

    • หลังจากการทำเลเซอร์สิวแล้ว ผู้ที่รับบริการมักจะมีอาการข้างเคียงที่ไม่ค่อยรุนแรง เช่น ผิวหนังแดง บวม แสบ ซึ่งอาการเหล่านี้มักหายไปเองในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง หรือภายใน 1 วัน หลังการเลเซอร์สิว
    • ในบางรายอาจได้รับผลข้างเคียงระยะยาว มีสภาพผิวที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นสีเข้มขึ้นหรืออ่อนลง เนื่องจากผิวจะเกิดการสูญเสีย​น้ำหลังทำ จึงทำให้ไวต่อแสงมากขึ้น หากถูกแสงแดดจะเกิดการรอยคล้ำหรืออาจไหม้ได้ และจะทำให้แผลหายช้า เกิดการระคายเคือง ผิวจะแห้ง และอาจเกิดแผลเป็นได้
    • ในกรณีที่ทำการเลเซอร์คาร์บอนไดออกไซด์ (Co2 Laser) เพื่อรักษาสิวอุดตันที่สะสมมานานจากการเปิดหัวสิว หลังจากที่ทำแล้วผิวบริเวณที่โดนเลเซอร์จะเกิดแผลเล็กน้อย และจะตกสะเก็ดประมาณ 1 สัปดาห์ ก็จะค่อยหลุดลอกออกไปเอง

    เลเซอร์สิวกี่วันหาย?

    ในบางกรณี การเลเซอร์สิวสามารถเห็นผลได้ทันทีในครั้งเดียว แต่หากสิวมีการอักเสบที่รุนแรงหรือมีสิวเป็นจำนวนมาก อาจมีการทำเลเซอร์มากกว่า 1 ครั้ง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ หรือจะต้องทำอย่างต่อเนื่อง 3-5 ครั้ง ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และอาจใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน

    หากต้องการมีผิวพรรณที่สดใส มีใบหน้าที่ไร้สิว นอกจากเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนเพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำแล้ว เลเซอร์สิว เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ต้องการผลลัพธ์รวดเร็ว และปลอดภัย

    เช็กราคาเลเซอร์สิว จากคลินิกและโรงพยาบาลต่างๆ พร้อมบริการเช็กคิวทำนัดให้ฟรี โดยแอดมินของ HDmall.co.th


    บทความที่เกี่ยวข้อง


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • LASERS AND LIGHTS: HOW WELL DO THEY TREAT ACNE?, (https://www.aad.org/public/diseases/acne/derm-treat/lasers-lights).
    • Lasers and light therapy for acne vulgaris, (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16092799/), 2005 Jun, 24.
    • ร.ศ. ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์, หน่วยคลังข้อมูลยา, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน สิว...สาเหตุจากยา, (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/592/สิวสาเหตุจากยา/).
    • รศ.พญ.รังสิมา วณิชภักดีเดชา, ศูนย์เลเซอร์ผิวหนังและศัลยกรรมผิวหนัง, ภาควิชาตจวิทยา, Faculty of Medicine Siriraj Hospitel, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, เรียนรู้...การดูแลผิว หลังทำเลเซอร์, (https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1011), 21 สิงหาคม 2560.
    • พ.ญ.จังคนิภา วิทยานุภาพยืนยง, สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ, วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, การศึกษาผลการรักษาสิว ด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ Phyto-C, (http://libdoc.dpu.ac.th/thesis/Jungkanipa.Wit.pdf), 2560.
    • Debra Jaliman, MD, Do I Need Phototherapy for Acne?, (https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/acne/phototherapy-for-acne#:~:text=One%20way%20to%20kill%20bacteria,makes%20less%20pore%2Dclogging%20oil), September 10, 2020.
    @‌hdcoth line chat