รายละเอียด
ทำไมคนอื่นซื้อแพ็กเกจนี้?
🌸 ดูแลสุขภาพของคุณตั้งแต่วันนี้! คุณรู้หรือไม่ว่าโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อสุขภาพ? การตรวจคัดกรองและฉีดวัคซีน HPV เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคนี้ได้!
🏥 แพ็กเกจตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี ThinPrep พร้อมฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ 2 เข็ม สำหรับเด็กอายุ 9-14 ปี ที่ โรงพยาบาลบางปะกอก 8 เป็นบริการที่ออกแบบมาเพื่อตรวจสอบสุขภาพและป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
💡 ทำไมต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก?
- มะเร็งปากมดลูกมีอัตราการเกิดสูงในผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
- การตรวจคัดกรองช่วยระบุความเสี่ยงและเตรียมความพร้อมสำหรับการรักษาในอนาคต
🛡️ บริการรวม:
- การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี ThinPrep
- การฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ 2 เข็ม
อย่ารอช้า! การตรวจคัดกรองเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการดูแลสุขภาพของคุณเอง หากคุณมีข้อสงสัยหรือเตรียมตัวเพื่อรับบริการ จองบริการ กับเราได้ง่ายๆ ผ่าน HDmall.co.th เพื่อปกป้องสุขภาพของคุณและคนที่คุณรัก 🌟
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี ThinPrep
- ค่าฉีดวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ 2 เข็ม สำหรับเด็กอายุ 9-14 ปี
สิ่งที่ต้องจ่ายเพิ่ม
- ค่าแพทย์ ราคาอยู่ในช่วง 300-500 บาท ต่อครั้ง (จำเป็นต้องพบเฉพาะเข็มแรก)
- ค่าบริการโรงพยาบาล ราคาครั้งละ 150 บาท
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 10 นาที ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของผู้รับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ระยะเวลารอผลการตรวจประมาณ 7-14 วัน พยาบาลจะโทรแจ้งผล หรือส่งผลทาง LINE
- ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9-14 ปี (ฉีดได้ทั้งชายและหญิง)
- วัคซีนจะได้ผลดีเมื่อผู้รับบริการไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
- ฉีดวัคซีนเข็มที่สอง ฉีดหลังจากเข็มแรก 6-12 เดือน
- ชาวต่างชาติสามารถรับบริการได้ โดยใช้พาสปอร์ตยืนยันตัวตน
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ห้ามใช้ยาเหน็บช่องคลอด ครีม หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิในช่องคลอด รวมถึงห้ามมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 48 ชั่วโมง
- ต้องไม่มีการตรวจภายในมาก่อนในช่วง 24 ชั่วโมง
- ห้ามสวนล้างช่องคลอดก่อนการตรวจ
- ควรสวมเสื้อผ้าหลวมๆ สบายตัว เพื่อความสะดวกในการตรวจ ซึ่งควรเป็นเสื้อผ้าที่เป็นชุดคนละท่อน
- หลีกเลี่ยงการตรวจช่วงที่มีประจำเดือน ควรตรวจก่อนและหลังประจำเดือนหมดอย่างน้อย 7 วัน
- ผู้ที่มีอาการป่วย ติดเชื้อ หรือตั้งครรภ์ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน
การดูแลหลังรับบริการ
- ควรนั่งพักหลังรับวัคซีนประมาณ 15 นาที เพื่อป้องกันอาการหน้ามืด เป็นลม และคอยสังเกตอาการ หากมีความผิดปกติใดๆ เช่น เป็นผื่น แน่นหน้าอก ต้องรีบแจ้งแพทย์ทันที
- หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนัก ประมาณ 1-2 วัน
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
ข้อห้ามสำหรับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
- ผู้ที่มีประจำเดือน ควรตรวจหลังประจำเดือนหมดประมาณ 7 วัน
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก
- ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
- ผู้หญิงที่มีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน
- ผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน (โดยเฉพาะหากนานกว่า 5 ปีเพราะมีความเสี่ยงสูง)
- ผู้หญิงที่มีผ่านการตั้งครรภ์และคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง
- ผู้หญิงที่มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม เป็นต้น
- ผู้หญิงที่สูบบุหรี่
- ผู้หญิงที่ขาดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
- ผู้หญิงที่ขาดสารอาหารบางชนิด โดยเฉพาะผู้ที่รับประทานผักและผลไม้น้อย
ข้อควรรู้ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
- วัคซีนจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่มีอยู่ในวัคซีนที่เลือกฉีด ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคได้ แต่ไม่ได้ป้องกันการเกิดโรค 100% หลังฉีดจึงยังควรตรวจภายใน และดูแลสุขอนามัยทางเพศตามปกติ
- ช่วงอายุที่สามารถฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV อยู่ระหว่าง 9-45 ปี แต่แนะนำให้ฉีดก่อนอายุ 26 ปี หรือยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน
- เนื่องจากตัวยามีความเข้มข้น ขณะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อและเดินยาจึงทำให้ปวดได้
ข้อห้ามสำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
- ผู้ที่ภาวะภูมิไวเกิน (Hypersensitivity) ต่อสารประกอบในวัคซีน
- ผู้ที่มีอาการป่วย ติดเชื้อ ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่าจะหาย
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- อาการบวมหรือแดงบริเวณที่ฉีดวัคซีน
- มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย
- ปวดกล้ามเนื้อ
- อาการหน้ามืด เป็นลม
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
การตรวจ ThinPrep เป็นเทคนิคหนึ่งของการตรวจ Pap Smear ผู้รับการตรวจต้องขึ้นขาหยั่งเหมือนเวลาตรวจภายในเหมือนกัน แต่ ThinPrep Pap Test ต่างจากการตรวจแบบดั้งเดิมที่ตัวอย่างเนื้อเยื่อที่เก็บมาจะถูกนำไปใส่ในของเหลว จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้เซลล์ที่ไม่มีสิ่งเจือปนอย่างมูกหรือเลือด ทำให้สามารถตรวจเห็นเซลล์ได้ชัดเจนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ในขณะการตรวจแบบดั้งเดิมจะนำตัวอย่างเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ได้ป้ายลงบนแผ่นกระจก หลังจากนั้นนำไปย้อมสีและตรวจด้วยกล้องขยาย เพื่อตรวจดูความผิดปกติ
อันตรายของมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นโรคที่มีความอันตรายสูง เนื่องจากทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ป่วยได้ อันตรายของโรคมะเร็งปากมดลูกประกอบด้วย
-⠀เนื้องอกกระจายไว: เนื้องอกจากมะเร็งปากมดลูกสามารถกระจายและขยายไปหลายจุด ซึ่งอาจกระทบถึงอวัยวะอื่นๆ ในระบบทางเดินเพศภายในหรือภายนอก ทำให้เกิดการลุกลามและการแพร่กระจายของเนื้องอกไปยังส่วนอื่นของร่างกาย เช่น รังมดลูก ลำไส้ ตับ หรือปอด
-⠀อุดตันอวัยวะภายใน: เนื้องอกจากมะเร็งปากมดลูกที่ขยายเต็มพื้นที่สามารถอุดตันทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร หรือช่องคลอด ทำให้เกิดอาการปวด ท้อง ปัสสาวะน้อยลง อุจจาระที่ผิดปกติ หรือมีอาการบวมในบางจุด
-⠀มีปัญหาต่อระบบภูมิคุ้มกัน: มะเร็งปากมดลูกอาจกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายรับมือต่อการติดเชื้อและโรคภัยได้ยากขึ้น อาจเกิดการติดเชื้อร้ายแรงและภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายขึ้น
-⠀ผลกระทบทางจิตใจ: หากพบว่าป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกโดยเฉพาะระยะหลัง อาจมีผลกระทบทางจิตใจและอารมณ์ของผู้ป่วยได้ เช่น ความกังวล ซึมเศร้า ความหงุดหงิด และความสับสนทางอารมณ์ ต่างจากการตรวจคัดกรองพบในระยะแรก
สำหรับคนที่มีอาการผิดปกติหรือความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกสูง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อโรคมะเร็งปากมดลูก ส่วนคนที่กังวลว่าตนจะมีความเสี่ยง ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยปีละครั้ง
สิ่งที่สามารถพบได้จากการตรวจ ThinPrep
- เซลล์ที่มีความผิดปกติ หรือเปลี่ยนแปลงไปเป็นระยะก่อนเป็นมะเร็ง
- การอักเสบ ซื่งอาจจะสามารถบอกได้ว่าเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา หรือพยาธิบางชนิด
- ความผิดปกติจากการติดเชื้อ HPV
ควรตรวจ ThinPrep เมื่อไหร่?
แนะนำให้ผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์แล้ว ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกปี ปีละ 1 ครั้ง หรืออาจเปลี่ยนเป็นตรวจทุก 3 ปีได้ แล้วแต่ประวัติผลการตรวจและความเสี่ยงในแต่ละคน สามารถรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากแพทย์ที่ทำการตรวจ
หมายเหตุ
- การตรวจแปปสเมียร์เป็นการตรวจคัดกรองเท่านั้น หากตรวจพบเซลล์ผิดปกติไม่ได้หมายความว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก และจำเป็นต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งหรือไม่
เชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus: HPV) เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โดยประมาณ 99.7% ของผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HPV
เชื้อ HPV มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ สามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือปาก รวมถึงการสัมผัสเชื้อทางบาดแผลตามร่างกาย และการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกในขณะคลอด
ไม่ใช่เพียงผู้หญิงเท่านั้นที่สามารถติดเชื้อ HPV ผู้ชายก็สามารถติดได้เช่นกัน และทำให้เกิดโรคร้ายแรงตามมา คือ
- สำหรับผู้หญิง เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่ช่องคลอด ปากช่องคลอด ทวารหนัก มะเร็งบริเวณปาก และลำคอ หูดหงอนไก่ ทั้งยังเชื่อมโยงกับการเกิดโรคหัวใจด้วย
- สำหรับผู้ชาย เป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศ ทวารหนัก มะเร็งบริเวณปาก และลำคอ หูดหงอนไก่
ปัจจุบันพบว่า มีเชื้อเอชพีวีอย่างน้อย 15 สายพันธุ์ ที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ โดยสายพันธุ์ที่ถือว่า มีความเสี่ยงสูงในการก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกคือ สายพันธุ์ 16 และ 18
วัคซีน HPV มีกี่ชนิด แตกต่างกันอย่างไร
- วัคซีน 2 สายพันธุ์ (Cervarix) ป้องกันเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ลดโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70%
- วัคซีน 4 สายพันธุ์ (Gardasil) ป้องกันทั้งเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16, 18 และสายพันธุ์ 6, 11 ที่เป็นสาเหตุของโรคหูดหงอนไก่ ลดโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 70% และป้องกันหูดหงอนไก่ได้ประมาณ 90%
- วัคซีน 9 สายพันธุ์ (Gardasil 9) ป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ลดโอกาสการเกิดมะเร็งได้ถึง 90%
แพ็กเกจนี้เป็นวัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์
กำหนดฉีดวัคซีน
อายุ 9-14 ปี ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อแบบ 2 เข็ม
- ฉีดเข็มแรกทันที
- ฉีดเข็มที่ 2 นับจากเข็มแรก 6-12 เดือน
อายุ 15 ปีขึ้นไป ฉีดวัคซีนเข้ากล้ามเนื้อ 3 เข็ม - ฉีดเข็มแรกทันที
- ฉีดเข็มที่ 2 นับจากเข็มแรก 2 เดือน
- ฉีดเข็มที่ 3 นับจากเข็มแรก 6 เดือน
จำเป็นต้องตรวจร่างกายก่อนฉีดวัคซีน HPV หรือไม่?
ไม่จำเป็นต้องตรวจร่างกาย ตรวจภายใน หรือตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนฉีดวัคซีน แต่หากต้องการตรวจเพื่อจะได้ทราบว่ามีการติดเชื้ออยู่แล้วหรือไม่ ก็สามารถทำได้ แต่การตรวจในปัจจุบันบอกได้เพียงว่าติดเชื้อ HPV ที่มีความเสี่ยงสูงหรือไม่ ยังไม่ได้บ่งชี้ว่าติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ใด
หลังจากฉีดวัคซีนยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือไม่?
หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอยู่ เนื่องจากวัคซีนครอบคลุมการป้องกันเชื้อ HPV แค่บางสายพันธุ์เท่านั้น โอกาสที่จะติดเชื้อสายพันธุ์อื่นที่ก่อให้เกิดมะเร็งยังมีอยู่
หากตรวจพบการติดเชื้อ HPV ยังสามารถฉีดวัคซีนป้องกันได้หรือไม่?
หากตรวจพบการติดเชื้อ HPV แล้ว ยังสามารถฉีดวัคซีนได้ แต่วัคซีนนั้นจะป้องกันเฉพาะเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ยังไม่ติดเท่านั้น และวัคซีนไม่สามารถรักษาหรือทำลายเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่ตรวจพบแล้วได้
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่ให้บริการ ตรวจมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นกันเยอะ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลบางปะกอก 8 ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 1-3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ (คูปองมีอายุ 60 วัน)
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลบางปะกอก 8 อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th