รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียดราคา คัดกรองโรคเบาหวาน
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน 20 รายการ โปรแกรมรู้ทันโรคเบาหวาน B2 มีรายการตรวจดังนี้
- ตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์ (Physical Examination)
- ตรวจสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์ (General Eye Examination)
- ตรวจกระจกตาด้วย (Cornea Slit Lamp)
- ตรวจคัดกรองตาบอดสี (Detection for Color Blindness)
- ตรวจระดับการมองเห็น (Visual Acuity Test)
- ตรวจความดันตา (Introcular Pressure Measurement Exam)
- ตรวจจอประสาทตา (Fundus Camara: DFP)
- ตรวจวัดดัชนีมวลกาย (BMI)
- ตรวจประเมินเท้าเบาหวาน (Diabetic Food Examination)
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count)
- ตรวจปัสสาวะสมบูรณ์แบบ (Urine Analysis)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
- ตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C)
- ตรวจการทำงานของไต (Creatinine+eGFR)
- ตรวจระดับเอนไซม์ตับ (ALT) SGPT
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (Cholesterol, Triglyceride, HDL, LDL)
- ตรวจหาโปรตีนรั่วในปัสสาวะ (Microalbumin, Urine)
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
- ตรวจเอกซเรย์ปอด (Chest X-Ray)
- ปรึกษาโภชนาการ โดยนักโภชนาการ (Nutritional Consultation)
- ค่าแพทย์
- ค่าบริการโรงพยาบาล
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ คัดกรองโรคเบาหวาน
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1-2 ชั่วโมง
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ระยะเวลารอผลการตรวจประมาณ 2-3 ชั่วโมง แพทย์จะแจ้งผลให้ทราบ
- ควรงดน้ำและอาหารก่อนเข้ารับบริการอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง (สามารถจิบน้ำเปล่าได้)
- การ Check up หรือตรวจสุขภาพ ทำในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติ หากมีอาการผิดปกติ ควรต้องพบแพทย์ก่อน
- ชาวต่างชาติสามารถรับบริการได้ โดยใช้พาสปอร์ตยืนยันตัวตน
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการคัดกรองโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เกิดจากฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายทำงานผิดปกติ โดยหน้าที่ของอินซูลินคือการนำน้ำตาลกลูโคสไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เมื่ออินซูลินทำงานผิดปกติทำให้ปริมาณน้ำตาลคงเหลือในกระแสเลือดมากกว่าปกติ ส่งผลเสียต่อระบบในร่างกาย ทำให้เกิดโรคเบาหวานและเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงตามมาในที่สุด
โรคเบาหวานที่พบได้ทั่วไป
- เบาหวานชนิดที่ 1 หรือชนิดพึ่งอินซูลิน เกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายเซลล์สร้างอินซูลินในตับอ่อน จึงต้องรับยาอินซูลินเพื่อรักษา
- เบาหวานชนิดที่ 2 หรือชนิดไม่พึ่งอินซูลิน เกิดจากภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอหรือไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
- เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอซึ่งอาจพบได้ในทุกระยะการตั้งครรภ์ แม้จะหายไปได้หลังคลอดแต่ก็มีโอกาสเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคต
อาการของโรคเบาหวานเบื้องต้น
- ปัสสาวะมากและบ่อยขึ้น หิวน้ำมากขึ้น
- น้ำหนักลดผิดปกติ ประมาณ 5-10 กิโลกรัมภายใน 2-3 เดือน
- หิวบ่อย กินจุ แต่น้ำหนักลดลง
- คันตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณอวัยวะเพศ
- อ่อนเพลีย
- ตาพร่ามัว
- ติดเชื้อบ่อยๆ
- เป็นแผลแล้วรักษายาก
การตรวจโรคเบาหวาน มีวิธีอย่างไร?
ปัจจุบันสามารถตวรจโรคเบาหวานได้ด้วยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ส่วนใหญ่มักใช้วิธีดังนี้
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (Fasting Plasma Glucose: FPG) บอกระดับน้ำตาลกลูโคสในเวลาที่เจาะเลือด ต้องงดอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แต่สามารถจิบน้ำเปล่าได้ ผลจะแม่นยำที่สุดเมื่องดอาหารตอนกลางคืนและตรวจเลือดตอนเช้า
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (Hemoglobin A1C: HbA1C) บอกระดับน้ำตาลกลูโคสเฉลี่ยในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร มักตรวจร่วมกับ FPG เพื่อความแม่นยำ
- ตรวจระดับน้ำตาลที่เวลาใดๆ (Random Plasma Glucose: RPG) ตรวจได้ทุกเวลาที่ต้องการ แพทย์อาจพิจารณาตรวจวิธีนี้เพื่อวินิจฉัยโรคหากพบอาการของโรคเบาหวานและไม่ต้องการรองดอาหาร
*รายการตรวจอาจแตกต่างออกไป ขึ้นอยู่กับแพ็กเกจที่คุณเลือก
อันตรายของโรคเบาหวาน
โรคเบาหวานถือเป็นโรคเรื้อรังที่มีความอันตรายสูง เนื่องจากสามารถกระทบต่อระบบอวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้ หากไม่รักษาหรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเหมาะสม
โรคเบาหวานทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ หลอดเลือด ไต สายตา ระบบประสาท และเท้า ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ เช่น
- โรคหัวใจและหลอดเลือด: เบาหวานเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดหรือหลอดเลือดหัวใจตีบ
- โรคไต: เบาหวานทำให้เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการนัดเวลาทำเครื่องไตเทียม (ไตของเลือด)
- การพิการสายตา: เบาหวานสามารถทำให้เกิดโรคตาเบาหวาน ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุให้เกิดความเป็นเส้นใยในส่วนด้านหน้าของตา รวมถึงสามารถทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้ในระยะยาว
- ปัญหาทางประสาท: เบาหวานสามารถทำให้เกิดภาวะนิ่วทางประสาท (neuropathy) ซึ่งทำให้เกิดอาการชาตามเส้นประสาท อาการปวดเมื่อย ล้า หรือชาตามแขน ขา หรือส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
- แผลที่เท้า: เบาหวานสามารถทำให้เกิดภาวะแผลที่เท้าได้ ซึ่งอาจเสียชีวิตหรือต้องตัดขาเพื่อรักษาในกรณีรุนแรง
นอกจากนี้ โรคเบาหวานยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองอัมพาต โรคเกาต์ และมะเร็งบางชนิด
โรงพยาบาลและคลินิกอื่นที่มีบริการ ตรวจเบาหวาน ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลบางปะกอก 8 ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลบางปะกอก 8 อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th