การฝังแท่งคุมกำเนิด จะใช้หลอดยายาวประมาณ 3 ซม. ซึ่งบรรจุฮอร์โมนกลุ่มโปรเจสติน มาฝังไว้บริเวณท้องแขน ช่วยคุมกำเนิดได้นาน 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของยา
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียดราคา ฝังยาคุม
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าฝังยาคุมกำเนิดชนิด 3 ปี สำหรับผู้หญิง
- ค่าแพทย์
- ค่าเวชภัณฑ์
- ค่าบริการพยาบาล
- ค่าบริการโรงพยาบาล
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ฝังยาคุม
- แพ็กเกจนี้สำหรับคนไทยเท่านั้น
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30 นาที
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- กรณีซื้อผ่าน HDmall.co.th ในวันที่เข้ารับบริการลูกค้าจะได้ใบแจ้งหนี้ (Invoice) เท่านั้นไม่สามารถออกใบเสร็จได้
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ควรทำภายใน 5 วันแรก หลังมีประจำเดือน เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
- หากมีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาชนิดใดเป็นประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
การดูแลหลังรับบริการ
- หลังฝังแท่งคุมกำเนิดครบ 24 ชั่วโมง สามารถนำผ้าพันแผลออกเองได้ โดยใช้พลาสเตอร์ปิดแผลไว้ 3-5 วัน
- ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำเป็นเวลา 7 วัน
- ควรงดมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 7 วันแรก หรือให้ใช้ถุงยางอนามัยคุมกำเนิดไปก่อน
- ห้ามยกของหรือออกกำลังกายหนัก และระมัดระวังไม่ให้เกิดการกระทบกระแทกบริเวณที่ฝังยาคุมกำเนิด
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการคล้ายตั้งครรภ์ แผลมีเลือด มีน้ำเหลือง มีหนอง บวมแดง ฯลฯ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- หลังฝังแท่งคุมกำเนิด ควรระมัดระวังในการใช้ยา เพราะยาบางชนิดมีผลต่อแท่งคุมกำเนิด เช่น ยารักษาโรคเอดส์ (HIV) ยารักษาโรคลมชัก (Epilepsy) รวมทั้งยาปฏิชีวนะบางชนิด ดังนั้นก่อนใช้ยาชนิดใด ควรปรึกษาเภสัชกรหรือแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
- การฝังแท่งคุมกำเนิด จะต้องงดใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อแท่งคุมกำเนิด ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ เช่น ยาไรฟาบิวติน (Rifabutin) หรือยาไรแฟมพิซิน (Rifampicin) ยารักษาโรคเอดส์ (HIV) ยารักษาโรคลมชัก (Epilepsy) แต่หากจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้ช่วงระยะสั้น ควรใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นเพิ่มเติม ในระหว่างหรือหลังจาก 28 วันที่ใช้ยาข้างต้น แต่หากต้องใช้ยาเหล่านี้ในระยะยาว ควรเลือกวิธีการคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นๆ แทนการฝังแท่งคุมกำเนิด
- ขณะฝังแท่งคุมกำเนิด ควรรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ เพราะการใช้ยาเป็นเวลานานอาจทำให้ความหนาแน่นของแร่ธาตุในกระดูกลดลงเล็กน้อย แต่จะกลับเป็นปกติได้เมื่อหยุดใช้ยา
ข้อห้ามสำหรับฝังแท่งคุมกำเนิด
- ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่ากำลังจะตั้งครรภ์
- ผู้ที่มีประวัติหรือกำลังป่วยเป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ หรือมะเร็งเต้านม
- ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของตับ เช่น เป็นโรคตับ ตับแข็ง ตับอักเสบ มีเนื้องอกในตับ
- ผู้ที่มีเลือดออกผิดปกติระหว่างรอบเดือนหรือหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบการแข็งตัวของเลือด มีภาวะเลือดออกง่ายและหยุดยาก
- ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแดง (Arterial Disease) มีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมอง
- ผู้ที่มีเนื้องอกชนิดไวต่อฮออร์โมนโปรเจสเตอโรน หรือฮอร์โมนที่มีฤทธิ์คล้ายโปรเจสเตอโรน
- ผู้ที่มีการอักเสบของหลอดเลือดดำร่วมกับมีลิ่มเลือด (Thrombophlebitis) หรือมีความผิดปกติเกี่ยวกับลิ่มเลือดหลุดอุดหลอดเลือด (Thromboembolic Disorders)
ผลข้างเคียงของการฝังแท่งคุมกำเนิด
ผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก และมักหายไปภายใน 2-3 เดือนแรก
- อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ มามาก มาน้อย หรือไม่มาเลยได้
- อาจเกิดการอักเสบที่แผลฝังยาคุมกำเนิด หรือมีรอยแผลเป็นได้
- อาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มีอาการบวมน้ำ ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม ปวดท้อง คลื่นไส้ ผมอาจบางลง
- อาจทำให้เป็นสิว ขนดก ความต้องการทางเพศลดลง
- อาจมีอารมณ์แปรปรวน หรือ มีภาวะซึมเศร้า
- หากเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น อาจมีโอกาสการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้มากกว่าปกติ
- หากฝังแท่งยาตื้นเกินไป อาจทำให้รู้สึกเจ็บ รบกวนการรับความรู้สึกที่ผิวหนังบริเวณที่ฝังแท่งยาและเกิดผิวหนังอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ
- หากฝังแท่งยาใต้ผิวหนังลึกไป จะเสี่ยงต่อการเคลื่อนที่ของแท่งยา ทำให้ตัวยาปล่อยสู่กระแสเลือดมากขึ้น และยังเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากแท่งยาได้อีกด้วย
- หากฝังแท่งยาไม่ถูกต้อง อาจเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและเส้นประสาท
- หากใช้เป็นเวลานานอาจทำให้ความหนาแน่นแร่ธาตุในกระดูก (Bone Mineral Density) ลดลงเล็กน้อย แต่ไม่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหัก
- หากฝังไม่ถูกวิธี อาจเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและเส้นประสาทได้
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการฝังยาคุม
การฝังแท่งคุมกำเนิด เป็นวิธีคุมกำเนิดแบบชั่วคราวที่มีประสิทธิภาพสูง โดยจะใช้การฝังหลอดยาไว้ใต้ผิวหนัง ซึ่งภายในบรรจุฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสติน (Progestin) ซึ่งจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้เป็นเวลา 3 หรือ 5 ปี ตามชนิดของยา
ยาฝังคุมกำเนิดที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
- Implanon® ชนิดฝัง 1 แท่ง จะเป็นฮอร์โมน Etonogestrel 68 มิลลิกรัม คุมกำเนิดได้ 3 ปี
- Jadelle® ชนิดฝัง 2 แท่ง จะเป็นฮอร์โมน Levonorgestrel 75 มิลลิกรัม คุมกำเนิดได้ 5 ปี
แท่งคุมกำเนิดทำงานอย่างไร?
การฝังแท่งคุมกำเนิด จะใช้หลอดยาหรือแท่งพลาสติก ยาวประมาณ 3 เซนติเมตร ซึ่งบรรจุฮอร์โมนในกลุ่มโปรเจสตินไว้ นำมาฝังที่ใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนด้านใน โดยมีขนาดแผลเพียง 0.3 เซนติเมตรเท่านั้น และใช้เวลาในการฝังยาเพียงประมาณ 2 นาทีโดยการทำงานของแท่งคุมกำเนิดมีดังนี้
- ฮอร์โมนโปรเจสตินจะค่อยๆ ซึมออกมาจากแท่งยา มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของไข่ ทำให้ไข่ไม่ตก
- ฮอร์โมนโปรเจสติน จะทำให้เมือกที่ปากมดลูกเหนียวข้น มีปริมาณน้อย ทำให้อสุจิว่ายผ่านเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ได้ยาก
- ทำให้เยื่อบุผนังมดลูกบาง ไม่เหมาะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งทำให้ไข่ที่ถูกผสมแล้วไม่สามารถเกาะที่ผนังมดลูกได้ดี จึงช่วยลดโอกาสเกิดการผสมกับไข่ได้อีกทางหนึ่ง
ข้อดีของการฝังแท่งคุมกำเนิด
- ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดสูง มีอัตราความล้มเหลวไม่เกิน 0.1%
- ประหยัด และสะดวก ฝังครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นาน 3 หรือ 5 ปี ตามชนิดของยา
- หลังจากหยุดใช้ สามารถมีบุตรได้เร็วกว่าการฉีดยาคุม เนื่องจากฮอร์โมนกระจายออกในปริมาณน้อยและไม่สะสมในร่างกาย
- มีส่วนช่วยลดอาการปวดประจำเดือน และลดภาวะประจำเดือนมามาก
- ลดโอกาสการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โรคมะเร็งรังไข่ และภาวะอักเสบในอุ้งเชิงกราน เพราะยาฝังคุมกำเนิด จะทำให้เมือกที่คอมดลูกข้นขึ้น จึงช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียเข้าไปสู่มดลูกได้
- หลังจากที่แท้งบุตร คลอดบุตร หรือระหว่างที่ให้นมบุตร สามารถฝังยาคุมกำเนิดได้ทันทีและไม่เป็นอันตราย
- ผู้ที่ไม่สามารถใช้ยาประเภทเอสโตรเจน หรือผู้ที่น้ำหนักมาก สามารถใช้ได้ แต่ประสิทธิภาพอาจลดลง
ข้อจำกัดในการฝังแท่งคุมกำเนิด
- ไม่สามารถเริ่มใช้หรือหยุดใช้ด้วยตนเอง และไม่สามารถฝังหรือถอดโดยแพทย์ทั่วไปได้ ต้องเป็นบุคลากรทางการแพทย์ผู้มีความชํานาญเท่านั้น
- ในปีแรกอาจมีผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ (Sexually Transmitted Infection) ซึ่งต่างจากการใช้ถุงยางอนามัยที่ช่วยป้องกันได้
- อาจพบปัญหาและภาวะแทรกซ้อนได้ แต่ไม่บ่อย เช่น พบก้อนเลือดคั่งบริเวณที่กรีดผิวหนัง เกิดการติดเชื้อ เจ็บ คัน ระคายผิวและมีรอยช้ำบริเวณที่ฝังยา มีแผลเป็น ผิวหนังฝ่อ เกิดพังผืดรอบแท่งยา เป็นต้น
- อาจมีผลไม่พึงประสงค์ เช่น ประจําเดือนมาผิดปกติ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ ปวดท้อง อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า รบกวนความรู้สึกทางเพศ เจ็บคัดเต้านม ช่องคลอดอักเสบและแห้ง เกิดฝ้า สิว บวมน้ำ น้ำหนักขึ้น
โรงพยาบาลและคลินิกอื่น ที่ให้บริการ ฉีดยาคุม ทำหมันชาย ทำหมันหญิง ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดชำระเงินออนไลน์
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคำแหง อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th