ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ จำเป็นต้องกำจัดออก หากปล่อยไว้อาจมีผลเสียต่อสุขภาพช่องปาก
แพ็กเกจนี้จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจประเมินก่อนรับบริการ และอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากที่ระบุไว้บนเว็บไซต์
รายละเอียด
รายละเอียด
- ราคาอยู่ในช่วง 1,500-4,500 บาท ขึ้นอยู่กับทันตแพทย์ประเมิน
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าผ่าฟันคุด 1 ซี่
สิ่งที่ต้องจ่ายเพิ่ม
- ค่าปลอดเชื้อ ราคา 40 บาท
- ค่า x-ray ฟิล์มเล็ก 150 บาท หรือ ฟิล์มใหญ่ 500 บาท (ถ้ามี)
- ค่ายาแก้ปวด (ถ้ามี)
- ค่าผ้าก๊อซ (ถ้ามี)
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 45-60 นาที
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- หากมีฟิล์มเอกซเรย์อยู่แล้ว ให้นำติดตัวมาด้วย
- ขณะถอนฟัน จะรู้สึกถึงแรงดันขณะที่ฟันกำลังถูกถอน เนื่องจากทันตแพทย์ต้องพยายามขยายกระดูกรอบฟันด้วยการขยับฟันซี่นั้นไปมา
- เมื่อยาชาหมดฤทธิ์อาจมีอาการกรามตึง เปิดปากลำบาก และมีความเจ็บปวดบ้าง โดยทันตแพทย์มักจ่ายยาแก้ปวดมาบรรเทาอาการ
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ควรพักผ่อนให้เต็มที่ ไม่ควรอดนอน
- งดสูบบุหรี่ และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก่อนรับบริการ
- ควรรับประทานอาหารมาก่อน เพราะหลังผ่าฟันคุดอาจกินลำบาก
- ควรแปรงฟันให้สะอาดก่อนรับบริการ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ
- หากมีโรคประจำตัวหรือยาที่ต้องรับประทานประจำควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ
- ถ้าเคยเอกซเรย์ฟันมาก่อน ให้นำฟิล์มเอกซเรย์มาด้วย
การดูแลหลังรับบริการ
- หลังผ่าฟันคุด ควรกัดผ้าก๊อซให้แน่น 1 ชั่วโมง ไม่ควรพูดหรือเคี้ยวผ้าก๊อซ
- หลังเอาผ้าก๊อซออก หากพบว่ายังมีเลือดออกจากแผลที่ถอนฟัน ให้วางผ้าก๊อซชิ้นใหม่ที่แผลถอนฟัน และกัดให้แน่นอีกครึ่งชั่วโมง
- ไม่บ้วนน้ำลายหรือกลั้วปากแรงๆ ภายใน 24 ชั่วโมงแรกหลังการถอนฟัน สามารถแปรงฟันได้ตามปกติ แต่ควรให้ความระมัดระวังบริเวณแผลผ่าฟันคุด
- งดใช้งานฟันด้านที่รับการถอนจนกว่าแผลจะหายดี และควรรับประทานอาหารอ่อนๆ งดอาหารเผ็ด
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ควรกินยาปฏิชีวนะให้ครบตามจำนวนที่ทันตแพทย์สั่ง (ถ้ามี)
- หากรู้สึกปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้
ก่อนตัดสินใจ
ข้อห้ามสำหรับการผ่าฟันคุด
- ผู้หญิงตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงจนกว่าจะคลอดบุตร หากเลี่ยงไม่ได้ควรปรึกษาทันตแพทย์
- ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบโลหิต เช่น โรคโฮโมฟีเลีย ซึ่งเป็นความผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด
- ผู้ป่วยที่ใช้การรักษาด้วยสเตียรอยด์ หรือผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด หากเลี่ยงไม่ได้จะต้องได้รับการดูแลมากเป็นพิเศษ
- ผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อบริเวณฟันคุด ต้องรักษาให้หายเสียก่อน
- ผู้ที่มีอาการป่วยร้ายแรง เช่น โรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ ภาวะกระดูกตายจากการฉายแสงรักษามะเร็ง โรคไตวายระยะสุดท้าย โรคตับ โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้าย ความดันโลหิตสูง หรือโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น
- ผู้ที่ใช้ยาต้านเกล็ดเลือด ควรหยุดใช้ยาล่วงหน้า 7-10 วัน
สิ่งที่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนรับบริการ
- โรคประจำตัว ประวัติการแพ้ยา
- ยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่รับประทานอยู่
- อาการเลือดหยุดยาก (ถ้ามี)
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- อาจมีเลือดซึมออกจากแผลผ่าฟันคุดเล็กน้อยในช่วง 24 ชั่วโมงแรก แต่ตามปกติจะค่อยๆ หยุดไปเอง
- อาจเกิดกระดูกเบ้าฟันแห้งหรืออักเสบ เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดในบริเวณที่ผ่าตัดบังเอิญหลุดออกจนเห็นกระดูกข้างใต้ มักเกิดขึ้น 2-5 วันหลังเอาการผ่าฟันคุด ทำให้มีกลิ่นปากและปวดรุนแรงต่อเนื่อง ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที
- อาจมีอาการบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้า เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก โดยมีอาการชาต่อเนื่องหรือความรู้สึกที่ลิ้น ริมฝีปาก หรือเหงือกเปลี่ยนไป หรือมีปัญหากับข้อต่อขากรรไกรที่เกิดจากการกระทบกระแทกระหว่างผ่าตัด
ข้อมูลทั่วไป
ฟันคุด⠀คือ ฟันที่ไม่สามารถโผล่พ้นเหงือกออกมาเรียงตัวกับฟันซี่อื่นได้ตามปกติ หรือโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน เนื่องจากไม่มีที่พอหรือมีสิ่งที่ขัดขวางการขึ้นของฟันซี่นั้น เช่น เหงือกหนา ฟันบางซี่มีทิศทางการขึ้นผิดปกติ
การผ่าฟันคุด
ฟันคุดมี 2 ลักษณะ คือ ฟันคุดที่ขึ้นในแนวตรง กับฟันคุดที่ขึ้นในแนวนอน หากฟันคุดมีการล้มเอียงตัดกับฟันซี่ติดกัน จะไม่สามารถถอนออกได้ด้วยวิธีธรรมดา ต้องอาศัยการผ่าออกเท่านั้น
โดยทั่วไปทันตแพทย์จะผ่าตัดเปิดเหงือก ใช้เครื่องมือดึงฟันคุดออก หรือหากฟันคุดมีขนาดใหญ่มาก อาจใช้วิธีเลื่อยแบ่งฟันแล้วคีบออกทีละชิ้น จากนั้นจึงเย็บปิดปากแผล
ทำไมต้องผ่าฟันคุด?
- ป้องกันและรักษาอาการปวด เพราะฟันคุดมีแรงผลักที่จะกดเส้นประสาทของขากรรไกร ทำให้เกิดอาการปวดรุนแรง
- ป้องกันฟันซี่ข้างเคียงซ้อนเก
- ป้องกันกระดูกบริเวณที่มีฟันคุดละลายตัว
- ป้องกันฟันผุบริเวณซอกฟันกรามซี่ข้างเคียงฟันคุดที่ทำความสะอาดได้ยาก
- ป้องกันเหงือกอักเสบจากเศษอาหารที่ค้างอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟัน ซึ่งหากทิ้งไว้นาน อาการอักเสบอาจลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย
- ป้องกันการติดเชื้อที่ขากรรไกร ซึ่งอาจทำให้เกิดการบวมจนหายใจไม่ออกได้
- ป้องกันการเกิดถุงน้ำหรือเนื้องอกจากการขยายตัวของเนื้อเยื่อรอบฟันคุด ที่จะทำลายฟันซี่ข้างเคียงและกระดูกในบริเวณนั้น
หมายเหตุ
- ทันตแพทย์จะประเมินวิธีการรักษาฟันคุดว่าจะเป็นการถอนหรือผ่า ขึ้นอยู่กับลักษณะฟันและผู้รับบริการแต่ละบุคคล
- เพื่อความปลอดภัยควรเลือกทำกับสถานทันตกรรมที่ได้มาตรฐาน ที่มีทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์และชำนาญการด้านนี้โดยเฉพาะ
โรงพยาบาลและคลินิกอื่นที่มีแพ็กเกจ ผ่าฟันคุด ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ We Treat Dental Clinic ผ่าน HDmall
นัดคิวเข้าไปให้คุณหมอตรวจประเมิน แล้วทักมาจ่ายเงินที่ HDmall.co.th เพื่อรับส่วนลด
- จองแพ็กเกจกับ HDmall จากนั้นเจ้าหน้าที่จะส่งคูปองให้ทางอีเมล
- เข้ารับการประเมินที่คลินิกตามวันที่นัดหมาย
- เมื่อทราบราคาประเมินแล้ว ทักไลน์ @hdcoth มาชำระเงินและรับส่วนลดกับ HDmall โดยพิมพ์ HDexpress หรือกดปุ่ม “ชำระเงินหลังประเมิน” ขณะอยู่ที่คลินิก
- เมื่อชำระเงินแล้ว เจ้าหน้าที่จะส่งคูปองให้ลูกค้าเพื่อรับบริการ
*ระยะเวลาผ่อนชำระขึ้นอยู่กับราคาแพ็กเกจ
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ (คูปองมีอายุ 30-60 วัน ตามที่ระบุในคูปอง)
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ ทางคลินิกจะสรุปค่าใช้จ่ายให้ทราบหลังแพทย์ตรวจประเมิน
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ We Treat Dental Clinic อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th