
การรักษารากฟัน ช่วยให้รักษาฟันแท้เอาไว้ได้ แม้ฟันมีปัญหามากจนถูกทำลายถึงโพรงประสาท
แพ็กเกจนี้จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจประเมินก่อนรับบริการ และอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากที่ระบุไว้บนเว็บไซต์
รายละเอียด
รายละเอียด
รายละเอียดราคา รักษารากฟันกรามน้อย
- ราคาอยู่ในช่วง 10,000-14,000 บาท ขึ้นอยู่กับทันตแพทย์ประเมิน
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่ารักษารากฟันกรามน้อย 1 ซี่
สิ่งที่ต้องจ่ายเพิ่ม
- ค่าบริการคลินิก 250-300 บาท
เกี่ยวกับแพ็กเกจ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ รักษารากฟันกรามน้อย
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 1 ชั่วโมงขึ้นไป ขึ้นอยู่กับสภาพฟันของผู้รับบริการ
- ควรนัดหมายล่วงหน้าก่อนเข้ารับบริการ
- ต้องพบทันตแพทย์เพื่อประเมินก่อนรับบริการ
- ชาวต่างชาติสามารถเข้ารับบริการได้ โดยต้องใช้พาสปอร์ตเพื่อยืนยันตัวตน
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หืดหอบ ลมชัก ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนรับบริการ
- ผู้ที่ใช้ยาต้านเกล็ดเลือด ควรหยุดใช้ยา 7-10 วัน ก่อนพบทันตแพทย์
การดูแลหลังรับบริการ
- ไม่ควรรับประทานอาหารในทันที ควรงดรับประทานอาหารจนกว่าอาการชาจะหมดไป ป้องกันการกัดลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม
- ระมัดระวังในการใช้งานซี่ฟันที่รักษารากฟัน งดเคี้ยวหรือกัดอาหารแข็งๆ ด้วยฟันซี่ที่รักษารากฟันเมื่อเพิ่งรักษารากฟันมาใหม่ๆ เพราะอาจทำให้ฟันแตกหรือหักได้
- ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
ก่อนตัดสินใจ
ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง อาจจำเป็นต้องมีใบส่งตัวจากแพทย์เจ้าของไข้เพื่อความปลอดภัยของผู้รับบริการ
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- อาจมีอาการปวดภายใน 1-3 วันแรกหลังการรักษา สามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ แต่หากไม่ดีขึ้นควรกลับไปพบทันตแพทย์
- หากมีอาการต่อไปนี้ ควรกลับไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด
- มีอาการบวมภายในหรือภายนอกปากอย่างเห็นได้ชัด
- เกิดการแพ้ยา ซึ่งอาจแสดงอาการเป็นผื่น ลมพิษ หรืออาการคัน
- กลับไปมีอาการคล้ายเดิมเมื่อยังไม่ได้รักษารากฟัน
- รู้สึกว่าการเคี้ยวไม่เสมอกัน หรือฟันสบกันไม่พอดี
สิ่งที่ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนรับบริการ
- โรคประจำตัว
- ประวัติแพ้ยา
- ยาหรืออาหารเสริมที่รับประทานอยู่
- เคยมีปัญหาเลือดหยุดยาก
ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการรักษารากฟันกรามน้อย
การรักษารากฟัน (Endodontic Therapy) หมายถึง การรักษาปัญหาที่เกิดขึ้นบริเวณรากฟัน ซึ่งมักจะเป็นการอักเสบหรือติดเชื้อที่รากฟัน เพื่อให้ฟันซี่นั้นกลับมาใช้งานได้เป็นปกติ
การรักษารากฟันทำอย่างไร?
ในการรักษารากฟัน ทันตแพทย์จะกำจัดเนื้อฟันที่ติดเชื้อภายในโพรงฟันและคลองรากฟันออก แล้วทำความสะอาดและใส่ยาฆ่าเชื้อเพื่อกำจัดเชื้อที่หลงเหลืออยู่ หลังจากนั้นจะบูรณะตัวฟันต่อด้วยการอุดฟันหรือใส่ครอบฟันเพื่อให้ฟันใช้งานได้เป็นปกติ
สาเหตุหลักของปัญหาที่รากฟัน
- ฟันผุมาก
- มีปัญหาโรคเหงือก
- ฟันได้รับการกระทบกระแทก จนทำให้ฟันแตกหัก จนถึงโพรงประสาทฟัน
- นอนกัดฟันรุนแรง
- มีพฤติกรรมการเคี้ยวที่ค่อนข้างรุนแรง
อาการที่บ่งบอกว่าอาจต้องรักษารากฟัน
- ปวดฟันขึ้นมาอย่างไม่มีสาเหตุ อาจปวดแบบเป็นๆ หายๆ หรือปวดรุนแรงจนนอนไม่หลับ
- รู้สึกเจ็บเวลาเคี้ยวหรือกัดอาหาร
- เสียวฟันเมื่อดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็น
- รู้สึกฟันหลวมหรือโยก
- มีอาการหน้าบวม หรือ มีน้ำหนองไหลจากฟันที่ติดเชื้อ
- มีตุ่มหนองขึ้นบนเหงือก
- ฟันสีคล้ำลง
ประเภทการรักษารากฟัน
การรักษารากฟันแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ และ การรักษารากฟันด้วยวิธีผ่าตัดปลายรากฟัน
การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
มีขั้นตอนดังนี้
- ทันตแพทย์จะฉีดยาชา และใช้แผ่นยางบางๆ (Rubber dam) เพื่อแยกฟันที่มีปัญหาออกจากฟันซี่อื่น
- ทันตแพทย์จะเอาส่วนเนื้อฟันที่เสียหาย อักเสบ หรือติดเชื้อออกจนถึงส่วนโพรงประสาทฟัน
- ทำความสะอาดรากฟัน และใส่ยาลงไปในคลองรากฟัน
- ปิดรากฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
- ในบางรายอาจต้องทำความสะอาดหลายครั้ง รวมถึงเปลี่ยนยาในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อจนกว่าการติดเชื้อหรือการอักเสบจะหายเป็นปกติ
- เมื่อพบว่าไม่เกิดการอักเสบแล้ว ทันตแพทย์จะอุดปิด ใส่เดือยฟัน หรือครอบฟัน ขึ้นอยู่กับสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่
การรักษารากฟันด้วยวิธีผ่าตัดปลายรากฟัน
ทันตแพทย์จะเลือกใช้วิธีนี้เมื่อการรักษาด้วยวิธีปกติไม่ได้ผล โดยผ่าตัดตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็นหนองด้วยการตัดปลายรากฟันบางส่วนออก ก่อนจะอุดวัสดุเข้าไปในปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้ ซึ่งเป็นวัสดุที่ไม่เป็นพิษหรือทำลายเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟัน
ฟันที่รักษารากฟันแล้ว จะอยู่ได้นานแค่ไหน?
ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันและบูรณะตัวฟันแล้ว จะอยู่ได้นานเท่ากับฟันปกติ ทั้งนี้ขึ้นกับการดูแลรักษาสุขภาพฟันของแต่ละคนด้วย
คำแนะนำหลังการรักษารากฟัน
- ไม่ควรใช้ฟันกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งถ้าหากว่ายังไม่ได้บูรณะตัวฟันให้แข็งแรง
- แปรงฟันให้สะอาดและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ พบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
โรงพยาบาลและคลินิกอื่นที่มีแพ็กเกจ รักษารากฟัน ราคา เท่าไรบ้าง? เช็กราคาพร้อมโปรโมชั่นได้ที่นี่
วิธีชำระและใช้งาน
วิธีซื้อแพ็กเกจของ Thonglor Dental Hospital (TDH) ผ่าน HDmall
วิธีการจ่ายเงินและการใช้คูปอง
- กดจองเลย
- รับคูปองทางอีเมลภายใน 24 ชั่วโมง
- โทรนัดหรือเลื่อนนัดกับคลินิกได้โดยตรงตามข้อมูลในคูปอง
- ยื่นคูปองที่คลินิกเพื่อรับบริการ
หมายเหตุ
- สำหรับแพ็กเกจที่ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทำ หลังจากแพทย์ตรวจประเมินแล้วว่ารับบริการได้ ให้คุณกลับมาจ่ายค่าแพ็กเกจกับ HDmall.co.th เพื่อรับส่วนลด พร้อมรับสิทธิ์ผ่อน 0% สูงสุด 10 เดือน
- ผู้ที่ใช้สิทธิ์ประกันสังคม ประกันสุขภาพ หรือประกันชีวิต จะไม่สามารถรับสิทธิ์พิเศษต่างๆ รวมถึงไม่สามารถเบิก Cashback จาก HDmall.co.th ได้
เงื่อนไขการใช้คูปอง
- สำหรับแพ็กเกจแบบคอร์ส ต้องรับบริการครั้งแรกก่อนคูปองหมดอายุ ส่วนครั้งต่อๆ ไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของคลินิก
- คุณสามารถเลื่อนนัดได้ด้วยตัวเอง ตามเบอร์โทรศัพท์หรือไลน์ที่ระบุไว้ในคูปอง ก่อนวันนัดอย่างน้อย 3 วันทำการ แต่ต้องรับบริการก่อนคูปองหมดอายุ
- สามารถซื้อแพ็กเกจให้คนอื่นได้ เพียงแจ้งชื่อผู้จะรับบริการให้แอดมินทราบ เพื่อจะได้ระบุบนคูปอง
- อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสถานที่ให้บริการ สามารถจ่ายที่โรงพยาบาลฟันได้โดยตรง
เงื่อนไขการให้บริการ และราคาของ Thonglor Dental Hospital (TDH) อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแผนการส่งเสริมการขาย ท่านสามารถตรวจสอบเงื่อนไขการให้บริการ และราคาล่าสุดได้จากแอดมิน HDmall.co.th