รู้จักกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์ใหม่จากแอฟริกาใต้


โควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) โควิดสายพันธุ์ใหม่จากแอฟริกาใต้ คืออะไร?แพร่ระบาดกี่ประเทศ? พบในไทยหรือยัง? ติดต่อง่ายไหม? อาการเป็นอย่างไร? มีการกลายพันธุ์อย่างไร? ต้องรับมืออย่างไร? อ่านข้อมูลได้ที่นี่

HDmall สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • ล่าสุดหลังปีใหม่ 2565 ประเทศไทยได้เกิดคลัสเตอร์หลายแห่ง เช่น ชลบุรี สมุทรปาการ กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ อุบลราชธานี ขอนแก่น
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานการตรวจพบโควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) หรือโควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564
  • เนื่องจากมีการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 เพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัดในแอฟริกาใต้ และนักวิจัยตรวจพบตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่มากผิดปกติ WHO จึงประกาศให้โควิดสายพันธุ์โอไมครอน จัดอยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) ลำดับที่ 5 ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564
  • ในปัจจุบัน โควิดสายพันธุ์โอไมครอนยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยผลกระทบ หรือความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ ซึ่ง WHO คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • วันที่ 21 ธันวาคม 2564 ศบค. สั่งปิดรับนักท่องเที่ยวใหม่เข้าไทย ส่วนนักท่องเที่ยวลงทะเบียนเข้ามาก่อนสั่งประกาศ จะมีการดูแลติดตามต่อไป
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 จองผ่าน HDmall.co.th ได้แล้ววันนี้ หรือแอดไลน์ @hdcoth

เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้โควิดสายพันธุใหม่ B.1.1.529 ที่พบในแอฟริกาใต้ เป็นเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่น่ากังวล และตั้งชื่อให้ว่า “โอไมครอน” (Omicron)

การค้นพบโควิดสายพันธุ์โอไมครอนได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และรัฐบาลในต่างประเทศ รวมถึงไทย ได้สั่งระงับไม่ให้นักเดินทางจากแอฟริกาใต้ และประเทศเพื่อนบ้านที่มีความเสี่ยงหรือตรวจพบเชื้อเดินทางเข้าสู่ประเทศ

โควิดสายพันธุ์โอไมครอน โควิดสายพันธุ์ใหม่จากแอฟริกาใต้นี้ คืออะไร มีการกลายพันธุ์อย่างไร จะน่ากังวลแค่ไหน ต้องรับมืออย่างไร HDmall.co.th จะพาไปหาคำตอบ


เลือกหัวข้อเกี่ยวกับโควิดโอไมครอนได้ที่นี่

  • โควิดสายพันธุ์โอไมครอน คืออะไร?
  • การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นอย่างไร?
  • โควิดสายพันธุ์โอไมครอน มีการกลายพันธุ์อย่างไร ติดต่อง่ายไหม?
  • แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ทำอย่างไร?

  • โควิดสายพันธุ์โอไมครอน คืออะไร?

    โควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) คือ โควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ถูกพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564

    องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรายงานการตรวจพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 โดยโควิดสายพันธ์ุนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการกลายพันธุ์ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์

    อย่างไรก็ตาม มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 เพิ่มขึ้นเกือบทุกจังหวัดในแอฟริกาใต้ อีกทั้งนักวิจัยยังตรวจพบตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่มากผิดปกติ

    WHO จึงประกาศให้โควิดสายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 มีชื่อเรียกตามตัวอักษรกรีกลำดับที่ 15 ว่า “โอไมครอน (Omicron)” และจัดให้อยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC)* ลำดับที่ 5 ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564

    กลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล หมายถึง เชื้อโควิดที่แพร่ระบาดได้ง่าย รวดเร็ว สามารถก่อให้เกิดอาการรุนแรง และมีโอกาสเสียชีวิตสูง ในปัจจุบันมีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ได้แก่ อัลฟา (Alpha) เบตา (Beta) แกมมา (Gamma) เดลตา (Delta) และโอไมครอน (Omicron)

    ตรวจโควิด PCR

    การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน เป็นอย่างไร?

    ในปัจจุบัน พบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนใน 96 ประเทศทั่วโลก รวมถึงตรวจพบในไทยแล้ว 63 ราย กำลังยืนยันผลอีก 20 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2564)

    โควิดสายพันธุ์โอไมครอน มีการกลายพันธุ์อย่างไร ติดต่อง่ายไหม?

    นักวิจัยตรวจพบการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมากกว่า 50 ครั้ง โดยมีการกลายพันธุ์บริเวณโปรตีนสไปค์ (Protein Spike) มากกว่า 30 ครั้ง ซึ่งโปรตีนสไปค์ หรือที่เรียกว่า “โปรตีนหนาม” เป็นส่วนที่เชื้อไวรัสใช้ยึดเกาะกับผนังเซลล์ด้านนอกของมนุษย์ แล้วแทรกเข้าไปในร่างกาย

    การตรวจพบการกลายพันธุ์บริเวณโปรตีนสไปค์ที่มากผิดปกตินี้ ทำให้นักวิจัยกังวลว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนอาจสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อโควิด หรือการฉีดวัคซีนโควิด แล้วส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซ้ำ ติดต่อง่ายขึ้นกว่าเดิม และทำให้การรักษาด้วยยาแอนติบอดีไม่ได้ผล

    อย่างไรก็ตาม โควิดสายพันธุ์โอไมครอนยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าทำให้เกิดอาการรุนแรงกว่าโควิดสายพันธุ์อื่น หรือสามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น จึงต้องติดตามข้อมูลต่อไป

    แนวทางการรับมือกับโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ทำอย่างไร?

    ในระหว่างที่นักวิจัยกำลังศึกษาผลกระทบ หรือความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของโควิดสายพันธุ์โอไมครอน รัฐบาลในแต่ละประเทศได้รับมือกับการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอไมครอนด้วยการปิดกั้นพรมแดน และกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ

    ในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา ได้สั่งห้ามผู้ที่มาจากแอฟริกาใต้ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ให้เดินทางเข้ามาในประเทศของตนแล้ว

    ในขณะที่ประเทศไทย ล่าสุด วันที่ 21 ธันวาคม 2564 นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เปิดเผยภายหลังการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ถึงการรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ว่า สั่งปิดรับนักท่องเที่ยวใหม่เข้าไทย 2 สัปดาห์ จนกว่าจะมีการพิจารณาสถานการณ์อีกครั้งในวันที่ 4 มกราคม 2565 ส่วนนักท่องเที่ยวที่ลงทะเบียนอยู่ในระบบ 200,000 ราย เข้ามาแล้วประมาณ 110,000 คน เหลืออีก 90,000 คน ในส่วนนี้จำเป็นจะต้องดูแลติดตามเมื่อเข้ามาประเทศไทย และไม่มีการเปิดลงทะเบียนเพิ่มแล้ว

    ในส่วนบริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิด ได้แก่ บริษัทโมเดอร์นา บริษัทแอสตราเซเนกา บริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค และบริษัทจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน ล้วนให้ข้อมูลไปในทิศทางเดียวกันคือ ยังอยู่ในช่วงระหว่างการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนต่อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

    สำหรับคนทั่วไปนั้น วิธีรับมือการแพร่ระบาดโควิดที่ดีที่สุดยังคงเป็นการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อและลดอาการรุนแรงเมื่อเกิดโรค รวมถึงดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ และล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากสัมผัสพื้นผิวที่มีผู้คนสัมผัสร่วมกันเป็นจำนวนมาก

    ล่าสุดหลังปีใหม่ 2565 ประเทศไทยได้เกิดคลัสเตอร์หลายแห่งทั่วประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ประกาศยกระดับเตือนภัยโควิด จากระดับ 3 เป็น ระดับ 4 โดยมีมาตรการดังต่อไปนี้

    • งดเข้าสถานที่เสี่ยง
    • งดทานอาหารร่วมกัน งดดื่มสุราในร้าน
    • เลี่ยงไปซื้อของในสถานที่ที่มีคนจำนวนมาก เช่น ตลาด ห้าง
    • เลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นนอกบ้าน
    • งดร่วมกิจกรรมรวมกลุ่มตามเกณฑ์ต่างๆ
    • มาตรการทำงานที่บ้านให้ได้ร้อยละ 50-80
    • ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดหากจำเป็นใช้รถยนต์ส่วนตัว
    • เลี่ยงไปต่างประเทศ
    • หากเข้าประเทศต้องปรับตัวในสถานที่กักกัน

    (ข้อมูล ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565)

    ใครที่ต้องการฉีดวัคซีนโควิด สามารถจองคิวฉีดวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ผ่าน HDmall.co.th ได้แล้ววันนี้

    นอกจากนี้แพลตฟอร์มของเรายังมีบริการฉีดพ่นฆ่าเชื้อโควิดถึงบ้าน รถฉุกเฉิน ตรวจภูมิโควิดหลังฉีดวัคซีน ตรวจโควิดแบบ RT-PCR และ Antigen Test Kit (ATK) อีกด้วย

    HDmall.co.th ให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลาเก้าโมงเช้าถึงตีหนึ่ง! สามารถจองแพ็กเกจผ่านเว็บไซต์ หรือแอดไลน์ @hdcoth จะมีน้องจิ๊บใจดีคอยให้บริการข้อมูล จองคิวนัดหมายกับทางโรงพยาบาล การันตีโปรโมชันสุดคุ้ม แถมผ่อนฟรี 0% ผ่านบัตรเครดิตที่ร่วมรายการได้ด้วยนะ!


    ที่มาของข้อมูล

    ขยาย

    ปิด

    • ไทยรัฐออนไลน์, รู้จัก "โอไมครอน" (Omicron) จากรายงานของ WHO (https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2252310), 28 November 2021.
    • BBC, โควิด : WHO ให้ชื่อ "โอไมครอน" สายพันธุ์ใหม่ที่พบแถบแอฟริกาใต้ หลายชาติกลับมาจำกัดการเดินทาง (https://www.bbc.com/thai/international-59428316), 27 November 2021.
    • CNN, World is put on high alert over the Omicron coronavirus variant (https://edition.cnn.com/2021/11/27/world/omicron-coronavirus-variant-intl/index.html), 28 November 2021.
    • The New York Times, New Virus Variant Stokes Concern but Vaccines Still Likely to Work (https://www.nytimes.com/2021/11/26/health/omicron-variant-vaccines.html), 27 November 2021.
    • WHO, Classification of Omicron (B.1.1.529): SARS-CoV-2 Variant of Concern (https://www.who.int/news/item/26-11-2021-classification-of-omicron-(b.1.1.529)-sars-cov-2-variant-of-concern), 27 November 2021.
    • WHO, Tracking SARS-CoV-2 variants (https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants/), 27 November 2021.
    @‌hdcoth line chat