HDmall สรุปให้
ปิด
ปิด
- ภาวะแท้งซ้ำ ในความหมายทางการแพทย์ คือ การเกิดภาวะแท้งติดต่อกันตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ควรต้องมีการตรวจกับแพทย์อย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุของการเกิดภาวะแท้งซ้ำ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีก
- การป้องกันภาวะแท้งซ้ำขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือความเสี่ยงที่ตรวจพบ แต่ทางที่ดีหากรู้ว่ากำลังตั้งครรภ์ ควรรีบฝากครรภ์ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ
- การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน คือ การตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อนหลังจากปฏิสนธิเรียบร้อยแล้ว หากตัวอ่อนตัวนั้นมีโครโมโซมทุกคู่สมบูรณ์ทั้งหมด แพทย์ก็จะดำเนินการฝังตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูกของมารดาต่อไป
- บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก Superior A.R.T. แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณาหรือการซื้อขายแพ็กเกจใดๆ #HDinsight
- ดูรายละเอียด โปรแกรมทั้งหมด Superior A.R.T. บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
สารบัญเนื้อหา
- ภาวะแท้งบุตรเกิดได้จากอะไร?
- ภาวะแท้งซ้ำหมายถึงอะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?
- หกล้ม ตกบันได หรืออุบัติเหตุเล็กน้อย สามารถนำไปสู่ภาวะแท้งได้หรือไม่?
- การป้องภาวะแท้งซ้ำ
- ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนคืออะไร? มีขั้นตอนอย่างไร?
- ใครควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อนบ้าง?
- การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเป็นการตรวจชนิดเดียวกับการตรวจ NIPT หรือไม่?
- รับบริการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ที่ Superior A.R.T.
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
ทุกครอบครัวต้องคาดหวังว่าจะมีลูกน้อยที่สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ดังนั้น การเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ที่ดีจึงเป็นอีกกระบวนการสำคัญที่ขาดไม่ได้ หนึ่งในการตรวจที่สำคัญและไม่ควรมองข้ามก็คือ การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการตั้งครรภ์
ความผิดปกติของโครโมโซมทารกเป็นสาเหตุของกลุ่มอาการพิการต่างๆ ทำให้เกิดภาวะแท้งบุตร ทำให้ทารกที่เกิดมามีร่างกายที่ไม่สมบูรณ์ บางภาวะอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา หรือต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องหลังคลอด หากมีความผิดปกติของโครโมโซมหลายตำแหน่ง จะทำให้เกิดภาวะแท้งตั้งแต่อายุครรภ์น้อยๆ ได้เลย
ดังนั้นทุกครอบครัวที่ตั้งใจจะมีบุตร หรือตั้งครรภ์อยู่ จึงต้องรู้จักวิธีการดูแลตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงเกิดภาวะแท้งบุตรขึ้น
HDmall.co.th ร่วมกับ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและวินิจฉัยพันธุกรรมตัวอ่อน Superior A.R.T. โดยพญ. นิศารัตน์ สุนทราภา สูตินรีแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และภาวะการมีบุตรยาก จะมาขอเจาะลึกข้อมูลทั้งหมด 2 ส่วนสำคัญ ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับความระมัดระวังด้านสุขภาพที่หญิงตั้งครรภ์และทุกคนในครอบครัวไม่ควรพลาด ได้แก่ การดูแลตนเองเพื่อป้องกันความเสี่ยงแท้งบุตรและภาวะแท้งซ้ำ และอีกส่วนคือการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนการตั้งครรภ์
ภาวะแท้งบุตรเกิดได้จากอะไร?
ภาวะแท้งบุตรสามารถเกิดได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกช่วงอายุ โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังต่อไปนี้
- ความผิดปกติของโครโมโซมในเด็กทารก
- มารดามีความผิดปกติของมดลูกหรือระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ไม่สามารถประคองการตั้งครรภ์ต่อไปได้
- ความผิดปกติของโครโมโซมในพ่อหรือแม่ ซึ่งอาจไม่เคยรับการตรวจมาก่อน จึงไม่รู้ว่าตนเองมีความผิดปกติ และได้ส่งต่อความผิดปกตินี้ไปสู่ลูกน้อย จนทำให้ทารกเกิดความผิดปกติของโครโมโซมไปด้วย
แม้ภาวะแท้งบุตรจะเกิดได้กับหญิงตั้งครรภ์ทุกคนโดยไม่ได้จำกัดอายุ แต่โอกาสเกิดภาวะแท้งบุตรก็มักมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ที่อายุ 35 ปีขึ้นไปได้มากกว่า เนื่องจากอายุของมารดาที่มากขึ้นเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความผิดปกติของโครโมโซมทารกได้
ภาวะแท้งซ้ำหมายถึงอะไร? เกิดขึ้นได้อย่างไร?
ภาวะแท้งซ้ำ (Recurrent Pregnancy Loss) ในความหมายทางการแพทย์ คือ การเกิดภาวะแท้งติดต่อกันตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ควรต้องมีการตรวจกับแพทย์อย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุของการเกิดภาวะแท้งซ้ำ และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นอีก
อย่างไรก็ตาม หญิงตั้งครรภ์ที่เกิดภาวะแท้ง แม้ว่าจะไม่ถึง 3 ครั้งก็ตาม ก็ควรรีบเข้ารับการตรวจและปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะแท้ง เพราะอาจจะสายเกินแก้แล้ว และอาจมีปัญหาเรื่องมีบุตรยากเพิ่มขึ้นจากอายุมารดาที่มากขึ้นด้วย
ปัจจัยของการเกิดภาวะแท้งซ้ำมีอยู่หลายสาเหตุ เช่น
- การหักหรือการสลับแท่งของโครโมโซมของพ่อหรือแม่ เมื่อตั้งครรภ์ โครโมโซมส่วนที่เกินหรือขาดไปของพ่อแม่ก็ส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ จึงทำให้ทารกเกิดความผิดปกติทางโครโมโซมขึ้น
- ภูมิคุ้มกันของมารดาที่ผิดปกติ จนทำให้หลอดเลือดของทารกที่เชื่อมต่อกับหลอดเลือดของมารดาที่ยังมีขนาดเล็กมากเกิดการอุดตัน เด็กจึงไม่มีเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงร่างกายมากพอ และเกิดการแท้งในที่สุด
- โครงสร้างมดลูกที่มีความผิดปกติ เช่น เนื้องอก พังผืดที่โพรงมดลูก จนส่งผลต่อการฝังตัวของตัวอ่อน
เมื่อเกิดปัญหาแท้งบุตรแล้ว แต่ไม่ได้ตรวจหาสาเหตุ เมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ก็ไม่ได้ดูแลและป้องกันตนเองอย่างถูกทาง จนทำให้เกิดภาวะแท้งซ้ำได้อีก
หกล้ม ตกบันได หรืออุบัติเหตุเล็กน้อย สามารถนำไปสู่ภาวะแท้งได้หรือไม่?
อุบัติเหตุที่ทำให้เกิดแรงกระแทกที่ช่องท้องส่วนล่างที่แรงมาก ที่ตำแหน่งของมดลูก อาจส่งผลให้เกิดการบีบตัวของมดลูก ก็เสี่ยงจะนำไปสู่การเกิดภาวะแท้งได้
นอกเหนือจากสาเหตุที่เกิดจากแรงกระแทกหรืออุบัติเหตุทางร่างกายแล้ว ภาวะหรือโรคที่ไปกระตุ้นการบีบตัวของมดลูกมากขึ้น ก็เสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะแท้งได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท้องเสีย เนื้องอกที่มดลูก ภาวะมดลูกโต
การป้องภาวะแท้งซ้ำ
ทางที่ดีหากรู้ว่า ตนเองกำลังตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรรีบ ฝากครรภ์ไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะปลอดภัยที่สุด เพื่อให้แพทย์ประเมินความเสี่ยง ให้คำแนะนำในการระมัดระวังตนเอง ให้ยาวิตามินบำรุงครรภ์ รวมถึงยาเพื่อลดโอกาสแท้งด้วยในกรณีที่มีสาเหตุหรือประวัติแท้งมาก่อน
การป้องกันภาวะแท้งซ้ำขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือความเสี่ยงที่ตรวจพบว่า อะไรเป็นปัจจัยทำให้เกิดภาวะแท้งได้มากที่สุด เช่น หากตรวจพบว่าโครโมโซมของพ่อหรือแม่มีความผิดปกติ แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการทำเด็กหลอดแก้วร่วมกับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนย้ายกลับสู่โพรงมดลูก
หรือหากตรวจเลือดมารดาก่อนเริ่มฝังตัวอ่อนแล้วพบปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน แพทย์ก็จะจ่ายยากดภูมิคุ้มกันเพื่อเสริมให้การฝังตัวของตัวอ่อนมีประสิทธิภาพและปลอดภัยตลอดระยะเวลาตั้งครรภ์มากขึ้น
การงดมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากตั้งครรภ์ อาจช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแท้งซ้ำได้เช่นกัน นอกจากนี้ควรพักผ่อนมากๆ และลดกิจกรรมบางอย่าง เช่น ออกกำลังกาย ทำงานบ้าน หรือการเคลื่อนไหวร่างกายบ่อยๆ ที่ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าได้ง่ายด้วย
ตรวจโครโมโซมตัวอ่อนคืออะไร? มีขั้นตอนอย่างไร?
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อน คือ การตรวจหาความผิดปกติของจำนวนโครโมโซมของตัวอ่อนหลังจากปฏิสนธิเรียบร้อยแล้ว หากตัวอ่อนตัวนั้นมีโครโมโซมทุกคู่สมบูรณ์ทั้งหมด แพทย์ก็จะดำเนินการฝังตัวอ่อนเข้าไปในโพรงมดลูกของมารดาต่อไป
กระบวนการการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน เป็นหนึ่งในขั้นตอนของการทำเด็กหลอดแก้ว โดยจะเริ่มจากเมื่อฝ่ายหญิงมีประจำเดือนประมาณวันที่สอง แพทย์จะนัดหมายให้เข้ามาตรวจเลือดและทำอัลตราซาวด์ พร้อมกับฉีดยากระตุ้นไข่ประมาณ 8-10 วัน
หลังจากนั้นเมื่อไข่โตสมบูรณ์แล้ว แพทย์ก็จะเก็บไข่ออกมาจากรังไข่เพื่อนำไปผสมกับอสุจิในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เรียกวิธีนี้ว่า IVF หรือ ICSI
เมื่อไข่กับเชื้ออสุจิผสมกลายเป็นตัวอ่อนแล้ว นักวิทยาศาสตร์จะเลี้ยงตัวอ่อนไว้ประมาณ 5-6 วัน จากนั้นจะดูดเซลล์ของตัวอ่อนจำนวนหนึ่ง เพื่อนำไปตรวจดูความผิดปกติของโครโมโซม หากโครโมโซมทั้ง 23 คู่ปกติดีก็จะใส่ตัวอ่อนตัวนั้นเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อให้เติบโตเป็นทารกในครรภ์มารดาต่อไป
ใครควรตรวจโครโมโซมตัวอ่อนบ้าง?
หญิงที่ควรรับการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ได้แก่
- ผู้หญิงที่อายุ 35 ปีขึ้นไปและกำลังเข้าสู่กระบวนการทำ ICSI
- ครอบครัวที่เคยมีประวัติแท้งบุตรมาแล้ว 2 ครั้งขึ้นไป
- ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวตั้งครรภ์และเด็กทารกมีความผิดปกติทางโครโมโซมหรือพันธุกรรม
- ครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคเกี่ยวกับพันธุกรรม กลุ่มอาการต่างๆ เกี่ยวกับโครโมโซม หรือมีโรคประจำตัวที่เป็นผลกระทบมาจากความผิดปกติของโครโมโซม
- ครอบครัวที่เคยผ่านการทำเด็กหลอดแก้วทั้งแบบ IVF หรือ ICSI มาแล้ว ตัวอ่อนคุณภาพดี แต่ไม่ตั้งครรภ์
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเป็นการตรวจชนิดเดียวกับการตรวจ NIPT หรือไม่?
การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนเป็นการตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมในระยะก่อนที่จะฝังตัวอ่อนในโพรงมดลูก คือยังไม่ตั้งครรภ์ ต่างจากการตรวจ NIPT (Non-Invasive Prenatal Testing) ที่จะตรวจหลังจากตั้งครรภ์สำเร็จไปแล้ว
การตรวจ NIPT สามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมได้แค่บางคู่ แต่การตรวจโครโมโซมตัวอ่อนนั้นสามารถตรวจหาความผิดปกติของโครโซมทั้ง 23 คู่
กระบวนการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนนั้นยังเป็นกระบวนการที่ตรวจแล้วจบตั้งแต่ก่อนเริ่มตั้งครรภ์ ต่างจากการตรวจ NIPT ที่อาจเป็นการตรวจเมื่อตั้งครรภ์แล้ว หากผลผิดปกติ ต้องตรวจยืนยันด้วยการเจาะน้ำคร่ำ
ซึ่งหากตรวจน้ำคร่ำยืนยันแล้วว่าเด็กผิดปกติ ก็ต้องผจญกับความยากลำบากที่ต้องตัดสินใจว่าจะตั้งครรภ์ต่อ หรือยุติการตั้งครรภ์
การตรวจโครโมโซมจึงเป็นการตรวจความพร้อมและความสมบูรณ์ของตัวอ่อนก่อนเขาจะเติบโตไปเป็นทารกในครรภ์ต่อไป ทำให้คู่สามีภรรยาสามารถโล่งใจเกี่ยวกับความพร้อมด้านสุขภาพของลูกน้อยตั้งแต่ก่อนเริ่มอุ้มท้องเด็ก
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า การตรวจ NIPT เป็นการตรวจที่ไม่มีประสิทธิภาพแต่อย่างใด เพราะก็เป็นวิธีตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม ในหญิงที่ตั้งครรภ์เองตามธรรมชาติ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันเช่นกัน
รับบริการตรวจโครโมโซมตัวอ่อน ที่ Superior A.R.T.
Superior A.R.T. เป็นคลินิกรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่สำหรับตรวจโครโมโซมตัวอ่อนโดยเฉพาะ นอกเหนือจากบริการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนภายในคลินิกเองแล้ว ห้องปฏิบัติการของ Superior A.R.T. ยังเป็นศูนย์กลางสำหรับตรวจโครโมโซมตัวอ่อนให้กับคลินิกรักษาภาวะมีบุตรยากชั้นนำอื่นๆ อีกหลายแห่งด้วย
คุณจึงมั่นใจได้ถึงความถูกต้องและแม่นยำของผลตรวจโครโมโซมตัวอ่อนที่ Superior A.R.T. นอกจากนี้ห้องปฏิบัติการของ Superior A.R.T. ยังสามารถตรวจหายีนของโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ในภายหลังได้
เช่น หากคุณมีคนในครอบครัวเคยป่วยหรือเป็นพาหะของโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (Thalassemia) โรคนี้มีโอกาสที่ส่งต่อทางพันธุกรรมไปสู่ทายาทรุ่นต่อไปในครอบครัวได้
ห้องปฏิบัติการของ Superior A.R.T. สามารถตรวจหายีนของโรคนี้ได้ เพื่อคัดกรองตัวอ่อนที่ปกติที่สุด เพื่อป้องกันการถ่ายทอดโรคไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลานต่อไป นอกจากธาลัสซีเมียแล้ว ยังสามารถตรวจโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ เช่น โรคฮีโมฟีเลีย โรคตาบอดสี โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด SMA เป็นต้น
รับบริการตรวจโครโมโซมตัวอ่อนก่อนเริ่มการตั้งครรภ์ เพื่อให้คุณและคนรักได้เบาใจเกี่ยวกับโอกาสเกิดความผิดปกติด้านสุขภาพของลูกน้อย หรือซื้อแพ็กเกจตรวจโครโมโซมตัวอ่อนที่ Superior A.R.T. ได้ผ่านทางเว็บไซต์ HDmall.co.th