
รายละเอียด
HDcare สรุปให้

สายตาแบบไหนทำได้บ้าง?
สายตาสั้นต่ำกว่า 1,200 ทำได้ทั้ง
- สายตาสั้นทั้งแบบแต่กำเนิดและตามอายุ
- สายตาสั้นและเอียง
- สายตาสั้นและเอียงและยาวทั้งแบบแต่กำเนิดและตามอายุ
- สายตาสั้นมากแต่ไม่เกิน 1,200 แนะนำให้ทำ Femto Lasik หรือ SBK Lasik ขึ้นกับความหนาของกระจกตา
- สายตาสั้นเกิน 1,200 ควรปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนตัดสินใจ
สายตายาวแต่กำเนิดไม่เกิน 300 ทำได้ทั้ง
- สายตายาวแต่กำเนิดอย่างเดียว
- สายตายาวแต่กำเนิดและเอียง
- สายตายาวแต่กำเนิดและเอียงและสั้น
- สายตายาวกว่า 300 ควรปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนตัดสินใจ
สายตายาวตามอายุ ต้องมีสายตาสั้นร่วมด้วย จึงสามารถปรับค่าสายตาแบบ Monovision ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
- ถ้าอายุมากกว่า 52 ปี ควรปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนตัดสินใจ
สัญญาณที่ต้องผ่าตัด
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่มีความผิดปกติของสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
- ผู้ที่มีปัญหาการใส่แว่น หรือรู้สึกไม่สะดวกเมื่อต้องใช้แว่นหรือคอนแทคเลนส์
- ผู้ที่ต้องการความสะดวกขณะออกกำลังกาย
- ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง
- มีความเข้าใจและความคาดหวังที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำเลสิก
รู้จักการผ่าตัดนี้
Monovision คืออะไร เหมาะกับใคร?
Monovision คือ การผ่าตัดปรับค่าสายตา โดยทำให้ตาข้างที่ถนัด (หรือคนอาจเรียกว่า “ตาเด่น”) มองเห็นในระยะไกลได้ชัด ส่วนสายตาอีกข้างจะทำให้มองระยะใกล้ได้ชัด
- เมื่อใช้สายตาทั้ง 2 ข้างมองพร้อมกันก็จะมองเห็นภาพชัดเป็นปกติ โดยไม่สามารถแยกได้ว่าตาข้างไหนเห็นชัดในระยะใกล้หรือไกล
- โดยส่วนใหญ่จักษุแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดแบบ Monovision ในกรณีที่ผู้รับบริการมีภาวะสายตายาวตามอายุ หรือในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไปบางราย
- ทั้งนี้จักษุแพทย์จะให้ผู้รับบริการลองใส่คอนแทคเลนส์เพื่อให้เข้าใจหลักการมองเห็นแบบ Monovision เพื่อให้ปรับตัวกับการมองเห็นในลักษณะนี้ก่อนผ่าตัดแก้ไขสายตา
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการทำ SBK LASIK
เป็นการทำเลสิกโดยใช้ใบมีดชนิดพิเศษ ชื่อว่า Sub Bowman Keratomileusis (SBK) สามารถแยกชั้นกระจกตาได้ในช่วง 90-110 ไมโครเมตร (เลสิกดั้งเดิมแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีดไมโครเคอราโตม อยู่ในช่วง 120-180 ไมโครเมตร) ทำให้กระจกตาส่วนที่เหลือมีความหนาเพิ่มขึ้น ช่วยให้แก้ไขค่าสายตาได้มากขึ้น และตาแห้งน้อยกว่าการทำเลสิกปกติ
สามารถรักษาได้ทั้งสายตาสั้น ยาว และเอียง โดยสายตาสั้นไม่เกิน 1,200 สายตายาว หรือเอียงไม่เกิน 600
นอกจากนี้ยังมีความแม่นยำใกล้เคียงกับการแยกชั้นกระจกตาด้วยเฟมโตเซคอนด์เลเซอร์ หรือเลสิกไร้ใบมีด
ทำเลสิก SBK แก้ปัญหาสายตาอะไรได้บ้าง?
การทำ เลสิก SBK แก้ได้ทั้งปัญหาสายตาสั้น ยาว และเอียง แต่อาจจะทำได้ในค่าสายตาที่น้อยกว่าการทำ LASIK รายละเอียดดังนี้
- ภาวะสายตาสั้น มักเกิดจากลูกตามีรูปทรงยาว หรือกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ ทำให้มองเห็นภาพใกล้ชัดเจน แต่มองภาพไกลไม่ชัด การทำเลสิก SBK มักให้ผลดีกับผู้ที่สายตาสั้นไม่เกิน 1,000 (ในขณะที่การทำ LASIK มักให้ผลดีกับผู้ที่มีสายตาสั้นไม่เกิน 1,200)
- ภาวะสายตายาว มักเกิดจากลูกตาสั้น หรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้มองภาพใกล้ไม่ค่อยชัดเจน การทำเลสิก SBK มักให้ผลดีกับผู้ที่สายตายาวไม่เกิน 300 (ในขณะที่การทำ LASIK มักให้ผลดีกับผู้ที่มีสายตายาวไม่เกิน 600)
- ภาวะสายตาเอียง เกิดจากกระจกตามีความโค้งที่ไม่สมมาตร หรือกระจกตาเบี้ยว ทำให้มองไม่ชัดทั้งใกล้และไกล การทำเลสิก SBK มักให้ผลดีกับผู้ที่สายตาเอียงไม่เกิน 600 (การทำ LASIK มักให้ผลดีกับผู้ที่มีสายตาเอียงไม่เกิน 600 เช่นเดียวกัน)
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะแก้ไขปัญหาสายตาด้วยวิธีใด ก็จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อแพทย์กับคนไข้จะพิจารณาทางเลือกในการรักษาให้เหมาะสมกับสภาพตาของแต่ละคน โดยอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากค่าสายตาด้วย
การทำ SBK LASIK มีข้อดีอย่างไร?
- สามารถแก้ไขค่าสายตาได้มากกว่า และตาแห้งน้อยกว่าการทำเลสิกดั้งเดิม
- มีความแม่นยำใกล้เคียงกับ Femto LASIK หรือ เลสิกไร้ใบมีด
- เป็นการรักษาสายตาผิดปกติ ปรับค่าสายตาให้เป็น 0 ณ วันที่ทำ
- ใช้เวลาผ่าตัดและพักฟื้นไม่นาน
ทำเลสิกแบบ SBK LASIK ต่างจากทำเลสิกแบบอื่นอย่างไร?
- การทำ SBK LASIK เป็นเทคนิคทำเลสิกใบมีด หรือ Blade LASIK ซึ่งจะแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีด
- สิ่งที่ต่างจากเลสิกใบมีดแบบดั้งเดิมคือ SBK LASIK ชั้นใช้ใบมีดชนิดพิเศษในการผ่าตัดแยกชั้นกระจกตา ใบมีดนี้แยกชั้นกระจกตาได้ในช่วง 90-110 ไมโครเมตร ทำให้กระจกตาส่วนที่เหลือมีความหนาเพิ่มขึ้น แก้ไขค่าสายตาได้มากขึ้น หลังผ่าตัดแล้วตาแห้งน้อยกว่าการทำเลสิกใบมีดแบบดั้งเดิม
ชื่อ SBK ย่อมาจาก Sub-Bowman keratomileusis ซึ่งตั้งชื่อตามชั้นเนื้อเยื่อ Bowman ที่อยู่ด้านผิวนอกสุดของกระจกตา
การทำ SBK LASIK จัดว่ามีความปลอดภัยสูงและเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากข้อดีต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นจากการทำเลสิกใบมีดดั้งเดิม และราคาที่ประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับเทคนิคอื่นๆ
ขั้นตอนการทำ SBK LASIK

ขั้นตอนการทำ SBK LASIK โดยรวมแล้วไม่แตกต่างจากเลสิกใบมีดแบบดั้งเดิม ต่างกันเพียงเครื่องมือที่ใช้แยกชั้นกระจกตาเท่านั้น
- เริ่มจากพยาบาลใช้วัสดุปราศจากเชื้อคลุมหน้าคนไข้ เปิดเหลือเฉพาะดวงตาไว้ แล้วหยอดยาชาลงบนดวงตาข้างที่จะผ่าตัด
- เมื่อยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะแยกชั้นกระจกตาคนไข้ด้วยใบมีดพิเศษลักษณะเป็นวงแหวนครอบไปที่ตาคนไข้ เมื่ออุปกรณ์ทำงานคนไข้จะรู้สึกเหมือนดวงตาถูกดูด แต่ไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดเนื่องจากมียาชาช่วยระงับความรู้สึกไว้ก่อนแล้ว อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ช่วยให้แยกชั้นกระจกตาได้บางกว่าใบมีด Microkeratome ซึ่งใช้ทำเลสิกใบมีดแบบดั้งเดิม
- แพทย์จะเปิดชั้นกระจกตาที่แยกแล้วขึ้น ก่อนปรับความโค้งกระจกตาคนไข้ให้เหมาะสม ด้วยเลเซอร์ Excimer เสร็จแล้วจึงปิดชั้นกระจกตาลงที่เดิมเสมือนปิดพลาสเตอร์
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าปรับค่าสายตา ด้วยการทำ SBK LASIK สำหรับตา 2 ข้าง
- ค่าแพทย์ผ่าตัด
- ค่าบริการโรงพยาบาล
- ค่าตรวจติดตามผลหลังการผ่าตัด 1, 7, 30, 120 และ 160 วัน
- ค่ายากลับบ้าน 1 ชุด
- ค่าพบแพทย์และตรวจสุขภาพตาก่อนทำเลสิก
หมายเหตุ
- แพ็กเกจนี้สำหรับชาวไทยเท่านั้น
- รายการต่อไปนี้ไม่รวมอยู่ในราคาแพ็กเกจ หากแพทย์พิจารณาว่าต้องทำ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม (การตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ, ยาหลังการผ่าตัด, การรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม)
ข้อควรรู้เกี่ยวกับแพ็กเกจ ทำ SBK LASIK
- ระยะเวลาตรวจประเมินก่อนรักษาอย่างละเอียดประมาณ 3-4 ชั่วโมง
- ต้องเข้ารับการประเมินจากแพทย์ก่อนผ่าตัดว่า สามารถผ่าตัดได้
ข้อห้ามสำหรับการทำ SBK LASIK
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้วย ตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่น เช่น จอประสาทตาเสื่อม
- ผู้ที่เป็นโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome) โรคหลอดเลือดที่ยังควบคุมไม่ได้
- ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยา หรือการรักษาที่กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
- ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
- อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
1. Femto LASIK
- แยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ (Femtosecond) จากนั้นใช้ Excimer Laser เพื่อปรับค่าสายตา เสร็จแล้วปิดฝากลับเข้าที่เดิม
- ข้อดีคือสามารถแยกชั้นกระจกตาได้บาง ขอบแผลเรียบ หลังผ่าตัดผิวกระจกตาสมานตัวเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย ลดผลข้างเคียงจากการแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีด
- สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้ง
-
สายตาสั้นไม่เกิน 1,200
-
สายตายาวไม่เกิน 300
-
สายตาเอียงไม่เกิน 600
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที
- ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 1-2 วัน โดยระหว่างนี้ห้ามขยี้ตาหรือทำกิจกรรมหนักๆ ที่อาจกระทบกระเทือนดวงตาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ฝากระจกตาเกิดรอยยับในช่วง 15-30 วันแรกหลังผ่าตัด
2. SBK LASIK
- แยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีดชนิดพิเศษ (Sub Bowman keratomileusis : SBK) จากนั้นใช้ Excimer Laser เพื่อปรับค่าสายตา เสร็จแล้วปิดฝากลับเข้าที่เดิม
- ข้อดีคือ ให้ความแม่นยำใกล้เคียงกับการทำเลสิกไร้ใบมีด และราคาย่อมเยากว่า
- สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้ง
-
สายตาสั้นไม่เกิน 1,200
-
สายตายาวไม่เกิน 300
-
สายตาเอียงไม่เกิน 600
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที
- ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 1-2 วัน โดยระหว่างนี้ห้ามขยี้ตาหรือทำกิจกรรมหนักๆ ที่อาจกระทบกระเทือนดวงตาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ฝากระจกตาเกิดรอยยับในช่วง 15-30 วันแรกหลังผ่าตัด
3. Trans PRK LASIK
- ใช้ Excimer Laser ลอกผิวกระจกตา แล้วปรับค่าสายตาในขั้นตอนเดียว โดยไม่มีการสัมผัส ตัด ขูดดวงตาในทุกขั้น (ต่างจาก PRK แบบเดิม ที่ต้องใช้อุปกรณ์ขูดผิวกระจกตาออก)
- สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้ง
-
สายตาสั้นไม่เกิน 1,000
-
สายตายาวไม่เกิน 300
-
สายตาเอียงไม่เกิน 600
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 10-15 นาที
- ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 3-4 วัน ในช่วงนี้ต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากมีแผลที่บริเวณกระจกตา
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
- ควรถอดคอนแทคเลนส์ล่วงหน้าก่อนรับการประเมิน คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มอย่างน้อย 7 วัน คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งอย่างน้อย 3 สัปดาห์
- งดการรับประทานยารักษาสิวกลุ่ม Roaccutane, Acnotin อย่างน้อย 1 เดือน
- นำประวัติการตรวจและการรักษาที่เกี่ยวข้องมาด้วย เช่น ค่าสายตา หรือยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ไม่ควรขับรถมาเองในวันตรวจ เพราะการหยอดยาขยายม่านตาจะทำให้สายตาพร่ามัวชั่วคราว
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนตรวจ
- อาบน้ำ สระผม ให้เรียบร้อย
- งดการใส่น้ำหอม โรลออน หรือเจลใส่ผมที่มีกลิ่นหอม
- งดแต่งหน้ารวมถึงบริเวณรอบดวงตา
- ใส่เสื้อคอกว้าง มีกระดุม ที่ถอดเปลี่ยนง่าย
การดูแลหลังผ่าตัด
การดูแลหลังรับบริการ
- งดว่ายน้ำ 2 สัปดาห์
- งดดำน้ำ 1 เดือน
- หากมีน้ำตาไหลมาก หรือคันบริเวณรอบๆ ตา ไม่ควรแกะฝาครอบตาออกโดยเด็ดขาด อาจใช้สำลีซับน้ำตารอบๆ ฝาครอบตาได้
- ควรพักผ่อนมากๆ พยายามอย่าทดสอบการมองเห็นหลังการผ่าตัดโดยการดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ
- ระมัดระวังไม่ให้น้ำหรือฝุ่นเข้าตา และไม่ควรขยี้ตาโดยเด็ดขาด
- ปิดฝาครอบตาก่อนนอนทุกคืนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเผลอขยี้ตาระหว่างนอนหลับ
- หยอดยาปฏิชีวนะและน้ำตาเทียมตามคำแนะนำของแพทย์
- ควรหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่มีฝุ่นละอองมาก หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันฝุ่นและลมเข้าตา
- งดการแต่งหน้าโดยเฉพาะบริเวณรอบๆ ดวงตา
- ควรสวมแว่นกันแดด เมื่อต้องทำกิจกรรมในสถานที่ที่มีแสงจ้า
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- มีอาการตาแห้ง ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการหยอดน้ำตาเทียม แต่โดยส่วนมากจะค่อยๆ ดีขึ้นภายในระยะเวลา 1 เดือน
- ในวันแรกอาจมีอาการตาพร่ามัว มองเห็นไม่ค่อยชัด วิงเวียนศีรษะ จึงควรใส่แว่นตากันแดด และไม่ขับรถเอง
สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ
-
วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-17.00 น.
-
ศูนย์เลสิกอยู่ชั้น 6 อาคารโรงพยาบาลปิยะเวท
-
มีที่จอดรถในอาคาร