
"รู้งี้ทำตั้งนานแล้ว" 15 นาทีก็เสร็จ สั้น/ยาว/เอียง ก็เห็นชัดได้
มั่นใจหมอเปา ทำเลสิกมาแล้ว 2,000+ เคส
เลสิกไร้ใบมีด กระจกตาสมานตัวเร็วแข็งแรงกว่า ตาแห้งน้อยกว่า
คุณหมอจะหยอดยาชาที่ตาจึงไม่รู้สึกเจ็บขณะทำ (แค่ตึงๆ นิดหน่อย) ผู้ใช้บริการหลายคนแอบกระซิบว่า "เครื่องมือเล็กสบายตา สบายกว่าไปทำฟันอีก"
รายละเอียด
HDcare สรุปให้

รีวิวดีจน HDcare กล้าแนะนำ
- "แนะนำเลยครับ คุณหมอเปา มือเบามาก แนะนำดีมาก ใครที่กลัวๆ การทำ คุณหมออธิบาย และพูดจนทำให้เราไม่กลัวได้ 55555+ ไม่เจ็บเลย ทำแปปเดว ออกมาโลกสดใสเลย"
- "คุณหมอเปามือเบาน่ารักค่ะ มือเบาจนแทบจะไม่รู้สึกอะไรเลย ตอนผ่าคุณหมอพูดให้กำลังใจตลอด คลายความตื่นเต้นไปได้เยอะ หลังทำเสร็จคุณหมอก็น่ารักใจดี พูดคุยแนะนำเป็นกันเอง"
สิ่งที่ทุกคนกังวล... ตอนทำเจ็บมั้ย?
- ตอนทำเป็นยังไง มาฟังหมอเปาเล่าใน 1 นาที https://youtu.be/4cqubv7OWtc?si=WtukYUfKL0c9JvmF
- คุณหมอจะหยอดยาชาที่ตาตลอดการทำให้ไม่รู้สึกเจ็บ อาจจะแค่ตึงๆ นิดหน่อย
- คนไข้หลายๆ คนของหมอเปาแอบกระซิบว่า "Femto Lasik เครื่องมือเล็กสบายตา สบายกว่าไปทำฟันอีก"
- มีเลเซอร์ 2 ที ครั้งแรกเปิดกระจกตา ให้มองไฟ กะพริบตาได้ ภาพจะมืดไป 20 วินาทีแล้วก็จะกลับมามองเห็นแบบมัวๆ
- ครั้งที่ 2 ให้มองจุดสีเขียวๆ ระหว่างเลเซอร์ปรับค่าสายตา
- เสร็จแล้วล้างตา ปิดฝากลับ ทั้งหมดนี้ 15 นาทีก็เสร็จ
สัญญาณที่ต้องตรวจ
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่มีความผิดปกติของสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี
- ผู้ที่มีปัญหาการใส่แว่น หรือรู้สึกไม่สะดวกเมื่อต้องใช้แว่นหรือคอนแทคเลนส์
- ผู้ที่ต้องการความสะดวกขณะออกกำลังกาย
- ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง
- มีความเข้าใจและความคาดหวังที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำเลสิก
ข้อห้ามสำหรับการทำ Femto LASIK
- ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
- อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับกระจกตา เช่น โรคกระจกตาย้วย ตาแห้งอย่างรุนแรง และโรคตาอย่างอื่น เช่น จอประสาทตาเสื่อม
- ผู้ที่เป็นโรคทางร่างกายที่มีผลต่อการหายของแผล เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) กลุ่มอาการโจเกรน (Sjogren’s Syndrome) โรคหลอดเลือดที่ยังควบคุมไม่ได้
- ผู้ที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยา หรือการรักษาที่กดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี (HIV)
ตรวจโรคนี้อย่างไรได้บ้าง
การตรวจตาก่อนทำเลสิก เป็นการตรวจโดยจักษุแพทย์เพื่อดูค่าสายตาปัจจุบันเพื่อวางแผนการทำเลสิก โดยมีรายการตรวจดังนี้
- ซักประวัติ วัดความดันโลหิต
- ตรวจวัดค่าสายตาด้วยเครื่อง Auto Refractometer
- วัดความดันตา
- ตรวจค่าความโค้งและความหนาของกระจกตาด้วยเครื่อง Oculyzer และ Topolyzer
- วัดค่าสายตาโดยละเอียดโดยนักทัศนมาตร
- หยอดยาขยายม่านตา เพื่อตรวจจอประสาทตา
- วัดค่าสายตาซ้ำ หลังขยายม่านตา
- ตรวจและประเมินสภาพตาโดยละเอียดโดยจักษุแพทย์
รู้จักการผ่าตัดนี้
Monovision คืออะไร เหมาะกับใคร?
Monovision คือ การผ่าตัดปรับค่าสายตา โดยทำให้ตาข้างที่ถนัด (หรือคนอาจเรียกว่า “ตาเด่น”) มองเห็นในระยะไกลได้ชัด ส่วนสายตาอีกข้างจะทำให้มองระยะใกล้ได้ชัด
- เมื่อใช้สายตาทั้ง 2 ข้างมองพร้อมกันก็จะมองเห็นภาพชัดเป็นปกติ โดยไม่สามารถแยกได้ว่าตาข้างไหนเห็นชัดในระยะใกล้หรือไกล
- โดยส่วนใหญ่จักษุแพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดแบบ Monovision ในกรณีที่ผู้รับบริการมีภาวะสายตายาวตามอายุ หรือในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไปบางราย
- ทั้งนี้จักษุแพทย์จะให้ผู้รับบริการลองใส่คอนแทคเลนส์เพื่อให้เข้าใจหลักการมองเห็นแบบ Monovision เพื่อให้ปรับตัวกับการมองเห็นในลักษณะนี้ก่อนผ่าตัดแก้ไขสายตา
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการทำ Femto LASIK
เฟมโตเลสิก (Femto Lasik) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เลสิกไร้ใบมีด เป็นการทำเลสิกโดยใช้เฟมโตเซคอนด์เลเซอร์ (Femtosecond Laser) ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การแยกชั้นฝากระจกตา และการเจียระไนกระจกตา ซึ่งจะมีความแม่นยำสูงมาก สามารถรักษาได้ทั้งสายตาสั้น ยาว และเอียง โดยสายตาสั้นไม่เกิน 1,200 สายตายาวไม่เกิน 300 และสายตาเอียงไม่เกิน 600
เลสิกไร้ใบมีดต่างจากทำเลสิกใบมีดอย่างไร?
การทำเลสิกไร้ใบมีด หรือ Femto LASIK กับทำเลสิกใบมีด ตรงวิธีการแยกชั้นกระจกตา ในขณะที่เลสิกไร้ใบมีดใช้เลเซอร์ Femtosecond แยกชั้นกระจกตา เลสิกใบมีดจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Microkeratome
เครื่องมือที่แตกต่างนี้ส่งผลให้ระดับความหนาของชั้นกระจกตาที่ได้แตกต่างกัน โดยเลสิกไร้ใบมีดจะแยกชั้นกระจกตาได้ความบางประมาณ 90-120 ไมครอน ส่วนเลสิกแบบดั้งเดิมแยกชั้นกระจกตาได้หนากว่า 130-160 ไมครอน เลสิกไร้ใบมีดหรือเฟมโตเลสิกทำให้ได้ขอบแผลเรียบ ส่งผลให้กระจกตาสมานตัวเร็ว หลังผ่าตัดชั้นกระจกตาที่ถูกแยกออกจะติดแน่นแข็งแรงกว่า ทำให้โอกาสเกิดฝากระจกตาเคลื่อนมีน้อยกว่า (อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเลสิกดั้งเดิม หรือเลสิกไร้ใบมีด ก็มีโอกาสเกิดฝากระจกตาเคลื่อนได้น้อยมากอยู่ดี)
การทำ Femto LASIK มีข้อดีอย่างไร?
- แก้ไขค่าสายตาได้มากกว่าการทำเลสิกแบบดั้งเดิม เนื่องจากการแยกชั้นกระจกตาด้วยเฟมโตเซคอนด์เลเซอร์สามารถกำหนดความลึก ความหนา และลักษณะของฝากระจกตาได้
- แยกชั้นฝากระจกตาได้บางกว่าเลสิกดั้งเดิม ประมาณ 90-120 ไมครอน ในขณะที่เลสิกแบบดั้งเดิมแยกชั้นกระจกตาได้บางสุดเพียง 130-150 ไมครอน
- มีความแม่นยำกว่า ลดโอกาสเกิดการแยกชั้นกระจกตาไม่สมบูรณ์จากการใช้ใบมีด
- ภาวะหลังผ่าตัดตาแห้งน้อยกว่า
- ขอบแผลเรียบ ทำให้ผิวกระจกตาสมานได้เร็ว
- เกิดโอกาสติดเชื้อหลังผ่าตัดน้อย
- การติดแน่นของฝากระจกตาแข็งแรงกว่า ทำให้เกิดโอกาสเคลื่อนของฝากระจกตาหลังผ่าตัดได้น้อยกว่า อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นเลสิกดั้งเดิม หรือเลสิกไร้ใบมีด ก็มีโอกาสเกิดฝากระจกตาเคลื่อนได้น้อยมาก
การทำ Femto LASIK มีข้อเสียอย่างไร?
- มีโอกาสเกิดการอักเสบในชั้นของกระจกตา (Diffuse Lamellar Keratitis: DLK) มากกว่า คาดว่า เกิดจากการสะสมของฟองอากาศที่เกิดจากเฟมโตเซคอนด์เลเซอร์
- เกิด Opaque Bubble Layer (OBL) เป็นภาวะที่ฟองอากาศเข้าไปสะสมในเนื้อเยื่อกระจกตา หรือรั่วเข้าไปในช่องหน้าม่านตา เกิดจากเนื้อเยื่อข้างเคียงดูดซับฟองอากาศไม่ทัน แต่ไม่มีผลต่อการรักษาในระยะยาว
- เกิดอาการแพ้แสงชั่วคราว (Transient Light-Sensitivity Syndrome: TLSS) เกิดจากการอักเสบของกระจกตา สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานยาแก้อักเสบ
ทำเลสิก แก้ปัญหาสายตาอะไรได้บ้าง?
การทำเลสิกแก้ได้ทั้งปัญหาสายตาสั้น ยาว และเอียง รายละเอียดดังนี้
- ภาวะสายตาสั้น มักเกิดจากลูกตามีรูปทรงยาว หรือกระจกตามีความโค้งมากกว่าปกติ ทำให้มองเห็นภาพใกล้ชัดเจน แต่มองภาพไกลไม่ชัด การทำเลสิกมักให้ผลดีกับผู้ที่มีสายตาสั้นไม่เกิน 1,200
- ภาวะสายตายาว มักเกิดจากลูกตาสั้น หรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้มองภาพใกล้และไกลไม่ชัดเจน การทำเลสิกมักให้ผลดีกับผู้ที่มีสายตายาวไม่เกิน 300
- ภาวะสายตาเอียง เกิดจากกระจกตามีความโค้งที่ไม่สมมาตร หรือกระจกตาเบี้ยว ทำให้มองไม่ชัดทั้งใกล้และไกล การทำเลสิกมักให้ผลดีกับผู้ที่มีสายตาเอียงไม่เกิน 600
อย่างไรก็ตาม ก่อนทำเลสิกจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อพิจารณาทางเลือกในการรักษาให้เหมาะสมกับสภาพตาของแต่ละคน โดยอาจต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือจากค่าสายตาด้วย เช่น คนไข้ที่มีกระจกตาบางมาก มีภาวะตาแห้ง หรือประกอบอาชีพที่ต้องมีการกระทบกระเทือนกระจกตาบ่อยๆ ถูกลมเป่าถูกบริเวณตาบ่อยๆ จนอาจมีผลให้ดูแลแผลผ่าตัดได้ไม่ดี แพทย์อาจไม่แนะนำให้ทำเลสิก หรืออาจแนะนำให้ใช้เทคนิคอื่นๆ แทนเลสิกไร้ใบมีด เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี และไม่มีอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายภายหลัง
ขั้นตอนการทำเลสิกไร้ใบมีด?

- ก่อนผ่าตัด แพทย์จะเตรียมร่างกายผู้ป่วย ด้วยการทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่จะผ่าตัด และให้ยาชาเพื่อระงับความรู้สึก
- ใช้เลเซอร์ Femtosecond เพื่อแยกชั้นกระจกตา เลเซอร์ดังกล่าวจะปล่อยพลังงานแสงความยาวคลื่น 1,053 นาโนเมตรลงไปที่เนื้อเยื่อกระจกตา เพื่อทำให้เกิดฟองอากาศ หลังจากนั้นฟองอากาศจะถูกดูดซับโดยเนื้อเยื่อข้างเคียงจนเหลือเป็นโพรง ซึ่งมีผลให้เกิดการแยกชั้นของเนื้อเยื่อโดยไม่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
- แพทย์จะทำการเจียปรับความโค้งกระจกตาคนไข้ด้วยเลเซอร์ Excimer ซึ่งให้ความแม่นยำสูง เมื่อได้ความโค้งที่เหมาะสมแล้วจึงปิดกระจกตาที่เปิดไว้ให้กลับเข้าที่ โดยรอให้แนบติดกับที่ประมาณ 2-3 นาที แล้วค่อยนำเครื่องถ่างตาออก
ทำเลสิกไร้ใบมีด ระยะเวลาเท่าไหร่ ทำเสร็จกลับบ้านได้เลยไหม?
ทำเลสิกไร้ใบมีด ใช้ระยะเวลาข้างละไม่เกิน 10-15 นาที โดยทั่วไปเมื่อทำเสร็จแล้วสามารถกลับบ้านได้เลยในวันนั้น
ราคานี้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง?
- ค่าปรับค่าสายตา ด้วยการทำเลสิกไร้ใบมีด Femto Lasik สำหรับตา 2 ข้าง
- ค่าแพทย์ผ่าตัด
- ค่าบริการโรงพยาบาล
- ค่าตรวจติดตามผลหลังการผ่าตัด 1, 7, 30, 120 และ 160 วัน
- ค่ายากลับบ้าน 1 ชุด
- ค่าพบแพทย์และตรวจสุขภาพตาก่อนทำเลสิก
เปรียบเทียบการผ่าตัดวิธีต่างๆ
1. Femto LASIK
- เฟมโตเลสิกหรือเลสิกไร้ใบมีด เป็นการทำเลสิกโดยใช้เลเซอร์ทุกขั้นตอน ทั้งการแยกชั้นกระจกตาไปจนถึงปรับความโค้งกระจกตา
- ข้อดีคือสามารถแยกชั้นกระจกตาได้บาง ขอบแผลเรียบ หลังผ่าตัดผิวกระจกตาสมานตัวเร็ว แม่นยำ ปลอดภัย ลดผลข้างเคียงจากการแยกชั้นกระจกตาด้วยใบมีด
- สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้ง
-
สายตาสั้นไม่เกิน 1,200
-
สายตายาวไม่เกิน 300
-
สายตาเอียงไม่เกิน 600
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที
- ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 1-2 วัน โดยระหว่างนี้ห้ามขยี้ตาหรือทำกิจกรรมหนักๆ ที่อาจกระทบกระเทือนดวงตาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ฝากระจกตาเกิดรอยยับในช่วง 15-30 วันแรกหลังผ่าตัด
2. SBK LASIK
- เป็นการทำเลสิกโดยใช้ใบมีดชนิดพิเศษ ทำให้แยกชั้นกระจกตาได้บางกว่าเลสิกใบมีดแบบดั้งเดิม มีโอกาสตาแห้งน้อยลง
- ข้อดีคือ ให้ความแม่นยำใกล้เคียงกับการทำเลสิกไร้ใบมีด และราคาย่อมเยากว่า
- สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้ง
-
สายตาสั้นไม่เกิน 1,200
-
สายตายาวไม่เกิน 300
-
สายตาเอียงไม่เกิน 600
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 15-20 นาที
- ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 1-2 วัน โดยระหว่างนี้ห้ามขยี้ตาหรือทำกิจกรรมหนักๆ ที่อาจกระทบกระเทือนดวงตาเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ฝากระจกตาเกิดรอยยับในช่วง 15-30 วันแรกหลังผ่าตัด
3. Trans PRK LASIK
- เป็นวิธีที่พัฒนาจากการทำ PRK แบบดั้งเดิม โดยการทำ Trans PRK จะไม่มีการตัดหรือสัมผัสดวงตา ใดๆ ทั้งสิ้น ใช้แค่แสงเลเซอร์ยิงนำผิวกระจกตาออก แล้วใช้แสงเลเซอร์ปรับความโค้งกระจกตาต่อไป
- สามารถแก้ไขปัญหาสายตาได้ทั้ง
-
สายตาสั้นไม่เกิน 1,000
-
สายตายาวไม่เกิน 300
-
สายตาเอียงไม่เกิน 600
- ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 10-15 นาที
- ระยะเวลาพักฟื้นที่บ้านประมาณ 3-4 วัน ในช่วงนี้ต้องดูแลรักษาความสะอาดให้ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากมีแผลที่บริเวณกระจกตา
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด
การเตรียมตัวก่อนทำเลสิกไร้ใบมีด
- ควรถอดคอนแทคเลนส์ล่วงหน้าก่อนรับการประเมิน คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มอย่างน้อย 7 วัน คอนแทคเลนส์ชนิดแข็งอย่างน้อย 3 สัปดาห์
- งดการรับประทานยารักษาสิวกลุ่ม Roaccutane, Acnotin อย่างน้อย 1 เดือน
- นำประวัติการตรวจและการรักษาที่เกี่ยวข้องมาด้วย เช่น ค่าสายตา หรือยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ไม่ควรขับรถมาเองในวันตรวจ เพราะการหยอดยาขยายม่านตาจะทำให้สายตาพร่ามัวชั่วคราว
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอก่อนตรวจ
- อาบน้ำ สระผม ให้เรียบร้อย
- งดการใส่น้ำหอม โรลออน หรือเจลใส่ผมที่มีกลิ่นหอม
- งดแต่งหน้ารวมถึงบริเวณรอบดวงตา
- ใส่เสื้อคอกว้าง มีกระดุม ที่ถอดเปลี่ยนง่าย
หมายเหตุ
- ควรศึกษาข้อมูลและเข้ารับการตรวจสภาพตาโดยละเอียดก่อนรับบริการ
- ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีโรคประจำตัวหรือกำลังรับประทานยาหรืออาหารเสริมอยู่
- สายตาอาจเปลี่ยนแปลงอีกในอนาคต จากความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น ประวัติด้านสายตาของคนในครอบครัว ลักษณะการใช้สายตา ความผิดปกติอื่นทางสายตา เช่น ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น
การดูแลหลังผ่าตัด
- งดว่ายน้ำ 2 สัปดาห์
- งดดำน้ำ 1 เดือน
- หากมีน้ำตาไหลมาก หรือคันบริเวณรอบๆ ตา ไม่ควรแกะฝาครอบตาออกโดยเด็ดขาด อาจใช้สำลีซับน้ำตารอบๆ ฝาครอบตาได้
- ควรพักผ่อนมากๆ พยายามอย่าทดสอบการมองเห็นหลังการผ่าตัดโดยการดูโทรทัศน์ หรืออ่านหนังสือ
- ระมัดระวังไม่ให้น้ำหรือฝุ่นเข้าตา และไม่ควรขยี้ตาโดยเด็ดขาด
- ปิดฝาครอบตาก่อนนอนทุกคืนเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการเผลอขยี้ตาระหว่างนอนหลับ
- หยอดยาปฏิชีวนะและน้ำตาเทียมตามคำแนะนำของแพทย์
- ควรหลีกเลี่ยงการไปสถานที่ที่มีฝุ่นละอองมาก หากเลี่ยงไม่ได้ควรสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกันฝุ่นและลมเข้าตา
- งดการแต่งหน้าโดยเฉพาะบริเวณรอบๆ ดวงตา
- ควรสวมแว่นกันแดด เมื่อต้องทำกิจกรรมในสถานที่ที่มีแสงจ้า
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
- มีอาการตาแห้ง ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการหยอดน้ำตาเทียม แต่โดยส่วนมากจะค่อยๆ ดีขึ้นภายในระยะเวลา 1 เดือน
- ในวันแรกอาจมีอาการตาพร่ามัว มองเห็นไม่ค่อยชัด วิงเวียนศีรษะ จึงควรใส่แว่นตากันแดด และไม่ขับรถเอง
สาขาหรือแผนกที่ให้บริการ
-
วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-17.00 น.
-
ศูนย์เลสิกอยู่ชั้น 6 อาคารโรงพยาบาลปิยะเวท
-
มีที่จอดรถในอาคาร