ภาวะมีบุตรยาก (Infertility) เป็นภาวะที่สร้างความหนักใจให้กับคู่สามีภรรยาหลายคู่ เพราะเป็นภาวะที่ทำให้ไม่สามารถมีลูกน้อยได้ตามต้องการ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากนั้นมีอยู่หลากหลาย และยังอาจเกิดได้จากทั้งฝ่ายชาย หรือฝ่ายหญิง เช่น อายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะหากฝ่ายหญิงอายุมากกว่า 35 ปี การอุดตันของท่อนำอสุจิ การอุดตันของท่อนำไข่ ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ไข่หรือเชื้ออสุจิไม่สมบูรณ์ โรคประจำตัวบางชนิด
ด้วยเหตุนี้ การรักษาภาวะมีบุตรยากจึงต้องได้รับการวินิจฉัย และกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้โอกาสการมีลูกน้อยกลับมาสูงขึ้น และไม่ทำให้ความฝันการมีครอบครัวที่สมบูรณ์ต้องจบลง
อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกหลายข้อสงสัยหลายอย่างที่ผู้สนใจการรักษาภาวะมีบุตรยากยังต้องการคำตอบ วันนี้ทาง HDmall.co.th จึงรวบรวม 9 คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับการรักษาภาวะมีบุตรยากมาให้ได้อ่านกัน
ตอบคำถามโดย นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ จากคลินิกรักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาลพญาไท 2
จริง โดยโรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์มีส่วนทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนผิดปกติ เมื่อฮอร์โมนผิดปกติก็อาจทำให้เกิดภาวะไข่ไม่ตกตามมา หรือการตกไข่ช้าลงกว่าปกติได้ เมื่อไข่ไม่ตก ก็ไม่มีไข่ที่จะไปผสมกับเชื้ออสุจิได้ ทำให้มีลูกยากขึ้น
โรคอื่นๆ ที่สามารถทำให้เกิดโรคอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ตามมาในภายหลัง ก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ เช่น โรคเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมีส่วนทำให้ไข่ไม่ตกได้ รวมถึงส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมนหลังจากตกไข่ไปแล้ว และทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการฝังตัวของตัวอ่อน
และถึงแม้จะเกิดการตั้งครรภ์สำเร็จแล้ว แต่หญิงตั้งครรภ์มีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแท้งบุตรได้ เพราะภาวะอ้วนมีส่วนทำให้เกิดภาวะฮอร์โมนพร่องขณะตั้งครรภ์ จนสามารถส่งผลให้เกิดภาวะแท้งบุตรได้
นอกจากภาวะแท้งบุตร โอกาสที่หญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีภาวะอ้วนจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาก็มีสูงเช่นกัน เช่น เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อแม่และทารกในครรภ์ได้
ดังนั้นหากกำลังวางแผนจะมีบุตร แต่ตนเองยังมีภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ ก็ควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โอกาสการตั้งครรภ์ก็จะมีสูงขึ้น และยังช่วยให้การตั้งครรภ์ไปจนถึงการคลอดบุตรปลอดภัยไม่มีภาวะแทรกซ้อนด้วย
ตอบคำถามโดย นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
ก่อนอื่นต้องกลับมาดูความหมายของภาวะมีบุตรยากกันก่อน
ในคนอายุน้อยกว่า 35 ปี ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง คนที่มีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอโดยไม่ได้คุมกำเนิด สัปดาห์ละ 3-4 ครั้งมาประมาณ 1 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ขึ้น
ส่วนคู่รักที่ฝ่ายหญิงมากกว่า 35 ปี ภาวะมีบุตรยาก หมายถึง การมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-4 ครั้งเช่นเดียวกัน แต่ในระยะเวลา 6 เดือน ก็ยังไม่ตั้งครรภ์
ดังนั้นคำว่า “ภาวะมีบุตรยาก” จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีช่วงเวลาหนึ่งที่คู่รักมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ให้ได้ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเสียที เมื่อนั้นจึงจะเรียกว่า “เกิดภาวะมีบุตรยาก”
ด้วยเหตุนี้ การจะบอกว่า ใครอายุเท่าไหร่จึงจะเริ่มมีภาวะมีบุตรยาก จึงไม่สามารถบอกเป็นช่วงอายุที่แน่นอนได้ หากยังไม่เคยพยายามมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์มาก่อน
เรียกง่ายๆ ก็คือ ตราบใดที่ยังไม่เคยพยายามมีเพศสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์ ก็ยังไม่เข้าข่ายมีบุตรยาก ถึงแม้จะมีอายุมากแล้ว หรือคิดว่า ตนเองมีภาวะมีบุตรยากก็ตาม
หากถามว่า “ระหว่างคนอายุน้อยกับคนอายุมาก ใครมีลูกง่ายกว่ากัน?” ก็ต้องตอบว่า คนอายุน้อยย่อมมีโอกาสการตั้งครรภ์สูงกว่า
เพราะตามหลักความหมายของภาวะมีบุตรยาก ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีจะเข้าข่ายภาวะมีบุตรยากก็ต่อเมื่อไม่เกิดการตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่เริ่มพยายามมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีบุตร ซึ่งเป็นระยะเวลาที่สั้นกว่า
ในขณะที่คนอายุน้อย หรืออายุต่ำกว่า 35 ปี หากไม่เกิดการตั้งครรภ์ภายในระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เริ่มพยายามมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้มีบุตร จึงจะนับว่ามีภาวะมีบุตรยาก ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานกว่า
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าคู่รักที่อายุมากกว่า 35 ปีจะตั้งครรภ์ยาก หรือมีภาวะมีบุตรยากกันทุกราย ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีหลายคนเมื่อแต่งงาน หรือมีเพศสัมพันธ์ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ง่ายเช่นกัน
ตอบคำถามโดย นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
ช่วงอายุที่มีบุตรง่ายที่สุด และเหมาะสมที่สุด ก็คือ ช่วงอายุ 25-30 ปี เป็นช่วงที่ดีที่สุดในการมีบุตร หากเป็นไปได้ไม่ควรมีบุตรในช่วงอายุเกิน 35 ปี เพราะในช่วงอายุนี้จะเริ่มมีโอกาสพบไข่ที่ผิดปกติสูง และบ่อยขึ้น รวมถึงความผิดปกติที่เกิดกับทารกในครรภ์ก็จะมีสูงขึ้นด้วย ภาวะแท้งบุตรก็จะมีสูงขึ้นเช่นกัน
การมีลูกในช่วงอายุก่อน 35 ปีจึงเป็นช่วงเวลาที่ปลอดภัยต่อทั้งมารดา และทารกในครรภ์ที่สุด
ตอบคำถามโดย นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
ที่พูดกันส่วนใหญ่ และเป็นปัญหามากๆ คือ การขี่จักรยานซึ่งไปกดทับลูกอัณฑะ
โดยลูกอัณฑะเป็นส่วนที่สร้างเซลล์อสุจิให้กับผู้ชาย และสาเหตุที่อยู่ภายนอกร่างกาย ไม่ได้เป็นอวัยวะอยู่ข้างในนั้น เกิดจากอุณหภูมิภายในร่างกายซึ่งอยู่ที่ประมาณ 36-37 องศาไม่เหมาะสมต่อการสร้างเซลล์อสุจิ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 33-34 องศา จึงจะเหมาะต่อการสร้างเซลล์อสุจิได้
นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมอวัยวะส่วนนี้ถึงอยู่ด้านนอก แต่กิจกรรมหลายๆ อย่างของคุณผู้ชายที่ไปกดทับ หรือเสียดสีจนเกิดความร้อน ก็สามารถทำให้การผลิตเซลล์อสุจิมีปัญหาตามมา และทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้
ซึ่งในระหว่างขี่จักรยาน ส่วนใหญ่เราก็ใส่ชุดรัดรูป หรือกางเกงที่กระชับ และอานขี่จักรยานก็ค่อนข้างเล็ก เวลานั่งลงไป ลูกอัณฑะก็จะถูกกดทับพอดี แล้วความร้อน ความอับชื้นระหว่างทำกิจกรรมก็จะเหนี่ยวนำอุณหภูมิร่างกายให้สูงขึ้น รวมถึงทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงลูกอัณฑะได้มากพอ หลายคนจึงเกิดอาการชาที่ขาหนีบ หรือบริเวณลูกอัณฑะหลังปั่นจักรยานเสร็จ
ซึ่งผลกระทบจากเลือดที่ไม่สามารถไปเลี้ยงลูกอัณฑะได้เพียงพอไม่ได้มีเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงการสร้างเซลล์อสุจิที่ลดลงได้ด้วย
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบนี้มักเป็นแค่ชั่วคราว ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรงระยะยาวอะไร หากหยุดกิจกรรมนี้ และหากร่างกายยังมีสารอาหารครบถ้วนดี สุขภาพแข็งแรง การผลิตอสุจิของลูกอัณฑะก็จะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง อีกทั้งไม่ใช่ผู้ชายทุกคนที่มีกิจกรรมปั่นจักรยานจะมีการผลิตเซลล์อสุจิผิดปกติทุกคน
ผู้ชายหลายคนที่มีงานอดิเรกปั่นจักรยานเป็นประจำและยังมีการผลิตเซลล์อสุจิเป็นปกติอยู่ก็มีเช่นกัน ปัจจัยทำให้การสร้างเซลล์อสุจิผิดปกตินั้นมีทั้งเงื่อนไขด้านโรคประจำตัว ความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์อื่นๆ ที่ต้องมาตรวจวินิจฉัยให้ละเอียดอีกครั้ง
ส่วนคุณผู้ชายที่ชื่นชอบการขี่จักรยาน และอยากรู้เคล็ดลับการขี่จักรยานโดยไม่ทำให้อัณฑะถูกกดทับมากเกินไป ก็แนะนำให้ใส่ชุดขี่จักรยานที่ไม่รัดรูป หรือกระชับสัดส่วนเกินไป มีการใช้อุปกรณ์เสริม หรือใช้อานขี่จักรยานที่นุ่ม ไม่แข็งมาก และระยะเวลาในการขี่จักรยานต่อ 1 ครั้งก็ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงด้วย
ตอบคำถามโดย นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
ปัจจุบันเราอยู่ในชุมชนเมืองมากขึ้น ซึ่งปัญหาของการอยู่ในชุมชนเมืองหลักๆ คือ ความเครียด และทุกคนเหนื่อยหมด เมื่อกลับมาบ้านก็ไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กันถี่มากพอ จนทำให้ยากต่อการมีลูกได้
นอกจากนี้ผลกระทบจากความเครียด และความเหน็ดเหนื่อยจากการใช้ชีวิตในสังคมเมืองยังทำให้เกิดปัญหาพักผ่อนน้อย นอนไม่พอ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อการตกไข่ และการผลิตเซลล์อสุจิทั้งนั้น แต่อยู่ในระดับที่น้อย ยกเว้นแต่ความเครียดอยู่ในระดับที่ทำให้นอนไม่หลับเลย หากถึงในระดับนี้ก็อาจส่งผลทำให้ฮอร์โมนแปรปรวนได้
นอกจากผลกระทบในรูปแบบฮอร์โมนแปรปรวน อีกผลกระทบจากการนอนไม่หลับที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากก็คือ ประจำเดือนคลาดเคลื่อน หรือไม่มาตามปกติ จนเกิดภาวะไข่ไม่ตกได้
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ประชากรในสังคมเมืองต้องไม่มองข้าม คือ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงทั้งฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่
สุขภาพดี ต้องรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะสารอาหารประเภทโปรตีน แต่ไม่ควรรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป เพราะอาจสะสมจนกลายเป็นไขมันในภายหลังได้ และควรเพิ่มปริมาณผักผลไม้ให้หลากสี มีการกินที่หลากหลาย เพื่อให้ร่างกายได้วิตามินและเกลือแร่เพียงพอ
นอนดี ระยะเวลาการนอนที่เหมาะสม คือ 6-8 ชั่วโมง แต่ช่วงเวลาที่นอนก็สำคัญเช่นเดียวกัน โดยช่วง 4 ทุ่มถึงตี 2 เป็นช่วงเวลาที่ทุกคนควรนอนหลับ เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ใช้ในการซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอ รวมถึงรังไข่ และการผลิตเซลล์อสุจิด้วย
ออกกำลังกายดี เราสามารถออกกำลังกายได้ทุกประเภท อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง แต่ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้ง เพราะอาจหนักเกินไปต่อร่างกาย และมีผลทำให้ระบบสืบพันธุ์ทำงานลดน้อยลงไปได้
นอกจากนี้ทุกคนควรลดความเครียดในลดลง หมั่นหากิจกรรมที่ชอบทำ ผ่อนคลายอารมณ์ให้สดใสเสมอ และหากต้องการมีบุตรก็ควรหมั่นมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอด้วย
เพราะสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ ก็คือ การตกไข่ และเมื่อร่างกายตกไข่ ไข่ใบนั้นมีอายุแค่ 1 วันเท่านั้น หากคู่รักไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ถี่มากพอจนถึงวันที่ตกไข่วันนั้น ก็จะพลาดช่วงเวลาที่สามารถตั้งครรภ์ได้ไป และต้องรอการตกไข่รอบต่อไป
อย่างไรก็ตาม นอกจากการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงตกไข่ ปัจจัยที่ทำให้ตั้งครรภ์สำเร็จได้ก็คือ ความแข็งแรงของเซลล์อสุจิด้วย ซึ่งในฝ่ายชายก็ควรมาเข้ารับการตรวจคุณภาพของเซลล์อสุจิกับแพทย์ เพื่อให้มั่นใจว่า เซลล์อสุจิในร่างกายแข็งแรงจนสามารถปฏิสนธิกับไข่ได้หรือยัง
ตอบคำถามโดย นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
ความนิยมจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล และขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านงบประมาณด้วย เพราะการรักษาภาวะมีบุตรยากแต่ละแบบมีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน อย่างการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก หรือการทำ IUI (Intra – Uterine Insemination: IUI)
ราคาอยู่ที่หลักหมื่น แต่ถ้าการทำเด็กหลอดแก้ว หรือการทำ IVF (In-Vitro Fertilization) ราคาก็จะอยู่หลักแสน ดังนั้นงบประมาณจึงมีผลต่อการเลือกวิธีรักษา
ปัจจัยต่อมาก็คือ ภาวะสุขภาพในแต่ละคน เช่น รังไข่เสื่อม เซลล์อสุจิมีปัญหา ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้ตรวจอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อเลือกวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากต่อไป
โดยขั้นตอนวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากจะมี 3 ขั้นตอนได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การมีเพศสัมพันธ์ให้ตรงกับวันที่ไข่ตก ผ่านการตรวจจากชุดตรวจการไข่ตกมาตรวจแล้วมีเพศสัมพันธ์ให้ตรงกับวันนั้น หากคู่สามีภรรยาอายุยังน้อย เซลล์อสุจิแข็งแรง ก็จะให้เริ่มรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีนี้ก่อน หากไม่สำเร็จ ค่อยไปที่ลำดับ 2 และ 3 ต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 ฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) หากฝ่ายชายมีปัญหาเซลล์อสุจิไม่แข็งแรง ก็อาจให้ใช้วิธีนี้รักษา
ขั้นตอนที่ 3 การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)
ดังนั้นหากถามว่า วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากแบบไหนได้รับความนิยมที่สุดนั้น คำตอบ คือ วิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสุขภาพ รวมถึงงบประมาณในคู่สามีภรรยาแต่ละคู่ซึ่งแตกต่างกันไป
แต่หากถามว่า วิธีการรักษาใดที่มีแนวโน้มทำให้เกิดการตั้งครรภ์มากที่สุด คำตอบ คือ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) รองลงมาก็คือ การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) และลำดับสุดท้ายคือ การใช้วิธีธรรมชาติ หรือการมีเพศสัมพันธ์ให้ตรงกับวันไข่ตก
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าลำดับขั้นตอนการรักษาของคู่สามีภรรยาทุกคู่จะต้องทำตามขั้นตอน 1, 2 และ 3 ตามนี้เท่านั้น ขั้นตอนการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นไม่มีถูก หรือผิด
คู่สามีภรรยาบางคู่ใช้วิธีการฉีดเชื้ออสุจิเข้าโพรงมดลูกแต่ตั้งครรภ์ไม่สำเร็จ ก็อาจลองเปลี่ยนไปรักษาแบบทำเด็กหลอดแก้วก็ได้ หรือจะลองเปลี่ยนไปใช้วิธีธรรมชาติก็ได้
ยาคุมกำเนิดแต่ละรูปแบบมีผลแตกต่างกัน ถ้าเป็นแบบรับประทาน จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เคยรับประทานมาก่อนว่า ยาวนานขนาดไหน เพราะจะมีส่วนทำให้ระยะเวลาที่รังไข่ฟื้นฟูกลับมาทำงานได้ตามเดิมแตกต่างกันไปด้วย แต่ส่วนมากมักจะไม่เกิน 3-4 เดือน
หากรังไข่ยังไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกตินานกว่านั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ตั้งครรภ์ หรือเกิดภาวะมีบุตรยาก แต่แค่อาจจะไม่สามารถคาดเดา หรือตรวจวันไข่ตกได้แม่นยำมากนักในระยะหนึ่งเท่านั้น
อีกรูปแบบหนึ่ง คือ ยาฉีดคุมกำเนิด ซึ่งเป็นยาหยุดการทำงานของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว ก็จะกดการทำงานของรังไข่ ทำให้ไม่มีไข่ตก และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางลง
หากฉีดยาคุมกำเนิดอย่างต่อเนื่อง แล้วอยากมีบุตรในภายหลังจึงหยุดฉีดยา การใช้เวลาเพื่อให้เยื่อบุโพรงมดลูกกลับมาหนาตัวพร้อมตั้งครรภ์ตามเดิมก็อาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง โดยอาจนานประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปี ร่วมกับมีประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอด้วย
ตอบคำถามโดย นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
มี แต่ปัจจุบันยังไม่มีผลการวิจัย หรือการศึกษาที่สามารถยืนยันได้ว่า กระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยาก หรือภาวะมีบุตรยากกันแน่ที่ทำให้เด็กที่เกิดมามีความผิดปกติ เพราะทั้ง 2 อย่างนี้ล้วนมีปัจจัยที่ทำให้เด็กเกิดความผิดปกติได้ ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของฝ่ายหญิง และฝ่ายชาย กระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยากที่อาจทำให้เด็กร่างกายไม่สมบูรณ์ในภายหลัง
อย่างไรก็ตาม กระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยากอย่างการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ก็อาจทำให้เกิดโรค หรือความผิดปกติในทารกได้ โดยเรียกว่า “Imprinting Genetics” โดยเกิดจากยีนปิด และยีนเปิดที่ผิดปกติของทารก โดยความผิดปกติที่เกิดจาก Imprinting Genetics โดยหลักๆ แบ่งเป็น 3 ภาวะ ได้แก่
กลุ่มอาการแองเจลแมน (Angelman Syndrome: AS)
กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลี่ (Prader-Willi Syndrome: PWS)
กลุ่มอาการเบ็ควิท-ไวเดอมานน์ (Beckwith-Wiedemann Syndrome: BWS)
กลุ่มอาการทั้ง 3 อย่างนี้ไม่ได้เกิดแค่ในผู้ที่รักษาภาวะมีบุตรยากผ่านการทำเด็กหลอดแก้วเท่านั้น แต่ทารกที่เกิดจากมารดาที่ตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ หรือรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีทางธรรมชาติก็สามารถเกิดกลุ่มอาการนี้ได้เช่นกัน เพียงแต่เด็กที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วจะมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กกลุ่มอื่นเท่านั้น
ตอบคำถามโดย นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์
การรักษาภาวะมีบุตรยากควรจะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาการรักษา เพื่อให้คุณมีลูกน้อยที่ร่างกายแข็งแรง และตนเองก็มีสภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงเช่นกันในระหว่างการตั้งครรภ์
นอกจากนี้คุณยังจะได้รับคำแนะนำในการดูแลตนเอง การดูแลสุขภาพ และวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่เหมาะสมกับตนเอง และคู่รักจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้วย
ดูแพ็กเกจตรวจภาวะมีบุตรยาก หรือตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานจากโรงพยาบาล และคลินิกที่ได้มาตรฐานชั้นนำ เพื่อให้คุณรู้จักวิธีเตรียมตัวให้พร้อมก่อนจะเพิ่มสมาชิกในครอบครัวได้ที่ HDmall.co.th
หรือหากคุณสนใจอยากทำเด็กหลอดแก้ว แช่แข็งไข่ ทางเว็บไซต์ก็มีแพ็กเกจ IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่ จากโรงพยาบาล และคลินิกชั้นนำเช่นกัน
หากคุณมีข้อสงสัย อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมของแพ็กเกจ หรือคำถามใดๆ สงสัย แอดได้เลยที่ไลน์ @hdcoth เรามีแอดมินใจดีที่พร้อมช่วยเหลือตอบทุกคำถามตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ครึ่ง