รีวิว ตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST (Exercise Stress Test) ที่ รพ.พญาไท 2


รีวิว ตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST (Exercise Stress Test) ที่ รพ.พญาไท 2

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจ ขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test หรือ EST) ที่รพ.พญาไท 2 เป็นการวิ่งบนสายพาน ดูว่าขณะที่ออกกำลังกาย กล้ามเนื้อหัวใจของเราได้รับเลือดและออกซิเจนมาเพียงพอไหม
  • คนอายุน้อยคงยังไม่จำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพหัวใจก็ได้ แต่ปัจจุบันคนอายุ 30-40 ปี เริ่มเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กันมากขึ้น
  • ลักษณะการวิ่งก็เหมือนวิ่งบนลู่วิ่งเลย ส่วนความชันของสายพานจะค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ Heart Rate เราสูงขึ้น
  • ถ้ามีอาการ เช่น เจ็บกราม เจ็บหน้าอก ปวกแขนจนร้าวไปถึงมือ ให้มาลองตรวจสมรรถภาพหัวใจก็ดีค่ะ จะได้รู้ว่าเป็นอะไรและรีบรักษาให้ทันเวลา

ตรวจสมรรถภาพหัวใจ เป็นอีกรายการตรวจที่เทนได้จากแพ็กเกจตรวจสุขภาพ ของโรงพยาบาลพญาไท 2 ค่ะ จะได้รู้กันไปว่า หัวใจเราแข็งแรงขนาดไหน ยิ่งคนที่ออกกำลังกายหนักๆ อย่างเทนยิ่งต้องไม่พลาดการตรวจโปรแกรมนี้เลย

ใครที่อยากรู้ว่าแพ็กเกจตรวจสุขภาพจากโรงพยาบาลพญาไท 2 ที่เทนมาใช้บริการนี้มีรายการตรวจอะไรบ้าง ก็ตามไปอ่านกันได้ที่ รีวิว ตรวจสุขภาพประจำปี โปรแกรม All You Can Check ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

ภาพผู้ใช้บริการตรวจหัวใจ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

การตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST ต่างจาก การตรวจ Echocardiogram เพราะเป็นการตรวจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test หรือ EST) บางที่อาจตรวจโดยวิ่งบนสายพานหรือปั่นจักรยาน แต่ที่โรงพยาบาลพญาไท 2 จะเป็นการวิ่งบนสายพาน และดูว่าขณะที่เรากำลังออกกำลังกาย หรือออกแรงอยู่ กล้ามเนื้อหัวใจของเราได้รับเลือดและออกซิเจนมาเพียงพอไหม

ส่วนการตรวจ Echocardiogram จะเป็นการนอนเฉยๆ ให้คุณหมอใช้อุปกรณ์ส่งคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงผ่านทางผนังหน้าอกเพื่อให้เห็นภาพของหัวใจค่ะ ใครที่อยากรู้รายละเอียดมากขึ้นก็ตามไปอ่านกันได้ที่ รีวิว ตรวจเอคโค่หัวใจ (Echocardiogram) ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

ขั้นตอนการตรวจหัวใจ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

หลังจากจองคิวทำนัดผ่าน HDmall.co.th มาแล้ว ก็มายื่นคูปองเพื่อลงทะเบียนที่โรงพยาบาล จากนั้นคุณพยาบาลให้ไปที่อาคาร A ชั้น 12 ศูนย์หัวใจ พอขึ้นมาที่นี่ คุณพยาบาลก็พาไปเปลี่ยนชุดเพื่อให้เราเคลื่อนไหวได้สะดวกค่ะ จากนั้นก็รอคิวเพื่อเข้าไปในห้องตรวจค่ะ

ห้องตรวจหัวใจ EST (Exercise Stress Test) ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

ในห้องนี้คุณหมอก็จะพูดคุยกับเราก่อน เพราะจริงๆ แล้วหลายคนอาจจะคิดว่า คนอายุน้อยคงยังไม่จำเป็นต้องตรวจสมรรถภาพหัวใจก็ได้ แต่ความจริงแล้วคุณหมอเล่าให้เทนฟังว่า ปัจจุบันคนอายุ 30-40 ปี เริ่มเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กันมากขึ้น ซึ่งผู้ชายมีโอกาสเป็นในช่วงที่อายุน้อยกว่าผู้หญิงค่ะ

โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke มีสาเหตุมาจากหลอดเลือดในร่างกายอุดตัน และร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต หรือเป็นอัมพาตได้เลย บางคนเล่นกีฬาอยู่ก็อาจจะหัวใจวายไปเลยก็ได้ ซึ่งการตรวจสมรรถภาพหัวใจ EST เป็นการตรวจตอนที่ร่างกายเราเหนื่อยเพื่อดูว่ามีความผิดปกติอะไรรึเปล่า ก็ถือเป็นการตรวจเพื่อป้องกันโรคนี้ได้ค่า

ผู้ที่ควรตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย EST

การตรวจ EST จะช่วยให้เรารู้สมรรถภาพของหัวใจขณะที่ออกกำลังกาย หรือออกแรงมากๆ การรู้ขีดจำกัดของตัวเองช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดค่ะ โดยผู้ที่ควรตรวจได้แก่ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ มีอาการเจ็บหน้าอกโดยไม่ทราบสาเหตุ มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดของอวัยวะอื่นอยู่แล้ว ผู้ที่เคยได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือดสมองตีบ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง และผู้สูงอายุค่ะ

หลังจากคุยกับคุณหมอคร่าวๆ แล้ว พยาบาลก็จะเริ่มติดอุปกรณ์บริเวณหน้าอกเทนค่ะ โดยจะติดเยอะหน่อยที่หน้าอกข้างซ้ายตรงตำแหน่งหัวใจเลย เป็นจำนวน 10 จุด ลักษณะจะคล้ายๆ แผ่นสัญญาณ ซึ่งที่แผ่นสัญญาณจะมีหัวคล้ายกระดุมสำหรับติดสายไฟด้วยอีก 

ส่วนรองเท้า ปกติเขาจะให้เปลี่ยนเป็นรองเท้าผ้าใบค่ะ แต่เทนใส่รองเท้าผ้าใบของตัวเองมาอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอีก ใครที่รู้ตัวว่าจะมาตรวจ EST ก็เตรียมใส่รองเท้าออกกำลังกายของตัวเองมาก็สะดวกดีค่ะ

ภาพบรรยากาศภายในห้องภาพเครื่องวิ่งสายพานที่ใช้ตรวจหัวใจ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

คุณพยาบาลได้แจ้งก่อนแล้วว่า ดูจากช่วงอายุของเทนซึ่งยังไม่มาก (ตอนนี้เทนอายุ 32 ปีค่ะ) ดังนั้น Heart Rate ที่ตั้งไว้จะอยู่ที่ประมาณ 160 BPM ค่ะ โดยจะใช้เวลาวิ่งประมาณ 5-10 นาที (Heart Rate คือ อัตราหัวใจเต้นค่ะ ส่วน BPM (Beats per minute) คือ อัตราการเต้นของหัวใจต่อ 1 นาทีค่ะ) 

หลังจากนั้นก็เริ่มวิ่งบนสายพาน บนสายพานจะมีราวให้จับนะคะ ใครที่กลัวล้ม หรือสะดุด ไม่ต้องห่วงเลย ลักษณะการวิ่งก็เหมือนวิ่งบนลู่วิ่งปกติเลยค่ะ แต่ความชันของสายพานจะค่อยๆ สูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ Heart Rate เราสูงขึ้น ถ้ารู้สึกว่าวิ่งแล้วเหนื่อยขึ้น พื้นชันขึ้น ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะคุณหมอกำลังทดสอบสมรรถภาพหัวใจเราอยู่นั่นเอง!

ระหว่างนั้นคุณหมอก็เริ่มมาชวนคุยค่ะ ชวนคุยไปเรื่อยๆ พอ Heart Rate เริ่มสูงขึ้น สายพานเริ่มชันมากขึ้น เทนเริ่มไม่ตอบหมอละ 555 ตอบไม่ไหว หายใจไม่ทัน เหงื่อเริ่มซึมๆ คุณหมอก็เริ่มรู้ว่า เราเริ่มเหนื่อยละ หัวใจเริ่มทำงานหนักขึ้น

ภาพเครื่องวิ่งสายพานที่ใช้ตรวจหัวใจ EST (Exercise Stress Test) ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

หลังจากวิ่งสายพานถึงระดับ Heart Rate ที่ตั้งไว้ พยาบาลก็แจ้งว่าเทนใช้เวลาทั้งหมด 8 นาที Heart Rate ถึงขึ้นไปที่ 160 BPM ค่ะ

จากที่พูดคุยกับคุณหมอเรื่องการออกกำลังกายของเทน ซึ่งปกติเทนจะเล่นแต่เวท ไม่เคยออกกำลังกายแบบคาดิโอ (Cardio) เลย คุณหมอก็บอกว่าจริงๆ แล้วควรจะคาดิโอบ้างเพื่อให้หัวใจแข็งแรงขึ้น

ใครที่แยกไม่ออกว่า "การเล่นเวทกับการเล่นคาดิโอมันช่วยเสริมสุขภาพต่างกันอย่างไร?" เทนอธิบายสั้นๆ ให้นิดนึงค่ะว่า การเล่นเวท คือ การออกกำลังกายเพื่อเน้นสร้างมวลกล้ามเนื้อ และกระตุ้นระบบการเผาผลาญ แต่ก็ต้องรับประทานโปรตีนกับสารอาหารอื่นๆ ให้พอด้วยนะ ส่วนการคาดิโอ เป็นการออกกำลังกายที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงค่ะ และยังเผาผลาญไขมันในร่างกายออกไปด้วย

หลายคนอาจจะคิดว่าคาดิโอต้องเล่นหนักๆ เหงื่อต้องเปียกๆ เลยถึงจะถูกต้อง แต่ความจริงเราไม่จำเป็นต้องเล่นถึงระดับที่หนักขนาดนั้นก็ได้ค่า 

โดยคุณหมออธิบายให้เทนฟังในฐานะมือใหม่ที่กำลังต้องหัดเล่นคาดิโอค่ะว่า เทนไม่จำเป็นต้องเล่นคาดิโอถึงระดับ Heart Rate 160 BPM ก็ได้นะ ไม่งั้นร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดออกมา ให้เล่นถึงระดับประมาณ 120-140 BPM ก็พอ แต่ความจริงเวลาเทนออกไปวิ่ง ก็จะวิ่งให้ถึง Heart rate 160 BPM อยู่แล้วค่ะ 

ผลตรวจสมรรถภาพหัวใจ

ผลของสมรรถภาพหัวใจเทนโดยรวมปกติดีค่ะ ไม่มีปัญหาอะไรเลย ถือว่าโล่งใจไปอีกรายการ สำหรับใครที่สงสัยว่าเมื่อไหร่ที่เราควรตรวจหัวใจ ตรงนี้คุณหมอให้ความรู้เพิ่มเติมว่า ถ้ามีอาการ เช่น เจ็บกราม เจ็บหน้าอก ปวกแขนจนร้าวไปถึงมือ ให้มาลองตรวจสมรรถภาพหัวใจก็ดีค่ะ จะได้รู้ว่าเป็นอะไร และรีบรักษาให้ทันเวลา

ภาพผู้ใช้บริการตรวจหัวใจ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

หรือคนไข้บางคนมีอาการอย่างอื่นแล้วไม่ได้ไปพบแพทย์ก็มีเหมือนกัน หรือเข้าใจผิดว่าเป็นสาเหตุมาจากอวัยวะส่วนอื่นที่ไม่ใช่หัวใจ ซึ่งคุณหมอก็ได้แชร์ประสบการณ์ของคนไข้ให้เทนฟังว่า มีคนไข้อายุ 26 ปี มีอาการปวดกรามขึ้นมา แต่เขานึกว่าตัวเองมีปัญหาเรื่องฟัน ก็เลยไปหาทันตแพทย์ ปรากฎว่าระหว่างรอหมอฟันจู่ๆ ก็หัวใจวายไปเลย คุณหมอต้องรีบส่งตัวไปทำบอลลูนหัวใจ และต้องปั๊มหัวใจด้วย

ผลปรากฎว่าอาการปวดกรามของเขามาจากปัญหาที่หัวใจ ไม่ใช่ฟัน เทนเลยเข้าใจลึกซึ้งเลยว่า การตรวจสุขภาพเพื่อให้มั่นใจไว้ก่อนมันไม่ใช่เรื่องเสียหาย หรือเสียเวลา เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าข้างในร่างกายของเรามีความผิดปกติอะไรหรือเปล่า เราอาจจะมีโรคแอบแฝงร้ายแรงที่อาจไม่รู้ตัวเพราะไม่เคยตรวจดูสุขภาพของตัวเองเลย

สำหรับใครที่ไม่เคยออกกำลังกาย โดยเฉพาะการคาดิโอ เทนอยากให้ลองออกกำลังดูบ้างนะคะ เพราะการคาดิโอมีประโยชน์ในการทำให้กล้ามเนื้อหัวใจของเราแข็งแรง และยังเผาผลาญไขมันในร่างกายได้ดีด้วย ถือว่าเป็นวิธีลดน้ำหนัก และเสริมความแข็งแรงให้ร่างกายได้อย่างดีเลยค่า

ใครที่สงสัยเกี่ยวกับระดับ Heart Rate ว่ามันคืออะไร เกี่ยวอะไรกับการเล่นกีฬา หรือใช้ชีวิตประจำวัน ลองอ่านบทความเกี่ยวกับจังหวะการเต้นหัวใจกับการออกกำลังกายได้ที่ลิงก์นี้เลยค่า

และใครที่อยากตรวจสุขภาพหัวใจที่ไม่ใช่แค่ด้านสมรรถภาพหัวใจเท่านั้น แต่อยากตรวจทั้งการทำเอคโค่ (Echo) การทำ CT Scan หรืออยากตรวจความเสี่ยงโรคเกี่ยวกับหัวใจ ที่ HDmall.co.th มีแพ็กเกจเกี่ยวกับการตรวจหัวใจครบเลยค่ะ ลองเข้ามาเลือกดูรายละเอียดก่อนได้เลย เพื่อสุขภาพหัวใจที่แข็งแรงของเราทุกคนค่า


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat