vasodilator

ยาขยายหลอดเลือด วิธีใช้ ข้อควรระวัง

ยาขยายหลอดเลือด (Vasodilator) เป็นยาในกลุ่มขยายหรือเปิดเส้นเลือด มักใช้รักษาโรคในกลุ่มหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง มีกลไกออกฤทธิ์ช่วยให้เลือดผ่านหลอดเลือดได้ง่ายยิ่งขึ้น ยาขยายหลอดเลือดมีหลายชนิด เช่น ยาขยายเส้นเลือดแดง (ส่งผลต่อเส้นเลือดแดงเป็นหลัก) ยาขยายเส้นเลือดดำ (ส่งผลต่อเส้นเลือดดำเป็นหลัก) ยาขยายชนิดผสม (ส่งผลทั้งเส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดง) เป็นต้น

ประโยชน์ของยาขยายเส้นเลือดแดง

ยาขยายเส้นเลือดแดง มักใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจล้มเหลว ในขณะที่ยาขยายเส้นเลือดดำ มักจะมีประสิทธิภาพดีในการใช้รักษาอาการเจ็บหน้าอก และ โรคหัวใจล้มเหลว โดยแพทย์มักจะใช้ยาขยายหลอดเลือดเพื่อรักษาหรือป้องกันภาวะดังต่อไปนี้

  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจล้มเหลว
  • โรคครรภ์เป็นพิษ (ความดันโลหิตสูงระหว่างการตั้งครรภ์)
  • อาการเจ็บหน้าอก (อาการเจ็บหน้าอกซึ่งเกิดจากการที่มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจลดลง)
  • ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูงขึ้น (ความดันโลหิตสูงซึ่งส่งผลต่อเส้นเลือดแดงในปอด)

ชื่อสามัญของยาขยายหลอดเลือด

1. Amyl nitrite

  • ประเภท: ยาขยายหลอดเลือดออกฤทธิ์เร็ว กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว
  • ข้อบ่งใช้: บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ในผู้ป่วย Angina pectoris หรือบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วย Renal และ Gallbladder colic
  • การออกฤทธิ์: ทําให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดคลายตัว มีผลให้ลดการไหลกลับของเลือดและลดความดันโลหิต ในหลอดเลือดแดง เป็นการลดการทํางานของเวนตริเคิลและลดความต้องการออกซิเจน ของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ผลข้างเคียง: หากได้รับยาขนาดสูง จะทําให้มีอาการวิงเวียน ใจสั่น ปวดศีรษะ (อาการจะลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์) ความดันโลหิตต่ำ สับสน เป็นลม อัมพาต ชัก การไหลเวียนเลือดล้มเหลว อาจตายได้ เนื่องจากการหายใจล้มเหลว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน

2. Bosentan

  • ประเภท: ยาขยายหลอดเลือดทั่วไป
  • ข้อบ่งใช้: รักษาภาวะความดันโลหิตสูง ชนิด Pulmonary arterial hypertension (PAH)
  • การออกฤทธิ์: ปิดกั้น Neurohormonal ที่ทําให้หลอดเลือดที่ปอดหดตัว จึงทําให้หลอดเลือดขยายตัว ผลข้างเคียง ปวดศีรษะ คออักเสบ หน้าแดง อาหารไม่ย่อย (รู้สึกจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่) เหนื่อยล้า ผื่นคัน ความดันโลหิตต่ำ
  • คำเตือน: ไม่ให้ยานี้กับหญิงมีครรภ์, ประเมินระดับเอนไซม์ตับ (Aminotransferrese) ก่อนเริ่มรักษา และทุกเดือนหลังรักษาหากมีเอนไซม์ตับสูงให้บันทึกไว้เพื่อให้แพทย์พิจารณาเปลี่ยนยาที่ใช้รักษา ประเมิน อาการที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเซลล์ตับถูกทําลาย เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน มีใช้ ปวดท้อง เมื่อยล้า ดีซ่าน เป็นต้น หากค่าบิลิรูบินสูงขึ้น ให้หยุดยา ดูระดับ Hb, Hct 1-3 เดือนของการรักษา และทุก 3 เดือน

3. Erythrityl / Erythrityl tetranitrate

  • ประเภท: ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • ข้อบ่งใช้: ป้องกันและรักษาผู้ป่วย Angina pectoris ที่เป็นมานาน ต้านอาการเจ็บหน้าอกจากการขาดเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
  • การออกฤทธิ์: ทําให้กล้ามเนื้อเรียบในที่ต่างๆ คลายตัวจึงมีผลทําให้หลอดเลือดแดงและดําขยายเลือดดําขยายตัวมากกว่าหลอดเลือดแดง) นําเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆมากขึ้น ยาไม่มีผลโดยตรงต่อจังหวะและความแรงในการเต้นของหัวใจ แต่สามารถลดการใช้พลังงาน ของกล้ามเนื้อหัวใจ และลดขนาดของหัวใจได้ ซึ่งเป็นผลทางอ้อมจากฤทธิ์ของยาต่อกล้าม เนื้อเรียบของหลอดเลือด ช่วยให้ความต้านทานของหลอดเลือดปลายทางลดลงและความ ดันโลหิตลดลง นั่นคือ ยาออกฤทธิ์ลดปริมาณเลือดในเวนตริเคิลขณะหัวใจคลายตัว (Preload) และความต้านทานของหลอดเลือดปลายทางของหัวใจ และลดความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ผลข้างเคียง: หากได้รับยาขนาดสูง จะทําให้มีอาการวิงเวียน ใจสั่น ปวดศีรษะ (อาการจะลดลงภาย ใน 2-3 สัปดาห์) ความดันโลหิตต่ำ สับสน เป็นลม อัมพาต ชัก การไหลเวียนเลือดล้ม เหลวอาจตายได้ เนื่องจากการหายใจล้มเหลว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
  • คำเตือน: สังเกตผลข้างเคียงของยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตต่ำ ปวดศีรษะ เป็นต้น

4. Pentaerythritol / Pentaerithrityl / Pentaerythritol tetranitrate

  • ประเภท: ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ
  • ข้อบ่งใช้: บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก
  • การออกฤทธิ์: ยามีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อเรียบ ทําให้กล้ามเนื้อเรียบในที่ต่างๆ คลายตัว จึงมีผลทําให้ หลอดเลือดแดงและดําขยายตัว (หลอดเลือดดําขยายตัวมากกว่าหลอดเลือดแดง) นําเลือด ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ มากขึ้น ยาไม่มีผลโดยตรงต่อจังหวะและความแรงในการเต้นของ หัวใจแต่สามารถลดการใช้พลังงานของกล้ามเนื้อหัวใจ และลดขนาดของหัวใจได้ ซึ่งเป็นผลทาง อ้อมจากฤทธิ์ของยาต่อกล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด ทําให้ความต้านทานของหลอด เลือดปลายทางลดลงและความดันโลหิตลดลง นั่นคือ ยาออกฤทธิ์ลดปริมาณเลือดในเวน ตริเคิลขณะหัวใจคลายตัว (Preload) และความต้านทานของหลอดเลือดปลายทางของหัวใจหรือ Afterload และลดความต้องการออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ
  • ผลข้างเคียง : หากได้รับยาขนาดสูงจะทําให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน ใจสั่น ปวดศีรษะ (อาการ จะลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์) ความดันโลหิตต่ำ สับสน เป็นลม อัมพาต ชัก อาจตายได้เนื่องจากการหายใจล้มเหลว, หากลืมทานยาให้ทานทันทีที่นึกได้แต่ต้องห่างจากมื้ออาหารต่อไปอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ห้ามเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่าในมื้อเดียวกัน หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์

คำเตือนและข้อระวังในการใช้ยาขยายหลอดเลือด

  • การใช้ยาขยายหลอดเลือด อาจทำให้เกิดอาการมึนงง เพราะฉะนั้นจึงห้ามขับรถหรือทำกิจกรรมที่ตื่นตัวจนกว่าจะทราบว่ายามีผลข้างเคียงอย่างไรต่อตนเอง
  • หากได้รับยาขยายหลอดเลือดอยู่ ต้องแจ้งแพทย์ทุกครั้งก่อนเข้ารับการรักษาและใช้ยาอื่นๆ
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ขณะที่ใช้ยาชนิดนี้ เนื่องจากแอลกอฮอล์อาจไปรบกวนการทำงานของยาขยายหลอดเลือด
  • หากกำลังตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตนเองจะตั้งครรภ์ระหว่างการใช้ยาขยายหลอดเลือด ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที เพราะยาบางชนิดอาจส่งผลเสียบางอย่างต่อทารกได้

ผลข้างเคียงของยาขยายหลอดเลือด

ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยของยาขยายหลอดเลือด ได้แก่

  • อาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
  • มีน้ำคั่งภายในร่างกาย
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • มึนงง
  • ปวดหัว
  • หน้ามืด
  • มีขนขึ้นมากผิดปกติ
  • คัดจมูก

ที่มาของข้อมูล

Scroll to Top