jaundice

ภาวะตัวเหลือง หรือดีซ่าน (Jaundice)

ภาวะเหลือง หรือดีซ่าน (Jaundice) คือ ภาวะที่ทำให้ผิวหนังและตาขาวกลายเป็นสีเหลือง ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้บ่อยในทารกแรกเกิด โดยเกิดจากร่างกายมีสารที่ชื่อ Bilirubin มากเกินไป (หรือไม่สามารถสลายได้)

Bilirubin เป็นสารที่มีสีเหลืองภายใน Hemoglobin และทำหน้าที่จับกับออกซิเจนภายในเม็ดเลือดแดง เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกตัว จะถูกนำไปกำจัดที่ตับ และร่างกายก็จะทำการสร้างเซลล์ใหม่เพื่อทดแทน ซึ่งหากตับไม่สามารถทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงเหล่านี้ได้ ก็จะทำให้เกิดสาร Bilirubin เพิ่มขึ้น

แม้ว่าตัวเหลืองสามารถรักษาให้หายได้ แต่อาการนี้อาจทำให้เกิดการทำลายสมองในทารกแรกเกิดหากไม่ได้รับการรักษา

อาการของภาวะดีซ่าน

ลักษณะเฉพาะของภาวะดีซ่าน คือ ผิวหนังมีสีเหลือง และตาขาวมีสีเหลืองชัดเจน ในกรณีที่รุนแรงมากขึ้น ตาขาวอาจเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีส้ม หากมีความผิดปกติของโรคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ก็อาจพบความเมื่อยล้าอย่างรุนแรง และอาเจียนหนัก

การมีผิวสีเหลือง อาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าตัวเองมีภาวะดีซ่าน แต่ความจริงแล้วอาจเป็นแค่การมีสารเบต้าแคโรทีนมากเกินไป การเกิดภาวะนี้ได้ จะต้องมีตาขาวสีเหลืองด้วย

ทารกมักได้รับการตรวจภาวะนี้หลายครั้งก่อนอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับอาการที่มองเห็นมากนัก โดยอาการแสดงที่มองเห็นได้ คือเห็นตาขาวเป็นสีเหลือง และผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และเมื่อระดับ Bilirubin สูงขึ้น จะเริ่มมีอาการแสดงที่บริเวณหน้าอก ท้อง แขน และขา

สาเหตุของภาวะดีซ่าน

ตามปกติแล้ว เซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุขัยจะถูกทำลายที่ตับ และจะเกิดสารบิลิรูบินที่เป็นสารสีเหลืองขึ้น หากตับไม่สามารถทำลายสารนี้ได้ ก็จะทำให้เกิดภาวะดีซ่านขึ้น บางครั้งก็อาจเกิดจากสารบิลิรูบินไม่ถูกลำเลียงไปยังระบบย่อยอาหารได้ตามปกติ จึงถูกขับออกทางอุจจาระแทน ทำให้อุจจาระมีสีที่ผิดปกติไป และในบางกรณีอาจเกิดการการที่เซลล์เม็ดเลือดแดงหมดอายุขัยพร้อมกันมากเกินไป

ภาวะดีซ่าน อาจเป็นอาการหนึ่งที่เกิดจากโรคต่อไปนี้

  • โรคตับจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic Liver Disease) : โรคนี้ทำให้เกิดการอักเสบของตับ สาเหตุมาจากการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน อาการจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณของความเสียหายของตับ
  • โรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic Cancer) : เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ของตับอ่อนซึ่งเป็นอวัยวะต่อมไร้ท่อที่สำคัญในบริเวณด้านหลังกระเพาะอาหาร แบ่งตัวเป็นเซลล์มะเร็งและเจริญเติบโตโดยไร้การควบคุม
  • โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) : เป็นโรคเลือดถ่ายทอดทางพันธุกรรมซึ่งทำให้ร่างกายสร้างฮีโมโกลบินในรูปแบบที่ผิดปกติ ความผิดปกติดังกล่าวส่งผลให้เกิดการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงมากเกินซึ่งนำไปสู่ภาวะโลหิตจางตามมา
  • นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstones) : นิ่วก่อตัวขึ้นเมื่อมีน้ำดี สารบิลิรูบินหรือสารคอเลสเตอรอลภายในของเหลวในถุงน้ำดีนั้นมีระดับสูงมากเกินไป
  • โรคตับอักเสบชนิดเอ (Hepatitis A) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอทำให้เกิดการอักเสบในตับ
  • โรคตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดการอักเสบในตับ
  • โรคตับอักเสบชนิดซี (Hepatitis C) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีทำให้เกิดการอักเสบในตับ
  • โรคตับอักเสบชนิดดี (Hepatitis D) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบดี ทำให้เกิดการอักเสบในตับ
  • โรคตับอักเสบชนิดอี (Hepatitis E) : การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอีทำให้เกิดการอักเสบในตับ
  • โรคขาดเอนไซม์ G6PD : เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมส่งผลให้เอนไซม์ G6PD ดังกล่าวในเลือดมีไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกตัวและถูกทำลายก่อนเวลาอันควร นำไปสู่ภาวะโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic Anemia)
  • การอุดตันของท่อน้ำดี (Bile Duct Obstruction) : ส่วนใหญ่เกิดจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่อาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ตับหรือถุงน้ำดี การอักเสบ เนื้องอก การติดเชื้อ ซีสต์หรือความเสียหายของตับก็ได้ ภาวะนี้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
  • โรคโลหิตจางชนิดเซลล์เม็ดแดงรูปเคียว (Sickle Cell Anemia) : เป็นโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีลักษณะคล้ายเคียว หรือพระจันทร์เสี้ยว มีแนวโน้มที่จะอุดตันตามเส้นเลือดเล็กๆ จึงขัดขวางการลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดแดงชนิดนี้จะถูกทำลายเร็วกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงที่มีรูปร่างปกติ
  • โรคมะเร็งตับ (Liver Cancer) : เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ของตับแบ่งตัวกลายเป็นมะเร็งและเริ่มควบคุมไม่ได้
  • ภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน (Acute Pancreatitis) : มักเกิดจากโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือการติดสุราเรื้อรัง ภาวะนี้ถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน
  • ปฏิกิริยาไม่เข้ากันของเลือดกรุ๊ป ABO : เกิดขึ้นได้ภายหลังจากการถ่ายเลือด แล้วปรากฎว่าเลือดเกิดปฏิกิริยาไม่เข้ากัน ภาวะนี้ถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างเร่งด่วน
  • โรคโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดแดงแตกจากการแพ้ภูมิตัวเอง (Idiopathic Autoimmune Hemolytic Anemia) : เกิดขึ้นเมื่อร่างกายเริ่มทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงในอัตราเร็วกว่าการผลิต ภาวะนี้จัดเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน
  • โรคไวล์ (Weil’s Disease) : เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มเลปโตสไปโรซีสและส่งผลกระทบต่อไต ตับ ปอด หรือสมอง
  • อาการไม่พึงประสงค์จากการได้รับยาเกินขนาด เช่น ยาพาราเซตามอล

ภาวะดีซ่านยังเกิดขึ้นบ่อยในทารกแรกเกิด (New born jaundice) โดยเฉพาะในทารกที่เกิดก่อนกำหนด เพราะตับยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ภาวะนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ภาวะดีซ่านจากนมแม่ (Breast milk jaundice) โดยทั่วไปแล้วไม่มีอันตรายใดๆ และจะหายไปได้เองในเวลาไม่นาน

ทำไมทารกจึงมีภาวะนี้?

ทารกแรกเกิดที่สบายดีจำนวนมากมีภาวะเหลืองได้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่คลอดครบกำหนด ( 38 สัปดาห์) ซึ่งศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and prevention – CDC) ได้รายงานว่ามีทารกแรกเกิดมากถึง 60% ที่มีภาวะดังกล่าว

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ตับของแม่จะทำการกำจัด Bilirubin ของลูกให้ แต่เมื่อคลอดแล้วตับของทารกจะต้องเป็นผู้กำจัดสารนี้เอง ซึ่งถ้าหากตับของทารกไม่พัฒนามากพอขณะเกิด อาจทำให้ไม่สามารถกำจัด Bilirubin ออกจากกระแสเลือดได้

ภาวะนี้อาจหายไปได้เองภายหลังได้รับการรักษาเพียงเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามหากมีภาวะเหลืองขั้นรุนแรง และไม่ได้รับการรักษานานเกินไป ทารกอาจเกิดภาวะ Kernicterus หรือการทำลายสมอง ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) สูญเสียการได้ยิน มีปัญหาด้านการมองเห็น มีปัญหาเรื่องฟัน และมีปัญหาทางด้านสติปัญญา

ทั้งนี้ ภาวะเหลืองสามารถเกิดได้ในทุกช่วงอายุ และอาจเกิดจากหรือเกิดร่วมกับโรคหรือภาวะต่อไปนี้ ได้แก่

  • โรคเลือด
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคตับ เช่นตับอักเสบหรือตับแข็ง
  • ท่อน้ำดีอุดตัน
  • การติดเชื้อ
  • การใช้ยาบางชนิด

การรักษาภาวะเหลือง หรือดีซ่าน

การรักษาภาวะเหลืองในทารกแรกเกิด สามารถทำได้ทั้งที่บ้านและที่โรงพยาบาล ทำโดยการวางทารกแบบไม่ใส่เสื้อผ้าไว้ใต้แสงชนิดพิเศษ (การทำ phototherapy) โดยแพทย์อาจแนะนำให้ทารกดื่มนมมากขึ้นด้วย

ส่วนการรักษาอาการนี้ในเด็กทารก หากพบว่าเด็กเป็นดีซ่านระดับปานกลาง จะได้รับการรักษาด้วยการเข้าตู้ส่องไฟ (Phototherapy) ในโรงพยาบาลหรือที่บ้าน เพื่อช่วยกำจัดสารบิลิรูบินส่วนเกิน ซึ่งอาจจะพบว่าเด็กถ่ายบ่อยขึ้น และมีอุจจาระเป็นสีเขียว เพราะมีการกำจัดสารนี้ออกจากร่างกาย


ที่มาของข้อมูล

Scroll to Top