ฟันคุด คืออะไร เคลียร์ครบสาเหตุ อาการ และวิธีรักษาฟันคุด scaled

ฟันคุด คืออะไร เคลียร์ครบสาเหตุ อาการ และวิธีรักษาฟันคุด

ฟันคุดเป็นหนึ่งในปัญหาช่องปากที่พบได้บ่อย อย่างน้อย 1 ซี่ในชีวิต นอกจากจะสร้างความรำคาญใจ ยังทำให้เคี้ยวอาหารได้ลำบาก สร้างความเจ็บปวดจนถึงขั้นนอนไม่หลับ หรือกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แล้วฟันคุดเกิดขึ้นได้ยังไง มีฟันคุดแล้วต้องผ่าออกไหม ไม่เอาออกอันตรายหรือเปล่า และอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับฟันคุดที่คุณอาจยังไม่รู้ บทความนี้มีคำตอบให้แล้ว 

ฟันคุด คืออะไร

ฟันคุดเป็นฟันแท้ที่ไม่สามารถเติบโตได้ตามกระบวนการปกติ เพราะมีเนื้อเยื่อเหงือกหรือกระดูกขากรรไกรขวางฟันไว้อยู่ หรือไม่มีพื้นที่ภายในช่องปากเพียงพอให้ฟันขึ้น 

ต้องอธิบายก่อนว่า คนเรามีฟันแท้ทั้งหมด 32 ซี่ตามธรรมชาติ ฟันกรามจะอยู่ด้านในสุด เรียงออกมาด้านละ 3 ซี่ ของฟันบนและล่าง มีทั้งฝั่งซ้ายและขวา ฟันกรามด้านในสุด 4 ซี่ จะเป็นฟันชุดสุดท้ายที่ขึ้นในช่วงอายุ 17-25 ปี บางคนอาจขึ้นช้ากว่านั้น ถ้าไม่สามารถงอกได้ตามกระบวนการปกติก็จะถูกเรียกว่า ฟันคุด (Wisdom Teeth, Impacted Tooth) นั่นเอง 

ฟันคุดมักเกิดกับฟันกรามซี่ในสุด โดยเฉพาะฟันกรามล่างซี่ที่สาม ทำให้คนเข้าใจว่าฟันคุดเกิดขึ้นเฉพาะกับฟันซี่นี้เท่านั้น แต่บางครั้งฟันคุดอาจเกิดกับฟันซี่อื่นได้ด้วย เช่น ฟันเขี้ยวและฟันกรามน้อย

ลักษณะของฟันคุด มีกี่แบบ

ลักษณะของฟันคุดเกิดได้หลายแบบ ถ้าแบ่งตามการขึ้นของฟัน จะแบ่งเป็นได้เป็น 2 แบบ คือ ฟันคุดที่ฝังในกระดูกขากรรไกร ไม่งอกออกมาเลยทั้งซี่ และฟันคุดที่โผล่พ้นเหงือกขึ้นมาเพียงบางส่วน

แต่ถ้าแบ่งตามความสัมพันธ์กับฟันข้างเคียง ฟันคุดจะแบ่งได้เป็น 4 แบบ คือ 

  • ฟันคุดที่ขึ้นแนวเฉียง เบียดเข้าหาฟันกรามซี่ที่สอง (Mesioangular Impaction, Mesial Impaction) มักขึ้นมาไม่เต็มซี่ เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด 
  • ฟันคุดที่ขึ้นแนวเฉียง เอียงออกจากฟันกรามซี่ที่สอง หรือในทิศทางตรงข้ามกับแบบแรก (Distoangular Impaction, Distal Impaction) พบได้ไม่บ่อย 
  • ฟันคุดขึ้นในแนวตั้ง (Vertical Impaction) ไม่เอียงหรือเบียดหาฟันซี่ข้างเคียง มีโอกาสที่จะขึ้นได้เหมือนฟันปกติ
  • ฟันคุดขึ้นในแนวนอน (Horizontal Impaction) เป็นฟันคุดที่เอาออกได้ยากที่สุด ต้องใช้เวลารักษาและฟื้นตัวนาน

อาการฟันคุด สังเกตได้อย่างไรว่ามีฟันคุด 

ฟันคุดเกิดได้หลายลักษณะ ถ้าตัวฟันไม่โผล่ขึ้นมาเหนือเหงือกต้องตรวจด้วยการเอกซเรย์เท่านั้น และบางคนก็อาจไม่มีอาการใด ๆ ยกเว้นฟันคุดเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือเบียดฟันซี่อื่น ซึ่งพอจะสังเกตได้จากอาการต่อไปนี้ 

ปวดฟัน

ปวดฟันเป็นอาการหลักที่คนปวดฟันคุดมักเผชิญ เพราะฟันพยายามจะขึ้น แต่ไม่อาจโผล่ทะลุเหงือกได้ โผล่ขึ้นมาบางส่วน หรือขึ้นในทิศทางที่ผิดปกติจนกระทบฟันซี่ข้าง ๆ ทำให้มีอาการปวดฟันมาก ปวดแปลบเป็นครั้งคราว และบอกไม่ได้ชัดเจนว่าปวดฟันซี่ใด

อาการบวมบริเวณเหงือก ขากรรไกร

ฟันที่กำลังขึ้นส่งผลกระทบต่อเหงือก ทำให้เหงือกบวม แดง หรืออักเสบ เป็นหนองตามมา โดยเฉพาะฟันกรามซี่สุดท้ายที่มักเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด และบางคนยังอาจปวดบริเวณขากรรไกรด้วย เพราะกระดูกขากรรไกรปิดขวาง ไม่ให้ฟันขึ้นตามปกตินั่นเอง  

ฟันโยกหรือหัก

ฟันคุดเกิดได้หลายลักษณะ เช่น ฟันขึ้นในแนวตรง ฟันขึ้นในแนวนอน ฟันเบียดเข้าหรือเบียดออกจากฟันซี่ข้าง ๆ การขึ้นของฟันในตำแหน่งและองศาที่ไม่ถูกต้อง ส่งผลให้การเรียงตัวของฟันผิดปกติไปด้วย ฟันซี่ข้างเคียงเลยมักจะถูกเบียด ทำให้ฟันโยกหรือหักได้ 

มีกลิ่นปาก

ปัญหาที่ตามมาหลังมีฟันคุดคือ เศษอาหารมักจะติดตามซอกฟัน ทำความสะอาดได้ยาก คราบพลัคสะสมตามเหงือกและฟันมากขึ้น จนเป็นเหตุให้มีกลิ่นปาก และรู้สึกถึงรสชาติไม่พึงประสงค์ในปาก  

มีปัญหาในการอ้าปาก

ฟันคุดส่งผลต่อการเรียงตัวของฟัน จึงรู้สึกปวดตึงบริเวณขากรรไกรหรือกราม ทำให้ขยับหรืออ้าปากได้ลำบาก โดยเฉพาะขณะเคี้ยวหรือทานอาหาร

ถ้าเริ่มมีอาการปวดหรือมีสัญญาณที่บ่งบอกถึงฟันคุด ควรไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก่อนที่อาการจะลุกลามและรักษาได้ยาก

ไม่แน่ใจเป็นฟันคุดรึเปล่า รีบให้คุณหมอดูก่อนติดเชื้อหรือฟันล้ม หาโปรผ่าหรือถอนฟันคุดที่คลินิกใกล้บ้านได้ ที่นี่ จองกับ HDmall.co.th ได้รับส่วนลดเพิ่มทุกครั้ง พร้อมคืนเงินให้เต็มจำนวน ถ้าคุณหมอประเมินแล้วต้องรักษาวิธีอื่น 

มีฟันคุดรักษาอย่างไร จำเป็นต้องผ่าออกไหม

ทันตแพทย์จะตรวจดูภายในช่องปาก เอกซเรย์ช่องปากเพิ่มเติม เพื่อตรวจหาตำแหน่งของฟันคุดทั้งหมด รวมถึงประเมินความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในช่องปาก เหงือก ฟัน และกระดูกขากรรไกร

แม้ไม่มีอาการปวดหรือความผิดปกติ ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผ่าฟันคุด (Tooth Removal) ออก เพราะฟันคุดอาจส่งผลต่อฟันซี่ข้างเคียง และยังยากต่อการทำความสะอาด เศษอาหารสะสมตามซอกฟันได้ง่าย ทำให้เสี่ยงต่อปัญหาช่องปากเพิ่มมากขึ้น เช่น 

  • ฟันผุ
  • ฟันล้มเก 
  • เหงือกอักเสบ 
  • โรคเหงือก 
  • ถุงน้ำที่กระดูกขากรรไกร 
  • แผลที่กระพุ้งแก้ม
  • มีปัญหาในการเคี้ยว

ในการผ่าฟันคุด ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณฟันและบริเวณโดยรอบ และผ่าตัดเปิดเหงือกก่อนจะตัดฟันคุดออกเป็นส่วน ๆ เพื่อนำฟันออกมาโดยไม่กระทบฟันซี่อื่น จากนั้นเย็บแผลด้วยไหมละลายเป็นอันเสร็จ หลังการผ่าฟันคุดอาจมีอาการปวด บวม ชาบริเวณที่ผ่าฟันออกไป แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ 

ฟันคุดอาจไม่ได้ก่อให้เกิดอาการปวดหรือความผิดปกติทันที แต่เมื่อปล่อยทิ้งไว้ ปัญหาช่องปากที่เกิดตามมานั้นรุนแรงกว่าแน่นอน และอาจทำให้รักษาได้ยากขึ้นตามไปด้วย ถ้าคุณมีฟันคุดหรืออาการที่บ่งบอกถึงฟันคุด อย่าลังเลที่ไปพบทันตแพทย์ และอย่าลืมตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำหรือทุก 6 เดือน เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี

ฟันคุดของคุณ ต้องรักษายังไงให้เหมาะที่สุด ให้คุณหมอประเมินวันนี้ หาโปรผ่าหรือถอนฟันคุด คลิก หรือทักแอดมินได้เลยที่นี่ จองกับ HDmall.co.th ได้รับส่วนลดเพิ่มทุกครั้ง พร้อมคืนเงินให้เต็มจำนวน ถ้าคุณหมอประเมินแล้วต้องรักษาวิธีอื่น

Scroll to Top