ตรวจมะเร็งเต้านม กับ แพทย์หญิงกรวรรณ จันทรจำนง ด้วยบริการจาก HDcare


ตรวจมะเร็งเต้านม กับ แพทย์หญิงกรวรรณ จันทรจำนง ด้วยบริการจาก HDcare

HDcare สรุปให้

ขยาย

ปิด

  • การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถตรวจอัลตราซาวด์กับตรวจแมมโมแกรมได้พร้อมกัน โดยคนไข้กลุ่มนี้คือ คนที่มีอาการผิดปกติชัดเจนแล้ว เช่น มีก้อน เจ็บ ผิวเต้านมเปลี่ยนไป และในคนไข้ที่ยังไม่แสดงอาการแต่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไป
  • หลังการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม หากพบความผิดปกติ มีความจำเป็นที่จะต้องเจาะชิ้นเนื้อตรวจพิสูจน์ สามารถทำได้ 4 วิธี
  • Core Needle Biopsy เป็นวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้ เป็นการเจาะชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดใหญ่ ลักษณะตัวเข็มจะเป็นปืนเฉพาะ สำหรับเจาะชิ้นเนื้อ 3-4 ครั้งจากในบริเวณเต้านม แผลเล็กประมาณ 3-4 มิลลิเมตร
  • บทความนี้ได้รับการสปอนเซอร์จาก HDcare ศูนย์รวมการผ่าตัดโดยทีมแพทย์ที่มีประสบการณ์ จาก HDmall.co.th แพทย์ผู้ให้ข้อมูลไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโฆษณา

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะช่วยให้ผู้หญิงห่างไกล จากการโรคร้ายอย่างมะเร็งได้ แพทย์ส่วนใหญ่จะแนะนำว่า ผู้หญิงวัย 35 ปี ขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองจากแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

แพทย์หญิงกรวรรณ จันทรจำนง หรือหมอเบนซ์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม จะมาให้ความรู้ เรื่องการผ่าตัดเนื้องอกเต้านมแบบเปิด ผ่านบทสัมภาษณ์จาก HDcare

อ่านประวัติของหมอเบนซ์ได้ที่นี่ [รู้จัก “หมอเบนซ์” ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านเต้านม]

เลือกหัวข้อที่สนใจได้ที่นี่

อาการผิดปกติของเต้านมที่พบได้บ่อย?

โรคทางเต้านมที่พบบ่อยเป็นกลุ่มเนื้องอกเต้านมชนิดปกติ (Fibroadenoma) นอกจากนี้ยังมีกลุ่มถุงน้ำ และกลุ่มหินปูนในเต้านมที่อาจพบได้บ้าง โดยอาการที่สังเกตได้การคือคลำเจอก้อน และเจ็บเต้านมซึ่งส่วนใหญ่จะพบจากการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมกับแพทย์

ถ้าพบว่ามีก้อนในเต้านม สิ่งที่จะต้องพิจารณาเป็นอันดับแรกคือ ก้อนเนื้อที่สงสัยใช่ก้อนมะเร็งหรือไม่? ถ้าไม่ใช่ก้อนมะเร็ง โดยส่วนมากก็จะไม่ได้ทำอะไร เพียงนัดมาตรวจติดตามกับแพทย์เป็นระยะ

แต่ในกรณีที่เป็นก้อนขนาดใหญ่ หรือว่าเป็นก้อนที่สงสัยว่าเป็นมะเร็ง ก็จะต้องพิสูจน์ด้วยการเจาะชิ้นเนื้อ และดูความจำเป็นว่าต้องผ่าตัดเอาออกหรือไม่

เมื่อตรวจพบก้อนที่เต้านม โอกาสที่จะพบว่าเป็นมะเร็งมีประมาณ 10% จากผู้ป่วยที่พบก้อนเนื้อเต้านมทั้งหมด

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมทำได้กี่วิธี?

  1. ตรวจด้วยตัวเอง: การคัดกรองมะเร็งเต้านมจากการคลำเต้านมด้วยตนเอง เป็นวิธีพื้นฐาน
    ทำได้เองที่บ้าน ตรวจทุกเดือนเดือนละ 1 ครั้งหลังอาบน้ำ วิธีนี้สะดวกแต่ความแม่นยำค่อนข้างน้อย
  2. ตรวจคัดกรองโดยแพทย์: การตรวจคัดกรองโดยแพทย์ร่วมกับการตรวจแมมโมแกรม ตรวจอัลตราซาวด์ที่โรงพยาบาล เป็นวิธีมาตรฐานในปัจจุบันมีความแม่นยำสูง

ตรวจอัลตราซาวด์และแมมโมแกรม ต้องทำพร้อมกันไหม?

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม สามารถตรวจอัลตราซาวด์กับตรวจแมมโมแกรมได้พร้อมกัน โดยคนไข้กลุ่มนี้คือ คนที่มีอาการผิดปกติชัดเจนแล้ว เช่น มีก้อน เจ็บ ผิวเต้านมเปลี่ยนไป และในคนไข้ที่ยังไม่แสดงอาการแต่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไป

ในกรณีที่อายุน้อยกว่า 35 ปี แพทย์แนะนำให้ตรวจเฉพาะอัลตราซาวด์ก็เพียงพอ

สำหรับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม จะเห็นภาพส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มความหนาแน่นของเนื้อเต้านมกับหินปูนในตัวเต้านม

ขณะที่การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยอัลตราซาวด์จะเป็นการดูลักษณะก้อนเนื้อในเต้านม

ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ไหนดี? [เลือกโรงพยาบาลใกล้บ้านได้ที่ HDmall.co.th คลิกที่นี่]

อาการแบบไหนเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม?

โดยปกติแพทย์จะประเมินจากภาพผลตรวจแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ ร่วมกับการตรวจร่างกาย

ข้อบ่งชี้สำคัญคือ สเกลหรือมาตรวัดในแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์ ปกติแล้วจะแบ่งเป็นเกรด ตั้งแต่เลข 1-6 คนไข้ที่ค่าผลตรวจออกมาตั้งแต่เลข 4 ขึ้นไป เช่น 4A 4B 4C หรือ 5 ถือว่ามีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า10% มีความจำเป็นที่จะต้องเจาะชิ้นเนื้อตรวจพิสูจน์ต่อไป

เจาะชิ้นเนื้อตรวจมะเร็งเต้านมทำได้กี่วิธี?

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม การเจาะชิ้นเนื้อตรวจทำได้ 4 วิธี

  1. การใช้เข็มขนาดเล็กเจาะนำเซลล์ไปตรวจ (Fine Needle Aspiration)
  2. การเจาะชิ้นเนื้อเต้านมด้วยเข็มขนาดใหญ่ โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์บอกตำแหน่ง (Core Needle Biopsy) [ดูรายละเอียดที่นี่]
  3. การใช้เข็มขนาดใหญ่ โดยใช้เครื่องเจาะดูดชิ้นเนื้อระบบสุญญากาศ (Vacuum Assisted Excision) เป็นเทคนิคได้ก้อนเนื้อออกมาเยอะ [ดูรายละเอียดที่นี่]
  4. การผ่าตัดแบบเปิด (Open Excision) คือการผ่าตัดแบบเปิดเพื่อเอาก้อนเนื้อออกมาตรวจ [ดูรายละเอียดที่นี่]

Core Needle Biopsy เทคนิคเจาะชิ้นเนื้อที่ได้รับความนิยม

หลังการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม หากพบความผิดปกติส่วนใหญ่จะต้องเจาะชิ้นเนื้อตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาความผิดปกติ

โดยวิธีที่เป็นมาตรฐานนิยมใช้ในปัจจุบันคือ Core Needle Biopsy (CNB) เป็นการเจาะชิ้นเนื้อด้วยเข็มขนาดใหญ่ ลักษณะตัวเข็มจะเป็นปืนเฉพาะ สำหรับเจาะชิ้นเนื้อ 3-4 ครั้งจากในบริเวณเต้านม แผลเล็กประมาณ 3-4 มิลลิเมตร

วิธีนี้แพทย์มักจะทำร่วมกับการอัลตราซาวด์เต้านมเพื่อระบุตำแหน่ง

หัตถการนี้จะใช้การฉีดยาชาเฉพาะที่ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 5-15 นาที

การเตรียมตัวก่อนเจาะชิ้นเนื้อเต้านม

กรณีมีโรคประจำตัว กินยาละลายลิ่มเลือด รวมถึงวิตามินที่ทำให้เลือดออกง่าย ต้องแจ้งกับแพทย์ล่วงหน้าเพื่อพิจารณาการหยุดยา

การดูแลหลังเจาะชิ้นเนื้อเต้านม

หลังเข้ารับการเจาะชิ้นเนื้อเพื่อตรวจมะเร็งเต้านม ควรงดออกกำลังกายหนัก หรืองดยกของหนัก 1-2 สัปดาห์หลังทำ

อย่าให้แผลโดนน้ำ 3 วัน หากใช้พลาสเตอร์กันน้ำปิดแผลให้ สามารถอาบน้ำได้ตามปกติ แต่งดการถูหรือจับพลาสเตอร์กันน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำซึมเข้าแผล

ใครบ้างไม่ควรเจาะชิ้นเนื้อแบบ CNB

การเจาะชิ้นเนื้อเพื่อตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเทคนิค Core Needle Biopsy (CNB) สามารถทำได้ในผู้ป่วยแทบทุกราย ยกเว้นในรายที่ตัวก้อนเนื้อติดกับกล้ามเนื้อหน้าอกด้านล่างค่อนข้างมาก หรือว่าติดกับผิวหนังด้านบนค่อนข้างมาก อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการตรวจให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละราย

ตรวจมะเร็งเต้านมกับ พญ. กรวรรณ ด้วยบริการจาก HDcare

สำหรับคนที่มีอาการเจ็บเต้านม คลำเจอก้อนที่เต้านม อย่าเก็บความกังวลใจไว้กับตัว หากต้องการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม อยากปรึกษาหมอเบนซ์ สามารถทักเข้ามาปรึกษาได้ทาง HDcare

สอบถามทุกประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดที่สงสัย กับทางทีมของ HDcare จนกว่าจะมั่นใจ และหากต้องการผู้ช่วยประสานงานด้านใดในโรงพยาบาล หรืออยากสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับบริการ HDcare สามารถพูดคุยผ่านทางไลน์ @HDcare ได้เลย

บทความที่แนะนำ

@‌hdcoth line chat