ginkgo scaled

แปะก๊วย (Ginkgo)

แปะก๊วย เป็นพืชสมุนไพรที่มีต้นกำเนิดจากทางตะวันออกของประเทศจีน สำหรับประเทศไทย เรามักคุ้นชินกับเมล็ดแปะก๊วยที่นำมาทำเป็นของหวาน และยังนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารจีนหลากหลายชนิด เช่น ขนมบะจ่าง ผัดโหงวก้วย ชาวจีนเชื่อว่าแปะก๊วยเป็นยาอายุวัฒนะ เนื่องจากสามารถบำบัดโรคต่างๆ ได้ โดยเฉพาะสรรพคุณช่วยบำรุงสมอง ทำให้มีสมาธิและความจำดี

แปะก๊วยเป็นหนึ่งในต้นไม้ที่เก่าแก่ที่สุด อาจมีอยู่ในโลกมาแล้วกว่า 200 ล้านปี เป็นพืชอยู่ในวงศ์ Ginkgoaceae ซึ่งจัดเป็นสกุลพืชที่มีอายุมากที่สุดของพืชมีเมล็ดทั้งหมด ลักษณะเป็นไม้ผลัดใบยืนต้น สูง 30-40 เมตร ใบออกจากปลายกิ่งสั้นๆ รูปร่างคล้ายพัดจีน ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิ จะให้ผลเมื่อมีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ผลมีลักษณะกลมรี มีสีเหลือง ชั้นนอกหุ้มด้วยเนื้อไม้และมีกลิ่นฉุน ภายในมีเมล็ดรูปกลมรี มีเปลือกแข็งหุ้ม เนื้อในเมล็ดมีสีเหลืองอ่อน หลังจากผสมเกสรต้องใช้เวลาถึง 130-140 วัน จึงจะสุกและรับประทานได้ แปะก๊วยเป็นไม้ที่ไม่ค่อยมีศัตรูมารบกวน ต้านทานลมพายุ ทนต่อมลพิษหลายชนิด

แปะก๊วยทำงานอย่างไร?

แปะก๊วยช่วยในเรื่องการไหลเวียนโลหิต ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองและขา มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์และเข้ายับยั้งการเปลี่ยนแปลงในสมองที่อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการจดจำและกระบวนการคิด

เมล็ดประกอบด้วยสารที่ใช้กำจัดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดภาวะติดเชื้อภายในร่างกาย แต่อย่างไรก็ตาม เมล็ดก็มีสารพิษที่อาจทำให้เกิดอาการชักและหมดสติได้ด้วย

ใบใช้เพื่อรักษาภาวะผิดปกติทางสมองอย่างโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) นอกจากนี้แปะก๊วยยังใช้รักษาภาวะสูญเสียความทรงจำ วิงเวียน ตั้งสมาธิลำบาก และอารมณ์แปรปรวน บางคนใช้ใบแปะก๊วยรักษาอาการปวดขาขณะเดินเนื่องจากการไหลเวียนโลหิตไม่ดี (Claudication) แต่ยังไม่มีการศึกษาแน่ชัดในเรื่องดังกล่าว

สรรพคุณของมีมากมายเนื่องจากเป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานาน เช่น มีข้อมูลการใช้แปะก๊วยในการรักษาด้วยการแพทย์ทางเลือก ควบคู่กับการใช้ยาแผนปัจจุบันในการรักษาโรคหอบหืด (Asthma) ในอุตสาหกรรม มีการใช้สารสกัดใบแปะก๊วยเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและในอาหาร

ประโยชน์ของแปะก๊วย

ตามตำราแพทย์แผนจีนกล่าวว่า ทั้งใบและผลของแปะก๊วยมีสรรพคุณทางยา โดยผลจะมีรสหวาน ขมและฝาดเล็กน้อย ส่วนใบจะขมและฝาดมากกว่า

มีสรรพคุณคือ เข้าเส้นลมปราณปอด จึงช่วยดึงรั้งพลังปอด ช่วยบรรเทาอาหารหอบหืด ไอเรื้อรัง สลายเสมหะ

นอกจากนี้ยังเข้าเส้นปราณไตอีกด้วย จึงช่วยรักษาเกี่ยวกับอาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะราดที่นอน และช่วยรักษาอาการตกขาว

ภาวะที่อาจใช้แปะก๊วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดแปะก๊วยสามารถลดอาการจากภาวะวิตกกังวลได้
  • สมองเสื่อม (Dementia) ที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคหลอดเลือดหัวใจ (Vascular disease) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การรับประทานแปะก๊วยต่อเนื่องนานกว่าหนึ่งปีจะช่วยให้อาการจากโรคอัลไซเมอร์ โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคสมองเสื่อมอื่นๆ ดีขึ้น ด้วยการรับประทาน 240 มิลลิกรัม/วัน อย่างไรก็ตาม มีข้อกังขาว่าการศึกษาเหล่านี้อาจจะไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากยังคงมีข้อมูลที่ขัดแย้งอยู่ จึงยากที่จะชี้ชัดเกี่ยวกับสรรพคุณที่แท้จริงของแปะก๊วย ตามที่กล่าวว่า แม้แปะก๊วยจะสามารถรักษาอาการของโรคสมองเสื่อมหลายชนิดได้ แต่แปะก๊วยไม่อาจป้องกันไม่ให้อาการอัลไซเมอร์ทรุดลงกว่าเดิม งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่เรียกว่า EGb 761 ทุกวันนาน 22-24 สัปดาห์ อาจมีผลดีดีเทียบเท่าการรับประทานยาโดนีพีซิล (Donepezil หรือชื่อทางการค้าคือ Aricept) หากเป็นการรักษาโรคอัลไซเมอร์ที่ไม่รุนแรง แต่งานวิจัยอื่นๆ ระบุว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการใช้ยาแผนปัจจุบัน ทั้งยาโดนีพีซิลและยาทาครีน (Tacrine หรือชื่อการค้าคือ Cognex) ส่วนการรับประทานแปะก๊วยร่วมกับยาตามใบสั่งแพทย์ อย่างยาโดนีพีซิลหรือยารีวาสติกมีน (Rivastigmine) อาจไม่ดีไปกว่าการใช้เพียงยารักษาอาการอัลไซเมอร์อย่างเดียว
  • ปัญหาสายตาของผู้ป่วยเบาหวาน มีหลักฐานบางชิ้นกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย สามารถช่วยปรับการมองเห็นสีจากอาการเรตินาเสียหายจากเบาหวานได้
  • สูญเสียการมองเห็นจากต้อหิน การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นเวลานานถึง 12.3 ปี อาจไม่ช่วยให้สภาพการมองเห็นอันเป็นความเสียหายที่เป็นมาอยู่ก่อนของดวงตาของผู้เป็นต้อหินดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยอื่นแย้งว่าหากรับประทานเพียง 4 สัปดาห์ แปะก๊วยจะไม่ช่วยหยุดการดำเนิน (Progression) ของโรคต้อหินได้ จึงอาจต้องกินเป็นเวลานานเพื่อให้เห็นผลลัพธ์
  • อาการปวดขาขณะเดินที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนโลหิตที่ไม่ดี (โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral vascular disease) มีงานวิจัยบางชิ้นพบว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจช่วยให้ผู้ที่มีการไหลเวียนเลือดที่ขาไม่ดีสามารถเดินได้ไกลขึ้นโดยไม่ปวดขา นอกจากนี้การรับประทานแปะก๊วยยังช่วยลดความจำเป็นที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้มีอาการนี้อาจต้องรับประทานแปะก๊วยนานอย่างน้อย 24 สัปดาห์กว่าจะเห็นผล แต่งานวิจัยเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวยังมีไม่มากนัก
  • กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome (PMS)) มีข้อมูลว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยสามารถช่วยบรรเทาอาการกดเจ็บที่เต้านมและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาการก่อนมีประจำเดือน แต่อาจต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติมอีก
  • จิตเภท (Schizophrenia) งานวิจัยในจีนแสดงให้เห็นว่า การรับประทานแปะก๊วยทุกวันร่วมกับยาแผนปัจจุบันที่ใช้ระงับอาการทางจิต เช่น ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) สามารถลดอาการทางจิตและลดผลข้างเคียงของยาได้บางประการ เช่น อาการกระหายน้ำและท้องผูก เป็นต้น
  • ภาวะเคลื่อนไหวผิดปกติทีเรียกว่าอาการยึกยือ (Tardive dyskinesia) ภาวะนี้เกิดจากการใช้ยาจิตเวชบางตัว โดยมีงานวิจัยกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดแปะก๊วย EGb 761 นาน 12 สัปดาห์สามารถลดความรุนแรงของอาการยึกยือในผู้ป่วยจิตเภทที่กำลังใช้ยาอยู่ได้
  • วิงเวียนบ้านหมุน (Vertigo) การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถทำให้อาการวิงเวียนและอาการตั้งสมดุลดีขึ้น

ภาวะที่แปะก๊วยอาจไม่สามารถรักษาได้

  • ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศจากการใช้ยาต้านซึมเศร้า แม้ว่างานวิจัยบางชิ้นจะกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยจะช่วยแก้ปัญหาทางเพศจากการใช้ยาต้านซึมเศร้าได้ ไม่นานมานี้กลับมีงานวิจัยแย้งว่า แปะก๊วยอาจไม่ได้ช่วยในเรื่องนี้ นั่นคือเพียงช่วยให้เกิดความปรารถนาทางเพศ แต่ไม่ได้ช่วยเพิ่มสมรรถภาพในขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปัญหาทางจิตและความจำที่เกิดจากการทำเคมีบำบัด งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยที่เรียกว่า EGb 761 จำนวน 2 ครั้งต่อวัน เริ่มจากช่วงก่อนทำเคมีบำบัดครั้งที่ 2 และต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นสุดการทำเคมีบำบัด 1 เดือน ไม่ได้ช่วยป้องกันปัญหาทางจิตที่อาจจะเกิดจากการรักษาประเภทนี้ได้ (ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม)
  • ความดันโลหิตสูง งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 นาน 6 ปี ไม่ได้ลดความดันเลือดของผู้สูงอายุที่มีปัญหาความดันสูงแต่อย่างใด
  • โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยหรือ Ginkgolide B ที่เป็นสารเคมีที่พบในสารสกัดแปะก๊วยไม่ได้ช่วยให้ความพิการของผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมีอาการดีขึ้น
  • ความผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาล การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยไม่อาจป้องกันอาการของภาวะผิดปกติทางอารมณ์ตามฤดูกาลได้
  • หูอื้อ ยังไม่มีการศึกษามากพอที่จะสรุปได้ว่า การรับประทานใบแปะก๊วยจะช่วยรักษาหูอื้อได้
  • โรคหัวใจ การรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วย (EGb 761) ไม่อาจลดโอกาสรอดชีวิตจากภาวะหัวใจวาย เจ็บหน้าอก หรือหลอดเลือดสมอง (Stroke) ในผู้สูงอายุได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานและยังไม่มีข้อสรุปว่าใช้แปะก๊วยรักษาได้

  • สูญเสียการมองเห็นจากอายุ (Age-related macular degeneration) มีงานวิจัยเพียงบางชิ้นกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจช่วยให้อาการและระยะการมองเห็นของผู้ที่มีปัญหาสูญเสียการมองเห็นจากอายุที่มากขึ้นได้
  • ไข้ละอองฟาง (Hayfever หรือ Allergic rhinitis) มีงานวิจัยเพียงบางชิ้นแสดงให้เห็นว่า การใช้ยาหยอดตาที่ประกอบด้วยสารสกัดจากแปะก๊วยสามารถลดอาการตาแดง ตาบวม จากภาวะไข้ละอองฟางได้
  • อาการแพ้ความสูง (Altitude sickness) งานวิจัยเกี่ยวกับผลของสารสกัดจากใบแปะก๊วยกับอาการแพ้ความสูงนั้นยังคงไม่สอดคล้องกัน บ้างก็กล่าวว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยสามารถลดอาการจากภาวะนี้ได้ แต่งานวิจัยอื่นๆ กลับกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยก่อนปีนเขาไม่อาจป้องกันอาการนี้ได้
  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD)) ผลจากการรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้กับอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคสมาธิสั้นยังคงไม่ชัดเจน มีหลักฐานบางชิ้นกล่าวว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารสกัดจากใบแปะก๊วยและโสมอเมริกาอาจช่วยให้อาการสมาธิสั้นอย่างวิตกกังวล อยู่ไม่สุข และหุนหันพลันแล่นของเด็กอายุ 3-17 ปีดีขึ้นได้ แต่งานวิจัยอื่นกลับแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดแปะก๊วยไม่ได้ช่วยให้อาการสมาธิสั้น ดีขึ้นแต่อย่างใด เมื่อนำไปเทียบกับการใช้ยาเมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) ที่ใช้รักษาเด็กสมาธิสั้นอายุ 6-14 ปี อีกทั้งการรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยร่วมกับยาเมทิลเฟนิเดตยังอาจไม่ช่วยให้เด็กมีอาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับเด็กที่รับประทานยาเมทิลเฟนิเดตเพียงอย่างเดียว
  • ออทิสติก (Autism) ยังไม่มีงานวิจัยที่บ่งชี้ให้เห็นผลชัดเจนว่า การรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยจะช่วยให้ผู้ป่วยออทิสติกมีอาการดีขึ้น
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease (COPD)) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า การรับประทานสารสกัดจากแปะก๊วยไม่อาจช่วยให้การทำงานของปอดของผู้เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังดีขึ้น
  • เสพติดโคเคน งานวิจัยกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยไม่มีผลช่วยผู้ที่เสพติดโคเคนแต่อย่างใด
  • การทำงานทางจิต ข้อสรุปเรื่องการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยกับเรื่องการทำงานทางจิตและความทรงจำยังคงไม่แน่ชัด งานวิจัยบางชิ้นพบว่าอาหารเสริมชนิดนี้อาจช่วยในเรื่องความจำ ความเร็วในการคิด และสมาธิของผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี แต่งานวิจัยอื่นกลับไม่พบประโยชน์เหล่านี้ จำต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสรรพคุณของพืชชนิดนี้กับการทำงานทางจิตของผู้ใหญ่
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal cancer) งานวิจัยกล่าวว่า การใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย (EGb 761, ONC) ทางเส้นเลือดร่วมกับยาต้านมะเร็ง อาจให้ผลดีต่อผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเฉพาะผู้ที่มะเร็งลุกลามแล้ว
  • ดิสเลกเซีย (Dyslexia) งานวิจัยกล่าวว่า การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วย (EGb 761) นาน 30 วันโดยประมาณ จะลดอาการดิสเลกเซียในเด็กที่มีอายุ 5-16 ปีได้ แต่ข้อมูลดังกล่าวยังต้องการการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) การรับประทานยาเมล็ดที่เป็นสารสกัดจากใบแปะก๊วย ร่วมกับแคปซูล Coenzyme Q-10 (Bio Quinone Q10, Pharma Nord) นาน 84 วันอาจทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นแต่ในด้านการรักษาโรคนั้นข้อมูลยังไม่ชัดเจน
  • สูญเสียการได้ยิน มีหลักฐานที่กล่าวว่าการรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้อาจช่วยการสูญเสียการได้ยินในระยะสั้น แต่ยังคงไม่แน่ชัดว่าประโยชน์เช่นนี้มาจากแปะก๊วยจริงหรือไม่
  • ปวดศีรษะ ไมเกรน งานวิจัยพบว่าการรับประทาน Ginkgolide B ที่เป็นเคมีที่พบในสารสกัดใบแปะก๊วยอาจช่วยป้องกันไมเกรนในเด็กและสตรีได้
  • การสัมผัสรังสี มีหลักฐานงานวิจัยที่กล่าวว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย (EGb 761, Tanakan Ipsen) อาจลดผลเสียได้เพียงบางส่วนจากการฉายรังสีบนร่างกาย
  • ผิวหนังเป็นพิษจากการสัมผัสรังสี งานวิจัยกล่าวว่าการทาครีมที่ประกอบด้วยสารสกัดจากแปะก๊วย ว่านหางจระเข้ และ metal esculetina (Radioskin 2) ร่วมกับผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งตัว (Radioskin 1) อาจช่วยปรับความชุ่มชื้นของผิวและลดการระคายเคืองของผิวที่เกิดจากการบำบัดรังสีในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
  • ภาวะหลอดเลือดผิดปกติ (Raynaud’s syndrome) บางงานวิจัยกล่าวว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยเป็นเวลา 10 สัปดาห์อาจลดความถี่ของความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นต่อสัปดาห์ของผู้ป่วยโรคเรย์เนาด์ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากงานวิจัยอื่นกลับแย้งว่าอาหารเสริมชนิดนี้ไม่มีสรรพคุณดังกล่าว หรือบ้างก็กล่าวว่าด้อยประสิทธิภาพกว่ายาไนเฟดิปีน (Nifedipine)
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยทุกวันนาน 8 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยฟื้นฟูการทำหน้าที่ทางเพศของผู้หญิงที่มีอาการหมดอารมณ์ทางเพศได้ อย่างไรก็ตาม หากเป็นการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแปะก๊วย โสม แดมเมียนา L-arginine วิตามินรวม และแร่ธาตุต่างๆ (ArginMax for Women) นาน 4 สัปดาห์ อาจช่วยฟื้นฟูความพึงพอใจทางเพศของผู้หญิงที่มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศได้
  • โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ผลจากการใช้อาหารเสริมชนิดนี้กับการฟื้นฟูผู้ป่วยที่เคยประสบกับโรคหลอดเลือดสมองนั้นยังไม่แน่ชัด บ้างก็กล่าวว่าผู้ป่วยจะดีขึ้นหลังการรักษาด้วยอาหารเสริมชนิดนี้ แต่ข้อมูลจากการศึกษาคุณภาพสูงกลับไม่พบประโยชน์เช่นนี้
  • โรคด่างขาว (Vitiligo) มีงานวิจัยที่กล่าวว่าการรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo Plus, Seroyal) อาจลดขนาดและการแพร่กระจายของด่างผิวหนังได้

ผลข้างเคียงและหลักการบริโภคแปะก๊วยให้ปลอดภัย

  • การรับประทานสารสกัดใบแปะก๊วยจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมากเมื่อบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อยขึ้นอย่างปวดท้อง ปวดศีรษะ วิงเวียน ท้องผูก หัวใจเต้นแรง และปฏิกิริยาแพ้บนผิวหนัง เป็นต้น
  • ผลและเนื้อเยื่อภายในอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ที่ผิวหนังและสร้างความระคายเคืองแก่เยื่อเมือกบุผิว (Mucous membranes) อีกทั้งอาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้รุนแรงต่อคนที่เป็นภูมิแพ้ต้นพอยซันไอวี่ (Poison ivy) หรือน้ำมันเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ (Cashew shell)
  • มีข้อกังวลว่าการสารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกได้ ทำให้เลือดบางและลดความสามารถในการก่อตัวเป็นลิ่มเลือด ผู้ที่รับประทานแปะก๊วยบางคนจะมีภาวะเลือดออกในตา สมอง และปอดภายหลังการผ่าตัด และสารสกัดใบแปะก๊วยก็ยังอาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้บนผิวหนังผู้ใช้บางรายได้ด้วย
  • การรับประทานเมล็ดแปะก๊วยเผาหรือต้นแปะก๊วยดิบนั้นจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัย โดยการรับประทานเมล็ดแปะก๊วยมากกว่า 10 เมล็ดต่อวันอาจทำให้เกิดอาการชีพจรเต้นต่ำ ชัก หมดสติ และช็อกได้
  • การรับประทานเมล็ดแปะก๊วยสดจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัย โดยการรับประทานสดนี้อาจทำให้เกิดอาการชักและเสียชีวิตได้ เพราะเมล็ดแปะก๊วยสดนั้นเป็นพิษและจัดว่าค่อนข้างอันตรายเกินกว่าจะรับประทานสด
  • ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือว่าแปะก๊วยที่นำไปทาบนผิวหนังนั้นปลอดภัยหรือไม่

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

บุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือมีภาวะความผิดปกติ ซึ่งควรระมัดระวังหรือหลีกเลี่ยงการกินแปะก๊วย มีดังนี้

  • สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร แปะก๊วยจัดว่าอาจจะไม่ปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างมีครรภ์ เพราะอาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือมีเลือดออกมากระหว่างคลอดได้ หากรับประทานในเวลาใกล้เคียงกัน ณ ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าผู้ให้นมบุตรสามารถบริโภคแปะก๊วยได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ จึงควรงดการบริโภคแปะก๊วยขณะตั้งครรภ์และต้องให้นมบุตรไปก่อน
  • เด็กและทารก สารสกัดใบแปะก๊วยจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยเมื่อรับประทานในช่วงเวลาอันสั้น บางงานวิจัยกล่าวว่าการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสกัดใบแปะก๊วยกับโสมอเมริกาอาจมีความปลอดภัยสำหรับเด็กเมื่อใช้ในระยะสั้น แต่สำหรับการบริโภคเมล็ดแปะก๊วยสดนั้นไม่ควรให้เด็กรับประทานเพราะค่อนข้างไม่ปลอดภัย เอาจทำให้เด็กมีอาการชักและเสียชีวิตได้
  • ภาวะเลือดออกผิดปกติ แปะก๊วยอาจทำให้ภาวะเลือดออกผิดปกติทรุดลงได้ ดังนั้นผู้ป่วยภาวะนี้ควรงดการใช้แปะก๊วย
  • เบาหวาน แปะก๊วยอาจรบกวนการควบคุมเบาหวานของผู้ป่วย ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวานต้องการบริโภคแปะก๊วย ควรเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดอย่างใกล้ชิด
  • ชัก ขณะนี้มีข้อกังวลว่าแปะก๊วยอาจทำให้เกิดอาการชักได้ หากคุณเคยประสบกับอาการชักมาก่อนควรงดใช้แปะก๊วย
  • โรคพร่องเอนไซม์ G6PD (Deficiency of the enzyme glucose-6-phosphate dehydrogenase (G6PD)) แปะก๊วยอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางรุนแรงในผู้ที่มีภาวะขาดเอนไซม์ G6PD ซึ่งจนกว่าจะมีข้อมูลเพิ่มเติม ผู้ป่วยภาวะนี้ควรเลี่ยงการใช้แปะก๊วยอย่างระมัดระวัง
  • ภาวะมีบุตรยาก แปะก๊วยอาจทำให้ตั้งครรภ์ยากขึ้น ดังนั้นควรปรึกษาการใช้แปะก๊วยกับผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่คุณกำลังพยายามมีบุตร
  • ผู้รับการผ่าตัด แปะก๊วยอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือดขึ้นซึ่งจะทำให้มีเลือดออกมากระหว่างและหลังการผ่าตัด ดังนั้นควรหยุดใช้แปะก๊วยก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 2 สัปดาห์

การใช้แปะก๊วยร่วมกับยาชนิดอื่น

ห้ามใช้แปะก๊วยร่วมกับยาเหล่านี้

  • ยาไอบูโปรเฟน (Ibuprofen)
    แปะก๊วยสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือดขึ้น ซึ่งยาไอบูโปรเฟนเองก็มีฤทธิ์เช่นเดียวกัน ดังนั้นการรับประทานร่วมกับยาไอบูโปรเฟนจะทำให้เกิดลิ่มเลือดยากขึ้นและเพิ่มโอกาสการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกมากขึ้นตามมา
  • ยาชะลอการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant/Antiplatelet drugs)
    แปะก๊วยสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือด ดังนั้นการรับประทานร่วมกับยาชะลอการเกิดลิ่มเลือดจะเพิ่มโอกาสการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกมากขึ้น โดยตัวอย่างยาที่ชะลอการเกิดลิ่มเลือดมีดังนี้ Aspirin, Clopidogrel (Plavix), Diclofenac (Voltaren, Cataflam และอื่นๆ), Ibuprofen (Advil, Motrin และอื่นๆ), Naproxen (Anaprox, Naprosyn และอื่นๆ), Dalteparin (Fragmin), Enoxaparin (Lovenox), Heparin, Warfarin (Coumadin) และอื่นๆ
  • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin (Coumadin))
    แปะก๊วยสามารถชะลอการเกิดลิ่มเลือด การรับประทานร่วมกับยาวาร์ฟารินที่ใช้ชะลอการเกิดลิ่มเลือดเช่นกันจะเพิ่มโอกาสการเกิดแผลฟกช้ำและเลือดออกมากขึ้น ดังนั้นควรทำการตรวจเลือดเป็นประจำและอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนปริมาณยาวาร์ฟารินตามความจำเป็น

ควรใช้แปะก๊วยร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam (Xanax)) การรับประทานแปะก๊วยร่วมกับยาอัลปราโซแลม จะลดผลกระทบของยาอัลปราโซแลมลง
  • ยาบูสไพโรน (Buspirone (BuSpar)) การรับประทานแปะก๊วยจะส่งผลต่อสมอง และยาบูสไพโรนเองก็ส่งผลต่อสมองเช่นกัน ผู้ที่รับประทานยาบูสไพโรนร่วมกับแปะก๊วยอาจมีอาการตื่นเต้นเกินเหตุได้ แต่ ณ ขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าอาการเหล่านี้เกิดจากแปะก๊วยหรือยาตัวอื่นที่รับประทานร่วมกัน
  • ยาเอฟฟาไวเรนซ์ (Efavirenz (Sustiva)) ยาเอฟฟาไวเรนซ์เป็นยาที่ใช้รักษาภาวะติดเชื้อ HIV การรับประทานเอฟฟาไวเรนซ์ร่วมกับสารสกัดแปะก๊วยจะลดผลของยาเอฟฟาไวเรนซ์ลง ดังนั้นก่อนรับประทานควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อน
  • ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine (Prozac)) การรับประทานแปะก๊วยร่วมกับเซนจอห์นเวิร์ต (St. John’s wort) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรกับยาฟลูออกซิทีน อาจทำให้คุณรู้สึกฉุนเฉียว ตื่นเต้น ยุกยิก และอารมณ์ดีหรือคึกคักมากกว่าปกติ (Hypomania) แต่หากเป็นการบริโภคแปะก๊วยกับยาฟลูออกซิทีนจะยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
  • ยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ยาที่ชื่อ Cytochrome P450 กลุ่ม 1A2 (CYP1A2) ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยาบางตัว แปะก๊วยอาจเข้าไปช่วยลดความเร็วที่ตับจะไปทำลายฤทธิ์ยาบางตัวนั้นๆ การใช้แปะก๊วยพร้อมกับยาบางชนิดจะเพิ่มฤทธิ์ยาและผลข้างเคียง ก่อนการรับประทานจึงควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ โดยยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปล
  • ยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ยาที่ชื่อ Cytochrome P450 กลุ่ม 2C9 (CYP2C9) ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยาบางตัว แปะก๊วยอาจเข้าไปช่วยลดความเร็วที่ตับจะไปทำลายฤทธิ์ยาบางตัวนั้นๆ การใช้แปะก๊วยพร้อมกับยาชนิดนี้จะเพิ่มฤทธิ์ยา ก่อนการรับประทานจึงควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ โดยยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลง
  • ยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ยาที่ชื่อ Cytochrome P450 กลุ่ม 2D6 (CYP2D6) ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยาบางตัว แปะก๊วยอาจเข้าไปช่วยลดความเร็วที่ตับจะไปทำลายฤทธิ์ยาบางตัวนั้นๆ การใช้แปะก๊วยพร้อมกับยาบางชนิดจะเพิ่มฤทธิ์ยาและผลข้างเคียง ก่อนการรับประทานจึงควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ โดยยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลง
  • ยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงฤทธิ์ยาที่ชื่อ Cytochrome P450 กลุ่ม 3A4 (CYP3A4) กับแปะก๊วย ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยาบางตัว แปะก๊วยอาจเข้าไปช่วยลดความเร็วที่ตับจะไปทำลายฤทธิ์ยาบางตัวนั้นๆ การใช้แปะก๊วยพร้อมกับยาบางชนิดจะสลายฤทธิ์ยาและเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงมากมาย ก่อนการรับประทานจึงควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ โดยยาที่ตับจะเข้าไปเปลี่ยนแปลง
  • ยาที่สำหรับเบาหวาน (Antidiabetes drugs) กับแปะก๊วย ยาเบาหวานใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด และแปะก๊วยเองก็มีฤทธิ์ในการเพิ่มหรือลดระดับอินซูลินของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เช่นกัน ดังนั้นการรับประทานร่วมกับยาสำหรับเบาหวานอาจลดประสิทธิภาพของยาลง ควรเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดของคุณอย่างใกล้ชิด โดยอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนปริมาณยาเบาหวานที่ใช้ตามความจำเป็น
  • ยาที่เพิ่มโอกาสการชัก (Seizure threshold lowering drugs) ยาบางชนิดจะเพิ่มโอกาสการชักขึ้น และการรับประทานแปะก๊วยก็ทำให้บางคนมีอาการชักได้ การรับประทานยากลุ่มนี้ร่วมกับแปะก๊วยจึงเพิ่มโอกาสให้มีอาการชักสูงขึ้น จึงไม่ควรรับประทานร่วมกับยาดังที่กล่าวต่อไป
  • ยาที่ใช้ป้องกันการชัก (Anticonvulsants) ยาบางชนิดใช้เพื่อป้องกันการชักที่ส่งผลต่อสารเคมีในสมอง แปะก๊วยเองก็ส่งผลต่อสารเคมีในสมองเช่นกัน ซึ่งจะลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้ป้องกันการชัก ตัวอย่างยาที่ป้องกันการชักมี และอื่นๆ
  • ยาทราโซโดน (Trazodone (Desyrel)) ยาทราโซโดนส่งผลต่อสารเคมีในสมอง แปะก๊วยเองก็ส่งผลต่อสารเคมีในสมองเช่นกัน ดังนั้นการรับประทานยาทราโซโดนร่วมกับแปะก๊วยจะเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วงต่อสมอง โดยผู้ที่ใช้ยาทราโซโดนร่วมกับแปะก๊วยอาจเข้าสู่ภาวะโคม่าได้ จึงไม่ควรรับประทานแปะก๊วยร่วมกับยาทราโซโดน

กลุ่มยาที่หากรับประทานพร้อมสารสกัดแปะก๊วย ต้องคอยสังเกตอาการ

  • ยาไฮโดรคลอโรไธอะไซด์ (Hydrochlorothiazide)
    ยาไฮโดรคลอโรไธอะไซด์ใช้เพื่อลดการบวมและควบคุมความดันโลหิต การรับประทานยาไฮโดรคลอโรไธอะไซด์ร่วมกับแปะก๊วยอาจเพิ่มความดันโลหิตขึ้นได้ ดังนั้นก่อนรับประทานให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนใช้ยาความดันโลหิตสูง
  • ยาโอเมพราโซล (Omeprazole (Prilosec))
    ยาโอเมพราโซลเป็นยาที่ตับจะไปเปลี่ยนแปลงและทำลายฤทธิ์ยา แปะก๊วยอาจส่งผลให้กระบวนการทำลายนี้เกิดได้เร็วขึ้น ดังนั้นการรับประทานยาโอเมพราโซลร่วมกับแปะก๊วยจะลดประสิทธิภาพที่ควรเป็นของยา

ปริมาณยาจากสารสกัดจากใบแปะก๊วยที่ควรใช้

  • สำหรับภาวะวิตกกังวล สารสกัดจากใบแปะก๊วย (EGb 761) 80-160 มิลลิกรัม เป็นจำนวน 3 ครั้งต่อ 1 วัน นาน 4 สัปดาห์
  • สำหรับโรคสมองเสื่อม สารสกัดจากใบแปะก๊วย 60-480 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งปริมาณยาสำหรับกินออกเป็น 2 หรือ 3 ขนาด ให้ใช้นาน 1 ปี การศึกษาส่วนมากกล่าวว่าควรใช้ในปริมาณที่ 120-240 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากจะให้ประสิทธิผลที่ดีที่สุดคือที่ 240 มิลลิกรัม ส่วนการศึกษาทางคลินิกส่วนมากในเรื่องประสิทธิผลของใบแปะก๊วยกับโรคสมองเสื่อมนั้นได้ให้ใช้สารสกัดมาตรฐาน EGb 761 และ LI 1370
  • สำหรับสูญเสียการมองเห็นจากเบาหวาน สารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 ในปริมาณ 120 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 6 เดือน
  • สำหรับอาการปวดขาเนื่องจากการไหลเวียนโลหิตไม่ดี (Claudication, Peripheral vascular disease) ใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย (EGb 761) 120-240 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ขนาด ให้ใช้นาน 6.1 ปี ซึ่งการใช้ในปริมาณที่สูงกว่านี้อาจจะให้ผลที่ดีขึ้น
  • สำหรับอาการวิงเวียน (vertigoใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 ในปริมาณ 160 กรัม ทุกวัน 1 ครั้งหรือแบ่งเป็น 2 ครั้งต่อ 1 วัน นาน 3 เดือน
  • สำหรับสูญเสียการมองเห็นจากต้อหิน สารสกัดจากใบแปะก๊วย 120-160 มิลลิกรัม โดยแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ครั้ง ต่อวัน
  • สำหรับจิตเภท สารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 ในปริมาณ 120-360 มิลลิกรัมต่อวันนาน 8-16 สัปดาห์
  • สำหรับภาวะเคลื่อนไหวผิดปกติที่เรียกว่า Tardive dyskinesia สารสกัดจากใบแปะก๊วย EGb 761 ในปริมาณ 80 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน นาน 12 สัปดาห์

สำหรับการใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วยดังที่ได้กล่าวไปทั้งหมด ควรเริ่มจากปริมาณที่น้อยหรือไม่เกิน 120 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงในระบบทางเดินอาหาร แล้วค่อยๆ เพิ่มปริมาณการใช้จนถึงปริมาณที่กำหนดของแต่ละภาวะตามความจำเป็น โดยปริมาณที่ใช้อาจปลี่ยนไปตามสูตรของผลิตภัณฑ์ที่คุณเลือกใช้ โดยนักวิจัยส่วนมากได้ใช้สูตรสารสกัดใบแปะก๊วยมาตรฐานเป็นพื้นฐาน บางคนอาจเลือกใช้ที่ 0.5 มิลลิลิตร ของ 1:5 ทิงเจอร์มาตรฐานของใบแปะก๊วยดิบ (Tincture of the crude ginkgo leaf) เป็นเวลา 3 ครั้งต่อวันก็ได้

ควรเลี่ยงการใช้ส่วนจากต้นแปะก๊วยดิบมาบริโภค เพราะส่วนต่างๆ นั้นมีความเป็นพิษในระดับที่เป็นอันตรายต่างกัน ซึ่งพบได้แม้กระทั่งเมล็ด และอาจทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรงได้

Scroll to Top