เป็นหวัดช่วงตั้งครรภ์ ควรกินยาอย่างไร scaled

เป็นหวัดช่วงตั้งครรภ์ กินยาอะไร ดูแลตัวเองอย่างไรได้บ้าง

เมื่อตั้งครรภ์ ภูมิคุ้มกันของร่างกายคุณแม่จะต่ำลง ทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย อย่างการเป็นไข้หวัด ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อทารกในครรภ์ และการรักษาก็จะยิ่งซับซ้อนขึ้น 

บทความนี้จะพาเหล่าคุณแม่และคนใกล้ชิดมารู้จักวิธีรับมือกับโรคไข้หวัด ว่ากินยาอะไรได้บ้าง ต้องดูแลตัวเองเพิ่มเติมอย่างไร แบบไหนต้องไปหาหมอ และพามาอ่านคำแนะนำดี ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นหวัดตอนตั้งครรภ์ 

เป็นหวัดตอนตั้งครรภ์ กินยาอะไรได้บ้าง 

แม้ว่าการกินยาจะช่วยบรรเทาอาการหวัดได้ดี แต่สำหรับคุณแม่ ช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยามากที่สุด โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ เพราะเป็นระยะที่สำคัญต่อการพัฒนาอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเจ้าตัวน้อย 

สำหรับบางราย แพทย์อาจให้งดใช้ยาไปจนถึง 28 สัปดาห์ของอายุครรภ์ เพื่อความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ 

ทั้งนี้ ยังมีตัวยาที่ถือว่าปลอดภัย หากใช้หลังจากตั้งครรภ์ไปแล้ว 12 สัปดาห์ ได้แก่

  • ยาที่มีส่วนผสมของสารเมนทอล (Menthol) สำหรับถูหน้าอก ขมับ หรือใต้จมูก
  • ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) สำหรับลดอาการปวดหัว เป็นไข้
  • ยาลดอาการไอในช่วงกลางคืน
  • ยาขับเสมหะระหว่างวัน
  • ยาในกลุ่มแคลเซียมคาร์บอเนต (Calcium–carbonate) หรือยาใช้รักษาอาการแสบร้อนกลางหน้าอก คลื่นไส้ มวนท้อง
  • ยาน้ำแก้ไอ
  • ยาแก้ไอที่มีส่วนผสมของยาเดกซ์โตรมีธอร์แฟน (Dextromethorphan)

ยารักษาโรคไข้หวัดที่ไม่ปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์

เมื่อมียาที่ปลอดภัย ย่อมต้องมียาที่ควรหลีกเลี่ยง หรือควรปรึกษาแพทย์เสมอก่อนใช้ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายและทารกในครรภ์ได้ ได้แก่ 

นอกจากนี้ เหล่าคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ไม่ควรใช้ยาหลาย ๆ ตัวผสมกัน แต่ให้ใช้ยาเพียงตัวเดียว รักษาไปทีละอาการจะดีกว่า  

เป็นหวัดตอนตั้งครรภ์ ดูแลตัวเองที่บ้านอย่างไร  

นอกจากการกินยาอย่างเหมาะสม ยังมีวิธีดูแลรักษาตัวเองที่บ้านเพื่อช่วยให้หายป่วยไวขึ้น และยังไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกด้วย เช่น 

  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนเพลีย
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพราะในช่วงที่เป็นไข้หวัด มีอาการน้ำมูกไหล คัดจมูก สารน้ำในร่างกายจะออกจากร่างกายมากกว่าปกติ
  • หมั่นกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่น ๆ อยู่เสมอ หากมีอาการไอหรือเจ็บคอ
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ไม่สูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ตามปกติ เน้นผักสดและผลไม้สด เพื่อเพิ่มวิตามินและแร่ธาตุ
  • ไม่ต้องอดอาหาร หรือรับประทานอาหารมากเกินความจำเป็น
  • ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
  • หากมีไข้ ให้เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่นธรรมดา ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ยารักษา

อย่างไรก็ตาม หากอาการหวัดแย่ลง ให้ลองทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • หยอดจมูกด้วยน้ำเกลือเพื่อลดอาการคัดจมูก บรรเทาอาการอักเสบของเนื้อเยื่อในจมูก
  • ดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายขับความร้อนออกมาผ่านปัสสาวะ อาการไข้จะได้ลด
  • เปลี่ยนจากการพักอยู่ในห้องแอร์ ไปอยู่ในที่ที่แสงแดดส่องถึง อากาศถ่ายเทสะดวก และไม่ควรอยู่ในที่แออัด มีผู้คนมาก เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อโรคอื่น ๆ ได้มากกว่าเดิม
  • ทำให้อุณหภูมิรอบ ๆ ตัวมีความอุ่นชื้นเพียงพอเสมอ อาจใช้เครื่องเพิ่มไอน้ำ หรือสูดไอน้ำร้อนเพื่อให้จมูกโล่ง และหายใจสะดวกขึ้น
  • ดื่มน้ำอุ่น รับประทานอาหารอ่อน ๆ ที่อุ่นร้อน เพื่อลดอาการอักเสบในลำคอ ลดเสมหะ และอาการคัดจมูก
  • ประคบร้อน หรือประคบเย็น เพื่อลดอาการปวดในโพรงจมูก

เป็นหวัดตอนตั้งครรภ์ แบบไหนต้องไปพบแพทย์ 

หากตั้งครรภ์และมีอาการไข้หวัดในลักษณะนี้ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

  • มึนศีรษะ
  • หายใจลำบาก
  • เจ็บหรือแน่นหน้าอก
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด
  • สับสน
  • อาเจียนอย่างรุนแรง
  • ใช้ยาพาราเซตามอลแต่ยังมีไข้สูง อาการไม่ดีขึ้น
  • ทารกเคลื่อนไหวลดลง

เป็นหวัดตอนตั้งครรภ์ ป้องกันได้  

  • ดูแลสุขอนามัยร่างกายให้สะอาด หมั่นล้างมืออย่างถูกวิธี โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร หรือหลังจากสัมผัสสิ่งของสาธารณะมา
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ให้วิตามินและแร่ธาตุเพียงพอต่อร่างกายของคุณแม่กับเจ้าตัวน้อยในครรภ์ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีส่วนช่วยป้องกันโรคไข้หวัดได้ดี เช่น ส้ม อะโวคาโด ฝรั่ง แอปเปิล ลิ้นจี่ แก้วมังกร กล้วย ทับทิม แตงโม
  • งดรับประทานอาหารรสจัด
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน ไม่สูบบุหรี่ ไม่เสพยาเสพติดโดยเด็ดขาด 
  • ใส่เสื้อผ้าที่สบาย 
  • หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่อาจปรึกษาแพทย์ด้วยว่า ควรออกกำลังกายอย่างไรให้เหมาะกับอายุครรภ์
  • อย่าปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป
  • ไม่ทำงานหนัก หรือทำงานหักโหมจนร่างกายอ่อนเพลีย พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ไม่กลั้นปัสสาวะ
  • ลดใช้สารเคมีบางประเภท และอยู่ให้ห่างจากสารพิษบางชนิด เช่น เครื่องสำอาง น้ำยาย้อมผม น้ำยาซักผ้า น้ำยาทำความสะอาด
  • ไปตรวจครรภ์ตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง รวมถึงหมั่นไปตรวจสุขภาพเป็นประจำด้วย
  • อย่าปล่อยให้ตนเองเกิดภาวะเครียด วิตกกังวล ควรรักษาสุขภาพจิตของให้ดีอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่แออัด เพราะตัวการที่ทำให้เกิดโรคไข้หวัดได้มากที่สุดคือการติดเชื้อไวรัสจากผู้อื่น อาจเปลี่ยนไปทำงานที่บ้านแทนสักระยะ 

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์สามารถไปเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ไม่ว่าจะไปฉีดวัคซีนใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้วัคซีนส่งผลกระทบต่อร่างกายของเด็กน้อยในครรภ์


เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ หรือทักมาสอบถามแอดมินของเราก่อนได้ ให้ช่วยจองคิวคุณหมอเพื่อประเมินอาการ คลิกที่นี่!

นอกจากตัวคุณแม่แล้ว คุณพ่อก็ต้องช่วยดูสุขภาพของคุณแม่ด้วย เพื่อไม่ให้คุณแม่ต้องเหนื่อยอ่อนกับการดูแลตัวเองและเผชิญหน้ากับสภาวะเครียดเพียงลำพัง 

ลองเข้ามาดูแพ็กเกจตรวจครรภ์ ฝากครรภ์ คลอดบุตร ที่ HDmall รวบรวมไว้ให้ ให้เหล่าคุณแม่ได้อุ่นใจ รับรองว่าแข็งแรงทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อย 

และสาว ๆ ทั้งหลายอย่าลืมตรวจภายใน 3 ปีหลังมีเพศสัมพันธ์กันนะ กดจองได้ง่ายนิดเดียว เพราะเราจัดการไว้ให้หมดแล้ว 

แพ็กเกจดี ๆ เพิ่มเติม: 


ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. วรพันธ์ พุทธศักดา

Scroll to Top