
HDmall สรุปให้!
ปิด
ปิด
- การรักษารากฟัน (Root canal) คือการรักษาฟันที่เกิดความเสียหายภายในเนื้อฟัน โดยนำเส้นประสาท เนื้อฟัน และเส้นเลือดภายในซี่ฟันที่เกิดความเสียหายออกไปทั้งหมด จากนั้นอุดฟันหรือครอบฟันให้ดูสวยงาม
- รักษารากฟันเป็นทางเลือกของผู้ที่ฟันผุหรือเกิดการติดเชื้อ โดยมักมีอาการ ปวด เสียวฟันมากผิดปกติ ฟันมีสีคล้ำ มีตุ่มหนองขึ้นบริเวณเหงือก แต่หากไม่รักษารากฟันและปล่อยไว้ อาการจะปวดลามขึ้นหน้า เชื้อลุกลามมากขึ้น
- การรักษารากฟันจะใช้ยาระงับความรู้สึก ทำให้ไม่เจ็บระหว่างทำ แต่หลังจากทำเสร็จแล้วอาจมีอาการปวดไปอีก 3 วันก่อนจะค่อยๆ ดีขึ้น
- เปรียบเทียบราคารักษารากฟันได้ที่ HDmall.co.th หรือสอบถามแอดมิน ให้แอดมินจองคิวให้ได้ที่ไลน์ @hdcoth
ฟัน เป็นอวัยวะมีสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นด้านภาพลักษณ์ หรือว่าการใช้งาน เช่น การพูด การเคี้ยวอาหาร ทำให้ทุกคนอยากรักษาซี่ฟันแท้ของตัวเองไว้ให้นานที่สุด
แต่เนื่องจากฟันเป็นส่วนใช้งานแทบจะตลอดเวลา และอาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อแบคทีเรียได้ง่าย จึงมีโอกาสทำให้ฟันเกิดความเสียหายจากการติดเชื้อ ฟันผุ หรือจากการกระแทกจนนำไปสู่การถอนฟันได้
หนึ่งในวิธีที่จะช่วยให้คุณรักษาซี่ฟันเอาไว้ได้แม้จะเกิดความเสียหายไปแล้ว ก็คือการรักษารากฟันนั่นเอง
รักษารากฟัน คืออะไร?
การรักษารากฟัน (Root canal) คือการรักษาฟันที่เกิดความเสียหายภายในเนื้อฟัน และอาจลึกลงไปถึงคลองรากฟันจนไม่สามารถรักษาด้วยการอุดฟันเพียงอย่างเดียวได้
โดยปกติภายในซี่ฟันจะประกอบไปด้วยเส้นประสาท เนื้อฟัน และเส้นเลือดมากมายเพื่อหล่อเลี้ยงให้ฟันเจริญเติบโต เมื่อฟันเกิดความเสียหายขึ้นภายใน จึงทำให้เรารู้สึกปวด หรือเจ็บจนต้องไปหาทันตแพทย์
การรักษารากฟัน จะเป็นการนำเส้นประสาท เนื้อฟัน และเส้นเลือดภายในซี่ฟันที่เกิดความเสียหายออกไปทั้งหมด เหลือแต่ฟันเปล่าๆ ที่ไม่มีอะไรอยู่ภายใน จากนั้นทำความสะอาดให้ปลอดเชื้อ และจึงอุดฟันหรือครอบฟันให้ดูสวยงาม
ผู้รับการรักษาจะยังคงสามารถเก็บฟันซี่นั้นเอาไว้ได้ และยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ เพียงแต่จะไม่สามารถรับรู้ความร้อนหรือเย็นที่มาสัมผัสฟันซี่นั้นได้ เนื่องจากนำเส้นประสาทออกไปแล้วนั่นเอง
รักษารากฟันเหมาะกับใคร?
ทันตแพทย์อาจแนะนำให้รักษารากฟันในกรณีที่ความเสียหายทำลายเนื้อฟัน เส้นประสาท และเส้นเลือดในซี่ฟันจนเกิดการอักเสบ หรือติดเชื้อไปแล้ว
สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณอาจต้องรักษารากฟัน อาจมีดังนี้
- มีอาการปวด หรือเจ็บขณะเคี้ยวอาหาร
- มีอาการเหงือกบวม และปวดเหงือก
- มีตุ่มหนองขึ้นบริเวณเหงือก
- มีฟันผุลึกถึงโพรงประสาทฟัน
- ฟันมีสีคล้ำขึ้นจากฟันผุ
- รู้สึกเสียวฟันมากผิดปกติ เวลากินน้ำร้อนหรือน้ำเย็น
- ฟันบิ่น ฟันร้าว จากการเกิดอุบัติเหตุ หรือเคี้ยวถูกอาหารที่แข็งเกินไป
หากมีอาการตรงกับข้อที่กล่าวไปด้านบน ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้อาการเป็นครบทั้งหมด เพราะยิ่งปล่อยไว้นาน การรักษาก็จะยากขึ้นไปเรื่อยๆ
รักษารากฟันเจ็บไหม?
เจ็บ การรักษาทางทันตกรรมเกือบทุกประเภทมีความรู้สึกเจ็บหรือเสียวฟันเป็นธรรมดา แต่ในระหว่างที่รักษารากฟัน ทันตแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึก
หลังจากยาหมดฤทธิ์แล้วอาจมีอาการปวด บวม ทันตแพทย์อาจให้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ แต่ผู้รับการรักษาส่วนมากมักกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติในวันรุ่งขึ้น
ในระหว่างนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารเคี้ยวยาก จนกว่าทันตแพทย์จะใส่ครอบฟันถาวรให้ ซึ่งมักจะนัดมาใส่หลังจากรักษารากฟันไม่เกิน 7 วัน
อย่างไรก็ตาม หากผ่านไป 3 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือปวดมากขึ้น ควรรีบแจ้งกับทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาทันที
ไม่รักษารากฟันได้ไหม?
ไม่ได้ หากไม่รักษารากฟัน เชื้อแบคทีเรียจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจลามไปสู่ปลายรากฟันจนเกิดอาการ ดังต่อไปนี้
- อาการบวมอาจลามไปยังใบหน้า คอ และศีรษะ
- อาจเกิดความเสียหายที่กระดูกบริเวณปลายรากฟัน
- เชื้ออาจลุกลามออกจากรากฟันเข้าสู่เหงือก แก้ม และผิวหนัง
เมื่ออาการเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ผู้ที่ประสบปัญหาก็มักจะทนไม่ไหวจนต้องมารักษาอยู่ดี แต่อาจไม่สามารถรักษารากฟันได้แล้ว ทันตแพทย์ก็จะแนะนำวิธีอื่นๆ ให้ซึ่งอาจรักษายากกว่าและเสียค่าใช้จ่ายเยอะกว่าด้วย
โดยสรุปแล้ว แม้จะไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่ในขั้นต้น เมื่ออาการลุกลามบานปลาย ก็ยังคงต้องไปรักษาอยู่ดี ดังนั้นหากเริ่มรู้สึกถึงความผิดปกติ ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษา ยิ่งรักษาเร็วก็ยิ่งมีโอกาสเก็บซี่ฟันนั้นเอาไว้ได้
เช็กราคารักษารากฟันได้ที่ HDmall ศูนย์รวมบริการสุขภาพ ทำฟัน และความงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth เรามีแอดมินคอยให้บริการ 9 โมงเช้าถึงตี 1 ทุกวัน!
บทความที่เกี่ยวข้อง
- รักษารากฟันมีขั้นตอนอย่างไร?
- 8 ข้อ เคลียร์ทุกคำถาม รักษารากฟัน
- รวมคำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการรักษารากฟัน ตอบโดยทันตแพทย์
- ผลข้างเคียงหลังจากรักษารากฟัน
ที่มาของข้อมูล
ปิด
ปิด
- Debra Stang, Root Canal, (https://www.healthline.com/health/root-canal), 24 May 2018.
- WebMD, Dental Health and Root Canals, (https://www.webmd.com/oral-health/guide/dental-root-canals#1-3), 24 August 2020.
- อ.ทพ. ชิตพล ชัยมานะการ, การรักษารากฟันคืออะไร, (https://dt.mahidol.ac.th/th/การรักษารากฟันคืออะไร/).