5 htp

5-HTP / 5-Hydroxytryptophan (5-ไฮดรอกซี ทริปโตเฟน)

5-hydroxytriptan (5-ไฮดรอกซี ทริปโตเฟน) หรือที่รู้จักกันในชื่อเรียก 5-HTP เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่คนพยายามใช้เพื่อเสริมสร้างสุขภาพจิตใจและระบบภูมิคุ้มกัน ถูกใช้ในหลายปัจจัย รวมถึงอาการเครียดวิตกกังวล อาการหลับที่ผิดปกติ อาการอยู่ไม่นิ่งที่ผิดปกติ โรคสมองน้อย อาการซึมเศร้า อาการปวดตามโครงสร้างของกระดูกและกล้ามเนื้อที่กระจายทั่วๆ ไป และไมเกรน

สรรพคุณของ 5-HTP

  • ช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า: อาจช่วยเพิ่มระดับเซโรโทนินในสมอง ซึ่งสามารถช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้าและทำให้อารมณ์ดีขึ้น
  • ช่วยปรับปรุงการนอนหลับ: เนื่องจากเซโรโทนินเป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมวงจรการนอนหลับ-ตื่น 5-HTP อาจช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับและลดอาการนอนไม่หลับ
  • ลดความวิตกกังวล: อาจช่วยลดความวิตกกังวลโดยการเพิ่มระดับเซโรโทนินในสมอง
  • ควบคุมความอยากอาหาร: อาจช่วยลดความอยากอาหารและช่วยในการควบคุมน้ำหนัก เนื่องจากเซโรโทนินมีบทบาทในการควบคุมความหิว
  • บรรเทาอาการปวดจากไมเกรน: มีการวิจัยบางส่วนที่แสดงให้เห็นว่า 5-HTP อาจช่วยลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรน

5-HTP ออกฤทธิ์อย่างไร?

5-HTP ออกฤทธิ์ภายในสมองและระบบประสาทส่วนกลางโดยจะเพิ่มกระบวนการผลิตสารเคมีเซโรโทนิน ที่ส่งผลต่อการนอนหลับ, ความอยากอาหาร, อุณหภูมิ, พฤติกรรมทางเพศ, และความเจ็บปวด ด้วยประโยชน์นี้เองที่ 5-HTP ถูกใช้กับโรคหลายโรคที่เชื่อกันว่าเซโรโทนินเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคนั้น ๆ ขึ้นเช่นภาวะซึมเศร้า, นอนไม่หลับ, โรคอ้วน,อาการปวดกล้ามเนื้อปวดกระดูก และภาวะอื่น ๆ มากมาย

การใช้และประสิทธิภาพของ 5-HTP

ภาวะที่อาจใช้ 5-HTP ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ภาวะซึมเศร้า (Depression) งานวิจัยทางคลินิกบางชิ้นได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ชนิดทานจะทำให้อาการของภาวะซึมเศร้าดีขึ้น โดยขนาดการใช้ยาต้องปรึกษาจิตแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) งานวิจัยบางชิ้นแสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP กับทารกที่เป็นโรคดาวน์ซินโดรมนั้นอาจเพิ่มกิจกรรมและกล้ามเนื้อขึ้น งานวิจัยชิ้นอื่นระบุว่า 5-HTP ไม่ได้ช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อหรือพัฒนาการของทารกที่มีอายุก่อน 3-4 ปี งานวิจัยยังได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP พร้อมกับยาสั่งจากแพทย์ตามแบบแผนนั้นสามารถช่วยในเรื่องพัฒนาการ, ทักษะทางสังคม, หรือทักษะทางภาษาได้
  • โรคพิษสุรา (Alcoholism) งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ร่วมกับ D-phenylalanine และ L-glutamine เป็นเวลา 40 วันสามารถลดอาการที่เกิดจากการงดสุราได้ อย่างไรก็ตามการใช้ 5-HTP ร่วมกับ carbidopa ทุกวันเป็นเวลาหนึ่งปีนั้นอาจไม่ได้ช่วยในการเลิกดื่มได้แต่อย่างใด อีกทั้งผลกระทบจากการใช้ 5-HTP กับโรคพิษสุราเพียงตัวเดียวนั้นยังคงไม่แน่ชัด
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ชนิดทานทางปากไม่ได้ช่วยลดอาการจากโรคอัลไซเมอร์
  • ภาวะวิตกกังวล (Anxiety) หลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบของ 5-HTP กับภาวะวิตกกังวลนั้นยังไม่ชัดเจน แต่ก็มีงานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ชนิดทานทางปาก 25-15- mg ต่อวันร่วมกับ carbidopa สามารถลดอาการวิตกกังวลของผู้ป่วยได้จริง อย่างไรก็ตามก็เป็นข้อมูลที่ขัดกับงานวิจัยชิ้นอื่น ๆ ที่กล่าวว่าการทาน 5-HTP ที่ขนาดสูงอย่าง 225 mg ขึ้นไปทุก ๆ วันนั้นจะทำให้อาการของภาวะวิตกกังวลแย่ลง อีกทั้งการฉีด 5-HTP  เข้าเส้นเลือดดำในขนาด 60 mg ทุกวันก็ไม่ได้ช่วยลดภาวะวิตกกังวลของผู้ป่วยโรคแพนิก (panic disorders) แต่อย่างใด
  • โรคระบบประสาท (Cerebellar ataxia) หลักฐานเกี่ยวกับการใช้ 5-HTP สำหรับรักษา cerebellar ataxia นั้นยังไม่ชัดเจน โดยมีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าการทาน 5-HTP ขนาด 5 mg/kg ทุกวันต่อเนื่องนาน 4 เดือนสามารถลดความผิดปรกติของระบบประสาทได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นอื่นกลับแสดงให้เห็นว่าการใช้ 5-HTP ทุกวันนานหนึ่งปีไม่ได้ช่วยให้อาการของ cerebellar ataxia ดีขึ้นแต่อย่างใด
  • ไฟโบรมัยอัลเจีย (fibromyalgia) งานวิจัยกล่าวว่าการทาน 5-HTP ขนาด 100 mg สามครั้งต่อวันเป็นเวลานาน 30-90 วันอาจช่วยลดความเจ็บปวด, กดเจ็บ, ช่วยการนอนหลับ, ภาวะวิตกกังวล, ความเหนื่อยล้า, และอาการข้อแข็งในตอนเช้าของผู้ป่วยไฟโบรมัยอัลเจียได้
  • วัยทอง (Menopausal symptoms) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้ 5-HTP ในขนาด 150 mg ทุกวันเป็นเวลานาน 4 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยลดอาการร้อนวูบวาบของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแต่อย่างใด
  • ปวดศีรษะไมเกรน (Migraine headache) หลักฐานเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ 5-HTP เพื่อป้องกันหรือรักษาอาการปวดไมเกรนของผู้ใหญ่ยังไม่ชัดเจน โดยมีการศึกษาบางชิ้นที่แสดงให้เห็นว่าการทาน 5-HTP ทุกวันไม่ได้ช่วยลดอาการไมเกรนแต่อย่างใด แต่งานวิจัยชิ้นอื่นกลับแสดงให้เห็นว่าการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้สามารถให้ผลดีคล้ายกับยาไมเกรนจริง กระนั้น 5-HTP ก็ไม่สามารถลดอาการปวดไมเกรนในเด็กได้
  • โรคอ้วน (Obesity) งานวิจัยได้กล่าวว่าการใช้ 5-HTP อาจช่วยลดความอยากอาหาร, ลดปริมาณแคลอรี, และน้ำหนักของคนอ้วนได้ โดยเริ่มใช้ 250–300 mg ก่อนมื้ออาหาร
  • โรคพากินสัน (Parkinson’s disease) งานวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าการทาน 5-HTP 100-150 mg ทุกวันร่วมกับยารักษาพากินสันตามปรกติสามารถลดอาการสั่นได้ แต่จะไม่ให้ผลเช่นนี้เกิน 5 เดือน แต่การทาน 5-HTP ในขนาดที่สูงขึ้นที่ 275-1500 mg ทุกวันร่วมกับยา carbidopa อาจทำให้อาการย่ำแย่ลง
  • โรคจิตเภท (Schizophrenia) งานวิจัยได้กล่าวว่าการใช้ 5-HTP ขนาด 800 mg ถึง 6 กรัมทุกวันร่วมกับ carbidopa เป็นเวลานาน 90 วันอาจช่วยลดอาการจิตเภทของผู้ป่วยอายุน้อยได้
  • อาการปวดศีรษะจากความเครียด (Tension headache) งานวิจัยได้กล่าวว่าการใช้ 5-HTP 100mg สามครั้งต่อวันเป็นเวลานาน 8 สัปดาห์ไม่ได้ช่วยลดอาการปวดหรือระยะเวลาของอาการปวดศีรษะจากความเครียดแต่อย่างใด
  • กลุ่มอาการถอนเฮโรอีน (Heroin withdrawal symptoms) งานวิจัยได้กล่าวว่าการใช้ 5-HTP 200 mg ทุกวันเป็นเวลา 6 วันร่วมกับ tyrosine, phosphatidylcholine, และ L-glutamine อาจช่วยลดภาวะนอนไม่หลับและกลุ่มอาการถอนยาระหว่างช่วงการฟื้นตัวจากการติดเฮโรอีนได้
  • ภาวะนอนไม่หลับ (Insomnia)
  • อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome (PMS))
  • กลุ่มอาการรุนแรงก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual dysphoric disorder (PMDD))
  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder (ADHD))

ภาวะที่ 5-HTP อาจไม่สามารถรักษาได้

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ 5-HTP รักษาได้หรือไม่

จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของ 5-HTP เพิ่มเติม

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของ 5-HTP

5-HTP จัดว่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ค่อนข้างปลอดภัยที่จะใช้ด้วยวิธีการรับประทานอย่างเหมาะสม 5-HTP สามารถถูกใช้อย่างปลอดภัยในปริมาณที่ 400 mg ต่อวันเป็นเวลานานหนึ่งปี อย่างไรก็ตามผู้ใช้ 5-HTP บางรายอาจประสบกับภาวะที่เรียกว่า eosinophilia-myalgia syndrome (EMS) ซึ่งนับว่าเป็นภาวะร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง (myalgia) กับความผิดปรกติของเลือด (eosinophilia) บางคนเชื่อว่า EMS อาจะเกิดมาจากการปนเปื้อนหรือส่วนผสมที่ผิดพลาดของผลิตภัณฑ์ 5-HTP บางยี่ห้อ อย่างไรก็ตามสาเหตุการเกิดภาวะนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาอธิบายว่าเกิดจากการปนเปื้อนหรือปัจจัยอื่น ซึ่งจนกว่าจะมีข้อมูลในเรื่องนี้ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และใช้ 5-HTP อย่างระมัดระวัง

ผลข้างเคียงอื่น ๆ ของ 5-HTP มีทั้งอาการแสบร้อนกลางอก, ปวดท้อง, คลื่นไส้, อาเจียน, ท้องร่วง, วิงเวียน, ปัญหาทางเพศ, และปัญหากล้ามเนื้อ

5-HTP ถูกจัดว่าไม่ปลอดภัยหากจะใช้ด้วยวิธีทานด้วยปริมาณที่สูงเกินไป โดยการใช้ในขนาดตั้งแต่ 6-10 กรัมทุกวันจะเกี่ยวพันกับการเกิดปัญหากระเพาะอาหารรุนแรงและอาการกล้ามเนื้อหดเกร็ง

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

  • เด็ก: 5-HTP เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารปลอดภัยที่เด็กสามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยทารกและเด็กอายุไม่เกิน 12 ปีสามารถใช้ในปริมาณที่สูงถึง 5 mg/kg ทุกวันเป็นเวลานานถึง 3 ปีได้ สำหรับผู้ใหญ่จะมีประเด็นเรื่องของ eosinophilia-myalgia syndrome (EMS) แต่สำหรับเด็กจะเป็นภาวะร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดกล้ามเนื้อรุนแรง (myalgia) และความผิดปรกติของเลือด (eosinophilia)
  • สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร: ณ ขณะนี้ยังคงขาดแคลนข้อมูลที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้5-HTP ในกลุ่มผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรกับผู้มีครรภ์ ดังนั้นคนในกลุ่มดังกล่าวควรเลี่ยงใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้เพื่อความปลอดภัย
  • การผ่าตัด: 5-HTP ส่งผลต่อสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน โดยยาบางตัวที่ใช้ระหว่างการผ่าตัดก็ส่งผลต่อสารเซโรโทนินเช่นกัน ดังนั้นการใช้ 5-HTP ก่อนการผ่าตัดอาจทำให้สมองมีเซโรโทนินมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลข้างเคียงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นควรแจ้งคนไข้ให้หยุดการใช้ 5-HTP เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

ห้ามใช้ 5-HTP ร่วมกับยาเหล่านี้

  • ยาสำหรับภาวะซึมเศร้า
  • Carbidopa
  • Dextromethorphan
  • Meperidine
  • Pentazocine
  • Tramadol

สำหรับภาวะซึมเศร้า: การศึกษาหลายชิ้นได้ใช้ 5-HTP ที่ปริมาณ 150-3000 mg ทุกวันโดยแบ่งเป็นสามครั้งต่อวันและต่อเนื่อง 2-6 สัปดาห์ ขนาดยาที่ใช้ยังเพิ่มขึ้นทีละน้อยจาก 150 mg ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เป็น 400 mg ทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์

5-HTP จะไปเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ยาบางตัวสำหรับรักษาภาวะซึมเศร้าก็ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปเพิ่มเซโรโทนินเช่นกัน ดังนั้นการใช้ 5-HTP ร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้มีเซโรโทนินมากเกินไปจนเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยาสำหรับภาวะซึมเศร้าไม่ควรใช้ 5-HTP เป็นอันขาด

5-HTP จะไปเพิ่มสารเคมีในสมองที่เรียกว่าเซโรโทนิน ยาบางตัวสำหรับรักษาภาวะซึมเศร้าก็ออกฤทธิ์ด้วยการเข้าไปเพิ่มเซโรโทนินเช่นกัน ดังนั้นการใช้ 5-HTP ร่วมกับยาเหล่านี้อาจทำให้มีเซโรโทนินมากเกินไปจนเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นหากคุณกำลังใช้ยาสำหรับภาวะซึมเศร้าไม่ควรใช้ 5-HTP เป็นอันขาด

ใช้ 5-HTP ร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง

  • 5-HTP จะส่งผลต่อสมอง และ Carbidopa เองก็ส่งผลต่อสมองเช่นกัน ดังนั้นการใช้ 5-HTP ร่วมกับ Carbidopa จะเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างพูดเร็วขึ้น, ภาวะวิตกกังวล, ก้าวร้าว, และอื่น ๆ
  • 5-HTP จะส่งผลต่อสารเคมีสมองที่ชื่อเซโรโทนิน Dextromethorphan เองก็ส่งผลต่อเซโรโทนิน การใช้ 5-HTP ร่วมกับ Dextromethorphan อาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกิน และทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นจึงห้ามใช้ 5-HTP หากคุณกำลังใช้ยา Dextromethorphan อยู่
  • 5-HTP จะส่งผลต่อสารเคมีสมองที่ชื่อเซโรโทนิน Meperidine เองก็ส่งผลต่อเซโรโทนินในสมอง ดังนั้นการใช้ 5-HTP ร่วมกับ Meperidine จึงอาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกินไปจนทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล
  • 5-HTP จะส่งผลต่อสารเคมีสมองที่ชื่อเซโรโทนิน  Pentazocine เองก็ส่งผลต่อเซโรโทนินในสมอง การใช้ 5-HTP ร่วมกับ Pentazocine จึงอาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกินไปจนทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรงอย่างปัญหาหัวใจ, หนาวสั่น, และภาวะวิตกกังวล ดังนั้นจึงห้ามใช้ 5-HTP หากคุณกำลังใช้ยา Pentazocine อยู่
  • 5-HTP จะส่งผลต่อสารเคมีสมองที่ชื่อเซโรโทนิน  Tramadol เองก็ส่งผลต่อเซโรโทนินในสมอง การใช้ 5-HTP ร่วมกับ Pentazocine จึงอาจทำให้มีเซโรโทนินในสมองมากเกินไปจนทำให้เกิดผลข้างเคียงอย่างสับสน, หนาวสั่น, กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง, และอื่น ๆ

ปริมาณยาที่ใช้

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

  • ผู้ใหญ่ สำหรับภาวะซึมเศร้า: การศึกษาหลายชิ้นได้ใช้ 5-HTP ที่ปริมาณ 150-3000 mg ทุกวันโดยแบ่งเป็นสามครั้งต่อวันและต่อเนื่อง 2-6 สัปดาห์ ขนาดยาที่ใช้ยังเพิ่มขึ้นทีละน้อยจาก 150 mg ทุกวันเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เป็น 400 mg ทุกวันเป็นเวลา 4 สัปดาห์

ข้อควรระวังของการใช้ 5-HTP

ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้ได้เกี่ยวกับการใช้ 5-HTP ยังคงมีอยู่น้อยมาก ฉะนั้นความปลอดภัยและประโยชน์ของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนี้ยังคงอยู่ภายใต้การค้นคว้าวิจัย

จากสิ่งตีพิมพ์ทางการแพทย์ล่าสุด ไม่มีปรากฏว่า เราสมควรต้องหลีกเลี่ยงการใช้ 5-HTP อย่างสิ้นเชิง

อย่างไรก็ตาม บุคคลที่มีโรคไต อาการของโรคในช่องท้อง เช่น แผลในกระเพาะอาหาร หรือ ดาวน์ซินโดรม ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อนใช้ 5-HTP

5-HTP กับการลดน้ำหนัก

บางการค้นคว้าแสดงว่า 5-HTP มีส่วนช่วยในการลดน้ำหนักเนื่องจากถูกใช้เพื่อลดอาการอยากอาหาร

5-HTP กับอาการวิตกกังวล

ถึงแม้ว่า 5-HTP จะเป็นหน่วยโครงสร้างหรือสารตั้งต้นของสารเคมีเซโรโทนินที่มีส่วนทำให้อารมณ์ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์ยังได้ค้นพบประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นได้ของ 5-HTP ที่จะช่วยลดอาการวิตกกังวล

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่พิสูจน์ได้ว่า 5-HTP มีประโยชน์ในเรื่องนี้

5-HTP กับโรคซึมเศร้า

ด้วยประโยชน์ของสารเซโรโทนินที่ถูกใช้เพื่อบำบัดอาการซึมเศร้า 5-HTP จึงถูกเชื่อว่าอาจเป็นไปได้ที่จะมีบทบาทสำคัญในการบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า

บทบาทของvในการรักษาโรคซึมเศร้ายังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบ

5-HTP กับความผิดปกติด้านการนอน

ประโยชน์ของการใช้ 5-HTP เพื่อการบำบัดการนอนไม่หลับยังคงไม่เป็นที่รับรอง

อย่างไรก็ตาม บางการวิจัยบ่งบอกว่าเมื่อมีการใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอื่นที่มีชื่อเรียกว่า gamma aminobutyric acid (GABA) การผสมของสองอย่างนี้เข้าด้วยกันอาจจะช่วยให้เราไม่ได้นอนหลับเร็วขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เราหลับได้สนิทมากขึ้น

ยังคงต้องมีการศึกษามากกว่านี้เพื่อจะให้รู้แน่ชัดว่าการใช้ 5-HTP อย่างเดียวอาจจะช่วยให้เราสามารถหลับได้หรือหลับได้นานขึ้น

การใช้ 5-HTP ในสตรีมีครรภ์

  • ไม่มีข้อมูลมากนักเกี่ยวกับการใช้และความปลอดภัย ของ 5-HTP ในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์หรือระหว่างการให้นมบุตร
  • ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม บอกแพทย์ของคุณถ้าคุณตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ก่อนการใช้ยาตัวนี้
  • คุณควรจะแจ้งเภสัชกรของคุณด้วยว่าคุณกำลังให้นมบุตรหรือวางแผนจะให้นมบุตร ไม่แนะนำให้แม่ที่กำกำลังให้นมบุตรจะใช้ยาตัวนี้

ผลข้างเคียงของ 5-HTP

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป

  • ท้องเสีย คลื่นเหียน อาเจียน
  • จุกเสียดท้อง ลมในกระเพาะ ท้องอืด
  • การอึดอัดหรือการปวดในช่องท้อง
  • การลดความอยากอาหาร การเบื่ออาหาร

ผลข้างเคียงที่อันตราย

  • อาการปวดกล้ามเนื้อ (Eosinophilia myalgia syndrome) คือ การที่ผู้ป่วยตรวจเลือดพบมีภาวะเม็ดเลือดขาวผิดปกติที่อาจส่งผลให้มีอาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว หายใจขัด หรือร่างกายบวมอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน แม้ว่าจะเกิดขึ้นได้ยาก แต่อาการก็อาจใช้เวลาหลายเดือนถึงจะปรากฏ
  • โรคเลือดที่รู้จักกันในชื่อ อีโอซิโนฟีเลีย (Eosinophilia) แบบไม่แสดงอาการ หรือภาวะเม็ดเลือดขาวมาก โดยทั่วไปแล้ว ความผิดปกตินี้จะสามารถตรวจจับได้ในห้องปฏิบัติการวิจัยเท่านั้น เพราะผู้ป่วยจากความผิดปกตินี้จะไม่แสดงอาการให้เห็น

ปฏิกิริยาระหว่างยาของ 5-HTP

โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบว่า ท่านกำลังใช้ยาตามแพทย์สั่ง ยาที่ไม่ได้จ่ายให้โดยแพทย์ ยาผิดกฎหมาย การใช้ยาที่ไม่เกี่ยวกับการรักษาโรค ยาจากพืชสมุนไพร ยาทางโภชนาการ หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเมื่อเร็วๆ นี้

การใช้ 5-HTP มีส่วนร่วมในการผลิตสารเซโรโทนิน ดังนั้น คุณควรจะระมัดระวังในการใช้เพราะอาจจะเพิ่มระดับของสารเซโรโทนินในร่างกายได้

ยาดังนี้มีความเป็นไปได้ที่จะมีปฏิกิริยาระหว่างยาที่อันตรายเมื่อใช้ร่วมกับ 5-HTP

  • ไอโซคาร์บอกซาซิด (Maplan)
  • ลีเนโซลิด (Zyvox)
  • เมทิลีน บลู
  • ฟีเนลซีน (Nardil)
  • ทรานิลซัยโปรมิน (Parnate)

รวมถึงยาเหล่านี้ที่คุณสมควรจะแจ้งแพทย์ก่อนการใช้ 5-HTP

  • ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่ม Selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)
  • Serotonin norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs)
  • Tricyclic Antidepressants (TCAs)
  • ยาไมเกรนที่มีชื่อว่า “ergots” และยาไมเกรนบางชนิด
  • ยาต้องห้าม เช่น โคเคน และแอลเอสดี  lysergic acid diethyamide (LSD)
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร เช่น St. John-s wort และ L-tryptophan
  • ยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของฝิ่น รวมถึง morphine และ fentanyl
  • lithium
  • dextroamphetamine
  • ยาสำหรับรักษาโรคพาร์คินสัน

ขนาดยาที่แนะนำและวิธีการใช้ 5-HTP

เนื่องด้วย 5-HTP เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีกฎระเบียบในการใช้อย่างเคร่งครัด จึงมีข้อแนะนำที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ถึงขนาดในการใช้ที่เหมาะสมดังนี้

  • สำหรับโรคซึมเศร้า ขนาดที่แนะนำของ 5-HTP คือ 150 มิลลิกรัม ถึง 300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • สำหรับโรคปวดกล้ามเนื้อระยะแรก ขนาดที่แนะนำคือ 100 มิลลิกรัม สามครั้งต่อวัน เป็นเวลาหนึ่งเดือน

สำหรับการรักษาอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ของท่านหรือปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต

หากลืมรับประทาน 5-HTP

  • หากลืมรับประทาน 5-HTP ให้รับประทานยาทันทีเมื่อนึกขึ้นได้
  • อย่างไรก็ตาม ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานในมื้อถัดไป ให้ข้ามจำนวนยาที่ลืมไป แล้วรับประทานยาเม็ดต่อไปตามเวลาปกติ ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า

คำถามทั่วไปเกี่ยวกับ 5-HTP

คำถาม:  ผลิตภัณฑ์ 5-HTP เข้าไปขัดขวางการทำงานของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ ไขมันในเลือด หรือ ยาที่ไม่ใช้ใบสั่งแพทย์อื่นๆ หรือไม่

คำตอบ:  ขณะที่มีความเป็นไปได้ที่จะมีปฏิกิริยาระหว่างยาเกิดขึ้น แต่มักจะไม่รุนแรงหรือถึงแก่ชีวิต พึงระลึกไว้ว่า T ใน HTP หมายถึง ทริปโตเฟน (tryptophane) เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมนุษย์ ปฏิกิริยาระหว่างยาที่เกิดขึ้นได้กับ 5-HTP คือ ยาต้านเศร้า หรือ ยาอื่นที่ส่งผลต่อสารเคมีในสมอง เนื่องจาก 5-HTP จะถูกเปลี่ยนโครงสร้างเป็นสารเซโรโทนิน สารเคมีสำคัญในสมองที่ช่วยปรับอารมณ์

คำถาม:  ฉันใช้ยา Plavix, Lipitor, Uroxatral, bisoprolol, aspirin, lisinopril และ tramadol อยู่ ฉันสามารถรับประทาน 5-HTP ร่วมด้วยได้หรือไม่

คำตอบ:  5-HTP ถูกเปลี่ยนเป็นสารเซโรโทนินในร่างกายของเรา เพราะ 5-HTP เกี่ยวข้องกับสารเซโรโทนิน คุณจึงไม่ควรรับประทานพร้อมกับยาที่ส่งผลต่อระดับของสารเซโรโทนิน ส่วนยา lopidogrel, atorvastatin, alfuzosin, bisoprolol, aspirin และ lisinopril ไม่ส่งผลกระทบต่อสารเซโรโทนินในร่างกาย

ส่วน tramadol นั้นมีการขัดขวางการเก็บกลับไปของสารเซโรโทนิน  และสามารถเพิ่มระดับของสารเซโรโทนิน ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน tramadol กับ 5-HTP อย่างระมัดระวัง ผู้ป่วยต้องได้รับการเฝ้าสังเกตถึงอาการของสารเซโรโทนิน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะทางจิตใจ อาการสั่น อุณหภูมิของร่างกายที่สูงขึ้น การเกร็ง การชัก เหงื่อที่มากขึ้น และการสั่นเทา ปฏิกิริยาระหว่างยาอาจจะทำให้เกิดความผิดปกติของเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงเช่น Call-Fleming Syndrome จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะปรึกษาการใช้ tramadol กับ 5-HTP กับผู้ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพก่อนใช้ 5-HTP

คำถาม:  การรับประทาน 5-HTP เป็นปริมาณ 1,000 มิลิกรัมทุกคืน ปลอดภัยหรือไม่

คำตอบ:  5-HTP เป็นตัวย่อของ 5-hydroxytryptophan และถูกจัดให้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร พบมากในต้นพืชที่มีถิ่นกำเนิดจากแอฟริกามีชื่อว่า Griffoinia simplicfolia

5-HTP เป็นสารอาหารประเภทกรดอะมิโนทริปโตเฟน (tryptophan) ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ร่างกายคนเราไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง แต่จะได้รับจากอาหารที่รับประทานในแต่วัน ร่างกายของมนุษย์จะใช้ทริปโตเฟนเป็นสารตั้งต้นเพื่อสร้างสารสื่อประสาทของสมองที่มีชื่อว่า เซโรโทนิน (serotonin) ทางคลินิกสารเซโรโทนินมีอิทธิพลต่ออารมณ์ ช่วยคลายความเครียดและความกังวล ผู้ป่วยรับประทาน 5-HTP ในหลายสาเหตุ รวมถึงการลดน้ำหนัก โรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล อาการของผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน การปวดกล้ามเนื้อ ความผิดปกติของการกิน โรคย้ำคิดย้ำทำ และอาการปวดหัวต่างๆ

แต่ประโยชน์ต่างๆ ที่กล่าวอ้างมาหลายข้อก็ยังไม่ยืนยันผลจากองค์การอาหารและยา ดังนั้นจึงควรใช้ตามคำแนะนำในการรับประทานของบรรจุภัณฑ์นั้นๆ อ้างจากผู้ค้นคว้ารายหนึ่งแนะนำว่า ปริมาณการใช้ควรอยู่ระหว่าง 50 ถึง 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน โดยปกติแล้วจะอยู่ระหว่าง 100-600 มิลลิกรัม แนะนำให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์เพื่อความแน่ใจอีกครั้งก่อนรับประทาน

คำถาม:  ฉันเพิ่งเริ่มรับประทาน 5-HTP เพื่อคุณประโยชน์ของการได้รับสารเซโรโทนิน ฉันจะต้องรับประทานเป็นเวลานานแค่ไหน และได้ผลอย่างไร

คำตอบ: 5-HTP ถูกจัดให้อยู่ในประเภทของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ด้วยความที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยังไม่ได้ถูกศึกษาค้นคว้าอย่างถี่ถ้วนทางคลินิก ผลข้างเคียงและปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่อาจเป็นไปได้จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับ องค์การอาหารและยายังไม่มีการออกกฎหมายอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จึงยังไม่ถูกทดสอบถึงประสิทธิภาพ ความบริสุทธิ์ หรือความปลอดภัย โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์เสริมอาหารควรใช้ภายใต้การแนะนำของผู้ดูแลเรื่องสุขภาพของคุณเอง ถ้าต้องการรายละเอียดเชิงลึก โปรดปรึกษาเภสัชกรของคุณเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น โดยยึดอาการเฉพาะของคุณและยาที่กำลังใช้อยู่เป็นหลัก ก่อนที่จะรับประทานยาใดๆ

เมื่อแพทย์สั่งยาตัวใหม่ให้คุณ แน่ใจว่าคุณได้แจ้งถึงยาที่แพทย์สั่งให้คุณ ยาที่แพทย์ไม่ได้สั่ง รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามิน ยาแผนโบราณ แร่ธาตุและยาสมุนไพร แม้กระทั่งอาหารที่คุณกินเป็นประจำ

คุณควรจะบันทึกรายการยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารล่าสุดที่คุณกำลังใช้อยู่และปรึกษากับผู้ดูแลสุขภาพหรือเภสัชกรของคุณ ถ้าเป็นไปได้ ใช้บริการร้านขายยาที่ใดที่หนึ่งที่เดียว สำหรับยาทั้งหมดทั้งมีใบสั่งจ่ายจากแพทย์หรือไม่มี เพื่อเภสัชกรจะได้มีบันทึกรายการยาทั้งหมดของคุณและจะได้แนะนำเกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยาและผลข้างเคียงกับคุณได้ เมื่อต้องการข้อมูลเชิงลึก โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับคำแนะนำ อ้างอิงจากสภาวะสุขภาพหรือยาที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก่อนที่จะรับประทานยาใดๆ

คำถาม:  5-HTP สามารถช่วยอาการของโรคอารมณ์สองขั้วได้หรือไม่

คำตอบ:  5-HTP ถูกจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สำหรับอาการวิตกกังลง โรคซึมเศร้า การนอนไม่หลับ อาการปวดหัวต่างๆ และอื่นๆ ด้วยความที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยังไม่ได้ถูกศึกษาค้นคว้าอย่างถี่ถ้วนทางคลินิก ผลข้างเคียงและปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่อาจเป็นไปได้จึงยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่อย่างไรก็ตาม การใช้ 5-HTP ร่วมกับยาต้านเศร้า อาจทำให้เกิดภาวะมีสารเซโรโทนิน ในสมองเพิ่มสูงขึ้นจนก่อให้เกิดภาวะ Serotonin syndrome ซึ่งเป็นไปได้ยากแต่ก็สามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกายังไม่มีการออกกฎหมายอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เหล่านี้จึงยังไม่ถูกทดสอบถึงประสิทธิภาพ ความบริสุทธิ์ หรือความปลอดภัย ในการรักษาโรคซึมเศร้าหรือโรคอารมณ์สองขั้ว

มียาอีกหลายประเภทที่แพทย์สามารถสั่งจ่ายได้ที่ทดสอบแล้วว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับอาการเหล่านี้ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

Scroll to Top