โรคมะเร็งรังไข่ คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา ป้องกัน ครบ จบในที่เดียว scaled

โรคมะเร็งรังไข่ คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา ป้องกัน ครบ จบในที่เดียว

รู้หรือไม่ มะเร็งรังไข่ เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง รองจากมะเร็งปากมดลูก และผู้หญิง 1 ใน 70 คน มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นอีก หากคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็งรังไข่

มีคำถามเกี่ยวกับ มะเร็งรังไข่? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

จากสถิตินี้ทำให้เห็นว่ามะเร็งรังไข่ไม่ใช่เรื่องไกลตัวเราเลย และผู้หญิงทุกคนก็มีโอกาสเสี่ยงป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ได้ ฉะนั้นมาทำความรู้จักมะเร็งรังไข่กันให้ละเอียดว่า มะเร็งรังไข่คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และการป้องกันเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ลดโอกาสเสี่ยงป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ลงได้

โรคมะเร็งรังไข่ คืออะไร?

โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เป็นมะเร็งที่พบได้ในผู้หญิงทุกกลุ่มอายุ โดยเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเนื้อเยื่อบริเวณรังไข่ (Ovary) หรือท่อนําไข่ (Fallopian Tube) โดยเจริญเติบโตผิดปกติในรังไข่เพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ทําให้รังไข่มีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ 

มะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการ จนกว่าจะอยู่ในระยะลุกลาม แพร่กระจาย ซึ่งมักกระจายไปตามเยื่อบุช่องท้อง เข้าสู่กระแสเลือด หรือทางเดินนํ้าเหลือง ทำให้บางครั้งอาจพบเชื้อมะเร็งที่ลุกลามไปยัง อุ้งเชิงกราน ปอดหรือตับได้

สาเหตุของโรคมะเร็งรังไข่ เกิดจากอะไร?

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด ถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เป็นมะเร็งรังไข่ แต่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มต่อไปนี้ มีโอกาสเสี่ยงที่จะป่วยเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่ากลุ่มอื่นๆ ได้แก่

    • ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป
    • ผู้ที่ไม่เคยตั้งครรภ์
    • ผู้ที่มีประวัติเคยเป็นโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ลำไส้ใหญ่ หรือเต้านม
    • คนในครอบครัวเคยมีประวัติป่วยเป็นโรคมะเร็งรังไข่
    • ผู้ที่รับประทานยากระตุ้นให้ไข่ตก ต่อเนื่องกันนานเกิน 12 เดือน
    • ผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกตอนอายุน้อยกว่า 12 ปี และไม่ได้ตั้งครรภ์ และประจำเดือนหมดหลังอายุ 55 ปี
    • ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน

นอกจากนี้หลายการศึกษายังพบว่า ผู้ที่ใช้แป้งบริเวณอวัยวะเพศต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่สูงขึ้น เพราะแป้งอาจมีสารปนเปื้อนใดๆ ที่ซึมเข้าสู่ร่างกายได้

แม้ว่าสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ยังไม่แน่ชัด แต่หากพบว่าตัวเองมีความเสี่ยง แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งรังไข่ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ารังไข่ของคุณยังสมบูรณ์แข็งแรงดี

มาทำความรู้จักรังไข่ให้มากขึ้น! รังไข่ คืออะไร เกิดอาการผิดปกติอะไรบ้าง วิธีรักษา ป้องกัน ครบ จบในที่เดียว คลิกอ่านต่อ 

มะเร็งรังไข่ มีกี่ประเภท?

มะเร็งรังไข่แบ่งได้เป็น 3 ประเภท โดยความรุนแรงของโรคจะขึ้นอยู่กับประเภทของเซลล์ และระยะของโรค ดังนี้

  1. มะเร็งเยื่อบุผิวรังไข่ (Epithelial Cancers) เป็นกลุ่มพบบ่อยได้บ่อยที่สุด ประมาณ 90% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด โดยพบได้บ่อยในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มะเร็งชนิดนี้จะเกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุผิว ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มภายนอกรังไข่ นอกจากนี้ยังอาจเกิดที่บริเวณเยื่อบุผิวบริเวณท่อนำไข่ได้ด้วย
  2. เนื้องอกที่เกิดจากเซลล์สืบพันธุ์ (Germ Cell Ovarian Tumours) หรือมะเร็งฟองไข่ เป็นมะเร็งที่พบได้ไม่บ่อยนัก โดยอาจพบเพียง 5% ของมะเร็งรังไข่ทั้งหมด และมักพบในคนที่อายุไม่เกิน 30 ปี มะเร็งชนิดนี้เกิดจากเซลล์ที่จะพัฒนาไปเป็นไข่ เกิดความผิดปกติ
  3. เนื้องอกที่เกิดจากบริเวณเนื้อเยื่อในรังไข่ (Sex Cord Stromal Tumours) หรือมะเร็งเนื้อรังไข่ จัดอยู่ในกลุ่มโรคมะเร็งรังไข่ที่พบได้น้อยมาก เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของรังไข่ เช่น เซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศ Estrogen และ Progesteron เป็นต้น

มะเร็งรังไข่ มีอาการอย่างไร?

อาการของโรงมะเร็งรังไข่ที่บ่อยที่สุดได้แก่

  • อาการท้องโตอืดขึ้น เนื่องจากในท้องมีน้ำหรือมีก้อนเนื้องอก 
  • เบื่ออาหาร 
  • อาหารไม่ย่อย 
  • ท้องผูก แน่นเฟ้อ 
  • คลื่นไส้ อาเจียน 
  • ปัสสาวะบ่อย 
  • มีอาการปวดหลัง
  • น้ำหนักตัวลด
  • แน่นท้อง อึดอัดในท้อง ปวดท้อง ซึ่งอาจเป็นอาการของโรคที่ได้แพร่กระจายไปในช่องท้องมากแล้ว

อาการเบื้องต้นเป็นสัญญาณเสี่ยงว่าคุณอาจกำลังป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ แนะนำให้รีบไปตรวจคัดกรองโดยเร็ว 

แต่นอกจากนี้ยังมีอาการเฉียบพลัน รุนแรงที่เกิดจากโรคมะเร็งรังไข่ได้เช่นกัน เช่น ปวดท้องเฉียบพลันเพราะการบิดขั้วของเนื้องอก หรือมีก้อนแตกหรือเลือดออกในช่องท้อง หากมีอาการเหล่านี้ ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

สำหรับคุณผู้หญิงบางรายที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งรังไข่อาจไม่มีอาการ แต่สามารถพบโรคดังกล่าวจากการตรวจภายใน หรือการตรวจร่างกายทั่วไป 

อาการที่เป็นอยู่ใช่โรคเกี่ยวกับรังไข่ไหม? อยากตรวจรังไข่เพิ่มเติมให้มั่นใจ ปรึกษาทีม HDcare หาแพ็กเกจราคาดี จาก รพ. ชั้นนำใกล้คุณได้ ที่นี่

โรคมะเร็งรังไข่ มีกี่ระยะ?

มะเร็งรังไข่มีทั้งหมด 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งกระจายตัวอยู่ในเฉพาะบริเวณรังไข่เท่านั้น ยังไม่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ซึ่งมักไม่แสดงอาการใดๆ แต่หากตรวจภายในเป็นประจำทุกปี ก็มีโอกาสที่จะพบโรคในระยะนี้ได้ ทำให้ผ่าตัดรักษาได้ทันท่วงที

ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งเริ่มมีการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อรอบๆ รังไข่ แต่ยังอยู่ภายในอุ้งเชิงกราน ระยะนี้โรคก็ยังไม่แสดงอาการเช่นกัน

ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังเยื่อบุช่องท้องหรือต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มแสดงอาการผิดปกติ จึงเป็นระยะที่ตรวจพบมะเร็งบ่อยที่สุด ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการท้องบวม ท้องแข็งตึง หน้าท้องขยายอย่างรวดเร็ว แต่น้ำหนักตัวกลับลดลง

ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปนอกช่องท้อง เช่น ลุกลามไปยัง ตับ ปอด เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติที่เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น แน่นท้อง อึดอัดในท้อง ปวดท้องมาก น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เป็นต้น

โดยส่วนใหญ่มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรก มักไม่แสดงอาการ ทำให้ผู้ป่วยไม่ทราบว่าร่างกายกำลังผิดปกติ และกว่าที่ร่างกายจะแสดงอาการ ก็เข้าสู่ระยะที่ 3 ซึ่งเซลล์มะเร็งมีการลุกลาม กระจายตัวไปยังอวัยวะข้างเคียงแล้ว ทำให้การรักษายากยิ่งขึ้น

ดังนั้นการตรวจร่างกาย ตรวจภายใน หรือตรวจเลือดคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งเป็นประจำทุกปี จะทำให้โอกาสที่จะตรวจพบแล้วรักษามีสูงขึ้น และโอกาสหายขาดก็จะสูงตามไปด้วย

มีคำถามเกี่ยวกับ มะเร็งรังไข่? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

มองหาแพ็กเกจตรวจภายใน ตรวจคัดกรองมะเร็งรังไข่อยู่รึเปล่า? ทักหาแอดมิน HDcare ได้เลย ช่วยค้นหาดีลดี ราคาโดนใจ จากโรงพยาบาลและคลินิกใกล้คุณได้ทันที

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ มีกี่วิธี?

การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค ซึ่งบางครั้งการรักษาอาจต้องใช้หลายวิธีควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาอีกครั้ง โดยมีวิธีการรักษาดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดรักษา การผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งรังไข่นั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าตรวจพบเซลล์มะเร็ง ณ ตำแหน่งใด และระยะใด มีการแพร่กระจายหรือไม่ เช่น 

หากพบเซลล์มะเร็งในรังไข่เพียงข้างเดียว และอยู่ในระยะที่ 1 ยังไม่แพร่กระจาย แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดรังไข่ออกเพียงข้างเดียว 

แต่หากพบมะเร็งรังไข่ในระยะที่ 4 ซึ่งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง กรณีนี้จำเป็นต้องผ่าตัดรังไข่ออกทั้งหมด รวมทั้งผ่าตัดนำอวัยวะทุกส่วนที่มีการแพร่กระจายออกให้ได้มากที่สุด 

ทั้งนี้เทคนิคการผ่าตัดมะเร็งรังไข่ มี 2 เทคนิคหลักๆ คือ การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่แบบเปิดหน้าท้อง หรือการผ่าตัดแบบดั้งเดิม และ การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่โดยการส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง แพทย์จะเป็นผู้แนะนำวิธีการผ่าตัดให้เหมาะกับอาการของโรคต่อไป

  • การใช้เคมีบำบัด คือการใช้สารเคมีทำลายเซลล์มะเร็งภายในร่างกาย วิธีนี้มักจะใช้คู่กับการผ่าตัดรักษา ซึ่งจากข้อมูลทางการแพทย์พบว่า 75-80% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่ มีการตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดเป็นอย่างดี โดยการให้เคมีบำบัดมีด้วยกัน 2 วิธี คือ
    1. การให้เคมีบำบัดหลังการผ่าตัด (Adjuvant Chemotherapy) หลังจากผ่าตัดนำก้อนที่มีเชื้อมะเร็งออกแล้ว แพทย์จะให้ยาเคมีบำบัด 4-6 ครั้ง ต่อเนื่องกันเป็นเวลา 3-6 เดือน แพทย์จะรักษาด้วยวิธีนี้ กรณีที่คิดว่า การผ่าตัดอาจนำเนื้อร้ายออกไม่หมด อาจมีเซลล์มะเร็งเล็กๆ ที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นหลงเหลืออยู่ หรือการผ่าตัดนั้นยาก
    2. การให้เคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด (Neo-Adjuvant Chemotherapy) หลังจากตรวจจนแน่ชัดแล้วว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ ในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ ผ่าตัดได้ยาก มีความเสี่ยงสูง แพทย์อาจจะให้ยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้ก้อนมีขนาดเล็กลง ทำให้การผ่าตัดง่ายยิ่งขึ้น 

นอกจากนี้ ในผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 แพทย์อาจพิจารณาให้เคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว เพราะไม่สามารถผ่าตัดนำเซลล์มะเร็งออกได้หมด เนื่องจากมีการลุกลามไปยังอวัยวะหลายส่วน

ทั้งนี้ยาเคมีบำบัด มีทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีด ซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะใช้ชนิดฉีด โดยยาเคมีบำบัดนี้ นอกจากจะเข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งแล้ว ยังเข้าไปทำลายเซลล์ปกติด้วย ผู้ป่วยจึงอาจมีอาการข้างเคียงตามมา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง ซีดเซียว ติดเชื้อง่ายกว่าปกติ เป็นต้น

3. การฉายรังสี หรือ การฉายแสง (Radiotherapy) คือ การใช้รังสีพลังงานสูง ฉายไปที่ตำแหน่งของเซลล์มะเร็ง เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งนั้นๆ โดยจะทำการฉายรังสีอย่างต่อเนื่องจนเซลล์มะเร็งตาย หรือทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง โดยทั่วไปการให้รังสีรักษามี 2 วิธีคือ

    1. การให้รังสีจากเครื่องที่อยู่ภายนอกร่างกาย (External Beam Radiotherapy) เป็นการฉายรังสีพลังงานสูง จากเครื่องฉายรังสี ผ่านชั้นผิวหนังลงไปสู่ก้อนมะเร็ง โดยข้อดีของวิธีนี้คือ สามารถปรับความเข้มข้นของรังสีได้ตามขนาดและความหนาของก้อนมะเร็ง ทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ และช่วยลดโอกาสที่รังสีจะกระทบต่ออวัยวะข้างเคียงลงได้
    2. การฉายรังสีรักษาระยะใกล้ (Brachytherapy) คือการฝังแร่กัมมันตรังสี เข้าไปในก้อนมะเร็ง หรือใกล้กับก้อนมะเร็ง ซึ่งมีทั้งการฝังแบบถาวร และการฝังแบบชั่วคราว เพื่อให้รังสีทำลายเซลล์มะเร็ง แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้รังสีในการรักษามะเร็งรังไข่

การรักษามะเร็งด้วยวิธีการฉายรังสีจากเครื่องที่อยู่ภายนอกร่างกาย ถือเป็นวิธีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และมีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สามารถกำหนดตำแหน่งที่จะฉายรังสีได้อย่างแม่นยำ ทำให้เนื้อเยื่อโดยรอบมีโอกาสได้รับรังสีน้อยมาก จึงช่วยลดผลข้างเคียง และควบคุมโรคได้ดี มีประสิทธิภาพขึ้น 

แต่ก็อาจจะยังมีผลข้างเคียงอยู่บ้าง เช่น  หลังทำแล้วมีอาการอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ปัสสาวะลำบาก เป็นต้น

4. การให้ยารักษามุ่งเป้า (Targeted Therapy) เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง โดยไม่มีผลกระทบเซลล์ปกติ หรือส่งผลกระทบน้อยกว่าการใช้ยาเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา โดยส่วนใหญ่จะใช้รักษามะเร็งรังไข่ในระยะลุกลาม แบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 

    1. ยากลุ่ม Anti-angiogenesis กลุ่มนี้เป็นยาฉีด ออกฤทธ์ิยับยั้งกระบวนการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ลดการเจริญเติบโตของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหาร และตายในที่สุด
    2. ยามุ่งเป้าที่มีเป้าหมายเฉพาะต่อเอนไซม์ PARP (Poly ADP-ribose Polymerase) กลุ่มนี้เป็นยาชนิดรับประทาน ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ PARP ซึ่งทำหน้าที่ในการซ่อมแซม DNA ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเจริญเติบโตและการแบ่งเซลล์มะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งฝ่อและตาย

ส่วนใหญ่แพทย์จะใช้วิธีนี้ควบคู่กับการทำเคมีบำบัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา โดยเซลล์มะเร็งจะตอบสนองต่อการรักษานี้ได้ดีกว่าการใช้เคมีบำบัดเพียงอย่างเดียว

5. การรักษาด้วยฮอร์โมน เป็นการใช้ฮอร์โมนหรือสารต้านฮอร์โมน เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เนื่องจากเซลล์มะเร็งบางประเภทเติบโตได้จากฮอร์โมนเอสโตรเจน 

ส่วนใหญ่วิธีนี้จะใช้รักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่ที่มีการแพร่กระจายช้า หรือใช้ในรายที่เป็นมะเร็งซ้ำ

6. การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นวิธีการใช้ภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง โดยการใช้ยาเข้าไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กำจัดเซลล์มะเร็งเอง ซึ่งมีโอกาสที่ร่างกายจะตอบสนองต่อการรักษามะเร็งในระยะยาว และมีผลข้างเคียงน้อยกว่าการทำเคมีบำบัด

7. การดูแลรักษาแบบประคับประคอง เป็นวิธีการรักษามะเร็งในผู้ป่วยที่อยู่ในระยะท้าย ที่มะเร็งมีการลุกลาม แพร่กระจายค่อนข้างมาก โดยจะมุ่งเน้นดูแลรักษาตามอาการ เพื่อให้ผู้ป่วยรวมทั้งคนรอบข้าง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น บรรเทาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด

ป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ ควรเลือกวิธีรักษาแบบไหน อยากปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง หรือขอความเห็นที่ 2 ก่อนเริ่มผ่าตัด ทักหาทีมงาน HDcare ทำนัดได้สะดวก คิวเร็ว ไม่ต้องคอยนาน ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องรอคิวนาน คลิกที่นี่เลย

การป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ 

เนื่องจากโรคมะเร็งรังไข่ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด รวมทั้งยังไม่มีวิธีการป้องกันที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจน แต่มะเร็งรังไข่ เป็นโรคที่หากพบเร็ว จะมีโอกาสรักษาให้หายได้สูงขึ้น ดังนั้นวิธีป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ที่ทำได้คือ การตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ

สำหรับผู้หญิงอายุ 21-65 ปี ควรเข้ารับการตรวจภายในและตรวจอัลตราซาวด์ทุกปี หากพบความผิดปกติจะได้รักษาได้ทัน

สำหรับผู้ที่มีภาวะไข่ไม่ตก และมีการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดติดต่อกันนานเกิน 5 ปี สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งรังไข่ลงได้ครึ่งหนึ่ง

นอกจากนี้ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น ออกกำลังกายเพื่อไม่ให้มีน้ำหนักเกิน กินอาหารที่มีประโยชน์ ลดอาหารจำพวกไขมัน สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยป้องกันโรคมะเร็งรังไข่ได้ส่วนหนึ่ง และยังป้องกันโรคอื่นๆ ที่จะตามมาได้ด้วย

หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการรักษามะเร็งรังไข่เพิ่มเติม หรืออยากขอความเห็นที่ 2 จากคุณหมอเฉพาะทางด้านสูตินรีเวช ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

มีคำถามเกี่ยวกับ มะเร็งรังไข่? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ HDcare โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ พยาบาล HDcare