มองภาพใกล้ๆ ไม่ชัด สัญญาณเตือนของภาวะสายตายาว ซึ่งเป็นอีกปัญหาด้านสายตาที่พบได้บ่อยไม่แพ้ภาวะสายตาสั้น หรือสายตาเอียง
นอกจากนี้ปัญหาสายตายาวยังเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตในหลายด้าน เช่น เวลาอ่านหนังสือหรือดูโทรศัพท์ ต้องยืดแขนออกไปไกลๆ จึงจะเห็นข้อความ ขับรถแล้วมองเห็นป้ายจราจรที่อยู่ใกล้ๆ ไม่ชัด ต้องเพ่งตาหรือหยีตาเวลาอ่านสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกปวดตาหรือปวดศีรษะได้
ภาวะสายตายาว คืออะไร?
ภาวะสายตายาว คือ ภาวะความผิดปกติทางสายตาที่แสงจากภาพหรือวัตถุ ตกกระทบลงที่ด้านหลังจอประสาทตา แทนที่จะตกลงบนจอประสาทตาพอดี ทำให้การมองเห็นในระยะใกล้ไม่ชัดเจน ในขณะที่การมองเห็นในระยะไกลนั้นยังคมชัดอยู่ตามค่าสายตา
ภาวะสายตายาว แบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่
- ภาวะสายตายาวโดยกำเนิด (Hyperopia หรือ Farsightedness) เป็นภาวะสายตายาวที่พบได้ตั้งแต่ยังเด็ก มักเกิดจากลักษณะของกระบอกตาสั้นกว่าปกติหรือกระจกตามีความโค้งน้อยกว่าปกติ ทำให้แสงไม่สามารถตกกระทบบนจอประสาทตาได้อย่างพอดี
- ภาวะสายตายาวตามอายุ (Presbyopia) เป็นภาวะสายตายาวที่พบในกลุ่มผู้สูงอายุเป็นหลัก โดยเฉลี่ยช่วงอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป มักเกิดจากความเสื่อมของกล้ามเนื้อตารอบเลนส์ตา และความยืดหยุ่นของเลนส์ตาที่ลดลง จนทำให้ความสามารถในการโฟกัสภาพหรือวัตถุลดลงไปด้วย
ผู้ใหญ่ที่มีเด็กเล็กอยู่ในบ้านควรพาเด็กๆ ไปตรวจสุขภาพตา และหมั่นสังเกตพฤติกรรมการใช้สายตาของเด็กๆ เอาไว้ เนื่องจากเด็กที่มีภาวะสายตายาวโดยกำเนิดหลายคน มักไม่รู้ตัวว่า ตนเองมีปัญหาด้านสายตา หรืออาจไม่รู้วิธีสื่อสารกับผู้ใหญ่
หากสังเกตเห็นว่า เด็กมีพฤติกรรมต้องหรี่ตาหรือหยีตาระหว่างเพ่งมองสิ่งที่อยู่ในระยะใกล้ หรือมีอาการปวดศีรษะ ปวดตา ขยี้ตาบ่อยๆ ให้รีบพาเด็กไปตรวจตากับแพทย์ทันที
ส่วนผู้ใหญ่ที่เริ่มสังเกตว่า ภาพที่มองใกล้เริ่มไม่คมชัด ต้องขยับระยะให้ไกลขึ้น ก็ควรเข้ารับการตรวจวัดสายตา เพื่อแก้ปัญหาเช่นกัน
อายุมากขึ้น มองใกล้ไม่ชัด อ่านหนังสือไม่เห็น อยากแก้ปัญหาให้ตรงจุด ปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง แก้ปัญหาสายตายาวกับ HDcare ได้ทางไลน์วันนี้ (ไม่มีค่าใช้จ่าย) คลิกเลย
สาเหตุของภาวะสายตายาว
ปัจจัยสำคัญที่มักทำให้เกิดภาวะสายตายาว ได้แก่
- พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีปัญหาสายตายาวอยู่แล้ว ก็มีโอกาสที่ผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดคนอื่นๆ จะมีปัญหาสายตายาวด้วย
- ความผิดปกติของโครงสร้างลูกตา หากเป็นผู้ที่มีกระจกตาแบนหรือกระบอกตาสั้นเกินไป ก็มีโอกาสเกิดปัญหาสายตายาวได้มากกว่ากลุ่มคนทั่วไป
- อายุที่มากขึ้น เป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะสายตายาว โดยเกิดจากการเสื่อมของกล้ามเนื้อตาหรือเลนส์ตาที่แข็งขึ้นและไม่ยืดหยุ่นเหมือนเดิม จึงทำให้เกิดปัญหาการมองเห็นระยะใกล้ที่ไม่ชัดเจนได้
- โรคประจำตัวบางชนิด เป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดปัญหาสายตายาวได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปลอกประสาทเสื่อม
อาการของภาวะสายตายาว
ภาวะสายตายาวจะส่งผลทำให้พฤติกรรมการใช้สายตาเปลี่ยนไป โดยอาการที่สังเกตเห็นได้บ่อยๆ ได้แก่
- เมื่อต้องมองภาพหรือวัตถุในระยะใกล้ จะมองเห็นได้ไม่ชัด โดยเฉพาะในเวลากลางคืนหรือในที่แสงน้อย
- มักต้องหรี่ตา หยีตา และถอยออกมายืนไกลๆ เมื่อต้องมองสิ่งที่อยู่ในระยะใกล้
- เวลาอ่านหนังสือหรือดูมือถือ มักต้องยื่นแขนออกไปจนสุด จึงจะเพ่งอ่านได้ง่าย
- มักมีอาการปวดศีรษะ รวมถึงมักปวดกระบอกตา หรือรู้สึกตาล้า
- ตาไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้มีอาการตาไม่สู้แสงหรือแสบตาเมื่อเจอแสงสว่างจัดๆ
- เด็กที่มีภาวะสายตายาวแต่กำเนิด หากมีสายตายาวไม่มากนัก อาจยังมองเห็นระยะใกล้ได้ชัดอยู่ แต่ในเด็กที่มีค่าสายตายาวมากๆ อาจเห็นภาพไม่ชัดเจน หรือมีอาการตาเขร่วมด้วย
วิธีรักษาภาวะสายตายาว
วิธีรักษาภาวะสายตายาวสามารถแบ่งออกได้ 3 รูปแบบหลักๆ ได้แก่
- การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด เป็นการใช้อุปกรณ์เสริมช่วยให้แสงที่ผ่านเข้าสู่ดวงตาหักเหตกลงบนจอประสาทตาพอดี ได้แก่
- การใส่แว่นตา เป็นตัวเลือกที่ง่าย และยังเลือกชนิดของเลนส์และรูปแบบกรอบแว่นได้ตามต้องการ แต่อาจมีข้อจำกัดคือ ใช้ทำกิจกรรมบางประเภทได้ไม่ถนัดนัก แตกหักได้ง่าย เป็นต้น
- การใส่คอนแทคเลนส์ เป็นอุปกรณ์เสริมที่ช่วยแก้ปัญหาสายตาได้หลากหลาย ทั้งสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง นอกจากนี้ยังใช้งานได้สะดวกมากกว่าการใส่แว่น แต่ต้องระวังเรื่องสุขอนามัย เพราะหากไม่รักษาความสะอาด หรือใช้ผิดวิธี เช่น ใส่คอนแทคเลนส์ขณะนอนหลับ ดวงตาอาจติดเชื้อจนสูญเสียการมองเห็นได้
- การรักษาด้วยวิธีผ่าตัดทำเลสิก (Laser Assisted InSitu Keratomileusis: LASIK) เป็นการแก้ไขภาวะสายตาผิดปกติที่ต้นตอ ด้วยการผ่าตัดเจียความโค้งของผิวกระจกตาใหม่ ทำให้ค่าสายตากลับมาคมชัดอีกครั้ง ปัจจุบันแบ่งออกได้หลายเทคนิคซึ่งจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน เช่น
- การทำเลสิกแบบ Trans PRK (Transepithelial Photorefractive Keratectomy) เป็นเทคนิคการทำเลสิกที่ไม่มีเครื่องมือสัมผัสบริเวณผิวดวงตาเลย เนื่องจากแพทย์จะใช้พลังงาน Excimer Laser ในการผ่าตัดตั้งแต่ขั้นตอนลอกผิวกระจกตา ไปจนถึงเจียปรับความโค้งของผิวกระจกตาใหม่
- การทำเลสิกแบบ SBK (Sub Bowman Keratomileusis) เป็นเทคนิคการทำเลสิกที่ใช้ใบมีดพิเศษในการแยกชั้นผิวกระจกตา ทำให้สามารถเก็บความหนาของผิวกระจกตาไว้ได้มากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการแก้ไขปัญหาสายตาได้อย่างตรงจุด และลดอาการตาแห้งหลังผ่าตัดได้ดียิ่งขึ้นด้วย
- การทำเลสิกแบบ Femto เป็นการทำเลสิกโดยใช้พลังงานเฟมโตเซคอนด์เลเซอร์ (Femtosecond Laser) ในทุกขั้นตอนการผ่าตัด ซึ่งสามารถเจียปรับผิวกระจกตาได้อย่างแม่นยำขึ้น ทำให้เทคนิคการทำเลสิกนี้สามารถเรียกได้อีกชื่อว่า “การทำเลสิกไร้ใบมีด”
ทำเลสิกแบบไหนดี เจาะลึกความต่างของเทคนิคการทำเลสิก แบบไหนเหมาะ มีข้อดี ข้อจำกัดยังไง อ่านได้ที่นี่เลย
สายตายาวก็ทำเลสิกได้ หยุดปัญหามองใกล้ไม่ชัด แถมยังปวดหัวง่าย มีอาการตาล้าระหว่างวัน ปรึกษา HDcare เพื่อหาแพ็กเกจเลสิกในราคาสุดคุ้ม
- การรักษาด้วยการใส่เลนส์แก้วตาเทียม หรือการทำ ICL (Implantable Collamer Lens) เป็นการผ่าตัดเพื่อใส่เลนส์แก้วตาเทียม ซึ่งเป็นวัสดุชิ้นเล็กที่รูปร่างคล้ายกับเลนส์แก้วตาลงไปด้านหน้าเลนส์แก้วตาธรรมชาติ
เลนส์แก้วตาเทียมมีคุณสมบัติช่วยเสริมการมองเห็นในระยะที่มีปัญหาให้กลับมาคมชัดได้อีกครั้ง และยังสามารถแก้ไขได้หลายระยะ จึงแก้ภาวะสายตาผิดปกติได้อย่างครอบคลุม ทั้งสายตาสั้น สายตายาว และสายตาเอียง นอกจากนี้เลนส์แก้วตาเทียมยังสามารถถอดออกได้ โดยไม่กระทบต่อโครงสร้างเดิมของเนื้อกระจกตาด้วย
สายตายาวเป็นอีกปัญหาด้านสายตาที่ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตได้หลายด้าน นอกจากนี้ยังอาจเป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรมระหว่างวัน เช่น อ่านหนังสือ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือขับรถ
ดังนั้นการปรับแก้ค่าสายตายาวให้กลับมามองเห็นระยะใกล้ได้คมชัดอีกครั้ง จะช่วยคืนความสะดวกสบายได้อย่างตรงจุดที่สุด
สายตายาวมานาน ไม่อยากใส่แว่นแล้ว อยากทำเลสิกแก้ปัญหาสายตายาว ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจเลสิกจาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย