bone mineral density for osteoporosis screening process

เสี่ยง “กระดูกพรุน” หรือไม่? เช็กได้ด้วยการตรวจมวลกระดูก

ภาวะกระดูกพรุนเป็นปัญหาสุขภาพที่กว่าจะรู้ว่าเป็นก็ตอนกระดูกหักหรือเกิดอุบัติเหตุแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า โรคกระดูกพรุนสามารถรู้ได้แน่ชัดด้วยการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งจะช่วยวางแผนปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยง และป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้เป็นอย่างดี

โรคกระดูกพรุน คืออะไร

กระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกอ่อนแอ เปราะบาง ง่ายต่อการแตกหักเพียงแค่หกล้มหรือกระแทกเล็กน้อย โดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ และกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระดูกส่วนที่มักเกิดกระดูกพรุนได้บ่อย

ตามธรรมชาติแล้วกระดูกจะมีกระบวนการสลายตัวและสร้างใหม่ทดแทนตลอดเวลา โดยการสร้างกระดูกใหม่จะเกิดขึ้นเร็วกว่าการสลายกระดูกเก่าในช่วงอายุยังน้อย เด็กจึงเป็นช่วยวัยที่มีมวลกระดูกมาก 

กระบวนการสร้างกระดูกใหม่จะค่อย ๆ ช้าลงในช่วงอายุ 20 ปีเป็นต้นไป และกระบวนการสลายกระดูกเก่าก็จะเร็วกว่าการสร้างกระดูกเมื่อเราอายุมากขึ้น ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุจึงเสี่ยงเป็นภาวะกระดูกพรุน 

โดยปัจจัยเสี่ยงของภาวะกระดูกพรุนจะมีดังนี้

  • กรรมพันธุ์จากพ่อแม่หรือคนในครอบครัว
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพ และมวลกระดูกมักจะลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอายุหลัง 50 ปีเป็นต้นไป
  • เพศหญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศชาย โดยเฉพาะวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน 
  • พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ดี เช่น ทานอาหารโซเดียมสูง ทานอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี หรือโปรตีนน้อยเกินไป
  • น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์
  • การออกกำลังกายไม่เพียงพอ
  • การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มคาเฟอีน
  • ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับฮอร์โมนร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศในช่วงวัยหมดประจำเดือน ปัญหาฮอร์โมนไทรอยด์ รวมถึงปัญหาต่อมพาราไทรอยด์และต่อหมวกไต
  • โรคประจำตัวเรื้อรัง อย่างโรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์ โรคตับ โรคไต หรือโรคทางเดินอาหาร   
  • การใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยารักษาไทรอยด์ ยากันชัก และยารักษามะเร็ง

โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็ตอนกระดูกหักแล้ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้พิการถาวร มีปัญหาที่หลังหรือการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง 

ตรวจสุขภาพกระดูก วิธีเช็กความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน 

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนทําได้หลายวิธี แต่วิธีตรวจกระดูกที่นิยมใช้กัน ได้แก่ การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก การเอกซเรย์ และการสังเกตร่างกายภายนอก 

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกด้วยเครื่องสแกน (Bone densitometer หรือ Bone minineral density ) 

เป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถใช้ประเมินความเสี่ยงและความรุนแรงของกระดูกแตกหัก ไปจนถึงวางแผนและติดตามผลการรักษา

การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก หรือการตรวจมวลกระดูก จะพิจารณาจากปริมาณแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญในกระดูก ยิ่งมีแร่ธาตุอยู่มาก กระดูกก็ยิ่งแข็งแรงมาก โดยใช้เครื่องสแกน Bone densitometer

เครื่องสแกน Bone densitometer มีอยู่หลายแบบ แต่ที่นิยมใช้คือ DXA scanner (Dual energy X-ray absorptiometry scanner) เป็นเครื่องตรวจที่ใช้รังสีเอกซ์พลังงานต่ำ ใช้ตรวจกระดูกได้เกือบทุกจุด แต่มักเจาะจงบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว สะโพก และข้อมือ ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงกระดูกแตกหักจากกระดูกพรุนได้บ่อย 

การตรวจใช้เวลาไม่นาน เพียง 1015 นาที ขึ้นอยู่กับว่าตรวจกี่จุดและบริเวณใดบ้าง และยังมีข้อดีที่ไม่ทำให้เจ็บปวด มีความปลอดภัยต่อร่างกายเนื่องจากใช้รังสีพลังงานต่ำ และให้ผลลัพธ์แม่นยำ

ผลตรวจจะได้ออกมาเป็นค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก หรือเรียกว่า ค่า T-Score แล้วนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยมาตรฐานในคนอายุ 30 ปี ตามเกณฑ์ต่อไปนี้

  • ค่า T-Score สูงกว่า 1 เท่ากับว่ากระดูกปกติ
  • ค่า T-Score อยู่ระหว่าง 1 ถึง 2.5 เท่ากับว่ามีภาวะกระดูกบาง (Osteopenia)
  • ค่า T-Score ต่ำกว่า 2.5 เท่ากับว่าเป็นโรคกระดูกพรุน 

กรณีเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยมวลกระดูกในผู้ที่มีอายุเท่ากันจะเรียกว่า ค่า Z-Score ซึ่งหากค่าอยู่ที่ 2.0 หรือต่ำกว่านั้น จะถือว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากการใช้ยาหรือปัญหาสุขภาพ

การถ่ายภาพเอกซเรย์ (X-ray)

ภาพถ่ายกระดูกจะช่วยให้แพทย์เห็นความหนาแน่นของกระดูก ความกว้างของโพรงกระดูก ลายกระดูกหยาบ ๆ ไปจนถึงความผิดปกติของกระดูกได้ อย่างรอยร้าวหรือการทรุดตัว 

แต่ภาพเอกซเรย์ไม่สามารถบอกถึงความรุนแรงของภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุนได้อย่างชัดเจน ทำให้ยากต่อการวางแผนรักษาโรค

การสังเกตร่างกายภายนอก (General appearance)

วิธีนี้จะใช้ได้กับผู้ป่วยกระดูกพรุนที่มีอาการรุนแรงจนสามารถประเมินหรือวินิจฉัยเบื้องต้นได้ด้วยตาเปล่า โดยสัญญาณของกระดูกพรุนที่อาจพบได้ก็เช่น หลังค่อมหรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง ตัวเตี้ยลง 

อย่างไรก็ตาม โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ทำให้การตรวจเพียงแค่สังเกตอาการจะทำได้ตอนอาการของโรครุนแรงแล้ว ส่วนใหญ่เลยจะใช้ร่วมกับวิธีตรวจอื่น ๆ มากกว่าใช้ตรวจคัดกรองโรคระยะแรก

เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพกระดูก 

ตรวจมวลกระดูก สุขภาพกระดูก เตรียมตัวอย่างไร 

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก ก็ไม่มีข้อห้ามหรือการเตรียมตัวใดเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ทานยาประจำตัวได้ตามปกติ และทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ 

  • ก่อนตรวจมวลกระดูก 1 สัปดาห์ ต้องไม่รับการตรวจเอกซเรย์ที่ฉีดสารทึบรังสี กลืนหรือสวนแป้งแบเรียม หากมีนัดหมายมาก่อนควรแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ 
  • งดทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียมอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจมวลกระดูก
  • คนที่วางแผนจะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงจะตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อนตรวจ
  • งดใส่เครื่องประดับทุกชนิด เนื่องจากต้องถอดออกก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์โลหะฝังอยู่ในร่างกาย อย่างข้อสะโพกเทียมหรือเครื่องกระตุ้นหัวใจ ควรแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ
  • เลือกใส่เสื้อผ้าและชุดชั้นในที่ไม่มีโลหะ สวมใส่และถอดง่าย และควรนำถุงผ้าส่วนตัวมาใส่เสื้อผ้าที่เปลี่ยนด้วย

สำหรับการตรวจเอกซเรย์กระดูกไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใด ๆ ดื่มน้ำหรือทานอาหารได้ตามปกติ ยกเว้นคนที่ต้องฉีดสารทึบรังสี กลืนหรือสวนแป้งแบเรียม ควรงดทานอาหารหรือเครื่องดื่ม เพื่อช่วยให้ภาพเอกซเรย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ควรสวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย สวมใส่และถอดง่ายในวันเข้ารับการตรวจ 
  • หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องประดับหรือเสื้อผ้าที่มีโลหะ
  • หากเคยได้รับการผ่าตัดฝังอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตนเองอาจตั้งครรภ์อยู่ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อน

ใครบ้างเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ต้องตรวจมวลกระดูก

แพทย์จะแนะนำให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคกระดูกพรุนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค ด้วยวิธีตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เพราะเป็นวิธีคัดกรองโรคกระดูกพรุนที่ง่าย แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีอื่น 

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคกระดูกพรุน ได้แก่

  • ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอายุน้อยกว่า 65 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อมวลกระดูกต่ำ เช่น น้ำหนักตัวน้อย มีประวัติกระดูกหัก เป็นโรคหรือภาวะที่ทําให้มวลกระดูกลดลง
  • ผู้ชายอายุน้อยกว่า 70 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมวลกระดูกต่ำ เช่น น้ำหนักตัวน้อย มีประวัติกระดูกหัก เป็นโรคหรือภาวะที่ทําให้มวลกระดูกลดลง
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นมะเร็งเต้านม และผู้ชายอายุมากกว่า 50 ปีที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ผู้หญิงที่เคยผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างก่อนหมดประจำเดือน
  • คนที่เคยกระดูกหักมาก่อน กระดูกเปราะ หักง่าย รวมถึงมีประวัติปวดหลัง เอว และคอเรื้อรัง
  • คนที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะกระดูกพรุน
  • คนที่ใช้ยาที่ส่งผลต่อมวลกระดูกติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาไทรอยด์ หรือยารักษามะเร็ง
  • คนที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง อย่างโรคเบาหวาน โรคตับเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง โรคข้ออักเสบ หรือโรคทางเดินอาหารที่ส่งผลต่อการดูดซึม
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษากระดูกพรุน และต้องติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอทุก 12 ปี

การตรวจมวลกระดูกจะช่วยลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน กระดูกหัก และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย อย่างอัมพฤกษ์ อัมพาต หลังโก่ง หลังค่อม การติดเชื้อในกระแสเลือด ปัญหาในการเคลื่อนไหว หรือกระทั่งแผลกดทับกรณีผู้ป่วยติดเตียง

ไม่ต้องรอให้กระดูกหักแล้วค่อยตรวจมวลกระดูก แต่ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูกตั้งแต่เนิ่น ๆ เมื่อถึงเกณฑ์หรือมีปัจจัยเสี่ยง จะได้วางแผนปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรค และเสริมความแข็งแรงของกระดูกให้อยู่กับเราไปนาน ๆ

อย่าปล่อยให้พรุนนนไปถึงกระดูก แล้วค่อยไปตรวจ ค้นหาแพ็กเกจ ตรวจคัดกรองกระดูกพรุน ที่ HDmall.co.th โปรโมชั่นสุดคุ้มรอคุณอยู่ รีบเลย!

Scroll to Top