ไอโอดีน คือ ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย ทั้งนี้ร่างกายไม่สามารถผลิตไอโอดีนเองได้ การได้รับธาตุไอโอดีจึงต้องมาจากการรับประทานอาหารเท่านั้น ตามปกติแล้วในอาหารจะมีไอโอดีนอยู่น้อยมาก นอกเสียจากจะมีการเติมเข้าไปเพิ่มระหว่างกระบวนการประกอบอาหาร ซึ่งส่วนมากจะเป็นการเติมเกลือนั่นเอง แหล่งไอโอดีนที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือมหาสมุทรที่ซึ่งเกิดมาจากสิ่งมีชีวิตในท้องทะเลโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาสาหร่ายทะเล
สารบัญ
ประโยชน์และสรรพคุณของไอโอดีน
- ช่วยสร้างฮอร์โมนไทรอยด์: ไอโอดีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ คือ ไทรอกซิน (T4) และไตรไอโอโดไทโรนีน (T3) ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีบทบาทในการควบคุมการเจริญเติบโต พัฒนาการของระบบประสาท การเผาผลาญพลังงาน และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
- ช่วยการพัฒนาสมองและระบบประสาทในทารก: ช่วยพัฒนาสมองและระบบประสาทในทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด การขาดไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกมีพัฒนาการทางสมองล่าช้าและเกิดโรคคอพอกในทารกได้
- ช่วยป้องกันโรคคอพอก: ช่วยป้องกันการเกิดโรคคอพอก ซึ่งเกิดจากการขาดไอโอดีนที่ทำให้ต่อมไทรอยด์บวมโต
- ช่วยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน: มีบทบาทในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยป้องกันการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ
- ช่วยการบำรุงสุขภาพผิว ผม และเล็บ: มีส่วนช่วยในการบำรุงสุขภาพผิว ผม และเล็บให้แข็งแรงและมีสุขภาพดี
กลไกการทำงานของไอโอดีน
ไอโอดีนสามารถลดฮอร์โมนไทรอยด์และกำจัดเชื้อรา แบคทีเรีย และจุลินทรีย์ต่างๆ อย่างอะมีบาได้ โดยไอโอดีนประเภทพิเศษที่เรียกว่า potassium iodide นำไปใช้รักษา (แต่ไม่ใช่เพื่อการป้องกัน) ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี
แหล่งอาหารที่มีไอโอดีนสูง
- เกลือทะเล
- อาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย สาหร่าย
- นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ชีส
- ไข่
การใช้และประสิทธิภาพของไอโอดีน
ภาวะที่ใช้ไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ภาวะขาดไอโอดีน (Iodine deficiency) การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไอโอดีนรวมทั้งการรับประทานเกลือเสริมไอโอดีน (iodized salt) จะช่วยป้องกันและรักษาภาวะขาดไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การสัมผัสรังสี การรับประทานไอโอดีนจะช่วยป้องกันต่อการถูกรังสีไอโอดีน (radioactive iodides)
- ภาวะต่อมไทรอยด์ การรับประทานไอโอดีนสามารถบรรเทาอาการจากไทรอยด์เป็นพิษ (thyroid storm) และภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไปได้ อีกทั้งการรับประทานเกลือเสริมไอโอดีนนอกจาก thyroxine หลังการผ่าตัดยังช่วยลดขนาดของต่อมไทรอยด์ได้ด้วย
- แผลที่ขา งานวิจัยกล่าวว่าการทา cadexomer iodine ที่แผลบนผิวหนังขาร่วมกับการบีดอัด (compression) เป็นเวลา 4-6 สัปดาห์จะเพิ่มอัตราการฟื้นตัวขึ้น อีกทั้งการทา povidone-iodine ร่วมกับการบีบอัดอาจช่วยสมานแผลที่ขาและลดโอกาสติดเชื้อลง
ภาวะที่อาจใช้ไอโอดีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การติดเชื้อที่เกี่ยวข้องกับการใช้สายสวน มีหลักฐานว่าการทา povidone-iodine จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดของผู้ที่ต้องเข้ารับการฟอกไตด้วยสายสวนได้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยอื่นกลับกล่าวว่าการทา povidone-iodine ที่สายสวนไม่อาจลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้แต่อย่างใด
- เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis) งานวิจัยกล่าวว่าสารละลาย povidone-iodine มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงต่อภาวะเยื่อตาอักเสบของทารกเกิดใหม่ได้ดีกว่าการใช้ silver nitrate อย่างไรก็ตาม การรักษานี้ก็ไม่อาจมีประสิทธิผลมากไปกว่าการใช้ยา erythromycin หรือ chloramphenicol
- แผลที่เท้าจากเบาหวาน การทาไอโอดีนบริเวณแผลที่เท้าอาจให้ผลดีสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลที่เท้าจากโรคประจำตัวนี้
- ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ (endometritis) การทาสารละลาย povidone-iodine ที่พื้นที่รอบช่องคลอดก่อนเข้ารับการผ่าคลอดจะลดความเสี่ยงต่อการอักเสบของเยื่อบุโพรงมดลูกลง
- อาการเจ็บปวดจากก้อนเนื้อเยื่อที่เต้านม (fibrocystic breast disease) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการรับประทานไอโอดีน โดยเฉพาะ molecular iodine จะลดความเจ็บปวดจากก้อนเนื้อเยื่อที่เต้านมได้
- ปวดเต้านม (mastalgia) การรับประทานยาเม็ดไอโอดีนทุกวันติดกัน 5 เดือนจะลดความเจ็บปวดและอาการกดเจ็บของผู้หญิงที่มีอาการปวดเต้านมจากประจำเดือนได้
- อาการปวดและบวมภายในช่องปาก การทาไอโอดีนที่ผิวช่องปากจะป้องกันอาการปวดและบวมภายในปากที่เกิดจากการทำเคมีบำบัดได้
- เหงือกอักเสบ (periodontitis) งานวิจัยกล่าวว่าการบ้วนปากด้วย povidone-iodine ระหว่างการรักษาเหงือกอักเสบที่ไม่เป็นการผ่าตัดสามารถลดความลึกของกระเปาะเหงือกอักเสบได้
- การผ่าตัด บางงานวิจัยกล่าวว่าการทา povidone-iodine ระหว่างเข้ารับการผ่าตัดจะลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อลง อย่างไรก็ตาม povidone-iodine อาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการใช้ chlorhexidine ณ ตำแหน่งที่ผ่าตัดอยู่
ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ไอโอดีนรักษาได้หรือไม่
- เลือดออก งานวิจัยกล่าวว่าการทำความสะอาดเบ้าฟันด้วย povidone-iodine จะช่วยหยุดการไหลของเลือดที่เกิดจากการถอนฟันได้เทียบเท่ากับการใช้น้ำเกลือ
- ภาวะไคลูเรีย (chyluria) งานวิจัยกล่าวว่าการใช้ povidone-iodine กับผู้ที่มีปัญหาน้ำเหลืองปนไขมัน (chyle) ออกมาพร้อมปัสสาวะที่เข้ารับการรักษา pelvic instillation sclerotherapy อาจมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับวิธีรักษาตามปกติ
- แผลที่กระจกตา (corneal ulceration) มีหลักฐานที่กล่าวว่าการใช้ povidone-iodine ร่วมกับการบำบัดด้วยยาปฏิชีวนะตามปกติไม่อาจช่วยรักษาการมองเห็นของผู้ที่มีแผลที่กระจกตาได้
- ภาวะเชื้อราที่ผิวหนัง (Cutaneous sporotrichosis) Potassium iodide ใช้ในการรักษาภาวะเชื้อราบนผิวหนัง มีรายงานว่าการรับประทาน Potassium iodide เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับการรักษากำจัดเชื้อรานั้นต่างก็มีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยภาวะนี้อย่างมาก
- ปอดบวม (Pneumonia) งานวิจัยกล่าวว่าการกลั้วคอด้วย povidone-iodine จะลดความเสี่ยงต่อโรคปอดบวมในกลุ่มผู้ที่ประสบเหตุศีรษะได้รับการกระทบกระแทกจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
- สมานบาดแผล สารไอโอดีนช่วยสมานตัวของบาดแผล ขณะที่มีบางหลักฐานกล่าวว่าการทาไอโอดีนที่แผลนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ผ้าปิดแผลแบบที่ไม่ได้ฆ่าเชื้อโรค แต่กระนั้นตัวไอโอดีนก็อาจมีฤทธิ์ในการรักษาแผลที่ด้อยกว่ายาปฏิชีวนะ
- ภาวะสุขภาพอื่นๆ
จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานให้มากขึ้นเพื่อให้ข้อมูลด้านประสิทธิผลของไอโอดีนเพิ่มเติม
ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของไอโอดีน
- ไอโอดีนจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ส่วนมากเมื่อเป็นการรับประทานในปริมาณที่กำหนดหรือทาบนผิวหนังด้วยผลิตภัณฑ์ที่ได้รับคำอนุมัติแล้ว
- ไอโอดีนอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงบ้างในผู้ใช้บางราย เช่น คลื่นไส้ ปวดท้อง คัดจมูก ปวดศีรษะ มีกลิ่นเหล็กในปาก และท้องร่วง
- สำหรับผู้ที่อ่อนไหวต่อไอโอดีนจะมีผลข้างเคียง เช่น ริมฝีปากและใบหน้าบวม (angioedema) เลือดออกและฟกช้ำอย่างรุนแรง มีไข้ ปวดข้อต่อ ต่อมน้ำเหลืองโต ปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง และเสียชีวิต
- การใช้ไอโอดีนในปริมาณมากหรือระยะยาวอาจจะไม่ปลอดภัย ผู้ใหญ่ควรเลี่ยงการใช้ในระยะเวลานานด้วยปริมาณไอโอดีนที่มากกว่า 1100 mcg ต่อวัน (ปริมาณสารอาหารสูงสุดที่รับได้ (upper tolerable limit, UL)) โดยที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ และในเด็ก ปริมาณไอโอดีนไม่ควรเกิน 200 mcg ต่อวันสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี, 300 mcg ต่อวันสำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี, 600 mcg ต่อวันสำหรับเด็กอายุ 9-13 ปี, และ 900 mcg สำหรับวัยรุ่น
- มีความกังวลสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ว่าการใช้ไอโอดีนมากเกินไปจะเพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาไทรอยด์ โดยการบริโภคไอโอดีนปริมาณมากอาจทำให้เกิดกลิ่นเหล็กในปาก ปวดฟันและเหงือก แสบร้อนในปากและลำคอ น้ำลายเพิ่มขึ้น คออักเสบ ปวดท้อง ท้องร่วง ซึมเศร้า ปัญหาผิวหนัง และผลข้างเคียงอื่นๆ
- เมื่อใช้วิธีทาไอโอดีนบนผิวหนังโดยตรงอาจทำให้เกิดความระคายเคืองผิว ผิวด่าง ปฏิกิริยาแพ้ที่ผิวหนัง และผลข้างเคียงอื่นๆ
คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ
- สตรีมีครรภ์และแม่ที่ต้องให้นมบุตร ไอโอดีนมีความปลอดภัยเมื่อบริโภคหรือทาบนผิวหนังในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองแล้ว (สารละลาย 2%) การบริโภคไอโอดีนในปริมาณสูงกว่า 1,100 mcg ต่อวันอาจไม่ปลอดภัยหากคุณมีอายุเกิน 18 ปี และไม่ควรได้รับไอโอดีนเกิน 900 mcg ต่อวันหากคุณมีอายุ 14-18 ปี ซึ่งการบริโภคไอโอดีนปริมาณมากนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาที่ไทรอยด์ได้
- โรคไทรอยด์ทำลายตนเอง (Autoimmune thyroid disease) ผู้ที่ป่วยเป็นภาวะนี้อาจมีความอ่อนไหวที่จะเกิดผลข้างเคียงร้ายแรงต่อไอโอดีนได้
- ผิวหนังอักเสบจากเริม (dermatitis herpetiformis) การรับประทานไอโอดีนจะทำให้ผื่นจากโรคนี้รุนแรงมากขึ้น
- ภาวะไทรอยด์ผิดปกติอย่างภาวะไทรอยด์ทำงานน้อยเกิน (hypothyroidism) คอพอก (goiter) หรือเนื้องอกที่ไทรอยด์ (thyroid tumor) การใช้ไอโอดีนเป็นเวลานานหรือใช้ในปริมาณมากอาจทำให้ภาวะเหล่านี้ทรุดลงได้
การใช้ไอโอดีนร่วมกับยาชนิดอื่น
ห้ามใช้ไอโอดีนร่วมกับยาเหล่านี้
- ยาสำหรับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ไอโอดีนจะส่งผลต่อไทรอยด์ โดยการรับประทานไอโอดีนร่วมกับยาสำหรับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน จะเป็นการลดไทรอยด์มากเกินไป ห้ามรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไอโอดีนหากคุณกำลังใช้ยาประเภทนี้อยู่
ใช้ไอโอดีนร่วมกับยาเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง
- Amiodarone อาจประกอบด้วยไอโอดีนด้วย ดังนั้นการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไอโอดีนร่วมกับ Amiodarone จะทำให้มีไอโอดีนในเลือดมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ที่ส่งผลต่อไทรอยด์
- ลิเทียม มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของไทรอยด์ โดยการใช้ลิเทียมร่วมกับไอโอดีนอาจทำให้เกิดการเสพติด ยาทั้งสองส่งผลให้เกิดภาวะขาดไทรอยด์ขึ้นได้ ดังนั้นควรเฝ้าระวังการทำงานของไทรอยด์เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาทั้งสองร่วมกัน
- ยาสำหรับความดันโลหิตสูง ACE inhibitors ยาสำหรับภาวะความดันโลหิตสูงบางชนิดจะลดความเร็วที่ร่างกายกำจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกาย โดยอาหารเสริมไอโอดีนส่วนมากประกอบด้วยโพแทสเซียมเช่นกัน การรับประทาน potassium iodide ร่วมกับยาความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดโพแทสเซียมค้างในร่างกายมากเกินไป ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทาน potassium iodide หากคุณกำลังใช้ยาควบคุมความดันโลหิตสูงอยู่
- ยาสำหรับความดันโลหิตสูง Angiotensin receptor blockers (ARBs) ยาสำหรับภาวะความดันโลหิตสูงบางชนิดจะลดความเร็วที่ร่างกายกำจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกาย โดยอาหารเสริมไอโอดีนส่วนมากก็ประกอบด้วยโพแทสเซียมเช่นกัน การรับประทาน potassium iodide ร่วมกับยาความดันสูงอาจทำให้เกิดโพแทสเซียมค้างในร่างกายมากเกินไป ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทาน potassium iodide หากคุณกำลังใช้ยาควบคุมความดันโลหิตสูงอยู่
- ยาขับน้ำ (Potassium-sparing diuretics) ไอโอดีนส่วนมากประกอบด้วยโพแทสเซียม ซึ่งยาขับน้ำบางประเภทเองก็อาจเพิ่มระดับโพแทสเซียมในร่างกายเช่นกัน ดังนั้นการรับประทาน potassium iodide ร่วมกับยาขับน้ำอาจทำให้เกิดโพแทสเซียมในร่างกายมากเกินไป จึงไม่ควรทาน potassium iodide ที่มีฤทธิ์เพิ่มโพแทสเซียมในร่างกาย
ปริมาณยาที่ใช้
ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์
รับประทาน
- สำหรับภาวะฉุกเฉินทางรังสี ควรมีการให้ potassium iodide (KI) ก่อนหรือทันทีหลังจากคนไข้สัมผัสกับรังสี โดยเฉพาะกับผู้หญิงมีครรภ์และผู้ที่ต้องให้นมบุตร ดังนั้นปริมาณการให้ KI จะขึ้นอยู่กับปริมาณของรังสีที่ได้รับและอายุของคนไข้ การสัมผัสรังสีที่ได้รับจะถูกวัดในหน่วย centigrays (cGy) สำหรับทารก เด็กเล็ก วัยรุ่น และหญิงตั้งครรภ์/แม่ที่ให้นมบุตรจะมีการให้ KI เมื่อมีการถูกรังสีที่ 5 centigrays (cGy) ขึ้นไป โดยยาที่ใช้มักจะเป็นยาเม็ดที่สามารถนำไปบดและผสมเข้ากับน้ำผลไม้ แยม หรือนมก็ได้
- สำหรับเด็กที่เกิดได้แล้ว 1 เดือน: KI 16 mg
- สำหรับทารกและเด็กอายุมากกว่า 1 เดือนถึง 3 ปี: KI 32 mg
- สำหรับเด็กอายุ 3-12 ปี: KI 65 mg
- สำหรับวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี: KI 65 mg หรือ 120 mg หากเด็กวัยรุ่นมีขนาดร่างกายเทียบเท่าผู้ใหญ่
- สำหรับสตรีมีครรภ์และแม่ให้นมบุตร: KI 120 mg
- สำหรับผู้ใหญ่อายุ 18-40 ปีที่ได้รับรังสี 12 cGy ขึ้นไป: KI 130 mg
- สำหรับผู้หญิงอายุ 40 ปีที่ได้รับรังสี 500 cGy ขึ้นไป: KI 130 mg
มีข้อมูลว่าค่าโภชนาการที่ควรได้รับ (Adequate Intake (AI)) ของไอโอดีนสำหรับทารกอายุ 0-6 เดือนคือ 110 mcg/วัน, 7-12 เดือนคือ 130 mcg/วัน
สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ ค่าโภชนาการที่แนะนำ (Recommended Dietary Amounts (RDA)) ที่ตั้งไว้คือ เด็กอายุ 1-8 ปี = 90 mcg/วัน, 9-13 ปี = 120 mcg/วัน, ผู้ที่อายุ 14 ปีขึ้นไป = 150 mcg/วัน, สำหรับหญิงตั้งครรภ์ ค่า RDA คือ 209 mcg/วัน และสำหรับผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรคือ 290 mcg/วัน
การบริโภคโอไอดีนตามข้อมูลปริมาณสารอาหารสูงสุดที่ควรได้รับ (Tolerable Upper Intake Levels (UL)) นั้นมักจะไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี 200 mcg/วัน, 4-8 ปีคือ 300 mcg/วัน, 9-13 ปีคือ 600 mcg/วัน, อายุ 14-18 ปี (รวมถึงผู้หญิงท้องและผู้หญิงมีครรภ์) คือ 900 mcg/วัน สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 19 ปีรวมถึงสตรีมีครรภ์และให้นมบุตรปริมาณอาหารสูงสุดคือ 1,100 mcg/วัน