fenugreek

ลูกซัด (Fenugreek)

ลูกซัด (Fenugreek) คือสมุนไพรที่คล้ายกับโคลเวอร์ที่พบตามภูมิภาคแถบเมอร์ดิเทอร์เรเนียน, ยุโรปใต้, และเอเชียตะวันตก เมล็ดลูกซัดถูกใช้ประกอบอาหาร, ใช้ทำยา, หรือใช้กลบรสชาติของยาชนิดอื่น ๆ เนื่องจากลูกซัดเป็นเมล็ดที่มีกลิ่นแรงและมีรสชาติคล้ายกับไซรัปเมเปิ้ล อีกทั้งใบจากต้นลูกซัดเองก็สามารถรับประทานเป็นผักได้อีกด้วย

สรรพคุณและการออกฤทธิ์ของลูกซัด

  • ลูกซัดมีฤทธิ์ในการค่อย ๆ ดูดซับน้ำตาลในกระเพาะอาหารและกระตุ้นอินซูลินขึ้น โดยสรรพคุณทั้งสองประการนี้จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้
  • ผู้คนรับประทานลูกซัดเพื่อบรรเทาปัญหาในระบบย่อยอาหารต่างๆ เช่น ภาวะเบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องผูก กระเพาะอักเสบ อีกทั้งยังมีการใช้ลูกซัดรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ปวดประจำเดือน สตรีวัยหมดประจำเดือน โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ข้ออักเสบ ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ และโรคอ้วน ลูกซัดยังถูกใช้กับภาวะต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของหัวใจอย่าง “หลอดเลือดแดงแข็ง” และระดับไขมันบางชนิดในเลือดอย่างคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์สูง
  • ลูกซัดถูกใช้รักษาโรคไต, ภาวะที่เกิดจากการขาดขาดวิตามินอย่างโรคเหน็บชา, แผลในปาก, แผลน้ำร้อนลวก, หลอดลมอักเสบ, เนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนังติดเชื้อ, วัณโรค, ไอเรื้อรัง, ปากแตก, หัวล้าน, มะเร็ง, โรคพากินสัน และเพิ่มศักยภาพในการออกกำลังกาย
  • สำหรับผู้ชายบางคนได้ใช้ลูกซัดเพื่อรักษาโรคไส้เลื่อน, ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ, มีบุตรยาก, และปัญหาทางเพศชายอื่นๆ อีกทั้งลูกซัดยังถูกใช้เพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศของทั้งเพศชายและหญิงได้
  • ผู้หญิงที่ต้องให้นมบุตรก็สามารถทานลูกซัดเพื่อเพิ่มการไหลของน้ำนมได้ด้วย
  • ลูกซัดสามารถนำไปใช้เป็นยาพอกได้ด้วย ซึ่งก็คือการนำผ้าพันรอบลูกซัด นำไปอุ่น และประคบที่ผิวหนังรักษาอาการเจ็บปวดและอักเสบเฉพาะจุด, ปวดกล้ามเนื้อ, และเจ็บปวดจากต่อมน้ำเหลือง เจ็บข้อจากโรคเก๊าท์, ประคบบาดแผล, แผลเท้า, และโรคผิวหนัง ได้ด้วย
  • ลูกซัดสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องปรุงในการประกอบอาหารได้อีกเช่นกัน อีกทั้งยังเป็นพืชที่นำไปผลิตเลียนกลิ่นเมเปิ้ลไซรัป, แต่งกลิ่นในอาหาร, เครื่องดื่ม, หรือแม้แต่ยาสูบ
  • ในอุตสาหกรรมมีการใช้สารสกัดจากลูกซัดในสบู่และเครื่องสำอางต่าง ๆ

ปริมาณลูกซัดที่ใช้ในการรักษา

ปริมาณหรือขนาดยาที่ใช้ดังต่อไปนี้ได้ถูกศึกษาจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

รับประทาน

  • สำหรับโรคเบาหวาน: ใช้ผงเมล็ดลูกซัด 5-100 กรัมในอาหารหนึ่งหรือสองมื้อต่อวันนาน 4 วันถึง 4 ปี
  • สำหรับภาวะปวดประจำเดือน: ผงเมล็ดลูกซัด 1800-2700 mg สามครั้งต่อวันในช่วง 3 วันแรกที่มีประจำเดือน ตามด้วย 900 mg สามครั้งต่อวันในช่วงประจำเดือนหยุด
  • สำหรับเพิ่มความต้องการทางเพศ: สารสกัดเมล็ดลูกซัด 600 mg ในแต่ละวันที่รอบเดือนหยุด
  • เพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ: สารสกัดเมล็ดลูกซัด 600 mg ต่อวันเพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับแมกนีเซียม 34 mg, สังกะสี 30 mg, และวิตามิน B6 10 mg นาน 6-12 สัปดาห์

การใช้และประสิทธิภาพของลูกซัด

ภาวะที่อาจใช้ลูกซัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • เบาหวาน งานวิจัยบางชิ้นได้พบว่าการบริโภคเมล็ดลูกซัดร่วม/ผสมกับอาหารจะลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ลง อย่างไรก็ตามการทานเมล็ดลูกซัดเพียงหนึ่งหรือสองครั้งต่อวันในปริมาณ 5-50 กรัมเท่านั้นที่อาจจะได้ผล ปริมาณที่น้อยกว่า 2.5 กรัมอาจไม่แสดงผลลัพธ์ใด ๆ ในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 1 การทานผงจากเมล็ดลูกซัด 50 กรัมสองครั้งต่อวันอาจสามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในปัสสาวะได้
  • ปวดประจำเดือน การทานผงเมล็ดลูกซัด 1800-2700 mg สามครั้งต่อวันในช่วง 3 วันแรกที่มีประจำเดือน ตามด้วย 900 mg สามครั้งต่อวันในช่วงที่ประจำเดือนหยุดจะช่วยลดอาการเจ็บปวดในผู้หญิงที่มีปัญหาปวดประจำเดือนได้ ซึ่งหมายความว่าจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดลง

ภาวะที่ยังคงขาดหลักฐานว่าใช้ลูกซัดรักษาได้หรือไม่

  • ศักยภาพในการออกกำลังกาย ข้อสรุปจากงานวิจัยต่าง ๆ เรื่องของการรับประทานเมล็ดลูกซัดกับการออกกำลังกายยังคงขัดแย้งกันอยู่ บ้างพบว่าการทานอาหารเสริมลูกซัด 500 mg นาน 8 สัปดาห์จะลดไขมันร่างกายและเพิ่มระดับเทสโทสเตอโรนขึ้น แต่ไม่ส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหรือความทนทานของผู้ชายอายุน้อย ส่วนงานวิจัยชิ้นอื่นพบว่าการทานสารสกัดจากลูกซัด  500 mg ทุก ๆ วันนาน 8 สัปดาห์จะลดไขมันร่างกายและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังแบบ bench press ของกลุ่มตัวอย่างช่วงอายุและเพศเดียวกับข้างต้น อีกทั้งยังพบว่าการทานสารเคมีลูกซัด 300 mg ต่อวันอาจช่วยให้ผู้ชายสามารถออกกำลังแบบ bench press ได้นานขึ้น แต่ลูกซัดไม่ได้ช่วยให้พวกเขายกน้ำหนักได้มากขึ้น
  • แสบร้อนกลางอก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์จากลูกซัดชนิดหนึ่ง ก่อนรับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่ที่สุดของวันสองมื้อจะลดอาการแสบร้อนกลางอกได้
  • คอเลสเตอรอลสูง มีข้อสรุปจากการศึกษาเรื่องของผลกระทบจากลูกซัดกับระดับคอเลสเตอรอลที่แย้งกันอยู่บ้าง พบว่าการรับประทานเมล็ดลูกซัดจะลดระดับไขมันความหนาแน่นไลโพโปรตีนต่ำ (low-density lipoprotein (LDL หรือไขมันไม่ดี) แต่ผลกระทบกับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นไลโพโปรตีนสูง (HDL หรือไขมันดี) และไตรกลีเซอร์ไรด์ยังคงไม่สอดคล้องกัน
  • กระบวนการผลิตน้ำนม มีรายงานว่าการทานแคปซูลหรือดื่มชาลูกซัดทันทีหลังคลอดจะเพิ่มการผลิตน้ำนมของมารดาขึ้น ลูกซัดยังอาจช่วยกระบวนการนี้มากขึ้นหากเริ่มทานหลังคลอดหนึ่งหรือสองวัน แต่ก็ไม่ใช่การศึกษาทุกชิ้นจะเห็นพ้องเช่นนี้เนื่องจากมีรายงานแย้งว่าการทานลูกซัดจะให้ผลดีน้อยลงเมื่อทานหูเสือ หรืออินทผลัม
  • ภาวะมีบุตรยากของผู้ชาย งานวิจัยกล่าวว่าหยดน้ำมันลูกซัดเข้าปากสามครั้งต่อวันนาน 4 เดือนจะเพิ่มจำนวนสเปิร์มของผู้ชายที่มีปัญหาความเข้มข้นของน้ำเชื้อต่ำได้ แต่การทานส่วนอื่น ๆ จากเมล็ดลูกซัดอาจไม่ได้ให้สรรพคุณเช่นนี้
  • ลดน้ำหนัก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดสามารถลดปริมาณการบริโภคไขมันของผู้ที่มีน้ำหนักเกินได้เมื่อรับประทานในปริมาณ 392 mg สามครั้งต่อวันนาน 2-6 สัปดาห์ แต่หากเป็นปริมาณน้อยกว่านี้จะไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ การเพิ่มกากใยอาหารลูกซัดในอาหารเช้า 8 กรัมอาจช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่มและลดความหิวในมื้อเที่ยงไดด้วย แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการทำเช่นนี้จะช่วยในการลดน้ำหนักจริงหรือไม่
  • โรคพาร์กินสัน งานวิจัยพบว่าการทานสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด สองครั้งต่อวันนาน 6 เดือนไม่ได้ช่วยลดอาการของผู้ป่วยพากินสัน
  • โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ มีข้อมูลเรื่องผลลัพธ์จากการทานลูกซัดกับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบที่ขัดแย้งกันอยู่ โดยมีงานวิจัยกล่าวว่าการทานสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด ทุกวันนาน 8 สัปดาห์ไม่ได้ช่ยลดอาการของผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ แต่งานวิจัยชิ้นอื่น ๆ กลับกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์สารสกัดจากเมล็ดลูกซัด 1000 mg ทุกวันอาจช่วยลดขนาดของถุงน้ำรังไข่ได้ และช่วยควบคุมความยาวของรอบเดือนและช่วงเวลาของประจำเดือนแต่ละรอบได้ด้วย
  • หัวล้าน
  • มะเร็ง
  • ปากแตก
  • อาการไอเรื้อรัง
  • ท้องผูก
  • โรคผิวหนัง
  • ไข้
  • เก๊าท์
  • หลอดเลือดแดงแข็งตัว
  • ไส้เลื่อน
  • โรคไต
  • แผลในปาก
  • ปัญหาทางเพศ (เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ)
  • ปวดท้อง
  • ภาวะสุขภาพอื่น 

ผลข้างเคียงและความปลอดภัยของลูกซัด

ลูกซัดถูกจัดว่าค่อนข้างปลอดภัยสำหรับรับประทานในปริมาณที่พบในอาหารตามปรกติ และจัดว่าอาจจะปลอดภัยหากบริโภคในปริมาณที่ใช้กันทางการแพทย์ (ปริมาณมากกว่ามากกว่าที่พบในอาหาร) นาน 6 เดือน ผลข้างเคียงจากการรับประทานลูกซัดมีทั้งท้องร่วง ปวดท้อง ท้องอืด วิงเวียน ปวดศีรษะ และมีกลิ่นของ “เมเปิ้ลไซรัป” ในปัสสาวะ ลูกซัดยังอาจทำให้เกิดอาการคัดจมูก, ไอ, หายใจเสียงหวีดสูง, หน้าบวม, และปฏิกิริยาแพ้รุนแรงในผู้ป่วยที่มีความอ่อนไหวสูง และที่สำคัญคือลูกซัดอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดลงได้

คำเตือนและข้อควรระวังเป็นพิเศษ

  • สตรีมีครรภ์: ลูกซัดถูกจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิงตั้งครรภ์เมื่อทานในปริมาณมากกว่าที่พบในอาหาร เนื่องจากอาจทำให้ทารกเจริญผิดปกติ หรือทำให้เกิดการบีบรัดตัวของมดลูกเร็วกว่ากำหนดได้ การทานลูกซัดก่อนคลอดยังอาจทำให้ทารกมีกลิ่นตัวผิดปรกติซึ่งจะทำให้แพทย์เข้าใจผิดว่าเป็น “โรคปัสสาวะเมเปิ้ลไซรัป” ได้ กระนั้นกลิ่นที่ติดตัวนี้ก็ไม่ส่งผลระยะยาวใด ๆ
  • แม่ที่ต้องให้นมบุตร: ลูกซัดจัดว่าอาจจะปลอดภัยเมื่อรับประทานเพื่อเพิ่มการไหลของน้ำนมในระยะสั้น บางงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานลูกซัด 1725 กรัมสามครั้งต่อวันยาว 21 วันไม่ได้ก่อให้เกิดผลผลข้างเคียงกับตัวทารกแต่อย่างใด
  • เด็ก: ลูกซัดจัดว่าค่อนข้างไม่ปลอดภัยเมื่อจัดให้เด็กรับประทานเนื่องจากมีรายงานว่าชาลูกซัดทำให้เด็กหมดสติ อีกทั้งเด็กที่ดื่มชาลูกซับอาจจะมีกลิ่นตัวคล้ายเมเปิลไซรัปได้
  • ผู้ที่แพ้ต้นไม้ในวงศ์ถั่ว: ผู้ที่แพ้พืชนิดอื่น ๆ ในตระกูลถั่วอย่างถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, และถั่วเขียวอาจจะมีอาการแพ้ลูกซัดเช่นเดียวกัน
  • เบาหวาน: ลูกซัดส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ดังนั้นควรเฝ้าระวังภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) และใช้ลูกซัดอย่างระมัดระวังหากคุณป่วยเป็นเบาหวาน

การใช้ลูกซัดร่วมกับยาชนิดอื่น

  • ยาสำหรับโรคเบาหวาน: ลูกซัดอาจลดระดับน้ำตาลในเลือดลงเช่นเดียวกับยาสำหรับเบาหวานที่ออกฤทธิ์เช่นเดียวกัน การทานลูกซัดร่วมกับยาเบาหวานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดตกลงต่ำเกินไปได้ ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังและทำการปรับเปลี่ยนปริมาณยาเบาหวานตามความจำเป็น
  • ยาสำหรับชะลอการเกิดลิ่มเลือด: ลูกซัดอาจชะลอการเกิดลิ่มเลือดได้ ดังนั้นการทานลูกซัดร่วมกับยาชะลอลิ่มเลือดอาจเพิ่มโอกาสฟกช้ำและเลือดออกขึ้น
  • ยา Warfarin: ถูกใช้เพื่อชะลอการเกิดลิ่มเลือดเช่นเดียวกับลูกซัดและอาจเพิ่มโอกาสฟกช้ำและเลือดออกขึ้น ควรทำการตรวจเลือดบ่อยครั้งและอาจต้องทำการปรับเปลี่ยนขนาดยาตามความจำเป็น

Scroll to Top