รีวิว ตรวจข้อเข่า และกระดูกสันหลังส่วนเอว ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2


รีวิว ตรวจข้อเข่า และกระดูกสันหลังส่วนเอว ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • เวลาคุณแม่เดินขึ้นไปชั้น 2 ของบ้าน บริเวณเข่าจะมีเสียงก็อบแก็บในบางครั้ง ก็เลยรู้สึกว่า เข่าน่าจะมีปัญหาอะไรสักอย่าง เป็นสิ่งที่ค้างคาในใจมานานและค่อนข้างกังวล
  • เครื่องจะเอกซเรย์กระดูกสันหลังส่วนเอว หรือบริเวณสะโพกก่อน จากนั้นก็เลื่อนไปเอกซเรย์ด้านล่าง บริเวณข้อเข่า ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ
  • การตรวจกระดูกและข้อ ทำให้คุณแม่สบายใจขึ้นมากๆ จากที่กังวลว่าเสียงก็อบแก็บอาจเป็นเสียงของอันตรายเกี่ยวกับกระดูก แต่พอรู้ว่าไม่ใช่ก็ทำให้โล่งใจค่ะ
  • รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ โรงพยาบาลพญาไท 2
  • รายละเอียดโปรแกรม ตรวจสุขภาพกระดูกและข้อ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
  • โปรแกรมสุขภาพทั้งหมด จาก โรงพยาบาลพญาไท 2 บน HDmall.co.th

เวลาคุณแม่เดินขึ้นไปชั้น 2 ของบ้าน บริเวณเข่าจะมีเสียงก็อบแก็บในบางครั้ง ก็เลยรู้สึกว่า เข่าน่าจะมีปัญหาอะไรสักอย่าง เป็นสิ่งที่ค้างคาในใจมานานและค่อนข้างกังวล

จนอะตอม มีโอกาสได้พาคุณแม่มาตรวจกระดูกและข้อ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 ซึ่งในโปรแกรมมีรายการตรวจ 4 รายการ ถ้าใครอยากอ่านรีวิวแบบเต็มๆ ก็ตามไปอ่านกันได้นะคะ


สำหรับรีวิวนี้ อะตอมจะมาเล่าประสบการณ์พาคุณแม่ตรวจเอกซเรย์บริเวณข้อเข่า และกระดูกสันหลังส่วนเอวค่ะ ซึ่งก่อนจะตรวจคุณพยาบาลจะนำชุดมาให้คุณแม่เปลี่ยน เพื่อสะดวกต่อการเอกซเรย์ และต้องถอดเครื่องประดับทั้งหมดก่อนด้วยค่ะ

รีวิว ตรวจข้อเข่า และกระดูกสันหลังส่วนเอว ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

ใน โปรแกรมตรวจกระดูก รายการตรวจเอกซเรย์ข้อเข่า และกระดูกสันหลังส่วนเอว จะเป็น 2 รายการสุดท้าย ซึ่งวิธีการตรวจ คุณพยาบาลจะให้คุณแม่ขึ้นไปยืนบนตัวเครื่อง บริเวณด้านซ้ายและขวาจะมีที่จับ คุณแม่จะต้องยืนให้หลังชิดกับเครื่อง

รีวิว ตรวจข้อเข่า และกระดูกสันหลังส่วนเอว ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

เมื่อเครื่องทำงานก็จะเอกซเรย์กระดูกสันหลังส่วนเอว หรือบริเวณสะโพกก่อน จากนั้นก็เลื่อนไปเอกซเรย์ด้านล่าง บริเวณข้อเข่า ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที เป็นอันเสร็จเรียบร้อยค่ะ สบายมากๆ แต่ในการเอกซเรย์จะทำทั้งด้านหน้าตรง และด้านข้างเพื่อให้เห็นกระดูกอย่างชัดเจนจากทุกมุมค่ะ

ผลการตรวจเอกซเรย์กระดูกสันหลังส่วนเอว หรือบริเวณสะโพก

จากผลตรวจเอกซเรย์ คุณหมอบอกว่ากระดูกสันหลังของคุณแม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ในภาพเอกซเรย์จะแบ่งวัดเป็น 3 ระดับคือ สีเขียว เกณฑ์ดี สีเหลือง ปานกลาง และสีแดงหมายถึงกระดูกพรุน

รีวิว ตรวจข้อเข่า และกระดูกสันหลังส่วนเอว ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

กระดูกบริเวณสะโพกของคุณแม่อยู่ในเกณฑ์สีเขียว ถือว่ากระดูกยังไม่พรุน แต่ถ้าใครอยู่ในเกณฑ์สีเหลืองคุณหมอบอกว่าควรจะออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การวิ่งเบาๆ และควรออกไปรับแสงแดดอ่อนๆ บ้าง อาจจะในช่วงเช้าสัก 15 นาที และช่วงเย็นอีก 15 นาที เพื่อรับวิตามินดี

นอกจากนี้การทานแคลเซียมเป็นประจำทุกวันก็ช่วยเสริมให้กระดูกกลับมาแข็งแรงและเปลี่ยนจากเกณฑ์สีเหลืองเป็นสีเขียวได้ ซึ่งคนเราต้องการปริมาณแคลเซียม 1000-1500 มิลลิกรัม ต่อวัน แต่ทุกวันนี้คนไทยมักจะได้รับปริมาณแคลเซียมค่อนข้างน้อย หลายๆ คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกจึงควรเสริมด้วยแคลเซียมค่ะ 

ผลการตรวจเอกซเรย์ข้อเข่า

จากภาพเอกซเรย์ตั้งแต่สะโพกลงมา คุณหมอสรุปผลให้ฟังว่า ข้อเข่าของคุณแม่ยังไม่เสื่อม และยังไม่มีสัญญาณที่จะเสื่อมในเร็วๆ นี้ แต่เสียงก็อบแก็บบริเวณข้อเข่า อาจเกิดจากการที่ผิวกระดูกอ่อนเสียดสีกันเวลาคุณแม่เคลื่อนไหว เช่น นั่งยองๆ หรือเดินขึ้นลงบันไดต่อเนื่อง ทำให้ข้อเข่าอาจจะล้า

พอคุณแม่รู้ว่ากระดูกข้อเข่าตัวเองยังไม่เสื่อมก็สบายใจและคลายกังวลไปมากๆ เพราะปกติเวลาเดินขึ้นลงบันไดแล้วมีเสียงที่ข้อเข่า คุณแม่จะใจหายทุกที แต่พอรู้ว่าการที่เคลื่อนไหวแล้วทำให้ข้อต่อมีเสียงไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของกระดูก มวลกระดูก หรือข้อเข่าเสื่อม ก็สบายใจมากๆ โล่งใจเลยค่ะ

คุณหมออธิบายเพิ่มเติมว่า ในคนที่แข็งแรงๆ แต่เวลาขยับข้อเข่าแล้วมีเสียงก็อบแก็บ แต่ไม่มีอาการเจ็บ เป็นภาวะปกติที่สามารถเจอได้ อาจเกิดจากการที่เอ็นกล้ามเนื้อมีอาการตึงเยอะ แต่ไม่ได้สัมพันธ์กับโรคกระดูกพรุน ถ้าใครที่ไม่แน่ใจหรือมีความกังวลใจ การมาพบแพทย์และตรวจหาสาเหตุคือทางออกที่ดีที่สุดอยู่แล้ว

จากนั้นคุณหมอขอตรวจบริเวณเข่าของคุณแม่เพิ่มเติม แล้วอธิบายเข่าของคุณแม่รูปทรงดูแล้วไม่โก่ง ยังตรงและมีสรีระที่สวยงาม ปัญหาการเจ็บเข่า ปวดเข่าของคุณแม่อาจเกิดจากการใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วไป ถ้าหากว่าเดินมาก นั่งยอง ขึ้นลงบันได ก็อาจมีอาการเจ็บนิดๆ ชั่วขณะ ถ้าพักสักครู่หรือนวดคลึงบริเวณที่เจ็บหรือปวดแล้วหายเป็นปกติก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่อาการเจ็บหรือปวดอยู่นานผิดปกติ ควรกลับมาพบคุณหมออีกครั้งค่ะ

และที่สำคัญ คุณหมอได้แนะนำท่าบริหารหัวเข่าให้คุณแม่กลับไปลองทำเอง โดยให้คุณแม่ยืดขาตรงๆ แล้วกระดกปลายเท้าขึ้น จากนั้นให้เกร็งค้างไว้แล้วนับ 1-10 ในใจแล้วผ่อนการเกร็ง พอหายเมื่อยหายล้าก็กระดกปลายเท้าซ้ำอีกครั้ง ใน 1 เซ็ทให้ทำ 5 ครั้งเป็นอย่างต่ำ แต่ถ้าไหวก็ทำ 10 ครั้งต่อเซ็ทก็ได้ค่ะ

คุณหมอแนะนำว่าให้แบ่งช่วงเวลาทำ เช่น ช่วงเช้า 2 เซ็ท กลางวัน 2 เซ็ท และเย็นอาจจะ 3 เซ็ท ง่ายๆ สลับซ้ายขวาก็ได้ ซึ่งการบริหารนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และจะทำให้เอ็นรอบๆ ข้อเข่าแข็งแรงขึ้น การบริหารนี้จะช่วยให้น้ำหล่อลื่นในข้อเข่าได้ทำงาน เข่าไม่ฝืด เมื่อข้อต่อ กล้ามเนื้อ และเอ็นข้อต่อมีความยืดหยุ่นดี ก็จะทำให้ไม่มีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อ และการบริหารด้วยวิธีนี้ก็เป็นกลไกการทำงานแบบธรรมชาติของร่างกายด้วยค่ะ

สำหรับการตรวจกระดูกและข้อนี้ ทำให้คุณแม่สบายใจขึ้นมากๆ จากที่กังวลว่าเสียงก็อบแก็บอาจเป็นเสียงของอันตรายเกี่ยวกับกระดูก แต่พอรู้ว่าไม่ใช่ก็ทำให้โล่งใจค่ะ

ใครที่มีปัญหาเหมือนคุณแม่ อะตอมแนะนำเลยนะคะว่าอย่ารอช้า ควรพาผู้ใหญ่ในบ้านมาตรวจหาสาเหตุ ถ้าหากเรารู้ต้นตอของปัญหา เราก็จะได้รักษาอย่างถูกวิธีได้แต่เนิ่นๆ ค่ะ

สำหรับโรงพยาบาลพญาไท 2 นี้ อะตอมและคุณแม่ประทับใจมากๆ เพราะว่าการให้บริการที่เป็นมิตร เป็นกันเอง คุณพยาบาลและคุณหมอน่ารักมากๆ ใครที่กำลังมองหาโปรแกรมสุขภาพต่างๆ ขอแนะนำเลยค่ะว่ามาที่ โรงพยาบาลพญาไท 2 แล้วไม่ผิดหวังเลย

ส่วนใครที่มองหาโปรโมชั่นด้านสุขภาพ ทำฟัน และความงาม ก็เข้ามาดูได้ที่ HDmall.co.th นะคะ ในนี้จะรวมโปรแกรมสุขภาพต่างๆ ของโรงพยาบาลพญาไท 2 เอาไว้ด้วย และยังมีหมวดหมู่แบ่งให้เห็นอย่างชัดเจน มีข้อมูลรายละเอียดอธิบายเอาไว้ดีมากๆ เลยค่ะ

ข้อมูล สถาบันกระดูกและข้อ รพ.พญาไท 2

ขยาย

ปิด

  • วันเวลาทำการ: วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-20.00 น.
  • วิธีการเดินทาง: BTS สถานีสนามเป้า (ทางออก 1) เดินไปทางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ 200 เมตร
  • สถานที่ตั้ง: สถาบันกระดูกและข้อ อาคาร B ชั้น 5 ดูแผนที่
  • ดูแพ็กเกจจาก รพ.พญาไท 2 ได้ที่นี่

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat