สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- ขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม อย่างแรกก็ลงไปนอนบนเตียงก่อน แล้วชูแขนเอาไว้เหนือหัว จากนั้นพยาบาลจะเปิดเสื้อเราแล้วเอาผ้ามาปิดไว้
- คุณพยาบาลก็จะแง้มผ้าออกนิดเดียว การตรวจอัลตราซาวด์หน้าอกมันก็ไม่ใช่การเปิดให้เห็นทุกส่วน เทนก็เลยไม่ค่อยเขินค่ะ
- ระยะเวลาที่คุณหมอเอาเครื่องถูเพื่อ อัลตราซาวด์เต้านม เราจะประมาณข้างละ 4-5 นาทีค่ะ ถูแล้วก็จะมีการถ่ายรูปด้วย โดยที่จะมีผ้าปิดหน้าอกเราไว้ตลอด
- เปรียบเทียบราคา ตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิง พร้อมจองที่ HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
- รีวิวนี้เป็นการชำระค่าบริการด้วยตัวเอง
โรคเกี่ยวกับเต้านมเป็นโรคที่ผู้หญิงหลายคนเป็นกังวล เทนก็เหมือนกันค่ะ ซึ่งในโปรแกรมตรวจสุขภาพของโรงพยาบาลพญาไท 2 ก็มีรายการตรวจอัลตราซาวด์เต้านมเหมือนกันค่ะ
สำหรับโปรแกรมตรวจสุขภาพ All You Can Check เทนก็ซื้อมาจาก HDmall.co.th เหมือนเคย เว็บเดียวเอาอยู่ทุกด้านของแพ็กเกจสุขภาพ ซึ่งในโปรแกรมนี้เทนเขียนรีวิวรายการตรวจไว้หลายตัวเลยค่ะ ถ้าใครอยากอ่านรีวิวรายการอื่น ก็คลิกที่ รีวิว ตรวจสุขภาพประจำปี โปรแกรม All You Can Check ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยวิธีอัลตราซาวด์ (Ultrasound) เป็นการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าและสะท้อนกลับมาที่เครื่องให้เห็นเป็นภาพ ทำให้เห็นว่าเนื้อเยื่อที่พบนั้นปกติหรือไม่ปกติ และยังบอกได้ว่าสิ่งผิดปกตินั้นเป็นถุงน้ำ หรือก้อนเนื้อ
ส่วนการตรวจแมมโมแกรมเต้านม จะใช้เครื่องมือที่มีรังสีชนิดพิเศษคล้ายการเอกซเรย์ ใช้ปริมาณรังสีน้อยกว่าแต่ตรวจได้ละเอียดกว่ามาก ฉายภาพเต้านมเพื่อให้คุณหมอมองเห็นรายละเอียดของเนื้อเยื่อ ต่อมน้ำนม ไขมัน หินปูน และก้อนเนื้อขนาดเล็ก ช่วยให้พบความผิดปกติของเต้านมตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งจริงๆ แล้วคุณหมอแนะนำว่าถ้าตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแบบแมมโมแกรมกับอัลตราซาวด์คู่กัน จะยิ่งทำให้เห็นผลตรวจที่ชัดเจน ถูกต้อง แม่นยำมากๆ ค่ะ
การตรวจมะเร็งเต้านมจริงๆ แล้วมี 3 วิธี ซึ่งอีกวิธีหากพบกับความผิดปกติ อาจมีการใช้เข็มเจาะที่เต้านมเพื่อนำเซลล์ไปตรวจ (Fine Needle Aspiration: FNA) แต่ในวันนี้เทนได้ตรวจแค่ 2 วิธีแรกค่ะ ถ้าใครอยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมก็เกี่ยวกับการตรวจแมมโมแกรมเต้านมก็ตามไปอ่านกันที่ รีวิว ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรม ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
ขั้นตอนการตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีอัลตราซาวด์ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
สำหรับขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม ก่อนอื่นพยาบาลจะให้เราเปลี่ยนเป็นชุดของโรงพยาบาลก่อนเพื่อง่ายแก่การตรวจค่ะ โดยช่วงเวลาในการตรวจ เทนตรวจตอนเช้าค่ะ แล้วค่อยมาฟังผลในช่วงบ่ายหลังจากกินข้าวกลางวันและตรวจรายการอื่นเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ส่วนขั้นตอนการตรวจอัลตราซาวด์เต้านมไม่มีอะไรซับซ้อน อย่างแรกก็ขึ้นไปนอนบนเตียงแล้วชูแขนเอาไว้เหนือหัว จากนั้นพยาบาลจะเปิดเสื้อเราแล้วเอาผ้ามาปิดไว้ นำหมอนมารองตรงปีกซ้าย เพราะจะตรวจข้างซ้ายก่อน
พอคุณหมอเข้ามาก็จะทาเจลตรงหน้าอกเราค่ะ ทาเยอะมาก เปียกเปาะแปะหน่อย ตัวเจลจะเป็นสื่อนำให้อุปกรณ์สามารถอัลตราซาวด์หน้าอกเราได้ค่ะ ส่วนคุณหมอที่เป็นคนตรวจอัลตราซาวด์ให้เทน จะเป็นคนละคนกับคนที่รายงานผลการตรวจให้เทนนะคะ
จากนั้นคุณหมอก็จะเอาเครื่องตรวจอัลตราซาวด์มาถูที่หน้าอกเรา ซึ่งเวลาคุณหมอต้องถูส่วนไหนของหน้าอก คุณพยาบาลก็จะแง้มผ้าออกนิดเดียว การตรวจอัลตราซาวด์หน้าอกมันก็ไม่ใช่การเปิดให้เห็นทุกส่วน เทนก็เลยไม่ค่อยเขินค่ะ
ระยะเวลาที่คุณหมอเอาเครื่องถูเพื่ออัลตราซาวด์เต้านม จะประมาณข้างละ 4-5 นาทีเท่านั้นเองค่ะ ถูแล้วก็จะมีการถ่ายรูปด้วย โดยที่จะมีผ้าปิดหน้าอกเราไว้ตลอด ฉะนั้นใครที่อาย หรือกลัวว่า การตรวจอัลตราซาวด์เต้านมคือการเปิดหน้าอกหมดเลย ขอให้โล่งใจได้เลยค่า
หลังจากเอาเครื่องมือลากตรวจบนหน้าอกเสร็จ ถ่ายรูปเสร็จ คุณพยาบาลก็สอบถามเทนค่ะว่า อยากเปลี่ยนเสื้อมั้ย เพราะจะต้องไปตรวจรายการอื่นๆ ต่ออีก แต่ชุดตอนนี้มันค่อนข้างเปียกจากเจลที่คุณหมอทาหมดละ 555+
โดยสรุปแล้วการตรวจอัลตราซาวด์เต้านมก็มีเท่านี้เองค่ะ ไม่มีอะไรเลยนอกจากนอนแล้วให้คุณหมอกับพยาบาลตรวจเต้านมเราเป็นส่วนๆ ไป แค่นั้นเองค่า
ผลตรวจอัลตราซาวด์เต้านม
ในส่วนของผลตรวจจากคุณหมอ คุณหมอแจ้งเทนว่าไม่พบก้อนเนื้อ หรือถุงน้ำค่ะ ผลตรวจเป็นปกติดี และมีอายุผลตรวจ 1 ปี ถ้าอยากมาตรวจเช็คอีกก็รออีก 1 ปีแล้วค่อยมาตรวจอีกครั้งได้ค่ะ
จากที่คุยกับคุณหมอแล้ว เทนก็ได้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจอัลตราซาวด์เยอะมากๆ ค่ะ ซึ่งไม่ว่าจะตรวจอัลตราซาวด์ หรือตรวจแมมโมแกรม ถ้าคลำเต้านมด้วยตนเองแล้วไม่พบก้อนเนื้ออะไร ให้รอประมาณอายุ 35 ก็ได้แล้วค่อยมาทำค่ะ โดยให้มาทำแมมโมแกรมก็ได้ เพราะการทำแมมโมแกรมจะแถมการตรวจอัลตราซาวด์อยู่แล้วด้วย
แต่ถ้าคนช่วงอายุ 40-60 ปี คุณหมอได้บอกย้ำว่า ควรมาทำแมมโมแกรม และอัลตราซาวด์ทุกปีค่ะ ส่วนคนอายุน้อยๆ ประมาณ 20 กว่าๆ ยังไม่ต้องมาตรวจทั้ง 2 อย่างก็ได้ค่ะ ใช้วิธีคลำหาก้อนเต้านมเอาก่อนจะดีกว่า
นับว่าเป็นอีกความรู้ที่ผู้หญิงหลายๆ คนน่าจะเข้าใจผิดกันค่ะ ใครมาอ่านรีวิวของเทนก็หวังว่าจะช่วยไขความกระจ่างในหลายๆ ส่วนนะคะ
สำหรับใครที่อยากตรวจเอ็กซเรย์เต้านม ตรวจสุขภาพผู้หญิงโดยเฉพาะ หรือตรวจมะเร็งในผู้หญิง ใน HDmall.co.th มีหลายแพ็กเกจให้ทุกคนเลือกเลยนะคะ ใครที่ไม่มั่นใจว่าตัวเองมีโรค หรือมีความผิดปกติในเต้านมหรือเปล่า ลองเข้ามากูกันได้ค่า