รีวิว ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรม ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2


รีวิว ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรม ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

  • ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นหนึ่งในการ ตรวจมะเร็งเต้านม คล้ายๆ กับการเอกซเรย์แต่ว่าใช้รังสีน้อยกว่า และละเอียดกว่า สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้ตั้งแต่ในระยะแรก
  • เจ้าหน้าที่ก็ให้เราเดินเข้าที่เครื่อง แมมโมแกรม โดยให้หน้าอกเราอยู่บนแท่นนั้น เจ้าหน้าที่ก็จะคอยช่วยจัดท่าทางให้อยู่ในองศาที่ถูกต้อง แล้วอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นด้านบนก็เลื่อนลงมาบีบหน้าอกเราให้แบนที่สุด
  • ตัวเครื่องจะถ่ายภาพเอกซเรย์หน้าอกเราซ้ายขวาออกมา เบ็ดเสร็จใช้เวลาประมาณ 5 นาทีเท่านั้นเองค่ะ รูปเอกซเรย์ที่ออกมาจะมีทั้งหมด 4 รูป ส่วนผลการตรวจเราจะไปฟังจากคุณหมออีกครั้งค่า

สิ่งหนึ่งที่ผู้หญิงหลายคนอาจจะยังไม่เคยตรวจและไม่รู้ว่ามีขั้นตอนการตรวจยังไงบ้างคือ การตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรม เทนก็เลยจะมาบอกเล่าประสบการณ์การตรวจที่โรงพยาบาลพญาไท 2 ค่ะว่าขั้นตอนไม่ยุ่งยาก และไม่เจ็บเลยสักนิด

อธิบายก่อนค่ะว่า การตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรม (Mammogram) เป็นหนึ่งในการ ตรวจมะเร็งเต้านม คล้ายๆ กับการเอกซเรย์แต่ว่าใช้รังสีน้อยกว่า และละเอียดกว่า แถมเป็นวิธีที่สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้ตั้งแต่ในระยะแรกด้วยค่ะ 

ส่วนการตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีอัลตราซาวด์ (Ultrasound) จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงส่งเข้าไปในเต้านมและสะท้อนกลับมาที่เครื่องเพื่อให้เห็นภาพ ไม่ต้องใช้รังสี ทำให้ค่อนข้างปลอดภัย ผลข้างเคียงต่ำ แต่จริงๆ แล้วคุณหมอแนะนำว่าถ้าตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมแบบแมมโมแกรมกับอัลตราซาวด์คู่กัน จะยิ่งทำให้เห็นผลตรวจที่ชัดเจน ถูกต้อง แม่นยำมากๆ ค่ะ

ใครที่อยากรู้รายละเอียดการตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีอัลตราซาวด์ ก็เข้าไปอ่านได้ที่ รีวิว ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีอัลตราซาวด์ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

คุณหมอบอกว่าจริงๆ แล้ว ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรม ปีละ 1 ครั้ง แม้ว่าอายุของเทนจะยังไม่ถึงเกณฑ์ แต่เทนคิดว่าตรวจเอาไว้แต่เนิ่นๆ ก็ดีต่อตัวเรา เพราะหากพบเจอความผิดปกติก็จะสามารถป้องกันได้ทันทีค่ะ

ขั้นตอนการตรวจมะเร็งเต้านม ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

หลังจากจองคิวทำนัดกับ HDmall.co.th มาแล้ว ก็มาถึงที่โรงพยาบาลพญาไท 2 กันเลย บอกก่อนว่านี่เป็นการ ตรวจเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรม ครั้งแรกของเทนเลยค่อนข้างตื่นเต้น เพราะหลายคนบอกต่อกันมาว่าค่อนข้างเจ็บ ก็เลยกังวลนิดๆ 

ภาพขั้นตอนลงทะเบียนก่อนตรวจมะเร็งเต้านม ที่ รพ.พญาไท 2

พอจากลงทะเบียนอะไรเสร็จเรียบร้อย คุณพยาบาลจะพาเราไปเปลี่ยนเป็นชุดของทางโรงพยาบาลก่อน เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจ จากนั้นก็นั่งรอคิวสักพักก็มีเจ้าหน้าที่มาพาเทนเข้าไปในห้องที่ใช้ตรวจแมมโมแกรมค่ะ

ภาพผู้ใช้บริการตรวจมะเร็งเต้านม ที่ รพ.พญาไท 2

พอเข้ามาเจ้าหน้าที่ก็อธิบายไขข้อข้องใจให้ฟังค่ะว่า การตรวจแมมโมแกรม จะเจ็บหรือไม่เจ็บขึ้นกับแต่ละคน เพราะเนื้อเต้านมในแต่ละคนไม่เท่ากัน แถมในช่วงใกล้มีประจำเดือนบางคนจะมีอาการคัดตึงเต้านม ก็อาจจะเจ็บมากกว่าปกติค่ะ

ภาพเครื่องแมมโมแกรมที่ใ้ในการตรวจ

จากนั้นเจ้าหน้าที่ก็ให้เราเดินเข้าที่เครื่อง แมมโมแกรม โดยให้หน้าอกเราอยู่บนแท่นนั้น เจ้าหน้าที่ก็จะคอยช่วยจัดท่าทางให้อยู่ในองศาที่ถูกต้อง แล้วอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นด้านบนก็เลื่อนลงมาบีบหน้าอกเราให้แบนที่สุด

ภาพเครื่องแมมโมแกรมที่ใช้ในการตรวจ

ตัวเครื่องจะถ่ายภาพเอกซเรย์หน้าอกเราซ้ายขวาออกมา เบ็ดเสร็จใช้เวลาประมาณ 5 นาทีเท่านั้นเองค่ะ รูปเอกซเรย์ที่ออกมาจะมีทั้งหมด 4 รูป ส่วนผลการตรวจเราจะไปฟังจากคุณหมออีกครั้งค่า

สำหรับความรู้สึกระหว่างตรวจ หลายคนน่าจะกลัวช่วงที่แผ่นด้านบนมันเลื่อนลงมาจากบีบเต้านมเรา แต่สำหรับเทนไม่ได้รู้สึกเจ็บอะไรเลยค่ะ รู้สึกเฉยๆ มากเลย ดังนั้นหลายคนอย่าเพิ่งหวาดกลัวการตรวจแมมโมแกรมไปนะคะ มันไม่ได้เจ็บเสมอไปค่า

ผลตรวจมะเร็งเต้านม 

ผลตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรมจะฟังพร้อมๆ กับการตรวจอัลตราซาวด์เต้านม เพราะเป็นการตรวจที่อยู่คู่กัน ใครอยากอ่าน รีวิว ตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีอัลตราซาวด์ ก็คลิกอ่านได้เลยนะคะ

สำหรับผลการตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรม คุณหมอแจ้งผลว่าตรวจพบก้อนหินปูนเม็ดเล็กๆ ที่หน้าอกค่ะ เป็นก้อนหินปูนเม็ดเดียวซึ่งไม่ถือว่าเป็นอันตราย แต่หากหินปูนอยู่เป็นกลุ่มๆ คล้ายกับจุดสีขาวหลายๆ จุด ก็อาจจะต้องตรวจเพิ่ม แต่ของเทนยังอยู่ไม่ต้องตรวจเพิ่มค่ะ

ความรู้เพิ่มเติมจากคุณหมอคือ หินปูนที่ตรวจพบจะอยู่กับเราไปตลอด มาตรวจกี่ครั้งเราก็จะเจอ มันเหมือนเป็นเซลล์ที่ตายแล้วบนผิวหนังเหมือนกับกระ หรือไฝบนใบหน้าของเราค่ะ

นอกจากนี้คุณหมออธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่วงอายุที่ควรตรวจแมมโมแกรมด้วย เพราะเทนยังอายุไม่เยอะมาก ยังไม่ต้องทำแมมโมแกรมก็ได้ เนื่องจากความหนาแน่นในเนื้อเต้านมยังเยอะอยู่ ทำให้ภาพเอซเรย์จะวินิจฉัยค่อนข้างยากค่ะ

ช่วงวัยที่คุณหมอแนะนำให้กลับมาตรวจอีกครั้งก็ประมาณ 35-40 ค่อยกลับมาตรวจใหม่ ส่วนคนที่อายุ 40-60 ปี คุณหมอย้ำว่า ต้องมาอัลตราซาวด์ และทำแมมโมแกรมทุกปีเพื่อความปลอดภัย เพราะเป็นวัยที่อาจเกิดโรคมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นแล้ว

ภาพผู้ใช้บริการตรวจมะเร็งเต้านม ที่ รพ.พญาไท 2

คนที่อายุยังน้อย คุณหมอแนะนำให้ใช้วิธีคลำหาก้อนในเต้านมด้วยตนเองไปก่อน ถ้าคลำเจอก็สามารถมาตรวจอัลตราซาวด์ได้ค่ะ แต่อาจจะยังไม่ต้องทำแมมโมแกรม

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องดูประวัติคนในครอบครัวที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมด้วยนะคะ ถ้าหากว่าครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมตอนอายุยังน้อย ก็แนะนำให้มาตรวจก่อนช่วงวัยก็ได้ค่ะ เช่น ถ้าคุณแม่เป็นตอนอายุ 35 ปี ก็ให้มาตรวจคัดกรองความเสี่ยงตอนอายุประมาณ 30 ปี เพราะโรงมะเร็งที่ส่งต่อกันทางพันธุกรรมมักจะเกิดขึ้นตอนอายุยังน้อยค่า

สำหรับคนที่กำลังสงสัยว่าถ้าหน้าอกเล็ก หรือแทบไม่มีหน้าอกเลย จะตรวจวิธีแมมโมแกรมได้ไหม คุณหมอแนะนำว่าสามารถตรวจด้วยการคลำหาก้อนเนื้อด้วยตนเอง หรือตรวจด้วยการทำอัลตราซาวด์อย่างเดียวค่ะ

การมาตรวจมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีแมมโมแกรมครั้งนี้ เทนได้ความรู้กลับมาหลายอย่างเลยค่ะ หวังว่าจะช่วยไขข้อกระจ่างให้กับหลายๆ คนที่สงสัยเกี่ยวกับการทำแมมโมแกรม หรือตรวจอัลตราซาวด์เต้านมได้นะคะ 

ถ้าอยากอ่านรีวิวตรวจสุขภาพของเทนว่าในโปรแกรมที่มาใช้บริการมีการตรวจอะไรบ้าง ก็ตามไปอ่านกันได้ที่ รีวิว ตรวจสุขภาพประจำปี โปรแกรม All You Can Check ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

ใครที่สนใจอยากตรวจสุขภาพ หรือตรวจมะเร็งสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ ใน HDmall.co.th มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่น่าสนใจให้ทุกคนได้เลือกเลยค่ะ หรือถ้าอยากตรวจสุขภาพด้านอื่นๆ โดยเฉพาะในเว็บนี้ก็มีแพ็กเกจให้เลือกครบเช่นกันค่ะ เช่น ตรวจภูมิแพ้ ตรวจระดับฮอร์โมน ใครที่กำลังจะแต่งงาน หรืออยากมีเจ้าตัวเล็กก็มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงานด้วยนะคะ

รีบมาตรวจสุขภาพกันนะคะ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง หรือผู้ชาย จะได้รู้ทันโรคร้ายต่างๆ และจะได้ดูแลตัวเองกันได้อย่างเหมาะสมด้วยค่า


บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat