osteopenia overview disease definition scaled

ภาวะกระดูกบาง รู้ก่อนเสี่ยงกระดูกพรุน เข้าใจสาเหตุ อาการ การรักษา และวิธีป้องกัน

ก่อนจะไปถึงภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) ก็จะต้องผ่านภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) มาก่อน เรียกได้เป็นตัวบอกถึงความอ่อนแอของกระดูก แต่หลายคนไม่รู้ว่า ภาวะกระดูกบางไม่มีสัญญาเตือนชัดเจน 

ภาวะกระดูกบางเลยต้องอาศัยการตรวจคัดกรอง ยิ่งตรวจเจอเร็ว ก็ยิ่งชะลอหรือลดความเสี่ยงของภาวะกระดูกพรุนเป็นอย่างดี มาศึกษาภาวะนี้ไปพร้อมกัน 

กระดูกบาง คืออะไร 

ภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) พบมากในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นภาวะที่มีความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐาน หรือปริมาณแร่ธาตุในกระดูกมีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น หากไม่รักษาอาจเสี่ยงต่อกระดูกแตกหักมากขึ้นได้ และนำไปสู่ภาวะกระดูกพรุนในอนาคต

ภาวะกระดูกบางมักไม่มีอาการหรือความเจ็บปวดแสดงออกมา จึงถูกนิยามว่าเป็นภัยเงียบเช่นเดียวกับภาวะกระดูกพรุน กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวว่ามีปัญหามวลกระดูกก็ตอนเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม หรือกระดูกหักไปแล้วนั่นเอง 

ทำไมกระดูกบาง เกิดจากอะไร 

ปกติแล้ว ในช่วงอายุ 2530 ปี จะเป็นช่วงที่เรามีมวลกระดูก หรือความหนาแน่นของกระดูกมากที่สุด หลังจากนั้นมวลกระดูกเราจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากร่างกายสร้างกระดูกใหม่ทนแทนกระดูกเก่าได้ช้าลง ขณะที่กระดูกเก่าสลายตัวเร็วขึ้น ทำให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูกตามมา

ภาวะกระดูกบางมักมีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือนั้น ก็อาจเกิดขึ้นได้ถ้ามีปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง เช่น

  • เพศหญิง เพศหญิงจะเสี่ยงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะวัยหมดประจำเดือน หรือไม่มีประจำเดือนจากสาเหตุอื่น อย่างการตัดรังไข่ออก เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกมีปริมาณลดลง
  • อายุเยอะ โดยเฉพาะผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • กรรมพันธุ์ คนที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติกระดูกหัก ความหนาแน่นของมวลกระดูกต่ำ กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน  
  • ปัญหาสุขภาพ เช่น โรคที่ก่อให้เกิดการอักเสบ อย่างข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคระบบต่อมไร้ท่อ อย่างภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะการกินผิดปกติ อย่างโรคคลั่งผมหรือโรคบูลิเมีย ภาวะขาดสารอาหาร อย่างขาดแคลเซียมหรือวิตามินดี โรคเบาหวาน และโรคไตเรื้อรัง 
  • การใช้ยารักษาโรคติดต่อกันนาน โดยเฉพาะยาสเตียรอยด์ ยากันชัก ยาขับปัสสาวะ ยาฮอร์โมนรักษามะเร็ง ยาต้านการแข็งตัวของเลือด และยาลดกรดกลุ่ม PPIs
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพอ  

คนที่มีปัจจัยในข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ และเข้ารับการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก ตั้งแต่อายุยังไม่มาก ซึ่งแพทย์จะช่วยประเมินสุขภาพกระดูก วางแผนการรักษา และหาทางป้องกันร่วมกัน เพื่อลดความเสี่ยงไปสู่ภาวะกระดูกพรุน

กระดูกบางรู้ได้อย่างไร ตรวจคัดกรองวิธีไหน

ปัญหากระดูกบางและกระดูกพรุนตรวจคัดกรองได้ด้วยการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกที่เรียกว่าวิธี DEXA หรือ DXA (Dual energy X-ray absorptiometry) 

ตัวเครื่องจะใช้รังสีเอซเรย์พลังต่ำช่วยสร้างภาพถ่ายมวลกระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง สะโพก ข้อมือ นิ้วมือ และเท้า ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเสี่ยงกระดูกบางหรือพรุนได้สูง 

ถือเป็นวิธีคัดกรองภาวะกระดูกบางที่มีความแม่นยำสูง ปลอดภัย ไม่รุกล้ำร่างกาย ไม่สร้างความเจ็บปวด กระบวนการตรวจยังกินเวลาน้อยเพียง 1030 นาทีเท่านั้น 

ผลการตรวจ DEXA จะพิจารณาด้วยค่า T-Score ถ้าค่าที่ได้อยู่ระหว่าง 1.0 ถึง 2.5 หมายถึง มีภาวะกระดูกบาง ถ้าค่าต่ำกว่า 2.5 หมายถึงเป็นกระดูกพรุนแล้ว จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยเร็ว 

ฉะนั้น ถ้าอายุถึงเกณฑ์กำหนด อย่างผู้หญิงสูงวัย 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายวัย 70 ปีขึ้นไป รวมถึงเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงก็ควรตรวจคัดกรองตั้งแต่เนิ่น ๆ

นอกจากใช้ตรวจคัดกรองแล้ว ผู้ที่มีภาวะกระดูกบางอาจต้องเข้ารับการตรวจ DEXA เพื่อติดตามอาการและความเปลี่ยนแปลงของมวลกระดูกทุก 23 ปี ตามที่แพทย์แนะนำด้วย  

รวมโปรคัดกรองกระดูกบาง กระดูกพรุน 

ภาวะกระดูกบาง รักษาได้ไหม

การรักษาภาวะกระดูกบางมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เนื้อเยื่อกระดูก ชะลอความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักและกระดูกพรุนในอนาคต มีทั้งการปรับพฤติกรรมการทานอาหาร เพิ่มการออกกำลังกาย และการรักษาด้วยยา

ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร
แพทย์มักแนะนำให้เริ่มจากการปรับพฤติกรรมการทานอาหารให้หลากหลาย และได้สารอาหารอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดี มักพบมากในอาหารจำพวกนม ไข่ และผักใบเขียว 

นอกจากอาหารแล้ว แพทย์อาจให้ทานในรูปแบบอาหารเสริมเพิ่มเติมกรณีที่จำเป็นด้วย โดยปริมาณแคลเซียมและวิตามินที่จำเป็นต่อวันจะขึ้นอยู่กับช่วงอายุ ดังนี้ 

ปริมาณแคลเซียมต่อวันที่ร่างกายต้องการ 

  • อายุ 1950 ปี ควรได้รับแคลเซียม ปริมาณ 800 มิลลิกรัมต่อวัน
  • อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียม ปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน

ปริมาณวิตามินดีต่อวันที่ร่างกายต้องการ 

  • อายุไม่เกิน 70 ปี ควรได้รับวิตามินดี 600 IU หรือ 15 ไมโครกรัมต่อวัน
  • อายุ 70 ปีขึ้นไป ควรได้รับวิตามินดี 800 IU หรือ 20 ไมโครกรัมต่อวัน    

เพิ่มการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก (Weight-bearing exercise) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ ฝึกการทรงตัวเพื่อสมดุลร่างกาย เช่น เดิน วิ่ง กระโดด เต้น โยคะ หรือพิลาทิส อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน  

รักษาด้วยการใช้ยา
ผู้ป่วยภาวะกระดูกมักไม่ต้องทานยารักษาโรค เว้นแต่รายที่รุนแรงจนเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนสูง แพทย์อาจจ่ายยารักษากระดูกพรุนให้ เช่น ยาอเลนโดรเนต (Alendronate) ยาไอแบนโดรเนต (Ibandronate) หรือยาราโลซิฟีน (Raloxifene)     

วิธีป้องกันกระดูกบาง กระดูกเสื่อม ก่อนกลายเป็นกระดูกพรุน 

การสูญเสียมวลกระดูกเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่มีวิธีป้องกันภาวะกระดูกบางและกระดูกพรุน แต่ยังชะลอให้เกิดช้าลงได้ ด้วยการปรับการทานอาหารและออกกำลังกาย เช่นเดียวกับการรักษาภาวะกระดูกบาง 

นอกจากนี้ ควรลดพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพตั้งแต่อายุยังน้อย เช่น เลิกสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และน้ำอัดลม ปัจจัยเหล่านี้ต่างก็กระทบต่อความแข็งแรงของกระดูกทั้งสิ้น

และที่สำคัญ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุหรือ 50 ปีขึ้นไป ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมวลกระดูก หรือที่เรียกการคัดกรองภาวะกระดูกพรุน (DEXA Scan) เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรค หากมีความเสี่ยงจะได้วางแผนการรักษา ลดปัญหากระดูกแตกหัก และภาวะแทรกซ้อนในอนาคต     

วัยรุ่นใจบาง… แต่กระดูกต้องยังไม่บางตามนะ มาดูมวลกระดูกของตัวเองกัน! ค้นหาแพ็กเกจ ตรวจคัดกรองกระดูกพรุน ได้เลยที่ HDmall.co.th โปรโมชั่นดีแบบนี้ ๆ ต้องรีบจัด 

Scroll to Top