โดยปกติการตรวจเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพ มักเป็นผู้หญิงที่สนใจมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากเพศหญิงเป็นเพศที่มีความละเอียดอ่อน และเฝ้าระวังความเสี่ยงต่างๆ
แต่ในปัจจุบันผู้ชายมีความสนใจด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น วันนี้เลยมีบทความสำหรับคุณผู้ชายอายุ 18-39 ปี ที่อยากตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่เนิ่นๆ มาฝากกัน
สารบัญ
เป้าหมายของการตรวจสุขภาพ
- ตรวจคัดกรองโรคในระยะเริ่มต้น
- ประเมินความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในอนาคต
- ส่งเสริมสุขภาพและสุขลักษณะที่ดี
- รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค
- เรียนรู้วิธีจัดการกับโรคภัยในระยะเริ่มต้น
ผู้ชายอายุ 18–39 ปี ควรตรวจอะไรบ้าง?
แบ่งเป็นการตรวจพื้นฐาน และการตรวจจำเพาะ มีรายละเอียดดังนี้
การตรวจพื้นฐาน
- การซักประวัติและ การตรวจร่างกายโดยแพทย์
- การตรวจประเมินสุขภาพจิตทั่วไป
- การตรวจดัชนีมวลกาย
- การตรวจวัดสัญญาณชีพทั่วไป
- ตรวจการได้ยินทั่วไป (Finger Rub Test)
- ตรวจตาทั่วไป
- การตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง
- การตรวจเม็ดเลือด (CBC)
- การตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน (FBS)
- การตรวจคัดกรองโรคไขมันในเลือดสูง
- การตรวจเอกซเรย์ทรวงอก
- ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง
การตรวจจำเพาะ
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี
- การตรวจสมรรถภาพและความแข็งแรงของร่างกาย (Fitness Test)
- การตรวจฟัน
- การตรวจสายตา
- การตรวจหาโรคจากสิ่งแวดล้อม เช่น โลหะหนัก เอกซเรย์ทรวงอกเพื่อหาโรคปอดจากสิ่งแวดล้อม การตรวจสมรรถภาพปอด
- การตรวจหาโรคการทำงาน เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน สมรรถภาพการมองเห็น การตรวจหาโรคจากความร้อน/ความเย็น/แรงสั่นสะเทือน สารเคมีที่ตกค้างในร่างกาย โรคปอดจากการทำงาน เป็นต้น
- โรคติดเชื้อในวัยเจริญพันธุ์
- มะเร็งทวารหนัก (สำหรับกลุ่มเฉพาะ)
การตรวจความดันโลหิต
- ควรตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยทุก 2 ปี แต่หากว่า เลขความดันตัวบน (Systolic number) อยู่ระหว่าง 120-139 หรือเลขความดันตัวล่าง (Diastolic number) อยู่ระหว่าง 80-89 mmHg หรือมากกว่านั้น คุณควรตรวจความดันโลหิตเป็นประจำทุกปี
- หากเลขความดันตัวบนสูงกว่า 140 หรือเลขความดันตัวล่างสูงกว่า 90 ให้ปรึกษา หรือไปพบแพทย์ทันที
- ในผู้ที่เป็นเบาหวาน โรคหัวใจ มีปัญหาเกี่ยวกับไต หรือเป็นโรคอื่นๆ ควรตรวจความดันโลหิตบ่อยครั้งกว่าปกติ โดยตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
การตรวจระดับคอเลสเตอรอล และป้องกันโรคหัวใจ
- แนะนำให้ผู้ชายเริ่มตรวจระดับคอเลสเตอรอลตั้งแต่ช่วงอายุ 20-35 ปี หากพบว่า มีระดับคอเลสเตอรอลในเกณฑ์ปกติ สามารถเว้นการตรวจไปได้อีก 5 ปี
- หากมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น เป็นโรคเบาหวาน ให้เริ่มตรวจที่อายุอย่างน้อย 20 ปี
- หากเป็นเบาหวาน โรคหัวใจ มีปัญหาโรคไต หรือเป็นโรคอื่นๆ ควรรับการตรวจคอเลสเตอรอลบ่อยครั้งกว่าข้างต้น
การตรวจเบาหวาน
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อไปนี้ควรระมัดระวังและหมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรู้ความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
- เด็กอายุ 10-18 ปี ที่มีน้ำหนักเกิน หรืออ้วน และมีปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวาน เช่น น้ำหนักแรกคลอดน้อย หรือมารดาเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
- มีพ่อ แม่ หรือพี่น้องเป็นเบาหวาน
- กำลังตั้งครรภ์
- เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อน
- มีภาวะอ้วนมาก หรือน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยเฉพาะอ้วนลงพุง หรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 25 และมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานร่วมด้วย
- เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีความดันโลหิตสูงกว่า 135/80 mmHg
- มีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ
การตรวจฟัน
- ควรไปพบทันตแพทย์ 1-2 ครั้งต่อปี เพื่อตรวจสุขภาพฟันและทำความสะอาดช่องปาก เช่น การขูดหินปูน แต่ทันตแพทย์อาจประเมินและแจ้งให้คุณมาพบบ่อยกว่านั้นตามกรณี
การตรวจตา
- หากคุณมีปัญหาทางสายตา ควรรับการตรวจสายตาทุกๆ 2 ปี หรือบ่อยกว่านั้นตามคำแนะนำของแพทย์
- หากคุณเป็นเบาหวาน ควรเข้าตรวจสายตาอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี เพราะจะมีความเสี่ยงเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
การตรวจโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ
- คุณอาจต้องเข้ารับการตรวจหาการติดเชื้อต่างๆ เช่น โรคซิฟิลิส หนองในเทียม การติดเชื้อ HIV และการติดเชื้ออื่นๆ ด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและประวัติสุขภาพ
ผู้ชายอายุ 18–39 ปี ควรฉีดวัคซีนอะไรดี?
- หลังจากที่อายุ 19 ปี ควรได้รับการฉีดวัคซีนรวมคอตีบ บาดทะยัก และไอกรน (Tdap) ซึ่งเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี หลังจากได้รับวัคซีนครบตามที่กำหนดแล้ว
- ควรรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ทุกปี
- หากยังไม่เคยฉีดวัคซีน HPV มาก่อน สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์
- หากไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส และไม่เคยฉีดวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน ควรเข้ารับวัคซีนอีสุกอีใส
- ควรได้รับวัคซีนโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) อย่างน้อย 1 ครั้ง
- แพทย์อาจแนะนำให้คุณฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม หากคุณมีภาวะสุขภาพ หรือความเสี่ยงอื่นๆ เช่น เป็นโรคเบาหวาน
การตรวจสุขภาพไม่ได้ยุ่งยากแถมยังมีประโยชน์มากกว่าที่หลายคนคิด คุณสามารถตรวจพบเบาหวาน หรือระดับคอเลสเตอรอลที่สูงเกินได้ด้วยการเจาะเลือด ซึ่งทำได้ง่ายๆ สะดวกรวดเร็ว
อีกทั้งยังช่วยป้องกันอันตรายจากโรคภัย และความเสี่ยงสุขภาพอื่นๆ เพราะโรคบางโรคจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อเข้าสู่ระยะรุนแรงแล้ว
แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายอายุต่ำกว่า 30 ปี*
โรงพยาบาล/คลินิก (ชื่อแพ็กเกจ) |
รพ. ยันฮี (อายุ 20 ปีขึ้นไป) |
รพ. จุฬารัตน์ 9 (อายุ 15-30 ปี) |
รพ. เพชรเวช (อายุน้อยกว่า 30 ปี) |
รพ. ธนบุรี 1 (อายุน้อยกว่า 30 ปี) |
รพ. พญาไท 2 (อายุ 25 ปีขึ้นไป) |
---|---|---|---|---|---|
ตรวจร่างกายโดยแพทย์ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน | ✓ | ✓ | |||
ตรวจสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ | ✓ | ||||
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ | ✓ | ||||
ตรวจมวลกระดูก | ✓ | ||||
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหมู่เลือด (ABO) | ✓ | ||||
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (BUN) | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT) | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (Alk Phosphatase) |
✓ | ||||
ตรวจปัสสาวะทั่วไป (Urine Analysis) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest x-ray) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมด | ✓ | ||||
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP | ✓ | ||||
ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA | ✓ | ||||
ตรวจหัวใจและหลอดเลือด | ✓ | ||||
ราคา | 2,300 | 2,500 | 2,500 | 2,850 | 6,900 |
แพ็กเกจตรวจสุขภาพสำหรับผู้ชายอายุ 30-40 ปี*
โรงพยาบาล/คลินิก (ชื่อแพ็กเกจ) |
มิตรไมตรีคลินิก (Standard อายุ 35ปีขึ้นไป) |
มิตรไมตรีคลินิก (Executive อายุ 35ปีขึ้นไป) |
รพ. จุฬารัตน์ 9 (อายุ 30-40 ปี) |
รพ. นครธน (Silver A อายุ 30-40 ปี) |
รพ. นครธน (Silver B อายุ 30-40 ปี) |
รพ. ธนบุรี 1 (Advance Program อายุ 30-40 ปี) |
รพ. ยันฮี (อายุ 30-40 ปี) |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ตรวจร่างกายโดยแพทย์ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดสัญญาณชีพ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจดัชนีมวลกาย ตรวจมวลไขมัน | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจสายตาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจสุขภาพฟันโดยทันตแพทย์ | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจมวลกระดูก | ✓ | ||||||
ตรวจวัดระดับแคลเซียม | ✓ | ||||||
ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหมู่เลือด (ABO) | ✓ | ||||||
ตรวจหาระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (Creatinine) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจการทำงานของไต (BUN) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของไต (eGFR) | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจหากรดยูริก (Uric Acid) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |
ตรวจหาคอเลสเตอรอลในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือด | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันดี (HDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจหาระดับไขมันเลว (LDL) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (AST, SGOT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (ALT, SGPT) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจการทำงานของตับ (Alk Phosphatase) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | |||
ตรวจปัสสาวะ (Urine Analysis) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจเอกซเรย์ปอดและหัวใจ (Chest x-ray) |
✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ||
ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ | ✓ |
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน | ✓ | ✓ | ✓ | ||||
ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจการอักเสบของหลอดเลือด (hs-CRP) | ✓ | ||||||
ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก PSA | ✓ | ||||||
ตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบี | ✓ | ✓ | |||||
ตรวจหาภูมิไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Anti HBs) | ✓ | ✓ | |||||
ราคา | 1,299 | 1,550 | 3,500 | 4,200 | 4,200 | 4,400 | 5,000 |
*ราคาและรายการตรวจสุขภาพอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ ควรศึกษารายละเอียดก่อนซื้อแพ็กเกจ
ตรวจสอบความถูกต้องโดย พญ. รุจิรา เทียบเทียม