bone mineral density for osteoporosis screening process

เสี่ยง “กระดูกพรุน” หรือไม่? เช็กได้ด้วยการตรวจมวลกระดูก

ภาวะกระดูกพรุนเป็นปัญหาสุขภาพที่กว่าจะรู้ว่าเป็นก็ตอนกระดูกหักหรือเกิดอุบัติเหตุแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า โรคกระดูกพรุนสามารถรู้ได้แน่ชัดด้วยการตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก ซึ่งจะช่วยวางแผนปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยง และป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้เป็นอย่างดี

มีคำถามเกี่ยวกับ กระดูกพรุน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

โรคกระดูกพรุน คืออะไร

กระดูกพรุน (Osteoporosis) เป็นโรคที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ทำให้กระดูกอ่อนแอ เปราะบาง ง่ายต่อการแตกหักเพียงแค่หกล้มหรือกระแทกเล็กน้อย โดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ และกระดูกสันหลัง ซึ่งเป็นกระดูกส่วนที่มักเกิดกระดูกพรุนได้บ่อย

ตามธรรมชาติแล้วกระดูกจะมีกระบวนการสลายตัวและสร้างใหม่ทดแทนตลอดเวลา โดยการสร้างกระดูกใหม่จะเกิดขึ้นเร็วกว่าการสลายกระดูกเก่าในช่วงอายุยังน้อย เด็กจึงเป็นช่วยวัยที่มีมวลกระดูกมาก 

กระบวนการสร้างกระดูกใหม่จะค่อย ๆ ช้าลงในช่วงอายุ 20 ปีเป็นต้นไป และกระบวนการสลายกระดูกเก่าก็จะเร็วกว่าการสร้างกระดูกเมื่อเราอายุมากขึ้น ผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุจึงเสี่ยงเป็นภาวะกระดูกพรุน 

โดยปัจจัยเสี่ยงของภาวะกระดูกพรุนจะมีดังนี้

  • กรรมพันธุ์จากพ่อแม่หรือคนในครอบครัว
  • อายุที่มากขึ้น ทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพ และมวลกระดูกมักจะลดลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะอายุหลัง 50 ปีเป็นต้นไป
  • เพศหญิงมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศชาย โดยเฉพาะวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน 
  • พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ดี เช่น ทานอาหารโซเดียมสูง ทานอาหารที่มีแคลเซียม วิตามินดี หรือโปรตีนน้อยเกินไป
  • น้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์
  • การออกกำลังกายไม่เพียงพอ
  • การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มคาเฟอีน
  • ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับฮอร์โมนร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศในช่วงวัยหมดประจำเดือน ปัญหาฮอร์โมนไทรอยด์ รวมถึงปัญหาต่อมพาราไทรอยด์และต่อหมวกไต
  • โรคประจำตัวเรื้อรัง อย่างโรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์ โรคตับ โรคไต หรือโรคทางเดินอาหาร   
  • การใช้ยาบางชนิดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยารักษาไทรอยด์ ยากันชัก และยารักษามะเร็ง

โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการ กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวก็ตอนกระดูกหักแล้ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีอาจทำให้พิการถาวร มีปัญหาที่หลังหรือการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง 

ตรวจสุขภาพกระดูก วิธีเช็กความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน 

การตรวจเพื่อวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนทําได้หลายวิธี แต่วิธีตรวจกระดูกที่นิยมใช้กัน ได้แก่ การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก การเอกซเรย์ และการสังเกตร่างกายภายนอก 

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูกด้วยเครื่องสแกน (Bone densitometer หรือ Bone minineral density ) 

เป็นวิธีมาตรฐานในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สามารถใช้ประเมินความเสี่ยงและความรุนแรงของกระดูกแตกหัก ไปจนถึงวางแผนและติดตามผลการรักษา

การตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูก หรือการตรวจมวลกระดูก จะพิจารณาจากปริมาณแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญในกระดูก ยิ่งมีแร่ธาตุอยู่มาก กระดูกก็ยิ่งแข็งแรงมาก โดยใช้เครื่องสแกน Bone densitometer

เครื่องสแกน Bone densitometer มีอยู่หลายแบบ แต่ที่นิยมใช้คือ DXA scanner (Dual energy X-ray absorptiometry scanner) เป็นเครื่องตรวจที่ใช้รังสีเอกซ์พลังงานต่ำ ใช้ตรวจกระดูกได้เกือบทุกจุด แต่มักเจาะจงบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว สะโพก และข้อมือ ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงกระดูกแตกหักจากกระดูกพรุนได้บ่อย 

การตรวจใช้เวลาไม่นาน เพียง 1015 นาที ขึ้นอยู่กับว่าตรวจกี่จุดและบริเวณใดบ้าง และยังมีข้อดีที่ไม่ทำให้เจ็บปวด มีความปลอดภัยต่อร่างกายเนื่องจากใช้รังสีพลังงานต่ำ และให้ผลลัพธ์แม่นยำ

ผลตรวจจะได้ออกมาเป็นค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก หรือเรียกว่า ค่า T-Score แล้วนำไปเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยมาตรฐานในคนอายุ 30 ปี ตามเกณฑ์ต่อไปนี้

มีคำถามเกี่ยวกับ กระดูกพรุน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

  • ค่า T-Score สูงกว่า 1 เท่ากับว่ากระดูกปกติ
  • ค่า T-Score อยู่ระหว่าง 1 ถึง 2.5 เท่ากับว่ามีภาวะกระดูกบาง (Osteopenia)
  • ค่า T-Score ต่ำกว่า 2.5 เท่ากับว่าเป็นโรคกระดูกพรุน 

กรณีเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยมวลกระดูกในผู้ที่มีอายุเท่ากันจะเรียกว่า ค่า Z-Score ซึ่งหากค่าอยู่ที่ 2.0 หรือต่ำกว่านั้น จะถือว่าเป็นโรคกระดูกพรุน ส่วนมากมักมีสาเหตุมาจากการใช้ยาหรือปัญหาสุขภาพ

การถ่ายภาพเอกซเรย์ (X-ray)

ภาพถ่ายกระดูกจะช่วยให้แพทย์เห็นความหนาแน่นของกระดูก ความกว้างของโพรงกระดูก ลายกระดูกหยาบ ๆ ไปจนถึงความผิดปกติของกระดูกได้ อย่างรอยร้าวหรือการทรุดตัว 

แต่ภาพเอกซเรย์ไม่สามารถบอกถึงความรุนแรงของภาวะกระดูกบาง หรือกระดูกพรุนได้อย่างชัดเจน ทำให้ยากต่อการวางแผนรักษาโรค

การสังเกตร่างกายภายนอก (General appearance)

วิธีนี้จะใช้ได้กับผู้ป่วยกระดูกพรุนที่มีอาการรุนแรงจนสามารถประเมินหรือวินิจฉัยเบื้องต้นได้ด้วยตาเปล่า โดยสัญญาณของกระดูกพรุนที่อาจพบได้ก็เช่น หลังค่อมหรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง ตัวเตี้ยลง 

อย่างไรก็ตาม โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ ทำให้การตรวจเพียงแค่สังเกตอาการจะทำได้ตอนอาการของโรครุนแรงแล้ว ส่วนใหญ่เลยจะใช้ร่วมกับวิธีตรวจอื่น ๆ มากกว่าใช้ตรวจคัดกรองโรคระยะแรก

เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสุขภาพกระดูก 

ตรวจมวลกระดูก สุขภาพกระดูก เตรียมตัวอย่างไร 

การตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก ก็ไม่มีข้อห้ามหรือการเตรียมตัวใดเป็นพิเศษ ไม่ต้องงดน้ำและอาหาร ทานยาประจำตัวได้ตามปกติ และทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ 

  • ก่อนตรวจมวลกระดูก 1 สัปดาห์ ต้องไม่รับการตรวจเอกซเรย์ที่ฉีดสารทึบรังสี กลืนหรือสวนแป้งแบเรียม หากมีนัดหมายมาก่อนควรแจ้งแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ 
  • งดทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียมอย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจมวลกระดูก
  • คนที่วางแผนจะตั้งครรภ์ มีความเสี่ยงจะตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อนตรวจ
  • งดใส่เครื่องประดับทุกชนิด เนื่องจากต้องถอดออกก่อนเข้ารับการตรวจ
  • ผู้ป่วยที่มีอุปกรณ์โลหะฝังอยู่ในร่างกาย อย่างข้อสะโพกเทียมหรือเครื่องกระตุ้นหัวใจ ควรแจ้งแพทย์และเจ้าหน้าที่ก่อนตรวจ
  • เลือกใส่เสื้อผ้าและชุดชั้นในที่ไม่มีโลหะ สวมใส่และถอดง่าย และควรนำถุงผ้าส่วนตัวมาใส่เสื้อผ้าที่เปลี่ยนด้วย

สำหรับการตรวจเอกซเรย์กระดูกไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใด ๆ ดื่มน้ำหรือทานอาหารได้ตามปกติ ยกเว้นคนที่ต้องฉีดสารทึบรังสี กลืนหรือสวนแป้งแบเรียม ควรงดทานอาหารหรือเครื่องดื่ม เพื่อช่วยให้ภาพเอกซเรย์มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทำตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • ควรสวมเสื้อผ้าที่โปร่งสบาย สวมใส่และถอดง่ายในวันเข้ารับการตรวจ 
  • หลีกเลี่ยงการใส่เครื่องประดับหรือเสื้อผ้าที่มีโลหะ
  • หากเคยได้รับการผ่าตัดฝังอุปกรณ์ที่เป็นโลหะ ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าตนเองอาจตั้งครรภ์อยู่ ควรแจ้งให้แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบก่อน

ใครบ้างเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ต้องตรวจมวลกระดูก

แพทย์จะแนะนำให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคกระดูกพรุนเข้ารับการตรวจคัดกรองโรค ด้วยวิธีตรวจความหนาแน่นของมวลกระดูก เพราะเป็นวิธีคัดกรองโรคกระดูกพรุนที่ง่าย แม่นยำ และมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีอื่น 

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคกระดูกพรุน ได้แก่

  • ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอายุน้อยกว่า 65 ปี และมีปัจจัยเสี่ยงต่อมวลกระดูกต่ำ เช่น น้ำหนักตัวน้อย มีประวัติกระดูกหัก เป็นโรคหรือภาวะที่ทําให้มวลกระดูกลดลง
  • ผู้ชายอายุน้อยกว่า 70 ปี ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อมวลกระดูกต่ำ เช่น น้ำหนักตัวน้อย มีประวัติกระดูกหัก เป็นโรคหรือภาวะที่ทําให้มวลกระดูกลดลง
  • ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่เป็นมะเร็งเต้านม และผู้ชายอายุมากกว่า 50 ปีที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ผู้หญิงที่เคยผ่าตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้างก่อนหมดประจำเดือน
  • คนที่เคยกระดูกหักมาก่อน กระดูกเปราะ หักง่าย รวมถึงมีประวัติปวดหลัง เอว และคอเรื้อรัง
  • คนที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นภาวะกระดูกพรุน
  • คนที่ใช้ยาที่ส่งผลต่อมวลกระดูกติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาไทรอยด์ หรือยารักษามะเร็ง
  • คนที่มีโรคประจำตัวที่ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง อย่างโรคเบาหวาน โรคตับเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง โรคข้ออักเสบ หรือโรคทางเดินอาหารที่ส่งผลต่อการดูดซึม
  • ผู้ป่วยที่ใช้ยารักษากระดูกพรุน และต้องติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอทุก 12 ปี

การตรวจมวลกระดูกจะช่วยลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน กระดูกหัก และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตราย อย่างอัมพฤกษ์ อัมพาต หลังโก่ง หลังค่อม การติดเชื้อในกระแสเลือด ปัญหาในการเคลื่อนไหว หรือกระทั่งแผลกดทับกรณีผู้ป่วยติดเตียง

ไม่ต้องรอให้กระดูกหักแล้วค่อยตรวจมวลกระดูก แต่ควรเข้ารับการตรวจมวลกระดูกตั้งแต่เนิ่น ๆ เมื่อถึงเกณฑ์หรือมีปัจจัยเสี่ยง จะได้วางแผนปรับพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรค และเสริมความแข็งแรงของกระดูกให้อยู่กับเราไปนาน ๆ

อย่าปล่อยให้พรุนนนไปถึงกระดูก แล้วค่อยไปตรวจ ค้นหาแพ็กเกจ ตรวจคัดกรองกระดูกพรุน ที่ HDmall.co.th โปรโมชั่นสุดคุ้มรอคุณอยู่ รีบเลย!

มีคำถามเกี่ยวกับ กระดูกพรุน? สอบถามฟรีทาง LINE รับคำตอบได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อความสบายใจของคุณ

หากคุณติดตั้ง LINE บนคอมพิวเตอร์ของคุณแล้ว ระบบจะเปิดบัญชีทางการ LINE ของ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ โดยอัตโนมัติ

หากคุณยังไม่ได้ติดตั้ง LINE บนเดสก์ท็อป โปรดสแกน QR โค้ดด้วย LINE บนโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อเริ่มแชทกับ Jib AI ผู้ช่วยสุขภาพ