รีวิว ผลตรวจสุขภาพ เช็กระดับฮอร์โมน วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ W9 Wellness Center

รีวิว ผลตรวจสุขภาพ เช็กระดับฮอร์โมน วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ W9 Wellness Center

จากที่เทนได้เข้าโปรแกรมตรวจสุขภาพ Signature Vital ของ W9 Wellness Center ไป รายการตรวจหลักๆ ก็จะมีการตรวจองค์ประกอบร่างกายหรือ Body Composition การตรวจพิษวิทยาด้วยเครื่อง Oligo Scan และสุดท้ายก็คือ การตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมน สารวิตามิน กับสารต้านอนุมูลอิสระของเราค่ะ ซึ่งในบทความรีวิวตัวนี้ เทนจะมาขอรีวิวเจาะลึกในส่วนของการตรวจเลือดโดยเฉพาะเลยค่า

เทนขออธิบายขั้นตอนในการตรวจเลือดแบบเบื้องต้นก่อนนะคะ การตรวจเลือดในโปรแกรมตรวจสุขภาพ Signature Vital ของ W9 Wellness Center จะมีการเจาะเลือดเราไปประมาณ 45 ซีซีค่ะ แล้วแบ่งเลือดออกเป็น 7 หลอดด้วยกัน ซึ่งในทุกๆ หลอดเลือดที่พยาบาลเก็บไปก็จะมีการแปะชื่อกับวันเดือนปีเกิดของเราเอาไว้ เพื่อป้องกันความผิดพลาดของข้อมูลด้วยค่า

จากนั้นเทนรอผลตรวจอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ ก็จะได้ฟังผลตรวจกับคุณหมอผ่านการวีดีโอคอลออนไลน์หรือการ Telemedicine นั่นเองค่ะ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นการฟังผลที่จุใจ ได้ข้อมูลในการดูแลตนเองมาแบบเพียบเลย เราตามไปอ่านรายละเอียดการฟังผลตรวจพร้อมๆ กันเลยค่า!

ผลการตรวจเลือด เช็กระดับฮอร์โมน วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ

ในการฟังผลตรวจเลือด เทนคุยกับคุณหมอราวๆ ชั่วโมงกว่าเลยทีเดียวค่ะ เพราะรายการตรวจที่ได้รับมาจากห้องปฏิบัติการค่อนข้างเยอะและมีการอธิบายเพิ่มเติมด้วย โดยรายการตรวจจะมีทั้ง 4 หน้าดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. ผลการตรวจค่าเคมีในเลือดและการอักเสบต่างๆ (Biochemistry)
  2. ผลการตรวจฮอร์โมน (Hormones)
  3. ผลการตรวจฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชาย (Hormones)
  4. ผลการตรวจวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายในน้ำ (Nutritions)

ผลการตรวจค่าเคมีในเลือดและการอักเสบต่างๆ (Biochemistry)

ในส่วนของหน้าที่ 1 มาเริ่มกันที่ “การตอบสนองของอินซูลิน (Insulin Level)” ซึ่งผลตรวจของเทนอยู่ในเกณฑ์สีเขียว ถือว่าอยู่ในระดับปกติ คุณหมออธิบายเพิ่มว่า หากร่างกายใช้อินซูลินมากเกินไป ก็อาจเป็นสัญญาณของโรคเบาหวานได้ แต่ถ้ามีการใช้อินซูลินน้อยเกินไป สมรรถภาพร่างกายของเราก็จะแข็งแรงไม่เต็มที่ ออกกำลังกายได้น้อยลง

ผลการตรวจเลือด เช็กระดับฮอร์โมน วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่มีปริมาณการตอบสนองของอินซูลินน้อยควรจะไปกินแป้งหรือน้ำตาลเพิ่มอีกนะคะ สามารถรับประทานอาหารในเกณฑ์ปกติได้เลย ไม่ควรมากเกินไป แต่ก็ไม่ควรน้อยจนร่างกายขาดอินซูลินค่ะ

ในลำดับถัดมาจะเป็นส่วนของ “ผลตรวจการอักเสบของร่างกาย (Inflammation)” ค่ะ โดยมีทั้งหมด 3 รายการได้แก่

1. C-Reactive Protein (High Sens) เป็นสารโปรตีนที่ใช้ประเมินความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดทั่วร่างกายเลยค่ะ หากผลตรวจโปรตีนตัวนี้สูงจนอยู่ในขีดสีแดง คุณหมอก็อธิบายว่า มันก็ไม่ต่างจากท่อน้ำที่มีตะไคร้มาเกาะจนน้ำระบายไม่สะดวก เปรียบเสมือนหลอดเลือดที่มีสารไขมันหรือสารโปรตีนมาอุดไว้จนเลือดไหลเวียนไม่สะดวก

โดยผลตรวจ C-Reactive Protein (High Sens) ของเทนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีค่ะ เป็นสีเขียว คุณหมอแจ้งว่า มันบ่งบอกถึงหลอดเลือดในร่างกายเทนใส ลื่น เลือดสามารถไหลเวียนได้สบายมากๆ และมีโอกาสเกาะติดของสิ่งต่างๆ เช่น ไขมัน สารโปรตีนอื่นๆ ได้น้อยมากค่ะ

2. Homocysteine (โฮโมซีสเทอีน) เทนเคยได้ยินชื่อนี้ แต่ก็ยังนึกภาพไม่ออกว่ามันอยู่ส่วนไหนของร่างกายเหมือนกัน คุณหมอจึงอธิบายว่า มันเป็นสารโปรตีนซึ่งจัดเป็นของเสียที่ลอยอยู่ในเลือดของเรา เปรียบเสมือนขยะรีไซเคิลจากกระบวนการขับสารพิษของร่างกาย

หากมีกระบวนการขับสารพิษในร่างกายไม่ดี เจ้าโฮโมซิสเทอีนตัวนี้จะสะสมในเลือดมากเกินไปจนอาจทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือโรคหลอดเลือดสมองได้ค่ะ แต่สำหรับผลตรวจโฮโมซิสเทอีนของเทน จัดอยู่ในระดับสีเขียว คือ ปกติดีนั่นเองค่า โล่งอกไปที 555+

3. ซีรัม เฟอร์ริทิน (Serum Ferritin) เป็นโปรตีนที่คอยดักจับธาตุเหล็กอยู่ในเซลล์ของร่างกาย ซึ่งหากผลการตรวจซีรัม เฟอร์ริทินสูง ก็แสดงว่ามันไปตอบสนองต่อการอักเสบบางอย่างของร่างกายว่ามีการทำลายเซลล์เกิดขึ้น

คุณหมอได้ให้ข้อมูลเพิ่มด้วยว่า ซีรัม เฟอร์ริทิน ยังเป็นสารโปรตีนสำหรับวินิจฉัยโรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในช่องท้องสูงเกินไป หรือระบบเผาผลาญในร่างกายของเราผิดปกติ พวกภาวะเมตาบอลิก ซินโดรม (Metabolic syndrome) หรืออ้วนลงพุงนั่นเอง แถมยังเชื่อมโยงไปได้ถึงโรคมะเร็งด้วย

หรือหากผลตรวจซีรัม เฟอร์ริทินน้อยเกินไป ก็แสดงว่า ร่างกายเรามีธาตุเหล็กน้อยค่ะ ซึ่งในส่วนนี้ก็ต้องกลับไปพิจารณากิจวัตรการรับประทานอาหารใหม่อีกครั้งว่าเราจะปรับการกินยังไง ให้ร่างกายมีธาตุเหล็กเพียงพอ ซึ่งผลตรวจซีรัม เฟอร์ริทินก็เทนอยู่ในเกณฑ์ปกติดีค่า

ผลการตรวจเลือด เช็กระดับฮอร์โมน วิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญ

ในส่วนสุดท้ายของผลตรวจหน้าแรก ก็คือ ผลตรวจวิตามิน D3 (Total Vitamin D3) ของเทนอยู่ในเกณฑ์ปกติเช่นกันค่ะ โดยวิตามินดีจะมีส่วนช่วยเรื่องความแข็งแรงของกระดูกและกัน รวมถึงการดูดซึมของแคลเซียมด้วยค่ะ คุณหมอธิบายเพิ่มด้วยว่า วิตามินดี 3 จัดเป็นฮอร์โมนอีกชนิดเลยก็ว่าได้ เพราะหากเราขาดวิตามินตัวนี้ไป มันก็จะส่งผลต่อภูมิต้านทาน ระบบเผาผลาญ สารสื่อประสาทและความเครียด รวมถึงกระบวนการต่อต้านมะเร็งด้วยค่ะ

เทนจึงถามคุณหมอเพิ่มว่า แล้วควรจะทานวิตามิน D3 เพิ่มดีมั้ย คุณหมอจึงตอบว่า สามารถรับเป็นวิตามินเสริมได้ แต่ไม่ต้องกินเป็นอาหารหรือวิตามินหลักมากขนาดนั้น หรือหากรับวิตามินมากเกินไป ก็เป็นปัจจัยทำให้เกิดโรคได้เหมือนกันค่ะ

ผลการตรวจฮอร์โมน (Hormones)

ในส่วนของผลตรวจฮอร์โมนก็เข้มข้นไม่แพ้กันค่ะ โดยผลตรวจจะแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

1. กลุ่มฮอร์โมนไทรอยด์ (Thyroid Function) มีทั้งหมด 3 ตัว

  • ฮอร์โมนไทรอยด์ที่ควบคุมต่อมใต้สมอง (Thysoid Stimulating Hormones)
  • ไตรไอโอโดไธโรนีน หรือ ที3 (Triiodothyronine, T3) เป็นฮอร์โมนไทรอยด์ที่ออกฤทธิ์กับเซลล์ในร่างกาย
  • ไทรอกซีน หรือที 4 (Thyroxine: Free T4) เป็นฮอร์โมนไทรอยด์ที่ผลิตจากต่อมไทรอยด์เอง
ผลการตรวจฮอร์โมน (Hormones)

เทนดีใจมากเลยค่ะที่ค่าฮอร์โมนไทรอยด์ทั้ง 3 ตัวออกมาปกติหมดเลย เพราะก่อนหน้านี้เทนมีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์มาก่อน คือ เป็นไทรอยด์ชนิดอ้วน คุณหมอก็ชมค่ะว่า เทนน่าจะดูแลตัวเองถูกทางจนฮอร์โมนมันค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นแล้วล่ะ

ผลการตรวจฮอร์โมน (Hormones)

2. ฮอร์โมนต่อมหมวกไต (Adrenal Hormone) มาถึงตัวที่มีปัญหากันแล้วค่ะ โดยค่าฮอร์โมนต่อมหมวกไตในผลตรวจจะมีอยู่ 2 ส่วน คือ ค่าฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEAs) และค่าเซรั่มคอร์ติซอล (Serum Cortisol)

ค่าฮอร์โมนต่อมหมวกไตของเทนอยู่ในเกณฑ์สีเหลือง คือ ปานกลางค่อนไปทางต่ำ คุณหมออธิบายว่า แสดงว่าแร่ธาตุกับระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายเทนยังอยู่เกณฑ์ไม่ค่อยดีนัก โดยเจ้าฮอร์โมนต่อมหมวกไตจะช่วยในเรื่องของสภาพจิตใจเป็นหลัก ทั้งอาการซึมเศร้า ภาวะเครียดต่างๆ

ผลการตรวจฮอร์โมน (Hormones)

เทนเลยรีบถามคุณหมอเลยว่า แล้วควรปรับการดูแลตนเองอย่างไร คุณหมอจึงแนะนำให้ลองกินโสมเพื่อเสริมเซรั่มคอร์ติซอลหน่อยก็ได้ รวมถึงให้ควบคุมความเครียด รู้จักนอนให้ตรงเวลาด้วย

สำหรับระยะเวลาที่ฮอร์โมนต่อมหมวกไตจะดีขึ้นนั้นก็อาจจะเป็นหลักปีเลยค่ะ เนื่องจากฮอร์โมนดีเอชอีเอเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายต้องนำไปใช้เยอะที่สุดเลยก็ว่าได้ จึงต้องใช้เวลาฟื้นฟูกันหน่อย

3. ฮอร์โมนชะลอความแก่ (Growth Hormones) ผลตรวจของโกรทฮอร์โมนในร่างกายเทนก็จัดอยู่ในเกณฑ์ปกติค่ะ เทนแอบดีใจด้วยเพราะค่าโกรทฮอร์โมนของเทนจากการตรวจสุขภาพคราวที่แล้วไม่ได้สูงเหมือนครั้งนี้ คุณหมอบอกว่า ค่า 181.0 ng/mL ที่ออกมาถือว่า โอเคมากๆ เลยค่ะสำหรับคนที่อยู่ในช่วงอายุเท่าเทน

ผลการตรวจฮอร์โมน (Hormones)

4. พาราไทรอยด์ (Parathyroid) เป็นอีกผลตรวจที่สุดโต่งไปอีกแบบค่ะ โดยค่าพาราไทรอยด์ของเทนจัดอยู่ในเกณฑ์มากเกินไปแบบเลยขอบสีแดงไปแล้วค่ะ 555+ ถามว่า พาราไทรอยด์ทำหน้าที่อะไร? เจ้าพาราไทรอยด์เป็นต่อมไทรอยด์อีกชนิดที่อยู่หลังต่อมไทรอยด์อีกทีค่ะ มันจะทำหน้าที่คุมแร่ธาตุในร่างกายโดยเฉพาะในเลือดให้ทำงานอย่างสมดุล

ผลการตรวจฮอร์โมน (Hormones)

ถ้าแร่ธาตุในเลือดเราเราน้อยเกินไป พาราไทรอยด์ก็จะทำงานหนักมากขึ้นเพื่อดึงเอาแร่ธาตุจากส่วนอื่นๆ ของร่างกายอย่างเช่นกระดูกมาเติมในเลือดแทน และมีโอกาสที่ใวลกระดูกในร่างกายของเทนจะลดลงเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

เรื่องใหญ่เลยทีนี้ คุณหมอจึงแนะนำให้เทนกินอาหารที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อให้สมดุลของแร่ธาตุมันเพียงพอกว่านี้ค่ะ จบจาก Telemedicine คราวนี้ต้องไปจัดตารางการกินใหม่ซะแล้วสิ

ผลการตรวจฮอร์โมนเพศ (Hormones)

ผลตรวจฮอร์โมนเพศจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนะคะ คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) หรือฮอร์โมนเพศชาย และฮอร์โมนเพศหญิง (Fertility Hormone)

สำหรับผลตรวจทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและเพศชายของเทนปกติดีทุกตัวเลยค่ะ ยกเว้นตัว SHBG หรือสารโปรตีนซึ่งทำหน้าที่ขนส่งฮอร์โมนเพศทั้งชายและหญิง (Binding Protein) ซึ่งผลตรวจออกมาเกินกว่าเกณฑ์ไปมากพอสมควรเลยค่ะ

ผลตรวจทั้งฮอร์โมนเพศ

คุณหมออธิบายว่า การที่สารโปรตีนชนิดนี้มันมากเกินไปก็อาจทำให้ฮอร์โมนในร่างกายเราออกฤทธิ์น้อยลงได้ จนเสี่ยงเกิดภาวะขาดฮอร์โมน เนื่องจากเมื่อเจ้า SHBG เมื่อไปจับกับสารฮอร์โมนแล้ว ฮอร์โมนเพศตัวนั้นจะไม่ออกฤทธิ์ทำงานค่ะ

อย่างไรก็ตาม มันก็มีปัจจัยที่ทำให้ค่าสารโปรตีน SHBG เปลี่ยนแปลงไม่ปกติได้ค่ะ เพราะในปัจจุบันคนเรามักจะได้รับฮอร์โมนสังเคราะห์จากสิ่งรอบตัวเข้ามาในร่างกายโดยที่ไม่รู้ตัว จนไปรบกวนฮอร์โมนภายในร่างกาย เช่น โมเลกุลจากสารพลาสติก พันธุกรรมจากคนในครอบครัว การรับประทานยาคุมกำเนิด

เทนจึงถามว่า แล้วเรามีวิธีปรับลดเจ้าสารโปรตีนชนิดนี้ได้ยังไงบ้าง คุณหมอก็แนะนำว่า ควรรับประทานอาหารเสริมแร่ธาตุในร่างกาย หรือจะลองทำดีท็อกซ์เพื่อลดสารพิษและลดสารฮอร์โมนสังเคราะห์ในร่างกายบ้างก็ได้

บอกเลยงานนี้เทนจัดเต็มเรื่องอาหารอุดมแร่ธาตุแน่นอนค่ะ ได้เวลาปฏิวัติร่างกายใหม่อีกครั้งแล้ว 5555

ผลการตรวจวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ (Nutrition)

เดินทางมาถึงหน้าสุดท้ายกันแล้วค่ะ โดยเป็นหน้าผลตรวจในส่วนของสารอาหารสำคัญในร่างกาย ซึ่งผลออกมาพบว่า ผลตรวจออกมาดีทุกตัวเลยค่า!!

ผลการตรวจวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ (Nutrition)

โดย 10 รายชื่อแรกบนหน้าผลตรวจจะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสำคัญซึ่งประกอบไปด้วย วิตามินพื้นฐาน 4 ตัว, โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในเซลล์ มีความสำคัญต่อระบบไหลเวียนเลือดและผิวพรรณ และ 5 สารแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) หรือสารพฤษเคมีซึ่งมาจากผักผลไม้หลากสีต่างๆ ที่เรารับประทานเข้าไปนั่นเอง

ถึงผลตรวจจะออกมาดีหมดทุกตัว แต่เทนก็สังเกตเห็นว่า บางตัวอยู่ในแถบสีเหลืองไม่ใช่สีเขียว คุณหมอก็ปลอบว่า ไม่ต้องไปซีเรียสขนาดนั้นค่ะ ผลตรวจสารอาหารเหล่านี้มันมีเหลื่อมกันได้บ้างอยู่แล้วเพราะวิตามิในร่างกายของเราจะถูกดึงไปใช้ในการทำงานของระบบต่างๆ และเนื้อเยื่อสำคัญตลอดเวลา จึงอาจมีบางตัวที่เหมือนจะขาดแต่ความจริงไม่ใช่เสมอไป

ส่วน 3 รายชื่อด้านล่างในส่วนของวิตามินอื่นๆ (Other Vitamins) จะเป็นธาตุเหล็ก (Serum Iron) กับ สารโฟเลต (Folate) ของเทนอยู่เกณฑ์ปกติค่อนทางต่ำหน่อยๆ คุณหมอเลยแนะนำให้ลองกินอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็กเพิ่มหน่อย เช่น พวกผักใบเขียวเข้มๆ เพราะผักกลุ่มนี้จะมีธาตุเหล็กเยอะกว่าผักใบเขียวอ่อนๆ ค่ะ

รายการวิตามินเสริมเฉพาะบุคคล

หลังจากฟังผลตรวจเสร็จหมดทั้ง 4 หน้าแล้ว คุณหมอก็ได้เปิดรายการวิตามินที่จัดมาให้เฉพาะตัวเทนคนเดียวเลย ซึ่งโดยหลักๆ จะเป็นวิตามินในส่วนที่ผลตรวจออกมาอยู่ในเกณฑ์สีเหลืองหรือสีแดง ทั้งจากผลตรวจเลือดและผลตรวจด้วยเครื่อง Oligo Scan เลยค่ะ

นอกจากนี้คุณหมอยังจัดสารดีท็อกซ์ฮอร์โมนอย่าง Houttuynia Cordata กับ SUPERCCOLI ซึ่งเป็นสารดีท็อกซ์ที่สกัดจากบล็อคโคลีให้เทนกินเสริมด้วยค่ะ ดีไปอีกก และยังมี Energy Adapt ซึ่งเป็นสมุนไพรกระตุ้นต่อมหมวกไตกับน้ำมันตับปลา (Arctic Cod Liver Oil) จัดมาให้อีกด้วยค่ะ เรียกได้ว่า ได้ชุดวิตามินที่แก้ปัญหาสุขภาพได้ตรงจุด และยังถูกกว่าไปซื้อกินเองจากร้านข้างนอกด้วย

คุณหมอยังแนะนำเทนปิดท้ายว่า อย่าไปอดอาหารหรือเคร่งกับการคุมอาหารมากมายด้วยนะคะ แต่เราควรหาสมดุลของการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารหลากหลายมากพอให้เจอ จากนั้นก็ค่อยๆ ปรับตารางการกินของเราไปเรื่อยๆ ผลลัพธ์อาจเห็นได้ไม่ชัดในทันที แต่มันจะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ แต่ถูกจุดเองค่ะ

วิตามินเสริมเฉพาะบุคคล จาก W9 Wellness Center

หลังจากฟังผลตรวจกับคุณหมอไปอย่างครบถ้วนไม่เกิน 1 เดือน ทาง W9 Wellness Center ก็ได้ส่งกล่องวิตามินเสริมเฉพาะบุคคลของเทนมาให้ที่บ้านค่ะ เรียกได้ว่า แพ็กเกจยิ่งใหญ่อลังการมาก ตามที่เห็นในรูปด้านล่างนี้เลยค่ะ

วิตามินเสริมเฉพาะบุคคล จาก W9 Wellness Center

ตัวแพ็กเกจทั้งหมดที่ทาง W9 Wellness Center ส่งมาให้เทนจะประกอบไปด้วยตัวเล่มผลตรวจระดับฮอร์โมน วิตามิน รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระของตัวเทนเองพร้อมกล่องใส่ และเอกสารแสดงรายการวิตามินที่ทางคุณหมอได้ปรุงเป็นเม็ดให้เทนกินแบบเฉพาะบุคคลค่ะ และสุดท้ายคือกล่องใส่วิตามินเฉพาบุคคลที่ทาง W9 Wellness Center จัดมาให้แทนโดยแบ่งเป็นกล่องเช้ากับกล่องเย็นค่ะ

วิตามินเสริมเฉพาะบุคคล จาก W9 Wellness Center

สำหรับกล่องวิตามินสำหรับกินช่วงเช้าจะเป็นกล่องสีเขียวเข้มนะคะ และมีคำว่า Morning พร้อมสัญลักษณ์พระอาทิตย์เล็กๆ แปะไว้ที่หน้ากล่องด้วย ที่ก้นกล่องจะมีรอยหยักสำหรับไว้แกะให้ตัวกล่องเปิดได้ และเพื่อให้เทนหยิบซองวิตามินที่เรียงเป็นแถวอยู่ข้างในได้สะดวกค่ะ

วิตามินเสริมเฉพาะบุคคล จาก W9 Wellness Center

ส่วนตัวกล่องวิตามินสำหรับกินตอนเย็นก็เหมือนกันค่า แต่สีกล่องจะเป็นสีทอง มีคำว่า Evening กับสัญลักษณ์พระจันทร์เล็กๆ แปะไว้บนกล่องเช่นกัน

ก่อนที่เทนจะแกะกล่องวิตามินออกมา เทนนึกว่าทางคุณหมอจะแบ่งวิตามินตามจำนวนชนิดที่เราต้องกินค่ะ แต่กลายเป็นว่ามันสะดวกกว่านั้นอีก คือทางคุณหมอได้แพ็กวิตามินเป็นชุดๆ ให้เราแกะกินเป็นซองต่อครั้งได้เลย ไม่ต้องไปคอยนั่งจำแนกวิตามินเป็นชนิดๆ อย่างที่เทนเข้าใจในตอนแรกค่ะ

วิตามินเสริมเฉพาะบุคคล จาก W9 Wellness Center

เทนว่ามันสะดวกมากๆ นะ เทนเองก็เดินทางค่อนข้างบ่อยด้วย แบบนี้ก็ไม่ต้องพกวิตามินเป็นขวดๆ หรือเป็นกล่องใหญ่เลย แค่หยิบซองเล็กๆ จากกล่องเช้ากับกล่องเย็นไปตามจำนวนวันเวลาที่เราต้องเดินทางก็เพียงพอแล้วค่ะ

สำหรับการดูแลตนเองในตอนนี้ เทนก็ได้เริ่มปรับไลฟ์สไตล์ตามที่คุณหมอแนะนำบ้างแล้วนะคะ เช่น เริ่มเลือกผักใบเขียวในการกินแต่ละมื้อมากขึ้นค่ะ เพราะก่อนหน้านี้เทนมองว่าแค่เรากินผักก็น่าจะพอแล้ว แต่หลังจากฟังผลตรวจกับคุณหมอก็ได้เริ่มพิถีพิถันในการเลือกส่วนประกอบของอาหารแต่ละมื้อมากขึ้น

และอีกส่วนก็คือ เทนได้ลองรับวิตามินเสริมเป็นซิงก์เพิ่มเติมตามผลตรวจที่คุณหมอแจ้งเทน ว่าเทนมีภาวะขาดแร่ธาตุซิงก์จนขึ้นขีดสีแดงเลยค่ะ ซึ่งผลลัพธ์คือ หลับเป็นตายเลยค่ะทุกคน 5555 จากที่ตอนแรกเทนหลับไม่ค่อยสนิทมากนัก ตื่นเช้ามาก็ไม่ค่อยสดชื่น สงสัยร่างกายเทนคงจะโหยหาซิงก์มานานแล้วจริงๆ

ใครที่อยากตรวจสุขภาพอย่างละเอียดอย่างเทน และอยากจะได้วิตามินเสริมเฉพาะบุคคลแบบที่เทนได้มาลองรับประทานกันดูบ้าง ก็สามารถไปตรวจสุขภาพ Signature Vital ของ W9 Wellness Center ที่โรงพยาบาลพระรามเก้าได้เลยนะคะ เทนการันตีคุณภาพและบริการที่น่าประทับใจมากๆ เลยค่า


ข้อมูล W9 Wellness Center

  • วันเวลาทำการ: วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 08.00-17.00 น.
  • วิธีการเดินทาง: MRT สถานีพระราม 9 (ทางออก 3) ต่อวินมอเตอร์ไซค์ 700 เมตร มาที่โรงพยาบาลพระรามเก้า
  • สถานที่ตั้ง: ชั้น 3 โรงพยาบาลพระรามเก้า ดูแผนที่
  • รายละเอียดโปรแกรมตรวจทั้งหมดจาก W9 Wellness Center บน HDmall.co.th
Scroll to Top