‘โรคไทรอยด์ ป่วยเป็นไทรอยด์ ไทรอยด์เป็นพิษ ไทรอยด์อ้วน ไทรอยด์ผอม’ หลายคนคงเคยได้ยินเกี่ยวกับโรคไทรอยด์กันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่แน่ใจว่าจริงๆ แล้วโรคไทรอยด์คืออะไร มีกี่ประเภท แต่ละประเภทอาการเหมือนหรือต่างกัน สาเหตุเกิดจากอะไร ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างไรบ้าง และเราโรคป้องกันไทรอยด์ได้ไหม ฯลฯ ทุกคำถามที่ว่ามานี้ หาคำตอบได้ในบทความนี้เลย
สารบัญ
ไทรอยด์ คืออะไร?
ก่อนจะรู้จักกับ โรคไทรอยด์ เรามาทำความรู้จักกับ ต่อมไทรอยด์กันก่อน
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Gland) คือต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่บริเวณกลางลำคอส่วนหน้า ใต้ลูกกระเดือก มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ มีความสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกายอย่างมาก
ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญ ทำหน้าที่ช่วยควบคุมระบบการเผาผลาญหรือระบบเมตาบอลิซึมของร่างกาย ควบคุมอุณหภูมิ กระตุ้นการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมไปถึงควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย
ทั้งนี้โรคไทรอยด์ที่เรารู้จักกันนั้น ก็เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์นั่นเอง เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ทำงานน้อยเกินไป หรือมีเนื้องอกเกิดขึ้นที่ต่อมไทรอยด์ โดยความผิดปกติที่แตกต่างกัน ก็ส่งผลให้ร่างกายแสดงอาการแตกต่างกันด้วย
สาเหตุของโรคไทรอยด์ คืออะไร?
สาเหตุที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เกิดได้จากหลายปัจจัย โดยปัจจัยหลักมักมาจากพันธุกรรม คือ คนในครอบครัวเคยมีประวัติป่วยด้วยอาการไทรอยด์ผิดปกติ
หรืออีกสาเหตุที่เป็นไปได้คือ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ที่ไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติไป
นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด ฯลฯ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จนเกิดโรคไทรอยด์ได้เช่นกัน
อาการของโรคไทรอยด์ เป็นอย่างไร?
อาการของโรคไทรอยด์ จะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณ์ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โดยโรคที่เกิดจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์จะมี 3 ประการหลักๆ ดังนี้
1. โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid)
คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป จนทำให้ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ในเลือดสูง ส่งผลให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ อาการที่ส่งผลต่อร่างกาย เช่น
- น้ำหนักลดลงผิดปกติ
- กระสับกระส่าย ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
- เหนื่อยง่าย มือสั่น
- ผมร่วง
- หัวใจเต้นเร็ว
- ท้องเสีย
- ตาโปน
- ต่อมไทรอยด์โต
- ประจำเดือนผิดปกติ
2. โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroid)
คือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ อาการจึงมักตรงข้ามกับภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เช่น
- น้ำหนักเพิ่มขึ้นผิดปกติ
- อ่อนเพลีย ขี้หนาว ทำอะไรเชื่องช้า
- ท้องผูก
- เบื่ออาหาร
- หน้าบวม หนังตาบวม
- ผิวแห้ง เป็นตะคริวบ่อย
- ความจำเสื่อม
- หัวใจเต้นช้า
- ประจำเดือนผิดปกติ
3. ก้อนที่ต่อมไทรอยด์ (Thyroid Nodule)
เป็นภาวะต่อมไทรอยด์โตขึ้นผิดปกติ เมื่อคลำที่ลำคอจะพบก้อนที่ต่อมไทรอยด์ โดยจะสังเกตเห็นได้ค่อนข้างง่าย เนื่องจากเมื่อกลืนน้ำลาย ก้อนที่ต่อมไทรอยด์จะขยับขึ้นลง โดยก้อนที่ต่อมไทรอยด์นี้ มีทั้งก้อนเดี่ยวและหลายก้อน ทั้งยังแบ่งได้เป็น 2 ประเภทย่อยๆ ได้แก่ ก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง และก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็ง
- ก้อนเนื้อที่ไม่ใช่มะเร็ง ก้อนเนื้อประเภทนี้ แบ่งได้อีกหลายชนิด ได้แก่
- ก้อนซีสต์หรือถุงน้ำ ภายในก้อนจะมีของเหลวอยู่
- เนื้องอกชนิดธรรมดา เกิดขึ้นในต่อมไทรอยด์ ส่วนใหญ่มีขนาดไม่ใหญ่มา
- ก้อนที่เกิดขึ้นจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์หรือการติดเชื้อ เช่น ก้อนฝีหรือหนอง
- ก้อนเนื้อที่เป็นมะเร็ง หรือเรียกว่ามะเร็งไทรอยด์ ก้อนเนื้อประเภทนี้พบได้ประมาณร้อยละ 4 – 6.6 ของผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ทั้งหมด ในระยะเริ่มต้นส่วนใหญ่ก้อนจะมีขนาดเล็ก จากนั้นจะเริ่มโตขึ้นเรื่อยๆ และแพร่กระจายเป็นหลายก้อน จนกดเบียดอวัยวะข้างเคียง หากปล่อยทิ้งไว้เซลล์มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียงได้ เช่น ต่อมน้ำเหลือง กระดูก เป็นต้น
7 สัญญาณเสี่ยง เช็กตัวเองง่ายๆ เรากำลังป่วยเป็น โรคไทรอยด์รึเปล่า คลิกอ่านต่อ
อาการที่เป็นอยู่ใช่โรคไทรอยด์ไหม? อยากตรวจไทรอยด์เพิ่มเติมให้มั่นใจ ปรึกษาทีม HDcare หาแพ็กเกจราคาดี จาก รพ. ชั้นนำใกล้คุณได้ ที่นี่
วิธีรักษาโรคไทรอยด์ มีวิธีไหนบ้าง
วิธีการรักษาโรคไทรอยด์นั้น จะแตกต่างกันตามชนิดของโรคไทรอยด์ อาการ รวมทั้งความรุนแรงของโรคด้วย โดยการรักษาจะมี 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้
- การรับประทานยา หรือ ฮอร์โมน วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ที่แพทย์ประเมินอาการแล้วพบว่าโรคอยู่ในระยะที่สามารถควบคุมด้วยยา หรือฮอร์โมนได้ โดยจะแบ่งเป็น 2 กรณี ตามชนิดของโรค ได้แก่
- การรับประทานยาเพื่อลดฮอร์โมนไทรอยด์ สำหรับผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ หรือต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
- การรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์ สำหรับผู้ป่วยโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป เพื่อปรับระดับฮอร์โมนให้อยู่ในภาวะปกติ
- การกลืนแร่ วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ โดยแร่ที่รับประทานจะเป็น สารกัมมันตรังสีไอโอดีน-131 (I 131) ซึ่งอาจเป็นรูปแบบน้ำหรือแคปซูล แร่ชนิดนี้จะไปจับเข้าไปยับยั้งการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ฝ่อลง
นอกจากนี้ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ หลังจากที่ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกแล้ว แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาต่อด้วยการกลืนแร่ เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งออกให้หมด นับเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม เพราะเป็นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงต่ำ
- การผ่าตัด วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ ที่แพทย์ประเมินแล้วว่าไม่สามารถควบคุมอาการของโรคได้ด้วยวิธีอื่นๆ ผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ รวมทั้งผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ โดยการผ่าตัดต่อมไทรอยด์นี้ นับว่าเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง ค่อนข้างปลอดภัย และผลข้างเคียงต่ำ ทั้งนี้การผ่าตัดต่อมไทรอยด์จะมี 2 รูปแบบหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่
-
- การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดบริเวณลำคอ (Open Thyroid Surgery) เป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐานที่ใช้มาอย่างยาวนาน แพทย์จะกรีดเปิดแผลบริเวณลำคอของผู้ป่วย แล้วนำเครื่องมือเข้าไปรักษา หรือตัดก้อนที่ต่อมไทรอยด์ออกมา เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ก้อนไทรอยด์มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถผ่าตัดได้ด้วยวิธีอื่น
- การผ่าตัดไทรอยด์ผ่านกล้องทางปาก (Transoral Endoscopic Thyroid Surgery) เป็นเทคนิคการผ่าตัดเปิดแผลบริเวณด้านในริมฝีปากล่างและเหงือก 3 จุดเล็กๆ ขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร จากนั้นใช้กล้องส่องผ่าตัดทำการผ่าตัดไทรอยด์ออกผ่านทางปาก แล้วเย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย
เปรียบเทียบชัดๆ ข้อดี-ข้อเสีย การผ่าตัดไทรอยด์แบบเปิดบริเวณลำคอ และ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ผ่านกล้องทางปาก วิธีไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด คลิกอ่านต่อ
ป่วยเป็นไทรอยด์ ต้องผ่าตัด ไม่รู้จะเลือกวิธีไหนดี เหมาะกับเรามากที่สุด? ทักมาหาทีม HDcare ช่วยทำนัดปรึกษากับคุณหมอเฉพาะทาง ประสบการณ์ 10 ปี ผ่าตัดต่อมไทรอยด์มาแล้วเกือบ 2,000 เคส! สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องรอคิวนาน คลิกที่นี่เลย
การป้องกันโรคไทรอยด์ ทำได้หรือไม่ อย่างไร?
เนื่องจากสาเหตุหลักของโรคไทรอยด์ มักเกิดจากพันธุกรรมหรือการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย จึงยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดว่าการป้องกันโรคไทรอยด์ทำได้อย่างไร แต่เราสามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้ ดังนี้
- รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก เพราะหากร่างกายขาดธาตุเหล็ก อาจส่งผลให้เกิดภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ได้ โดยแนะนำให้รับประทาน เนื้อสัตว์ อาหารทะเล ผักใบเขียว ไข่แดง เต้าหู้ ธัญพืช เป็นต้น
- รับประทานอาหารที่มีสารไอโอดีน เพื่อป้องกันภาวะขาดไอโอดีน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคคอหอยพอก โดยผู้ป่วยโรคนี้จะมีระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำร่วมด้วย แนะนำให้รับประทานอาหารทะเล หรือเกลือทะเลเสริมไอโอดีน เป็นต้น
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ที่กระตุ้นให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ โดยแนะนำให้งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ พักผ่อนให้เพียงพอ เป็นต้น
โรคไทรอยด์ เป็นอีกหนึ่งโรคที่สร้างความกังวลใจให้หลายๆ คน เพราะกลัวว่าจะรักษาไม่ได้ รักษาแล้วไม่หายขาด หรือต้องกินยาไปตลอดชีวิต แต่จริงๆ แล้วปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์มากมาย ที่ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพ ผลข้างเคียงต่ำ ที่สำคัญรักษาให้หายขาดได้
แต่ใครที่ยังไม่แน่ใจว่า ป่วยเป็นโรคไทรอยด์รึเปล่า ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจคัดกรองโรคไทรอยด์ จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย