cancer uterine cervical disease definition scaled

มะเร็งปากมดลูก VS มะเร็งมดลูก ต่างกันอย่างไร ใครเสี่ยงเป็นบ้าง

หากพูดถึง โรคมะเร็งมดลูก หลายคนอาจเข้าใจว่า เป็นโรคเดียวกันกับ โรคมะเร็งปากมดลูก แต่ความจริงแล้ว โรคมะเร็งทั้งสองชนิดนี้แตกต่างกัน ทั้งในแง่สาเหตุการเกิด ตำแหน่งที่เป็น รวมทั้งมีอาการที่แตกต่างกันด้วย 

หากอิงตามสถิติปี 2565 ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นโรคมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 2 รองจากโรคมะเร็งเต้านม ในขณะที่โรคมะเร็งมดลูกนั้นอยู่ในอันดับที่ 5 จะเห็นว่าทั้งสองโรค มีสถิติผู้ป่วยสูงด้วยกันทั้งคู่ ดังนั้นจึงเป็นโรคที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม 

โรคมะเร็งทั้ง 2 ชนิดนี้ต่างกันอย่างไร เราได้สรุปข้อมูลความต่างของโรคมะเร็งมดลูกและโรคมะเร็งปากมดลูกให้คุณหายข้องใจแล้วในบทความนี้

มะเร็งปากมดลูก VS มะเร็งมดลูก คืออะไร เกิดที่ตำแหน่งไหน

โรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) คือการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติที่เกิดภายใน เยื่อบุปากมดลูก โดยปากมดลูกเป็นส่วนหนึ่งของตัวมดลูก จะอยู่บริเวณด้านล่างของมดลูก ซึ่งยื่นเข้าไปในช่องคลอด โดยทั่วไปปากมดลูกจะมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร

ขณะที่ โรคมะเร็งมดลูก (Uterine Cancer) หรือเรียกอีกอย่างว่า มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก คือการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติที่เกิดภายใน เยื่อบุหรือกล้ามเนื้อมดลูก โดยมดลูกจะมีลักษณะคล้ายชมพู่คว่ำ เชื่อมต่อกับด้านบนของช่องคลอด ส่วนเยื่อบุโพรงมดลูก คือผิวด้านในของมดลูก ซึ่งในทุกๆ เดือนเยื่อบุนี้จะหนาตัวขึ้นเพื่อรับการฝังตัวของตัวอ่อน หากไม่มีการตั้งครรภ์ก็จะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน

มะเร็งปากมดลูก VS มะเร็งมดลูก ต่างกันอย่างไร

คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

ช่วงอายุที่มักเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งมดลูก

โรคมะเร็งทั้งสองชนิดนี้ พบได้ในผู้หญิงทุกวัย แต่โดยมากโรคมะเร็งปากมดลูกมักพบได้บ่อยในผู้หญิงช่วงอายุ 30-40 ปี ซึ่งอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ในขณะที่โรคมะเร็งมดลูกมักพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนแล้ว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป

สาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุหลักมาจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นเชื้อที่มักติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์

ส่วนโรคมะเร็งมดลูกนั้น แม่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดจากปัจจัยด้านปัญหาสุขภาพ เช่น

  • การเข้าสู่วัยทอง
  • โรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง
  • ฮอร์โมนที่ไม่สมดุล
  • กรรมพันธุ์
  • ความผิดปกติที่ระบบสืบพันธุ์ เช่น ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัว 

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งมดลูก

โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งมดลูก มีทั้งอาการบ่งชี้บางส่วนที่คล้ายกัน และบางส่วนที่แตกต่างกัน ดังนี้

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก

อาการของโรคมะเร็งปากมดลูกนั้น แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค หากเป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะแรก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการแสดงที่ผิดปกติใดๆ แต่เมื่ออาการเริ่มลุกลาม อาจแสดงอาการดังนี้

  • ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มามากผิดปกติ มานานผิดปกติ
  • ถึงแม้ประจำเดือนหมดแล้ว ก็ยังมีเลือดไหลออกจากช่องคลอดอย่างผิดสังเกต 
  • มีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวมากขึ้น 
  • ตกขาวมีกลิ่นเหม็น มีเลือดปน
  • ปวดท้องน้อยหรือปวดหัวหน่าวอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • เจ็บช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์

อาการของโรคมะเร็งมดลูก

อาการหลักของโรคมะเร็งมดลูก คือ ความผิดปกติของประจำเดือน โดยผู้ป่วยมักจะมีประจำเดือนช้าผิดปกติ เร็วผิดปกติ รวมถึงมาสั้นหรือยาวผิดปกติ นอกจากนี้ยังอาจมีอาการผิดปกติอื่นๆ อีก เช่น

  • พบเลือดที่ไม่ใช่ประจำเดือนไหลออกมาจากช่องคลอด
  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ตกขาวมีสีผิดปกติ
  • น้ำหนักลดผิดปกติ

ประจำเดือนมาผิดปกติ เจ็บระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ปวดท้องน้อย ปวดอุ้งเชิงกราน มีอาการผิดปกติที่ไม่สบายใจ อยากนัดคุยกับคุณหมอ ทักหาทีมงาน HDcare เพื่อนัดคุยกับคุณหมอได้เลย

วิธีการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งมดลูก

วิธีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งมดลูก มีความแตกต่างกัน ดังนี้

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

นิยมใช้เป็นการตรวจเชิงรุก โดยผู้หญิงทุกคนควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการหรือความเสี่ยงก็ตาม โดยรายการตรวจที่นิยมใช้ ได้แก่

  • การตรวจภายใน
  • การส่องกล้องปากมดลูก (Colposcopy)
  • การตรวจทางเซลล์วิทยา หรือการตรวจแปบสเมียร์ (Pap Smear) หรือการตรวจตินเพร็พ (Thin Prep)
  • การตรวจ DNA หาเชื้อ HPV

การตรวจโรคมะเร็งมดลูก

มักจะตรวจเมื่อผู้ป่วยมีอาการแสดงที่ผิดปกติเกิดขึ้นแล้ว เช่น เข้าสู่วัยทองไปแล้ว แต่กลับมีเลือดไหลจากช่องคลอด หรือยังไม่เข้าสู่วัยทอง แต่กลับมีเลือดที่ไม่ใช่ประจำเดือนไหลออกมาและอย่างต่อเนื่อง โดยกระบวนการตรวจในผู้ป่วยแต่ละรายจะขึ้นอยู่กับการประเมินจากแพทย์ เช่น

  • การตรวจเลือด
  • การตรวจอัลตราซาวด์มดลูก
  • การผ่าตัดเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ (Biopsy)
  • การขูดมดลูก
  • การทำ MRI (Magnetic Resonance Imaging) หรือการทำ CT Scan

การรักษาโรคมะเร็งปากมดลูก และ มะเร็งมดลูก

กระบวนการรักษาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งมดลูกนั้นมีความคล้ายคลึงกัน โดยการเลือกวิธีรักษาจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค รวมถึงตำแหน่งของก้อนมะเร็ง การลุกลามของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่น โดยตัวอย่างวิธีรักษาที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่

  • การเฝ้าติดตามอาการ นิยมใช้ในผู้ป่วยระยะก่อนเป็นโรคมะเร็ง
  • การจี้เย็นหรือจี้ไฟฟ้า
  • การทำเคมีบำบัด
  • การฉายแสง
  • การใช้ยาฮอร์โมน
  • การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy)
  • การใช้ยาแบบมุ่งเป้า (Targeted Therapy)
  • การผ่าตัด ซึ่งแบ่งออกได้หลายเทคนิค เช่น

โรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งมดลูก ถือเป็นโรคร้ายอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั้งในไทยและทั่วโลก เพื่อลดความเสี่ยงในการป่วย ผู้หญิงทุกคนจึงควรรับการตรวจสุขภาพทุกปีอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งฉีดวัคซีน HPV ซึ่งสามารถป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกได้สูงถึง 90% เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงห่างไกลจากโรคมะเร็ง

เรามีความเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกหรือโรคมะเร็งมดลูกรึเปล่า ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว ค้นหาแพ็กเกจฉีดวัคซีน HPV หรือตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top