ถ้าคุณพบว่า ตัวเองมีภาวะเหงื่อออกมือมาก ร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่น ซึ่งเป็นอาการของโรคต่างๆ หรืออาการเหงื่อออกมือมากที่เป็นอยู่ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และกำลังมองหาวิธีการรักษา บทความนี้นำวิธีการตรวจภาวะโรคเหงื่อออกมือมากมาฝาก เพื่อให้คุณเข้าใจและเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเข้าตรวจร่างกาย
สารบัญ
วิธีการตรวจวินิจฉัยภาวะเหงื่อออกมือมาก
เมื่อผู้ที่มีอาการเหงื่อออกมือมากมาพบแพทย์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติและสาเหตุของโรค แพทย์จะมีวิธีการตรวจวินิจฉัย ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ซักประวัติ และจำแนกคนไข้
อันดับแรกแพทย์จะซักประวัติความเจ็บป่วย สอบถามอาการ สอบถามประวัติการใช้ยา และตรวจร่างกายเบื้องต้น เพื่อหาสาเหตุว่า อาการเหงื่อออกมือมากผิดปกตินั้น เกิดขึ้นจากสาเหตุใด จากนั้นแพทย์จะจำแนกคนไข้ว่า มีภาวะเหงื่อออกมือมาผิดปกติในระดับใด
ขั้นตอนที่ 2 ตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
ในคนไข้บางราย แพทย์อาจให้ตรวจ Sweat Test โดยใช้แป้ง Lodine เพื่อหาตำแหน่งเหงื่ออกมือ พร้อมกับดูปริมาณและความเข้มข้นของเหงื่อที่หลั่งออกมา และดูปริมาณโซเดียมที่เสียขณะเหงื่อออกร่วมด้วย
ส่วนบางรายที่แพทย์สงสัยว่า ผู้ป่วยมีเหงื่อออกมากระดับทุติยภูมิ (Secondary Hyperhidrosis)
หรือภาวะเหงื่อออกมือมากที่มีสาเหตุมาจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย ทั้งจากโรค และภาวะต่างๆ เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน โรคอ้วน น้ำตาลในเลือดต่ำ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด หรือตรวจเฉพาะทางอื่นๆ เพื่อหาสาเหตุของอาการป่วยนั้น
การตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมเหล่านี้ เพื่อให้ทราบได้อย่างแน่ชัดว่า สาเหตุที่เหงื่อออกมากผิดปกติเกิดจากสาเหตุใด
ขั้นตอนที่ 3 วินิจฉัยและวางแผนการรักษา
เมื่อแพทย์ตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็จะวินิจฉัยว่า ภาวะเหงื่อออกมือมากผิดปกตินั้นเกิดจากสาเหตุใด เพื่อที่จะได้วางแผนการรักษาที่ถูกต้อง
จะเห็นได้ว่า การตรวจวินิจฉัยภาวะเหงื่อออกมือมากไม่ได้มีวิธีการที่ยุ่งยากซับซ้อน หากตรวจพบว่า อาการเหงื่อออกมือมากเกิดจากโรค ก็ต้องรักษาที่ต้นตอของโรคนั้นๆ หากเกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ ก็ต้องรักษาตามวิธีเฉพาะทาง หรือหากไม่เกี่ยวกับโรคใดๆ แต่กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้สูญเสียความมั่นใจ ก็ต้องวางแผนการรักษาต่อไป
ทั้งนี้วิธีรักษาที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ช่วยรักษาภาวะเหงื่อออกมือมากให้หายขาดได้ คือ การผ่าตัดรักษาเหงื่อออกมือ โดยแพทย์จะผ่าตัดส่องกล้องเข้าไปจี้ทำลายปมประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเทติก (Sympathetic Nervour System) ออก ทำให้ไม่มีเหงื่อออกมืออีกต่อไป นอกจากนี้ยังมีข้อดีคือ เจ็บน้อย มีแผลขนาดเล็ก และฟื้นตัวไว
ใครมีอาการเหงื่อออกมือมาก จนเข้าข่ายผิดปกติ ปรึกษาทีม HDcare ได้เลย เราพร้อมเป็นผู้ช่วยส่วนตัวดูแลสุขภาพคุณ สอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับคุณหมอเฉพาะทาง ทำนัดปรึกษาคุณหมอได้รวดเร็ว หรือค้นหาแพ็กเกจรักษาภาวะเหงื่อออกมือมาก จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย