ยา Albuterol - ข้อมูล ข้อบ่งใช้ ผลข้างเคียง

- ปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับยา ทั้งชนิดของยา การใช้ยาอย่างเหมาะสม และข้อควรระวังของยา
- เภสัชกรจะถือว่า ประวัติสุขภาพและข้อมูลส่วนบุคคลที่คุณให้มาเป็นข้อมูลจริง และใช้ข้อมูลนั้นประกอบการให้คำปรึกษาและแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ข้อมูลดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ระหว่างคุณกับเภสัชกรในหน้าแชทส่วนตัวเท่านั้น
- HDmall.co.th จะติดต่อร้านขายยาที่ใกล้ที่สุด ให้คุณปรึกษาและใช้บริการจัดส่งยาจากร้านขายยาที่ได้รับอนุญาตโดยตรง
- HDmall.co.th ไม่ได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยตรง รวมถึงไม่ได้กระทำธุรกรรมใดๆ ทั้งสิ้น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ทั้งหมดในหน้านี้มีไว้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น
- 🤝 สนใจเป็นหนึ่งในร้านขายยาที่ช่วยให้คำปรึกษาผู้ใช้ด้านยาหรือไม่? สมัครและใช้งานฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
รายละเอียด
Albuterol คือ ยาขยายหลอดลมชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อรอบหลอดลม ทำให้หลอดลมขยายตัว เพิ่มปริมาณอากาศเข้าปอด
อัลบูเทอรอล (Albuterol) ใช้รักษาและป้องกันการเกิดภาวะหลอดลมตีบในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นชั่วคราว เช่น โรคหอบหืด (ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบเหนื่อย หายใจเสียงแหลมวี้ด) และป้องกันการหอบหืดจากการออกกำลังกาย . อัลบูเทอรอลใช้ได้ในผู้ใหญ่และเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป ยกเว้นยาอัลบูเทอรอลแบบพ่นสูด ซึ่งสามารถใช้ได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี ขึ้นไป นอกจากนี้ อัลบูเทอรอล ยังมีการใช้รักษาภาวะ/โรคอื่น ๆ ซึ่งอาจไม่ได้กล่าวถึงในบทความนี้
ข้อควรระวังในการใช้ยา
- อัลบูเทอรอล อาจทำให้เกิดการแพ้ยารุนแรงได้ หากมีอาการที่บ่งบอกถึงการแพ้ยา ได้แก่ ผื่น หายใจหอบหรือหายใจลำบาก หน้าบวม ปากบวม ลิ้นบวม ให้หยุดยาและรีบไปพบแพทย์ทันที หรือ โทรขอความช่วยเหลือจากสายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 1669
- ไม่ควรใช้อัลบูเทอรอล หากมีภาวะแพ้โปรตีน/ โปรตีนจากนมวัว
- ไม่ควรใช้หากเคยมีประวัติการแพ้ยาอัลบูเทอรอลมาก่อน
- หากมีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคหัวใจ/หัวใจล้มเหลว, ความดันโลหิตสูง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ, โรคลมชัก, เบาหวาน, ต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ และระดับเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ ต้องแจ้งแพทย์ก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
- ไม่มีข้อมูลความปลอดภัยการใช้ในหญิงมีครรภ์ และหญิงให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
- ยาอัลบูเทอรอล สามารถออกฤทธิ์ได้นานมากกว่า 8 ชั่วโมง ห้ามใช้ยาถี่เกินจำนวนครั้งที่แพทย์กำหนด
- หากใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือต้องใช้ยาบ่อยครั้งมากกว่าปกติใน 1 วัน ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- การรักษาโรคปอด หรือหอบหืด อาจต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน ควรใช้ยาให้ครบตามแพทย์สั่ง ห้ามเปลี่ยนขนาดการใช้ยาด้วยตนเอง
- การใช้ยาอัลบูเทอรอลควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เสมอ
- หากยาเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด
ผลข้างเคียงของยาอัลบูเทอรอล
หากมีผลข้างเคียงรุนแรงดังต่อไปนี้ ให้หยุดยาและมาพบแพทย์
- อาการหอบหืดแย่ลงหลังใช้ยา
- ใจสั่น ใจเต้นเร็วและแรง
- เจ็บหน้าอก
- มือสั่น
- กระวนกระวาย
- ชัก
- ง่วงซึม สับสน กระหายน้ำมากผิดปกติ หิวบ่อยผิดปกติ ปัสสาวะบ่อย ปากแห้ง ลมหายใจมีกลิ่นผลไม้ (เป็นอาการที่อาจบ่งบอกถึงภาวะน้ำตาลในเลือดสูง)
- ท้องผูก กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง ขาเป็นตะคริว ขาเป็นเหน็บชา (เป็นอาการที่อาจบ่งบอกถึงภาวะเกลือโพแทสเซียมในเลือดต่ำ)
- ความดันโลหิตสูง ร่วมกับอาการปวดศีรษะ ตามัว หูอื้อ วิตกกังวล สับสน เจ็บหน้าอก หายใจเหนื่อยหอบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
- มีไข้ เจ็บคอ หน้าและลิ้นบวม แสบร้อนดวงตา แสบผิว มีผื่นสีแดงม่วงตามร่างกายซึ่งกลายเป็นตุ่มน้ำและลอก (มักเป็นบริเวณใบหน้าและลำตัวส่วนบน)
ผลข้างเคียงไม่รุนแรง เช่น
- ปวดหลัง
- ปวดเมื่อยตามตัว
- ตะคริว
- ปากแห้งคอแห้ง
- ขมปาก
- ปวดศีรษะ
- เวียนศีรษะ
- คลื่นไส้
- ท้องเสีย
- ลำไส้ปั่นป่วน
- เจ็บคอ
- คัดจมูก
- ปวดไซนัส
- นอนไม่หลับ
หากมีอาการผิดปกติอื่นที่สงสัยว่าอาจเป็นผลข้างเคียงจากยา ให้ปรึกษาแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา
ปฏิกิริยาระหว่างยา
การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา เกิดขึ้นเมื่อได้รับยามากกว่าหนึ่งชนิดเข้าไปในร่างกายพร้อม ๆ กัน ยาเหล่านั้นอาจทำปฏิกิริยาต่อกัน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา อาจมีฤทธิ์เพิ่ม/ลดประสิทธิภาพ หรืออาจทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้น การแจ้งรายการยา/วิตามิน/สมุนไพรที่ใช้ทุกชนิด ให้แพทย์ทราบ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
ตัวอย่างยาที่ทำปฏิกิริยาระหว่างยากับอัลบูเทอรอล
- ยาในกลุ่ม MAOI (Monoamine oxidase inhibitor) หากมีการใช้ภายใน14วันก่อนเริ่มใช้ยาอัลบูเทอรอล ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
- Monoamine oxidase inhibitor เป็นกลุ่มยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรคทางจิตเวช และโรคพาร์กินสัน ตัวอย่างยา เช่น
- furazolidone (Furoxone)
- isocarboxazid (Marplan)
- phenelzine (Nardil)
- rasagiline (Azilect)
- selegiline (Eldepryl, Emsam, Zelapar)
- tranylcypromine (Parnate)
- ยาพ่นสูดชนิดอื่น
- ยาขยายหลอดลมชนิดอื่น เช่น levalbuterol (Xopenex), bitolterol (Tornalate), pirbuterol (Maxair), terbutaline (Brethine, Bricanyl), salmeterol (Serevent), isoetherine (Bronkometer), metaproterenol (Alupent, Metaprel), or isoproterenol (Isuprel Mistometer).
- ยาขับปัสสาวะ
- ยารักษาโรคหัวใจ digoxin(digitalis, lanoxin)
- ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น amitriptyline (Elavil, Etrafon), doxepin (Sinequan), imipramine (Janimine, Tofranil), nortriptyline (Pamelor)
- ยาในกลุ่ม Beta blocker (เบต้าบล็อกเกอร์) เช่น atenolol (Tenormin, Tenoretic), carvedilol (Coreg), labetalol (Normodyne, Trandate), metoprolol (Dutoprol, Lopressor, Toprol), nadolol (Corgard), propranolol (Inderal, InnoPran), sotalol (Betapace)
- ยาลดความอ้วน และยาบรรเทาอาการคัดจมูก ที่มีส่วนผสมของ pseudoephridine (ซูโดเอฟริดีน) หรือ phenylephrine (ฟีนิลเอฟริน)
- ยารักษาโรคสมาธิสั้น (ADHD: Attention deficit hyperactivity disorder) เช่น Adderall, Ritalin, Daytrana, Concerta
ขนาดและวิธีการใช้ยา
ให้ใช้ยาตามขนาดที่แพทย์กำหนด ควรอ่านและทำความเข้าใจฉลากยาโดยละเอียด หากมีข้อสงสัยควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร สำหรับยาอัลบูเทอรอลแบบพ่นสูด จะต้องเขย่าหลอดยาก่อนการใช้ยา และอาจต้องพ่นยาใส่กระบอกพ่นยาก่อน 1 ครั้ง เพื่อเคลือบผิวด้านในของกระบอก ห้ามให้เด็กใช้ยาแบบพ่นสูดเพียงลำพัง ขนาดการใช้ยาโดยทั่วไป คือ 2 สูด/ครั้ง ทุก ๆ 4-6 ชั่วโมง ส่วนขนาดยาที่ใช้เพื่อป้องกันอาการหอบหืดจากการออกกำลังกาย คือ 2 สูด ทุก 15-30 นาทีก่อนออกกำลังกาย
ยาอัลบูเทอรอลสามารถออกฤทธิ์ได้นานถึง 4-6 ชั่วโมง ไม่ควรใช้ยาถี่เกินจำนวนครั้งที่แพทย์กำหนด หากหลังใช้ยาพ่นสูดแล้วอาการหอบหืดไม่ดีขึ้น ควรรีบพบแพทย์ เนื่องจากอาจเป็นอาการเริ่มต้นของภาวะหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน ห้ามนำหลอดยาไปลอยในน้ำเพื่อทดสอบว่ายาหมดหรือไม่ ให้ใช้วิธีนับจำนวนครั้งที่ใช้พ่นสูด และหากยาพ่นใกล้หมด ควรเตรียมยาหลอดใหม่ให้พร้อมใช้งานเสมอ ควรทำความสะอาดกระบอกพ่นยาตามคำแนะนำ และห้ามแยกชิ้นส่วนของหลอดยาออกจากกัน ควรเก็บหลอดยาพ่นสูดในอุณหูมิห้อง หลีกแหลี่ยงความชื้น และอุณภูมิที่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป หลอดยาอาจระเบิดได้หากอยู่ใกล้เปลวไฟ หรืออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ในรถยนต์ที่จอดอยู่กลางแดด ห้ามเจาะหรือเผาหลอดยาเปล่า
ทั้งนี้ การรักษาโรคหอบหืด ต้องอาศัยยาหลายชนิดร่วมกัน ควรใช้ยาให้ครบตามแพทย์สั่ง ห้ามเปลี่ยนวิธีหรือขนาดการใช้ยาด้วยตนเอง ห้ามบด เคี้ยว หรือ แบ่งกินยาอับลูเทอรอลแบบเม็ด เพราะอาจทำให้ยาเข้าสู่ร่างกายมากและเร็วเกินไป ให้รับประทานทั้งเม็ด
สำหรับยาอัลบูเทอรอลในรูปยาน้ำ ห้ามให้ยาน้ำแข็งตัว และให้ใช้ช้อนหรือถ้วยตวงยา ห้ามใช้ช้อนรับประทานอาหารทั่วไป หากไม่มีอุปกรณ์ตวงยา สามารถขอได้จากเภสัชกร เก็บยาอัลบูเทอรอลแบบเม็ด ที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงความชื้น ความร้อน และแสงสว่าง ปิดขวดยาให้แน่นเมื่อใช้เสร็จ หากพบการใช้ยาเกินขนาด สามารถโทรปรึกษา/สอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 1367 สายด่วนศูนย์พิษรามาธิบดี เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
หากผู้รับประทานยาเกินขนาดมีอาการหมดสติ หยุดหายใจ หรือภาวะฉุกเฉินอื่น ๆ โทรเรียกสายด่วนสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 1669 อาการของการรับประทานยาเกินขนาด เช่น ปากแห้ง มือสั่น เจ็บหน้าอก ใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ รู้สึกอ่อนเพลีย ชัก หน้ามืดเป็นลม
ถ้าลืมรับประทานยาต้องทำอย่างไร?
ถ้าลืมใช้ยา ให้ใช้ยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าเป็นเวลาที่ใกล้กับกำหนดคตรั้งต่อไป ให้ข้ามไปใช้ยาครั้งต่อไปโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า
คำถามที่พบบ่อย
คำถาม : ใช้ยาสูดพ่น Ventolin (เวนโทลิน) แล้วมีอาการใจสั่น เป็นผลข้างเคียงปกติของยาหรือไม่ มียาสูดพ่นตัวอื่นให้เลือกใช้หรือไม่
คำตอบ : เป็นยาสูดพ่นที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดลม ใช้รักษาอาการหอบหืดกำเริบ อาการใจสั่น เป็นผลข้างเคียงที่พบได้ของยาสูดพ่น Ventolin ควรปรึกษาแพทย์ถึงอาการที่เกิดขึ้น และทางเลือกในการใช้ยาตัวอื่น ๆ เพื่อหาวิธีที่ดีที่สุดในการควบคุมโรคหอบหืด ทั้งนี้ การเปลี่ยนยาต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ ปัจจัยกระตุ้นอาการหอบหืด ความรุนแรงของอาการหอบหืด ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่พบได้ เช่น ระคายคอ ติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจ ทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบ ไอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลอดลมตีบ เสียงแหบ ใจสั่น และการแพ้ยา (เช่น มีผื่นขึ้น ปากบวมหน้าบวม)
คำถาม : มียาที่สามารถรักษาโรคถุงลมโป่งพอง ได้ดีกว่ายาอัลบูเทอรอลหรือไม่
คำตอบ : ยาที่ใช้ในการรักษาโรคถุงลมโป่งพองของผู้ป่วยแต่ละคน จะมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง อัลบูเทอรอลเป็นเพียงหนึ่งในตัวยาที่แพทย์เลือกใช้รักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยา
คำถาม : การใช้อัลบูเทอรอลเป็นเวลานาน มีผลทำให้อารมณ์แปรปรวนหรือไม่
คำตอบ : ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงดังกล่าวจากการใช้ยาสูดพ่นอัลบูเทอรอล ยี่ห้อ Ventolin proair และ proventil
คำถาม : ยา albuterol, Pulmicort (budesonide) ยาสูดพ่นสเตียรอยด์ และ Nasonex (mometasone) ยาพ่นบรรเทาอาการคัดจมูก ทำให้พฤติกรรมเด็กแปรปรวนได้หรือไม่
คำตอบ : ยาอัลบูเทอรอล อาจมีผลข้างเคียงทำให้เด็กมีอาการกระวนกระวาย อยู่ไม่สุข ซนและตื่นตัวมากกว่าปกติ, Pulmicort (budesonide) อาจมีผลข้างเคียงทำให้เด็กกระวนกระวาย ก้าวร้าว และวิตกกังวลมากขึ้น หากเด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงหลังการใช้ยาควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ
คำถาม : การใช้ยาอัลบูเทอรอลเพื่อรักษาโรคหอบหืด มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดหรือไม่
คำตอบ : อัลบูเทอรอลอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ หากมีข้อสงสัยอื่นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คำถาม : ยาอัลบูเทอรอลเคยถูกเรียกเก็บคืนหรือไม่
คำตอบ : ยาอัลบูเทอรอลตัวดั้งเดิมเคยถูกถอนออกจากตลาดยาตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 เนื่องจากตัวสเปรย์พ่นสูดมีส่วนผสมของสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน(chlorofluorocarbons) หรือ CFCs ซึ่งเป็นมลพิษทำลายชั้นบรรยากาศ ต่อมาจึงมีการพัฒนายาพ่นสูดซึ่งไม่มีส่วนผสมอันตราย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น Proair, Proventil และ Ventolin
คำถาม : ขณะนี้ใช้ยาพ่นสูด ventolin 4 ครั้งต่อวัน มีทางเลือกในการรักษาอื่น ที่ไม่ต้องใช้ยาถี่ขนาดนี้หรือไม่
คำตอบ : ยาพ่นสูด ventolin เป็นยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์สั้น มักใช้เพื่อรักษาอาการหอบเฉียบพลันเป็นครั้ง ๆ ไป สำหรับผู้ที่ต้องใช้ venlolin บ่อยครั้งในหนึ่งวัน การใช้ยาพ่นสูดชนิดออกฤทธิ์นานร่วมด้วย จะช่วยลดจำนวนครั้งการใช้ Ventolin ลง ยาพ่นสูดชนิดออกฤทธิ์นาน มีหลายชนิด แตกต่างกันตามประเภทของตัวยา เช่น
- สำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด การใช้ยาพ่นสูดสเตียรอยด์ร่วมด้วย จะช่วยลดการอักเสบของปอด ซึ่งจะลดโอกาสเกิดหอบหืดกำเริบเฉียบพลัน
- สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง การใช้ยาพ่นสูดanticholinergic เช่น Spiriva (tiotropium) หรือ ยาขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์นานร่วมด้วย จะช่วยทำให้ทางเดินหายใจเปิดได้ดีขึ้น
โดยทั่วไปจะใช้ยาพ่นสูดชนิดออกฤทธิ์นานเพียงวันละ 1-2 ครั้ง ซึ่งต้องใช้อย่างสม่ำเสมอ ยาจึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด ในกรณีนี้ ควรปรึกษาแพทย์ว่า ควรใช้ยาพ่นสูดชนิดออกฤทธิ์นานเพิ่มเติมหรือไม่
คำถาม : ยาสูดพ่นอัลบูเทอรอลปลอดภัยมากเพียงใดสำหรับการใช้กับผู้ป่วยโรคหอบหืด
คำตอบ : การใช้ยาอัลบูเทอรอลอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันตรายต่อผู้ป่วยโรค หอบหืดที่มีโรคประจำตัวบางชนิด เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลมชัก โรคเบาหวาน และต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ ผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจพบได้จากการใช้ยา เช่น แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ กระสับกระส่าย มือสั่น และความดันโลหิตสูง ผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ ไอ ปากแห้ง เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องเสีย อัลบูเทอรอลยังมีผลข้างเคียงต่าง ๆ อีกมากมาย ควรปรึกษาแพทย์หากพบปัญหาจากการใช้ยา และควรแจ้งรายการยาที่ใช้ในปัจจุบันให้แพทย์ทราบทุกครั้ง เนื่องจากอัลบูเทอรอลสามารถทำปฏิกิริยาระหว่างยากับยาบางชนิด
คำถาม : ขณะนี้ใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมยี่ห้อ Proair ยาจำนวนหนึ่งหลอดมีอายุการใช้งานเพียง 10 วันเท่านั้น ไม่ทราบว่ามียาสูดพ่นชนิดอื่นที่ใช้งานได้นานกว่านี้หรือไม่
คำตอบ : Proair เป็นหนึ่งในยี่ห้อของยาอัลบูเทอรอลแบบสูดพ่น ซึ่งออกฤทธิ์ขยายหลอดลมได้รวดเร็วมาก ใช้เพื่อรักษาอาการหอบเฉียบพลัน ในผู้ป่วยโรคหอบหืดและโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง
ยาอัลบูเทอรอลแบบสูดพ่นมีหลายยี่ห้อ ได้แก่ Proair, Ventolin, และ Proventil ซึ่งแต่ละยี่ห้ออาจได้ผลดีต่อผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน หากได้ลองเปลี่ยนมาใช้ทุกยี่ห้อแล้วแต่ยังต้องใช้ยาพ่นบ่อยครั้ง อาจต้องใช้ยาสูดพ่นสเตียรอยด์ร่วมด้วยเพื่อช่วยควบคุมอาการ เช่น Flovent (fluticasone), Qvar (beclomethasone), Pulmicort (budesonide), Aerobid (flunisolide), Asmanex (mometasone), หรือ Azmacort (triamcinolone) ยาสูดพ่นสเตียรอยด์ เป็นยาที่ต้องใช้ประจำทุกวัน มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบของหลอดลม ต่างจากยาอัลบูเทอรอลที่ใช้สูดพ่นแค่ตอนมีอาการเท่านั้น การควบคุมอาการโรคหอบหืดและหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังให้อยู่ในระยะสงบมีความสำคัญมาก
โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของชาวอเมริกัน ผู้ป่วยโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง จะมีความผิดปกติที่ปอดสองอย่าง คือ ถุงลมโป่งพอง และหลอดลมอักเสบ ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ทำให้ปอดยืดหยุ่นลดลง ขยายตัวได้ไม่ดี อากาศเข้าไปแลกเปลี่ยนแก๊สในปอลดลง ทำให้หลอดลมอักเสบ เนื้อเยื่อหลอดลมบวม มีการผลิตสารคัดหลั่งมากผิดปกติ ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษา อาการจะแย่ลงเรื่อย ๆ เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การเลิกบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการใช้ยารักษาอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยชะลอการทรุดของโรคได้ ส่วนการรักษาโรคหอบหืด ก็ต้องอาศัยการออกกำลังกาย และการใช้ยารักษาอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน
คำถาม : คนที่เป็นโรคหัวใจโตผิดปกติ โตมากขนาดประมาณ 3 เท่าของคนทั่วไป การใช้ยาอัลบูเทอรอลจะมีผลข้างเคียงใดหรือไม่
คำตอบ : ยาอัลบูเทอรลทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบหมุนเวียนโลหิตในผู้ป่วยบางคน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีพจร ความดันโลหิต และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การใช้ยาอัลบูเทอรอลในผู้ป่วยหมุนเวียนโลหิตผิดปกตื จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยเฉาะในผู้ป่วยหัวใจเต้นผิดจังหวะ และความดันโลหิตสูง หากผู้ป่วยมีหัวใจโต หรือมีโรคหัวใจใด ๆ จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนเสมอ