สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- Leevawell เป็นแบรนด์ใหม่ โดยการตรวจของ Yesmom Fertility จะอยู่ภายใต้และจำหน่ายในนามของแบรนด์นี้
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS ทำให้เกิดถุงน้ำในรังไข่มากกว่า 10 ถุง ซึ่งเป็นไข่ที่ยังไม่สุก และจะไม่มีวันสุกมากพอจนทำให้เกิดการตกไข่
- ที่น่ากังวลมากๆ เลยคือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบยังเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งมดลูก เพราะหากไม่มีการตกไข่ ผนังมดลูกจะหนาขึ้นจนเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งค่ะ
- Yesmom (Leevawell) จะดูจากระดับฮอร์โมน AMH คู่กับฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนโดยรวม (Total T) ถ้าหากว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS มากค่ะ
- ฮอร์โมน AMH จะหลั่งจากไข่ในรังไข่ ถ้าหากว่า AMH อยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ ก็หมายความว่าเรามีไข่ที่ไม่สุกอยู่หลายใบ แต่ในกรณีนี้เราอยู่ในเกณฑ์ปกติเลยค่าาาา
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ YesMom (Leevawell)
จากข้อมูลที่เคยรู้มา ผู้หญิง 1 ใน 5 คนเลยที่มีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ PCOS ซึ่งผู้หญิงที่อายุน้อยๆ ก็เป็นกันเยอะมากๆ และหลายคนก็ไม่รู้ตัวเพราะไม่ได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัย และเคยเจอข้อมูลว่า PCOS นี่มันทำให้เกิดความเสี่ยงมะเร็งมดลูก ก็เลยกลัวๆ แต่เราสามารถประเมินเบื้องต้นได้จากการใช้ชุดตรวจ Yesmom (Leevawell) ค่ะ
ชุดตรวจฮอร์โมนภาวะเจริญพันธุ์ (Leevawell) เป็นชุดตรวจฮอร์โมนที่เราสามารถตรวจด้วยตัวเองที่บ้าน และส่งผลตรวจไปยังห้องแล็บที่ได้มาตรฐาน โดยผลตรวจจะแจ้งเตือนผ่านทางอีเมลเพื่อให้เราเข้ามาอ่านในแอปพลิเคชั่น Yesmom (Leevawell) หรือเว็บไซต์
ซึ่งผลตรวจประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ จากชุดตรวจ Yesmom (Leevawell) เป็นอีกหนึ่งผลตรวจที่เราตื่นเต้นมากๆ เพราะคนใกล้ตัวหลายๆ คนมีภาวะนี้ โดยที่ไม่ได้มีอาการอะไรผิดปกติ มารู้ก็เพราะไปตรวจที่โรงพยาบาล เราก็เลยอยากจะแน่ใจว่าในรังไข่ของเราไม่ได้มีอะไรผิดปกติค่ะ
นอกจากผลตรวจประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบแล้ว Yesmom (Leevawell) ก็มีข้อมูลความรู้เพิ่มเติมให้เราเข้าใจภาวะนี้มากขึ้นด้วยนะ ดังนี้เลย
- ความแตกต่างระหว่างภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบและอาการถุงน้ำรังไข่บกพร่อง
- อุปสรรคในการตั้งครรภ์ที่เกิดจากภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรืออาการถุงน้ำรังไข่บกพร่อง
- ฮอร์โมนกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบและอาการถุงน้ำรังไข่บกพร่อง
- ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบและอาการถุงน้ำรังไข่บกพร่องทั้ง 4 ประเภท
- ยาคุมกำเนิดซ่อนภาวะถุงน้ำรังไข่หรืออาการถุงน้ำรังไข่บกพร่องได้อย่างไร
- ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบหรืออาการถุงน้ำรังไข่บกพร่อง
ถ้าใครที่อยากอ่านข้อมูลก็แนะนำให้ลองซื้อชุดตรวจ Yesmom (Leevawell) มาลองใช้ได้ค่ะ เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ HDmall.co.th หรือทักหาแอดมินที่ไลน์ @HDcoth ส่งข้อมูลรายละเอียด ชำระเงิน แล้วรอชุดตรวจ Yesmom (Leevawell) ส่งมาถึงที่บ้านได้เลย
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบและอาการถุงน้ำรังไข่บกพร่องต่างกันยังไง
ภาวะถุงน้ำรังไข่ ใกล้เคียงกับอาการถุงน้ำรังไข่บกพร่อง ดังนั้นจะต้องแยกให้ออกก่อนนะคะว่าทั้งสองอย่างต่างกันยังไง แต่ก่อนอื่นจะขออธิบายก่อนค่ะว่า ถุงน้ำรังไข่คืออะไร
ถุงน้ำรังไข่คืออะไร?
โดยปกติเวลาเรามีประจำเดือน เราจะตกไข่ โดยการที่ไข่ใบที่สุกที่สุด 1 ใบ เคลื่อนตัวออกมาจากรังไข่ แต่ก่อนที่ไข่ใบนั้นจะสุก ก็มีไข่ใบอื่นๆ ที่ใกล้จะสุกเหมือนกัน ซึ่งจะอยู่ในถุงไข่หรือฟองไข่ (follicle)
เจ้าถุงไข่ที่อยุ่ในรังไข่จะมีของเหลวห่อหุ้มอยู่ พอไข่ที่สุกตกออกไปแล้ว ขอเหลวก็จะแห้ง ถุงไข่หรือฟองไข่ก็จะมีขนาดเล็กลง แต่กรณีที่ไข่ไม่ตก ถุงไข่ก็จะไม่ได้ลดขนาดลง ของเหลวที่ห่อหุ้มอยู่ก็จะบวมและกลายเป็นถุงน้ำ หรือถุงน้ำรังไข่ค่ะ
อาการถุงน้ำรังไข่บกพร่อง
อาการถุงน้ำรังไข่บกพร่อง หรือ PCOD (Polycystic Ovarian Disease) คืออาการที่ไข่จะไม่เคลื่อนออกมาจากรังไข่ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นอาการที่ไข่ไม่ตก แต่ไม่ได้เป็นอาการที่น่ากังวลนะคะ
อาการถุงน้ำรังไข่บกพร่อง เกิดจากรังไข่มีไข่ที่ยังสุกไม่เต็มที่ หรือไข่ยังไม่สุก กลายเป็นถุงน้ำ ทำให้รังไข่ขยายใหญ่ขึ้น และผลิตฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) หรือฮอร์โมนเพศชายมากขึ้น ระบบการทำงานของเพศหญิงรวมไปถึงภาวะเจริญพันธุ์ก็เลยขัดข้อง
ผู้หญิงที่มีอาการถุงน้ำรังไข่บกพร่องจะมีอาการภายนอกที่เห็นได้ชัดเลยคือ ผมร่วงคล้ายๆ ผู้ชาย ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือมีพุง เป็นต้น
อาการถุงน้ำรังไข่บกพร่องเป็นอาการที่รักษาได้ จึงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการตกไข่ สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ แต่ถ้าปล่อยเอาไว้ไม่รักษาก็อาจจะทำให้เกิดภาวะถุงนน้ำรังไข่หลายใบได้ค่ะ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS (Polycystic Ovarian Syndrome) ถือเป็นสาเหตุหลักๆ ของภาวะมีบุตรยากเลย และยังถือเป็นโรคเมตาบอลิก (metabolic disorder) ที่ทำให้ร่างกายเผาผลาญผิดปกติค่ะ
ภาวะนี้จะทำให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรน (Testosterone) หรือฮอร์โมนเพศชายมากเกินจำเป็น และทำให้เกิดถุงน้ำในรังไข่มากกว่า 10 ถุง ซึ่งเป็นไข่ที่ยังไม่สุก และจะไม่มีวันสุกมากพอจนทำให้เกิดการตกไข่ เรียกได้ว่า ถ้าหากมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ จะทำให้ไม่มีการตกไข่ในแต่ละรอบเดือนนั่นเอง
แม้ว่าสาเหตุที่ชัดเจนของภาวะนี้จะไม่สามารถระบุได้ แต่การขาดความดุลของฮอร์โมนที่จะส่งผลให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือไม่ตกไข่ ก็จะทำให้การตั้งครรภ์สำเร็จได้ยาก
นอกจากนี้ภาวะ PCOS ยังส่งผลกับการตั้งครรภ์ด้วยนะคะ เพราะ PCOS จะไปเพิ่มความเสียงการแท้งลูก โรคเบาหวาน ความดันขณะตั้งครรภ์ และอาจจะคลอดก่อนกำหนด ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับคนที่ปกติ
แต่ที่น่ากังวลมากๆ เลยคือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบยังเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งมดลูก เพราะหากไม่มีการตกไข่ ผนังมดลูกจะหนาขึ้นจนเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งค่ะ
ผลตรวจประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ โดย Yesmom (Leevawell)
สำหรับชุดตรวจฮอร์โมน Yesmom (Leevawell) จะประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเท่านั้น ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าเรามีภาวะนี้หรือไม่มีภาวะนี้ค่ะ ถ้าหากต้องการทราบผลตรวจที่ชัดเจนจะต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นนะคะ
สำหรับการประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ Yesmom (Leevawell) จะดูจากระดับฮอร์โมนแอนตี้มูลเลอเรียน หรือ AMH (Anti-Mullerian Hormone) คู่กับฮอร์โมนเทสโทสเตอร์โรนโดยรวม (Total T) ถ้าหากว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS มากค่ะ
ค่าผลตรวจ AMH ของเราอยู่ในระดับ 0.60 (ng/mL) ส่วนเกณฑ์ปกติสำหรับผู้ที่อายุ 31-35 คือ 0.07 - 7.35 (ng/mL) ฮอร์โมนอีกตัวที่นำมาวัดความเสี่ยงของภาวะ PCOS คือ Testosterone ซึ่งของเราอยู่ในระดับ 0.50 (ng/mL) ขณะที่เกณฑ์ปกติคือ 0.1 - 0.75 (ng/mL)
การตรวจเช็กจากฮอร์โมนสามารถประเมินภาวะนี้คร่าวๆ ได้ เพราะว่าฮอร์โมน AMH จะหลั่งจากไข่ในรังไข่ ถ้าหากว่า AMH อยู่ในระดับที่สูงกว่าเกณฑ์ปกติ ก็หมายความว่าเรามีไข่ที่ไม่สุกอยู่หลายใบ แต่ในกรณีนี้เราอยู่ในเกณฑ์ปกติ ค่อนมาทางน้อยอีกตะหาก เรื่องภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบเลยไม่ค่อยน่ากังวล
มากังวลเรื่องไข่น้อย ชั้นต้องไปฝากไข่มั้ย อะไรพวกนี้แทนค่ะ - -”
นอกจากผลตรวจประเมินภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ชุดตรวจฮอร์โมนภาวะเจริญพันธุ์ Yesmom (Leevawell) ยังตรวจได้อีกหลายรายการมากๆ ถ้าใครอยากอ่านรีวิวแบบเต็มๆ ก็คลิกอ่านที่ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ