รีวิว ตรวจภาวะมีบุตรยาก จากคนที่เคยผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2


สรุปการรีวิว

ขยาย

ปิด

หลังจากแต่งงานมาได้ 3 ปีกว่า และยังไม่มีวี่แววการเดินทางมาถึงของทายาทในครอบครัวเสียที ตอนนี้ใหม่และพี่ฟานก็เริ่มวางแผนจะพยายามมีน้องกันอย่างจริงจังแล้วค่ะ แต่จะรีบมีเลยโดยที่ไม่ตรวจสุขภาพก่อนก็คงจะไม่ปลอดภัย แถมใหม่ก็เคยมีประวัติปัญหาด้านระบบสืบพันธุ์มาก่อนอีกด้วย

เราสองคนเลยตัดสินใจมาตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่มีบุตรยากที่โรงพยาบาลพญาไท 2 เพื่อเช็กความพร้อมของร่างกายให้แน่ใจก่อนค่ะ

โดยแพ็กเกจตรวจที่ใหม่จะตรวจกับสามี จองคิวทำนัดผ่านเว็บไซต์ HDmall.co.th แยกเป็น 2 โปรแกรมคือ ตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้หญิง และตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้ชาย แต่ในวันที่ตรวจ เราสามารถตรวจไปพร้อมๆ กันได้เลย ไม่ต้องแยกกันไปไหนให้เสียเวลา

ในบทความนี้ ใหม่จะรีวิวขั้นตอนการตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับฝั่งผู้หญิงนะคะ ส่วนของสามีจะแยกไปอีกบทความค่ะ โดยคลิกที่ลิงก์นี้ได้เลย (อ่านรีวิว ตรวจสเปิร์ม ตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้ชาย)

รายการตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้หญิง ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

โดยในรายการตรวจของใหม่ซึ่งเป็นรายการตรวจสำหรับผู้หญิงก็จะประกอบไปด้วยการตรวจเลือด การเข้าปรึกษากับคุณหมอ และเนื่องจากใหม่เคยผ่าตัดซีสต์ คุณหมอเลยพิจารณาตรวจอัลตราซาวด์เพิ่มเติมเพื่อดูความพร้อมของมดลูกและรังไข่ค่ะ

  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดและเกล็ดเลือด (CBC)
  • ตรวจเลือดระบบ ABO
  • ตรวจเลือดระบบ Rh
  • ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBsAg)
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Anti HIV)
  • ตรวจหาการติดเชื้อซิฟิลิส (VDRL)
  • ตรวจหาโรคเลือดทางพันธุกรรม (Hemoglobin Typing)
  • ตรวจหาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (Anti HCV)
  • ตรวจหาภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน (Rubella IgG)
  • ซักประวัติและตรวจร่างกายทั่วไปโดยแพทย์

ขั้นตอนแรกเมื่อใหม่เดินทางมาถึงโรงพยาบาลพญาไท 2 ก็ติดต่อที่จุดลงทะเบียนก่อนค่ะ จากนั้นเจ้าหน้าที่ให้ขึ้นลิฟต์อาคาร B ไปยังชั้น 8 ค่ะ เป็นชั้นของศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตรโดยเฉพาะเลย แล้วก็ยื่นคูปองใช้บริการที่ได้รับจาก HDmall.co.th กับทางเจ้าหน้าที่ศูนย์ที่เคาน์เตอร์ด้านหน้าก่อนค่ะ

คูปองจาก HDmall.co.th

หลังจากยื่นคูปองเรียบร้อยแล้ว ก็นั่งรอเจ้าหน้าที่เรียกชื่ออยู่พักหนึ่งค่ะ แล้วพยาบาลก็นำเอกสารมาให้เราสองคนเซ็นยินยอมให้การตรวจสุขภาพทุกขั้นตอน จากนั้นเราก็เข้าไปชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันเลือดพร้อมกันก่อน แล้วค่อยเจาะเลือดซึ่งจะเจาะในห้องเดียวกันเลยค่ะ ไม่ต้องเดินไปไหนไกล โดยใหม่เจาะเลือดก่อน จากนั้นค่อยตามด้วยคุณสามีค่ะ

เจาะเลือดตรวจภาวะมีบุตรยาก จากคนที่เคยผ่าตัดช็อกโกแลตซีสต์ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

หลังจากเจาะเก็บตัวอย่างเลือดไปแล้ว เราก็ได้เข้าไปพบกับคุณหมอเพื่อซักประวัติสุขภาพกันค่ะ แล้วจะได้รู้ว่า สุขภาพของใหม่และสามีจะต้องดูแลตรงไหนเป็นพิเศษเพื่อให้มีลูกง่ายขึ้นหรือเปล่า

รีวิว ตรวจภาวะมีบุตรยาก สำหรับผู้หญิง

ตอนที่เข้าพบคุณหมอ อย่างแรกคุณหมอก็สอบถามก่อนว่า ใหม่เคยนับวันไข่ตกมาก่อนมั้ย อาจจะเป็นการใช้แอปพลิเคชั่น หรือใช้ชุดตรวจปัสสาวะก็ได้ ซึ่งใหม่ยังไม่เคยทำมาก่อนเลย

จากนั้นคุณหมอก็อธิบายสาเหตุที่ต้องเจาะเลือดเก็บตัวอย่างส่งตรวจ ว่าโรคบางโรคสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ การตรวจเลือดจะทำให้เรารู้ความเสี่ยงว่า เราป่วยเป็นโรคอะไร แล้วมีโอกาสจะถ่ายทอดไปสู่ลูกของเราได้มั้ย ถ้าไม่มีก็สบายใจไปค่ะ แต่ถ้ามี คุณหมอก็จะนำผลตรวจมาช่วยวางแผนการรักษาให้เราอีกครั้ง

ขั้นตอนที่ 1 ซักประวัติและโรคประจำตัวโดยละเอียด

ขั้นตอนแรกของการตรวจภาวะมีบัตรยาก คุณหมอจะซักประวัติและโรคประจำตัวกันก่อนค่ะ ซึ่งภาพรวมโรคประจำตัวทั่วไปของเราสองคนจะมีแค่อาการภูมิแพ้ ตื่นเช้ามาจะฟึดฟัด มีน้ำมูกไหลนิดหน่อย แต่ไม่ถึงขั้นรุนแรงจนเคืองตา ตาแดง หายใจลำบาก หรือเป็นหอบหืดค่ะ

ลำดับต่อมาก็เป็นประวัติการผ่าตัดค่ะ ซึ่งในส่วนของพี่ฟานจะไม่มีประวัติผ่าตัดอะไร แต่ของใหม่เคยผ่าตัดถึง 2 ครั้งเลย โดยใหม่เคยเป็น “ช็อกโกแลตซีสต์” ค่ะ หรือที่เรียกกันแบบทางการก็คือ “ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่” พอคุณหมอรู้ปั๊บ ก็ขอให้ใหม่อธิบายรายละเอียดภาวะนี้เพิ่มเติมทันที เพราะช็อกโกแลตซีสต์เป็นหนึ่งในหลายๆ ปัญหาที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากค่ะ

ปรึกษาแพทย์เรื่องภาวะมีบุตรยาก ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

เมื่อ 8 ปีก่อน คุณหมอตรวจพบช็อกโกแลตซีสต์ขนาด 6 เซนติเมตรที่รังไข่ข้างซ้ายค่ะ ส่วนข้างขวาก็มีขนาด 2 เซนติเมตรด้วย แต่คุณหมอที่รักษาในตอนนั้นก็แนะนำว่าให้ใหม่ผ่าเอาข้างซ้ายที่ใหญ่กว่าออกก็พอ ส่วนข้างขวาที่มีขนาดเล็กให้กินยาเพื่อให้มันลอกออกไปเอง แต่สุดท้ายแล้วมันก็ไม่ลอกออกค่ะ

มันก็เลยนำมาสู่การผ่าตัดช็อกโกแลตซีส์ครั้งที่ 2 เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ซึ่งคุณหมอก็ตรวจเจอช็อกโกแลตซีสต์ที่รังไข่ข้างขวาอีกครั้ง และรอบนี้ยังมีขนาดที่โตเร็วขึ้นมากๆ จากที่ตรวจเจอตอนแรกประมาณ 5 เซนติเมตร แล้วสักพักมันโตขึ้นอีกจนมีขนาด 6-7 เซนติเมตรเลยค่ะ สุดท้ายก็ต้องเข้าไปผ่าตัดเอาออกกันอีกรอบ

หลังจากครั้งนั้นคุณหมอก็ตรวจพบเนื้อเยื่อพังผืดที่รังไข่ข้างซ้ายอีกนะคะ แต่ก็ได้ลอกเอาออกให้เรียบร้อยแล้วค่ะ พอเล่าทุกอย่างจบ คุณหมอก็บอกว่าข้อมูลเหล่านี้สำคัญมาก เพราะมันส่งผลต่อกระบวนการตรวจต่างๆ และการวางแผนเพื่อมีบุตรอย่างมาก

คุณหมอยังได้แจ้งด้วยว่า ถ้าใหม่ตรวจเจอช็อกโกแลตซีสต์อีกเป็นครั้งที่สาม คุณหมอไม่แนะนำให้ผ่าตัดออกเอาแล้วค่ะ เพราะยิ่งผ่า เนื้อเยื่อในรังไข่ของใหม่ก็จะยิ่งหายไป การผลิตไข่ที่มีคุณภาพก็จะยิ่งน้อยลง ทีนี้ก็จะยิ่งมีลูกยากขึ้นไปอีก

ขั้นตอนที่ 2 ซักประวัติโรคทางพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ชีวิต และความต่อเนื่องของการมีประจำเดือน

ถัดมาคุณหมอก็จะซักถามเกี่ยวกับโรคประจำตัวในผู้ใกล้ชิดทางสายเลือดของเราสองคนค่ะ ก็คือ คุณพ่อ คุณแม่ หรือญาติพี่น้องใกล้ๆ กัน ในส่วนของพ่อแม่ใหม่ ทั้ง 2 ท่านไม่มีโรคประจำตัวค่ะ ส่วนคุณพ่อของพี่ฟานมีโรคความดันโลหิตค่ะ

ต่อมาก็เป็นคำถามเจาะลึกเรื่องพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเราทั้งคู่ค่ะ คุณหมอก็สอบถามสามีก่อนว่า มีประวัติกินเหล้าสูบบุหรี่บ้างมั้ย ซึ่งในส่วนนี้ สามีของใหม่ก็มีดื่มสังสรรค์บ้างตามปกติค่ะ แต่เรื่องสูบบุหรี่เขาเลิกมาได้ 4-5 ปีแล้ว ถัดมาก็ประวัติการปัสสาวะเป็นเลือด หรือความผิดปกติของลูกอัณฑะ ซึ่งก็ไม่มีค่ะ

ถัดมาฝั่งของใหม่ คุณหมอก็ซักประวัติเรื่องการมีประจำเดือน ซึ่งปกติประจำเดือนมาสม่ำเสมอดี แต่อาจจะมีเลื่อนออกไปบ้างไม่เกิน 1 สัปดาห์ค่ะ แต่โดยรวมคือ มาตรงวันแทบทุกเดือน รอบนึงประจำเดือนก็จะมาประมาณ 4 วันค่ะ

คุณหมอสอบถามต่อว่า แล้วก่อนมีประจำเดือนใหม่มีเลือดออกกะปริดกะปรอยบ้างมั้ย ของใหม่ก็มีบ้างประมาณ 2-3 วัน แต่พอมีเลือดกะปริดกะปรอยออกมา ประจำเดือนรอบนั้นก็ไม่มาอีกเลย

คุณหมอเลยอธิบายว่า การที่ประจำเดือนมากะปริดกะปรอยเป็นสัญญาณบอกว่า ฮอร์โมนมีไม่เพียงพอ ทำให้ผนังมดลูกลอกออกมาทีละนิดทีละหน่อย ไม่ได้ลอกออกหมดทีเดียว ซึ่งเป็นกระบวนการปกติของการมีประจำเดือนค่ะ ทีนี้เราก็ต้องมาหาแล้วล่ะว่า ทำไมฮอร์โมนของใหม่ถึงไม่เพียงพอต่อร่างกาย

ต่อมาก็เป็นอาการปวดประจำเดือนค่ะ อาการปวดของใหม่จะปวดมากในช่วงก่อนผ่าช็อกโกแลตซีสต์ แต่หลังจากผ่าตัดเอาออกแล้ว ก็ไม่ค่อยปวดเท่าไหร่ บางครั้งก็ปวดแค่วันแรก แต่ไม่ถึงกับต้องกินยาค่ะ

หลังจากพูดคุยกันจนครบถ้วน คุณหมอก็อธิบายว่า จากที่ใหม่เคยเป็นช็อกโกแลตซีสต์มาก่อน มันก็อาจกระทบต่อปริมาณของจำนวนไข่ที่ผลิตออกมาค่ะ เพราะยิ่งช็อกโกแลตซีสต์มีก้อนโตมาก โอกาสที่ไข่จะผลิตได้น้อยก็จะยิ่งสูง

คุณหมอก็เลยพิจารณาให้ใหม่ได้ตรวจอัลตราซาวด์ด้วย เพื่อเช็กโครงสร้างมดลูกและรังไข่ของใหม่ให้โดยละเอียดอีกครั้ง ว่ามีพังผืดหรือความผิดปกติอื่นๆ หลบซ่อนอยู่อีกมั้ย

ยิ่งวันที่ใหม่มาตรวจกับคุณหมอเป็นวันในช่วงก่อนไข่ตกพอดี เยื่อบุโพรงมดลูกจะใสมาก ทำให้อัลตราซาวด์เห็นได้ง่ายขึ้น แล้วค่อยมาวางแผนการมีลูกต่อโดยไม่ต้องห่วงเรื่องความผิดปกติต่างๆ เหล่านี้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด

หลังจากคุยกับคุณหมอเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราสองคนก็แยกกันชั่วคราวค่ะ เพราะพี่ฟานต้องลงไปเก็บตัวอย่างสเปิร์มที่ชั้น 3 ส่วนใหม่ก็ไปเปลี่ยนเป็นชุดสำหรับทำอัลตราซาวด์ แล้วรอคุณหมอเข้ามาตรวจอัลตราซาวด์ให้ค่ะ

ตรวจภาวะมีบุตรยาก ตรวจอัลตราซาวด์มดลูกและรังไข่ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

วิธีตรวจอัลตราซาวด์ก็จะเป็นการขึ้นไปนั่งบนเตียงขาหยั่ง แล้วเอนนอนสบายๆ จากนั้นคุณหมอจะใช้เครื่องมือตรวจอัลตราซาวด์ทาเจลหล่อลื่นแล้วสอดเข้าไปทางช่องคลอด แล้วภาพอัลตราซาวด์ก็จะขึ้นบนจอทีวีใหญ่ๆ ที่ตั้งอยู่บนผนังด้านหน้าเราเลย

ใหม่ก็เห็นไปพร้อมๆ กับคุณหมอว่าภาพรวมของมดลูกและรังไข่ของตัวเองเป็นยังไง ในระหว่างตรวจคุณหมอก็จะเล่าสิ่งที่เห็นจากการอัลตราซาวด์ให้เราฟังไปด้วยค่ะ

เบื้องต้นมดลูกของใหม่มีขนาดอ้วนๆ นิดหนึ่งค่ะ คุณหมอบอกว่าน่าจะเกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าชั้นกล้ามเนื้อ เลยทำให้ผนังมดลูกดูหนา แต่ยังไม่อยู่เกณฑ์ผิดปกตินะคะ ส่วนผนังมดลูกปกติดีไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงค่ะ

ดูจากภาพอัลตราซาวด์ คุณหมอบอกว่า มดลูกใหม่มีอยู่เยื้องไปทางซ้ายนิดหน่อย เลยทำให้เวลาปวดประจำเดือน ใหม่อาจจะปวดท้องด้านซ้ายมากกว่า

แต่สิ่งที่ทำให้ใหม่รู้สึกตกใจก็คือ คุณหมอตรวจเจอซีสต์ข้นๆ ที่เนื้อเยื่อรังไข่ข้างซ้ายอีกแล้วค่ะ คุณหมอบอกว่าอาจจะเป็นซีสต์ที่เกิดจากการตกไข่ของเรา ตอนนี้ยังไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน แค่ติดตามดูการเปลี่ยนแปลงไปก่อน และไม่แนะนำให้ผ่า เพราะยิ่งผ่าออก เนื้อเยื่อรังไข่ของใหม่จะยิ่งเหลือน้อยลงไปอีก

หลังจากตรวจอัตราซาวด์เสร็จ ใหม่ก็กลับออกมารอพี่ฟานเก็บสเปิร์มให้เสร็จแล้วก็ไปกินข้าวด้วยกัน เพราะต้องรอผลตรวจเลือดอีกประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งค่ะ หรือหากผลตรวจออกก่อน ทางพยาบาลจะโทรศัพท์มาแจ้งเราค่ะ

ขั้นตอนที่ 4 ฟังผลตรวจอัลตราซาวด์ และผลตรวจเลือด

ต้องบอกก่อนเลยว่า การฟังผลตรวจในวันนี้ถือว่าเข้มข้นและยาวนานจริงๆ ค่ะ แต่ก็ทำให้ใหม่กับพี่ฟานหายสงสัยกับแทบทุกประเด็นที่ติดค้างเลย

ในส่วนของฝ่ายสามีคร่าวๆ นะคะ ผลตรวจสเปิร์มของพี่ฟานมีสเปิร์มตัวตายค่อนข้างเยอะหน่อยค่ะ คุณหมอแจ้งเกณฑ์ว่า สเปิร์มที่แข็งแรงควรจะต้องมากกว่า 32% แต่ของพี่ฟานได้ 10% ค่ะ

และคุณหมอก็ได้แจ้งข้อสงสัยอีกหนึ่งอย่างที่คู่สามีภรรยาแทบทุกคู่มักจะถามคุณหมอค่ะว่า “สเปิร์มไม่ค่อยมีคุณภาพแบบนี้ สมมติว่าตั้งครรภ์ขึ้นมา ลูกจะพิการมั้ย” คำตอบคือ ไม่ค่ะ เพราะการสเปิร์มที่จะเข้าไปผสมกับไข่จนกลายเป็นน้องได้ จะเป็นสเปิร์มปกติที่แข็งแรงเท่านั้น

ส่วนผลตรวจของใหม่ เบื้องต้นผลตรวจเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด ความเสี่ยงโรคต่างๆ ทั้งที่ติดต่อกับไม่ติดต่อนั้นไม่มีเลยค่ะ ทุกอย่างเป็นปกติดีหมด

ผลตรวจอัลตราซาวด์ มดลูกของใหม่ไม่มีปัญหาอะไร แต่รังไข่ขวามีผนังรังไข่เล็กกว่าปกติครึ่งหนึ่ง และคุณหมอตรวจพบช็อกโกแลตซีสต์ก้อนใหม่ที่ปีกรังไข่ข้างซ้ายประมาณ 1.5-1.6 เซนติเมตร แต่ข่าวคือ ที่เนื้อรังไข่ มีฟองไข่อยู่หลายใบเลยค่ะ ฟองไข่ที่ใหญ่ที่สุดมีขนาด 13 มิลลิเมตร ซึ่งก็จะเข้าสู่ระยะไข่ตกในอีกประมาณ 3-4 วันข้างหน้า

คุณหมอแนะนำในวันนั้นเราสองคนควรมีเพศสัมพันธ์กันค่ะ หลังจากเสร็จกิจแล้วให้ใหม่ยกก้นขึ้นสูงนิดนึงค้างไว้ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ทิศของปากมดลูกมันคว่ำลง แล้วท่วมอยู่ใต้สเปิร์ม สเปิร์มจะได้วิ่งเข้าไปผสมกับไข่ได้ง่ายๆ

เรียกได้ว่า เป็นเคล็ดลับของการมีน้องแบบเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณหมอได้ให้ไว้ ถ้าใครได้เข้ามาอ่านบทความนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้นะคะ 555

และนอกจากช็อกโกแลตซีสต์ที่กลับมา คุณหมอยังตรวจพบว่า ปีกรังไข่ข้างขวาของใหม่ไปติดอยู่กับตัวมดลูกค่ะ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บอกว่า พังผืดที่คุณหมอท่านเดิมเคยลอกออกไปอาจจะกลับมา หรือมันอาจจะเพิ่งเกิดขึ้นใหม่ก็ได้

สิ่งที่คุณหมอกังวลคือ เมื่อรังไข่ข้างนึงไปติดกับตัวมดลูกมันอาจทำให้ “ท่อนำไข่อุดตัน” ได้ และทำให้การตั้งครรภ์ด้วยวิธีธรรมชาติยากขึ้น คุณหมอเลยแนะนำให้ใหม่ลอง “ฉีดสีดูท่อนำไข่” เพื่อตรวจดูการอุดตัน ถ้าเกิดตรวจพบว่าท่อนำไขอุดตันจริงๆ จะได้วางแผนการมีน้องได้ถูกค่ะ

นอกจากนี้คุณหมอยังให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ ที่สรุปใจความได้ว่า ควรจะกินดี นอนดี และออกกำลังกายดี เพื่อให้สุขภาพโดยรวมของเราทั้งคู่สมบูรณ์พร้อมสำหรับการมีลูกค่ะ

บรรยากาศศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2

หลังจากนี้ใหม่ว่า ใหม่กับพี่ฟานต้องกลับไปดูแลตนเองกันอย่างละเอียดอีกครั้ง นอกจากจะได้ตรวจสุขภาพและได้คำแนะนำจากคุณหมอแบบเต็มอิ่มแล้ว ใครที่มีปัญหาที่กังวลอยู่ ลองวิธีทางธรรมชาติมาหลายปีก็ยังไม่มีลูกสักที ใหม่แนะนำเลยค่ะว่า อย่าชะล่าใจ ควรมาตรวจเพื่อรู้ปัญหา และคุณหมอจะช่วยหาทางออกให้กับเราค่ะ

ใครที่อยากตรวจภาวะมีบุตรยาก ไม่ว่าจะของผู้หญิงหรือผู้ชาย ใหม่แนะนำเลยค่ะว่า ที่โรงพยาบาลพญาไท 2 คุณหมอเก่งมากๆ แถมยังพูดคุยเข้าใจง่าย ละเอียดครบทุกขั้นตอนมากๆ จองคิวทำนัดผ่านเว็บไซต์ HDmall.co.th ได้ราคาโปรโมชั่นด้วยนะคะ

ข้อมูล ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร โรงพยาบาลพญาไท 2

ขยาย

ปิด

  • วันเวลาทำการ: วันจันทร์-อาทิตย์ (ทุกวัน) 07.00-16.00 น.
  • วิธีการเดินทาง: BTS สถานีสนามเป้า (ทางออก 1) ใกล้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • สถานที่ตั้ง: ชั้น 10 อาคาร B เลขที่ 943 ถ. พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400 ดูแผนที่
  • ดูแพ็กเกจจาก โรงพยาบาลพญาไท 2 ได้ที่นี่

บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ

@‌hdcoth line chat