สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- ผมมีปัญหาโรคประจำตัวเกี่ยวกับความดันโลหิตและมีไขมันเกาะตับ แต่ตอนนี้มีอาการประหลาดเพิ่มขึ้นมาคืออ่อนเพลียง่าย บางครั้งก็หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย เลยปรึกษากับลูกสาวเกี่ยวกับการไปตรวจระดับฮอร์โมนดูสักครั้ง
- ด้วยน้ำหนักและดัชนีมวลกายที่สูง รวมถึงมีค่าฮอร์โมนบอกระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินเกณฑ์ ผมจึงได้รับคำแนะนำจากคุณหมอให้ลดน้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัมเป็นอย่างแรกในวันฟังผลตรวจ
- จากผลตรวจค่าฮอร์โมนเพศชายที่ค่อนข้างต่ำ คุณหมอจึงแนะนำให้ผมออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง ซึ่งเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนเพศชายให้เพิ่มขึ้นได้
- ผลตรวจฮอร์โมน DHEA หรือฮอร์โมนต้านความเครียดของผม มีระดับค่อนมาทางต่ำอยู่ครับ โดยที่ระดับขั้นต่ำนั้น ไม่ควรต่ำกว่า 150 ug/dl แต่ผลตรวจของผมออกมาอยู่ที่ 101 ug/dl
- หลังจากตรวจฮอร์โมนเสร็จแล้ว ผมต้องกลับไปปรับพฤติกรรมหลายอย่างเลย เช่น ออกกำลังแบบคาร์ดิโอให้ได้ 150 นาทีต่อสัปดาห์ ออกกำลังแบบเวทเทรนนิ่งเพื่อเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมนและฮอร์โมนเพศ ลดความเครียด ที่สำคัญอีกอย่าง คือ ควรไปตรวจสุขภาพเพื่อเช็กความรุนแรงของโรคประจำตัวด้วยครับ
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และ โรงพยาบาลพญาไท 2
- ดูรายละเอียด ราคา ตรวจระดับฮอร์โมนชาย 13 รายการ ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
- ดูรายละเอียด โปรแกรมทั้งหมดจาก โรงพยาบาลพญาไท 2 บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เลือกหัวข้อที่สนใจที่นี่
- รีวิว ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
- ฟังผลตรวจฮอร์โมนเพศชาย
- ผลตรวจฮอร์โมนบอกระดับน้ำตาลในเลือด
- ผลตรวจฮอร์โมนไทรอยด์
- ผลตรวจฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง
- ผลตรวจโกรทฮอร์โมน
- ผลตรวจฮอร์โมนต้านความเครียด
- ผลตรวจสารโปรตีนโกลบูลิน
- แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน
- บทความที่ HDmall.co.th แนะนำ
ตอนนี้ผมก็อายุ 52 แล้วครับ มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับความดันโลหิตและไขมันเกาะตับ แต่จู่ๆ ก็มีอาการประหลาดเพิ่มขึ้นมาคือ อ่อนเพลียง่าย บางครั้งก็หงุดหงิดฉุนเฉียวง่ายเป็นพิเศษ จนลูกสาวของผมเริ่มสังเกตเห็นอาการนี้บ่อยขึ้น
ลูกก็เลยลองมาถามผมว่า เราลองไปตรวจสุขภาพกันมั้ย โดยเน้นตรวจเรื่องที่เกี่ยวกับภาวะอารมณ์และความเสื่อมของร่างกายไปเลย เพราะผมก็อายุห้าสิบกว่าแล้ว มีโรคประจำตัวอีกต่างหาก เผื่อว่าร่างกายกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงผิดปกติอะไรจะได้หาทางแก้ไขหรือป้องกันได้ทันเวลา
หลังจากปรึกษากันเราก็ลงความเห็นว่า ผมควรจะลองตรวจฮอร์โมนดูสักครั้ง เพราะเท่าที่หาข้อมูลมา การที่ฮอร์โมนในร่างกายในปริมาณลดลงหรือเสื่อมลง มันก็ส่งผลต่อสุขภาพหลายอย่างเลยทีเดียวครับ รวมถึงด้านภาวะอารมณ์ด้วย
ตอนแรกผมก็ค่อนข้างเกร็งนิดหน่อยครับ เพราะไม่เคยตรวจฮอร์โมนมาก่อน เลยไม่รู้ว่าการตรวจพวกนี้มันช่วยอะไร ไม่ใช่ฮอร์โมนมันเกี่ยวกับสุขภาพของผู้หญิงเท่านั้นเหรอ!?
แต่ลูกก็อธิบายให้ผมฟังเพิ่มเติมว่า ฮอร์โมนมันไม่เกี่ยวกับเพศเลยพ่อ ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย เราทุกคนต้องพึ่งพาสิ่งที่เรียกว่า “ฮอร์โมน” กันทั้งนั้น และไม่ว่าจะผู้หญิงหรือผู้ชายก็เกิดภาวะฮอร์โมนผิดปกติได้หมดเลย แต่ฮอร์โมนส่วนของผู้หญิงจะถูกหยิบมาพูดถึงกันบ่อยกว่าเท่านั้นเอง
ผมเลยมอบหน้าที่ให้ลูกสาวเป็นคนลองไปหาแพ็กเกจตรวจสุขภาพที่เหมาะกับช่วงวัยให้กับผม ซึ่งลูกสาวก็เคยใช้บริการผ่าน HDmall.co.th มาแล้ว ก็เลยเข้ามาจองคิวทำนัดผ่านเว็บไซต์นี้อีกครั้ง
โดยครั้งนี้เลือกโปรแกรม ตรวจฮอร์โมนชาย 13 รายการ ที่โรงพยาบาลพญาไท 2 ให้ผม เพราะเป็นแพ็กเกจที่ตรวจฮอร์โมนได้ครอบคลุมทุกตัวแบบเจาะลึก และยังได้พบกับแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านศาสตร์การชะลอวัยอีกด้วยครับ
รีวิว ตรวจฮอร์โมนเพศชาย ที่ โรงพยาบาลพญาไท 2
สำหรับการตรวจฮอร์โมนที่โรงพยาบาลพญาไท 2 จะอยู่ที่ศูนย์ Premier Life ชั้น 8 ครับ เมื่อออกจากลิฟต์จะเจอกับป้ายศูนย์ เลี้ยวขวาไปจะเห็นประตูทางเข้าเปิดต้อนรับอยู่เลยครับ
สำหรับในครั้งแรกของการมาตรวจ พยาบาลจะให้วัดความดัน ส่วนสูง วัดไข้ และชั่งน้ำหนักเพื่อทำประวัติก่อน จากนั้นก็พาเข้าไปปรึกษาพูดคุยถึงอาการของผมครับ
อันดับแรกคุณหมอจะซักประวัติของผมอย่างละเอียดมากๆ รวมถึงปัญหาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ซึ่งก็อาจจะเกิดจากความผิดของฮอร์โมนครับ เพราะว่าบางทีผมก็รู้สึกหงุดหงิดโดยไม่มีเหตุผลเหมือนกัน
พูดคุยกันสักพัก คุณหมอก็ให้ผมไปเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ แล้วก็นัดมาฟังผลในอีกประมาณ 7 วันครับ
จากนั้น เจ้าหน้าที่ของศูนย์ Premier Life ก็พาผมไปเจาะเลือดที่ห้องเจาะเลือดซึ่งแยกออกมาจากศูนย์อีกที แล้วผมก็กลับมานัดหมายเวลาฟังผลตรวจแล้วก็กลับบ้านได้เลยครับ
ฟังผลตรวจฮอร์โมนเพศชาย
ผ่านไป 7 วันผมก็กลับมาฟังผลตรวจฮอร์โมนกับแพทย์ศูนย์ Premier Life ครับ ที่นี่จะมีคุณหมอประจำทั้งผู้หญิงและผู้ชายเพื่อให้สามารถอธิบายผลตรวจฮอร์โมนของผู้เข้ารับบริการได้อย่างเข้าใจ ทั่วถึงและเป็นส่วนตัว ซึ่งในวันนี้ผมก็จะได้ฟังผลตรวจกับคุณหมอยงยุทธครับ
อันดับแรกเมื่อได้พบคุณหมอ เราก็มาพูดคุยกันในส่วนของหน้าประวัติร่างกายเบื้องต้นก่อนเลยครับ เพราะคุณหมอแจ้งว่า น้ำหนักตัวและดัชนีมวลกายของผมเกินจากค่ามาตรฐานไปเยอะทีเดียว และจัดอยู่ในคนที่มี “ภาวะอ้วน”
นอกจากน้ำหนักตัวที่มีปัญหา ในส่วนของข้อมูลความดันโลหิตที่ผมวัดกับพยาบาลก็สูงด้วยครับ คุณหมอแนะนำให้ผมมีการปรับไลฟ์สไตล์ให้กระฉับกระเฉงขึ้นหน่อย ให้ออกกำลังกายบ้างได้แล้ว และให้งดอาหารรสเค็มให้น้อยลงอย่างจริงจัง
อีกเรื่องที่คุณหมอแนะนำ คือ ให้ผมซื้อเครื่องตรวจวัดความดันโลหิตมาติดไว้ที่บ้านสักเครื่อง เพื่อตรวจวัดความดันที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละวันได้อย่างต่อเนื่อง ถ้าให้ดีควรจดบันทึกค่าความดันเป็นสมุดโน๊ตเลยจะดีมาก เผื่อผมจะต้องไปหาหมอด้านความดันโลหิตทีหลัง จะได้มีข้อมูลไปคุยกับคุณหมอต่อได้ครับ
ดังนั้นคำแนะนำแรกที่ได้รับของวันนี้ก็คือ การไปลดน้ำหนัก โดยคุณหมอขอให้เริ่มต้นตั้งเป้าหมายของการลดอยู่ที่ 10 กิโลกรัมก่อน และให้ลดแบบค่อยเป็นค่อยไป อยู่ที่เดือนละ 1-2 กิโลกรัมก็โอเคแล้วครับ
นอกจากนี้ผลตรวจฮอร์โมนก็เข้มข้นถึงใจมากๆ โดยผมจะรีวิวผลตรวจไปทีละตัวให้ทุกคนอ่านอย่างละเอียดนะครับ
ผลตรวจฮอร์โมนบอกระดับน้ำตาลในเลือด
ค่าฮอร์โมนตัวแรกที่คุณหมอจะพูดคุยก็คือ ฮอร์โมนบอกระดับน้ำตาลในเลือด หรือว่า “Fasting Blood Sugar” ครับ ซึ่งจากผลตรวจของผม ผมมีระดับฮอร์โมนตัวนี้อยู่ที่ 15.9 uU/ml ซึ่งถือว่าสูงเกินเกณฑ์ไปเยอะอยู่ครับ โดยค่าเฉลี่ยของฮอร์โมนตัวนี้ควรจะอยู่ที่ 4-8 uU/ml ไม่เกินนี้
จากผลตรวจที่ออกมาก็บอกว่า ผมมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน และมีความเสี่ยงจะเป็นโรคเบาหวาน คุณหมอก็ได้ย้ำอีกครั้งให้ผมเริ่มควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างจริงจังได้แล้วครับ
ผลตรวจฮอร์โมนไทรอยด์
ต่อกันในส่วนของฮอร์โมนเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ (Thyroid Stimulating Hormone: TSH) โดยค่าฮอร์โมนเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ของผมไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงสักตัวเลยครับ
คุณหมอแจ้งว่า ถือเป็นสัญญาณที่ดีมาก เพราะถ้าฮอร์โมนไทรอยด์เกิดปัญหา มันก็จะส่งผลต่อการเผาผลาญน้ำตาลและไขมันในร่างกายของผมได้ แต่ถ้าฮอร์โมนไทรอยด์ทำงานปกติแบบนี้ คุณหมอก็ทำนายว่า ผมไม่น่าจะมีอุปสรรคในเรื่องการลดน้ำหนักอย่างแน่นอน
ผลตรวจฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเพศหญิง
ผลตรวจของผมจะมีทั้งฮอร์โมนเพศหญิงและฮอร์โมนเพศชายครับ หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า ผู้ชายเราก็มีฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ในตัวด้วย แต่จะมีแค่ปริมาณเล็กน้อย ในขณะเดียวกัน ผู้หญิงทุกคนเขาก็จะมีฮอร์โมนเพศชายอยู่ในร่างกายเหมือนกัน อันนี้ก็เป็นข้อมูลใหม่ที่ผมเพิ่งรู้วันนี้เหมือนกัน
สำหรับระดับฮอร์โมนเพศหญิงของผม (Estradiol) ปกติดีครับ ส่วนฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) แม้ว่าจะปกติแต่ก็ค่อนมาทางต่ำเล็กน้อย
คุณหมอก็อธิบายว่า โดยปกติผู้ชายทุกคนจะมีระดับฮอร์โมนเพศชายที่สูงดีในช่วงอายุยังน้อยครับ แต่พอเราอายุสัก 30-40 ปี ฮอร์โมนเพศชายก็จะค่อยๆ ลดทีละน้อย ประมาณปีละ 1% ได้ครับ
แต่การลดลงประมาณ 1% นี้มันก็สามารถลดลงเร็วขึ้นได้อีก จากพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการนอนไม่พอ ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ สิ่งเหล่านี้สามารถทำให้ผู้ชายเรามีฮอร์โมนเพศต่ำลงได้เร็วขึ้นครับ
ทีนี้ถ้าฮอร์โมนเพศต่ำก็จะคล้ายๆ กับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนนั่นแหละครับ ก็จะขี้บ่น หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียวง่ายขึ้นหน่อย
ส่วนวิธีฟื้นฟูให้ฮอร์โมนเพศชายกลับมาอยู่ในระดับที่ดีต่อสุขภาพ คุณหมอก็แนะนำอย่างเดิมเลยคือ ออกกำลังครับ เพราะการออกกำลังกายมันช่วยให้น้ำหนักตัวลด ทำให้ความดันลด โอกาสเป็นโรคต่างๆ ลดลง มันยังทำให้ฮอร์โมนเพศชายเพิ่มสูงขึ้นได้ด้วยนะครับ
โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบ “เวทเทรนนิ่ง” คุณหมอแนะนำว่า นอกจากจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อแล้ว ยังมีส่วนทำให้ฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ และยังทำให้ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายเพิ่มขึ้นด้วย
ผลตรวจโกรทฮอร์โมน
จากผลตรวจส่วนของโกรทฮอร์โมน หรือฮอร์โมน IGF1 ค่าโกรทฮอร์โมนของผมก็ออกมาในระดับที่ดีมากอยู่ครับ ปกติผู้ชายวัยเท่าผมจะมีเกณฑ์การหลั่งโกรทฮอร์โมนอยู่ที่ 108 นาโนกรัม แต่จากผลตรวจเลือดของผม ร่างกายผมมีการหลั่งโกรทฮอร์โมนสูงถึง 114 นาโนกรัมเลยครับ
ผลตรวจฮอร์โมนต้านความเครียด
ผลตรวจฮอร์โมน DHEA (Dehydroepiandrosterone Sulphate) หรือที่เรียกว่า “ฮอร์โมนต้านเครียด” หรือ “ฮอร์โมนความสุข”
ก่อนแจ้งผลตรวจ คุณหมอได้อธิบายกลไกของการหลั่งฮอร์โมน DHEA ให้ผมฟังก่อน โดยฮอร์โมน DHEA มันมีจุดเชื่อมโยงกับฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตที่มีชื่อว่า “ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol)” ครับ
ในช่วงเช้า คนเราจะมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูงขึ้น เป็นกลไกของร่างกายที่เกิดขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกับความเครียดในช่วงกลางวัน และในตอนเย็นฮอร์โมนตัวนี้ก็จะลดระดับต่ำลงครับ ดังนั้นในคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องความเครียด ก็จะมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่ขึ้นสูงและลงต่ำตามเวลา
ทีนี้แล้วในคนที่เครียดสะสมอย่างต่อเนื่อง ฮอร์โมนคอร์ติซอลตัวนี้ก็จึงต้องคงระดับไว้สูงตลอดอย่างต่อเนื่อง เพื่อต้านความเครียดที่เกิดขึ้น จนในบางครั้งมันแย่งเอาสารฮอร์โมนตัวอื่นในร่างกายมาเติมพลังให้กับตนเอง และหนึ่งในนั้นก็คือ ฮอร์โมน DHEA นั่นเองครับ
ซึ่งจากผลตรวจฮอร์โมน DHEA ของผม ผมมีระดับฮอร์โมนตัวนี้ค่อนมาทางต่ำจากเกณฑ์ที่เหมาะสมซึ่งอยู่ที่ 150 ug/dl แต่ผลตรวจของผมออกมาอยู่ที่ 101 ug/dl ครับ มันก็เป็นสัญญาณบอกว่า ฮอร์โมน DHEA คงจะถูกฮอร์โมนคอร์ติซอลแย่งไปเติมพลังงานให้ตัวเองอยู่พอสมควร
คุณหมอจึงสอบถามผมเพิ่มเติมว่าในช่วงนี้มีภาวะความเครียดอะไรเกิดขึ้นบ้างมั้ย ไม่อย่างนั้นค่าฮอร์โมนความเครียดไม่ควรต่ำแบบนี้นะ ผมก็ยอมรับครับว่ามีความเครียดเกิดขึ้นบ้าง
คุณหมอจึงแนะนำว่า ถ้าอย่างนั้นเราต้องลองมองย้อนกลับไปว่า สาเหตุอะไรกันแน่ที่ทำให้ผมเกิดภาวะความเครียดขึ้น แล้วไปจัดการกับสาเหตุต้นตอของความเครียดส่วนนั้นใหม่ ร่วมกับปรับแนวทางการดำเนินชีวิตไม่ให้จิตใจยึดติดกับความเครียดมากมายด้วยครับ
เพราะการจัดการกับต้นตอที่ทำให้เกิดความเครียดแค่อย่างเดียวอาจจะเอาไม่อยู่ แต่เราต้องรู้จักหาแนวทางดึงความสนใจจากความเครียดไปอยู่กับสิ่งอื่นแทนด้วย ไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นว่าเราเอาแต่จับเจ่าหมกมุ่นอยู่แต่กับความเครียดอย่างเดียวครับ
ผลตรวจสารโปรตีนโกลบูลิน
ลำดับสุดท้ายของผลตรวจฮอร์โมนเป็นผลตรวจสารโปรตีนโกลบูลิน (Sex Hormone Binding Globulin) ครับ
สารโปรตีนโกลบูลิน เป็นสารโปรตีนที่จะคอยนำส่งฮอร์โมนของเราไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ถ้าผลตรวจโกลบูลินออกมาน้อย ก็แสดงว่า การนำส่งฮอร์โมนในร่างกายของผมอาจจะไม่ดีเท่าไร และยังมีฮอร์โมนหลายส่วนลอยอยู่ในเลือดโดยไม่ได้ถูกนำไปใช้งานกับร่างกายครับ
ผลตรวจโกลบูลินที่ออกมาแบ่งออกเป็น 2 ชนิดครับ คือ โกลบูลินที่ช่วยนำส่งฮอร์โมนโกรทฮอร์โมน กับ โกลบูลินที่ช่วยนำส่งฮอร์โมนเพศ ซึ่งในส่วนของโกลบูลินตัวแรกไม่ได้มีปัญหาครับ แต่โกลบูลินที่ช่วยนำส่งฮอร์โมนเพศของผมค่อนข้างต่ำ
นี่อาจเป็นที่มาว่า ทำไมฮอร์โมนเพศของผมถึงต่ำนัก นั่นก็เพราะโกลบูลินมันจับฮอร์โมนไปใช้ได้ไม่มีประสิทธิภาพดีพอนั่นเอง
แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน
จากผลตรวจฮอร์โมนที่ออกมาทั้งหมด คุณหมอก็แนะนำผมหลายอย่างที่ต้องกลับไปทำเพื่อฟื้นฟูฮอร์โมนที่สูงและต่ำกว่าเกณฑ์ให้กลับมาอยู่ในระดับที่ปกติอีกครั้งครับ
อันดับแรก คือการออกกำลังกาย คุณหมอแนะนำให้ผมออกกกำลังกายแบบคาร์ดิโอให้ได้ 150 นาทีต่อ 1 สัปดาห์ สามารถแบ่งออกวันละ 30 นาทีเป็นเวลา 5 วันได้ และอย่าหักโหมเด็ดขาด ให้อยู่ออกในระดับปานกลางก็พอ
การออกกำลังกายระดับปานกลางของคุณหมอก็มีตัวชี้วัดอยู่นะครับ โดยการออกกำลังกายในระดับปานกลาง เราจะยังคุยกับคนที่ยืนอยู่ข้างๆ ได้รู้เรื่อง แต่จะร้องเพลงไม่ไหว แต่ถ้าเมื่อไรก็ตาม ที่เราทั้งคุยธรรมดาและร้องเพลงไม่ไหวด้วย อันนั้นจัดอยู่ในระดับที่ออกกำลังกายหนักไปละ ให้ลดๆ ความหนักหน่วงลงมาหน่อย
นอกจากคาร์ดิโอแล้ว ก็ต้องไม่ลืมเล่นเวทเทรนนิ่งเพื่อให้ระดับฮอร์โมนเพศชายของผมกลับมาด้วยนะครับ
อันดับที่สอง กินอาหารที่มีประโยชน์ ผมต้องลดการกินอาหารรสเค็ม ต้องหัดกินจืดให้มากขึ้น คุณหมอแนะนำให้ผมกินอาหารที่มีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น ปลา ไก่ เพื่อเสริมสร้างโกรทฮอร์โมนและฮอร์โมนเพศด้วยครับ
นอกจากเนื้อสัตว์ คุณหมอได้แนะนำผักที่มีเนื้อตะปุ่มตะป่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว เพราะมันมีสารชื่อว่า I3C (Indole-3-carbinol) ซึ่งสามารถช่วยต่อต้านกระบวนการเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายให้กลายเป็นฮอร์โมนเพศหญิงได้ และทำให้ระดับฮอร์โมนเพศชายเพิ่มขึ้นครับ
ยิ่งคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะอย่างผม กระบวนการนี้ก็จะยิ่งเกิดขึ้นหนักกว่าคนน้ำหนักปกติ เลยยิ่งต้องกินผักพวกนี้เพื่อไม่ให้ระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำลงไปมากกว่านี้ครับ
และอย่างสุดท้ายที่ผมต้องทำ ก็คือ หากิจกรรมที่ชอบทำเพื่อลดระดับความเครียดลงบ้าง การออกกำลังกายก็ช่วยได้เหมือนกัน แต่ควรลองหาอย่างอื่นทำร่วมด้วยก็ดีครับ
นอกจากนี้ คุณหมอยังแนะนำให้ผมลองนั่งสมาธิดู แต่ก็ไม่ได้บังคับนะครับ คุณหมอก็บอกว่า มันไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบการนั่งสมาธิเสมอไปอยู่แล้ว ให้เราหากิจกรรมผ่อนคลายความเครียดแบบที่ชอบทำดู จะเป็นดูหนัง ดูซีรีส์ ก็ได้หมดเลยครับ แต่ที่สำคัญมาก คือ ผมต้องไม่ปล่อยให้ระดับความเครียดเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้ครับ
และอีกสิ่งสำคัญที่คุณหมอกำชับกับผม คือผมควรตรวจสุขภาพได้แล้ว เพราะผมมีโรคประจำตัวที่อาจจะต้องไปคุยกับหมอเฉพาะทางด้านอื่นเพิ่มเติม ดังนั้นนอกจากตรวจฮอร์โมนแล้ว ผมก็ควรเริ่มไปตรวจสุขภาพแบบครอบคลุมสักแพ็กเกจได้แล้ว เผื่อเจอผลตรวจไหนที่น่าเป็นห่วง จะได้ไปคุยกับคุณหมอที่สามารถรักษาโรคได้เฉพาะทางต่อไปครับ
ผมได้รับอะไรๆ หลายอย่างกลับไปจากการตรวจฮอร์โมนแพ็กเกจนี้เลยครับ อย่างแรก คือ มันเปลี่ยนความคิดของผมเกี่ยวกับคำว่า “ฮอร์โมน” ไปเลย เพราะผมเข้าใจมาตลอดว่า ฮอร์โมนสำคัญแค่กับผู้หญิง มักจะกระทบแค่กับร่างกายของผู้หญิง
แต่ความจริงแล้ว ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย ร่างกายของเราต้องพึ่งพา “ฮอร์โมน” กันทั้งหมดครับ ใครจะไปนึกว่าการเผาผลาญไขมัน การสร้างกล้ามเนื้อ การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายมันจะเกี่ยวกับฮอร์โมนด้วยล่ะครับ ผมเข้าใจว่ามันเกิดจากการกินและการออกกำลังกายแค่ 2 อย่างซะอีก
แบบนี้คุณผู้ชายคนไหนมีกล้ามสวยๆ มีรูปร่างดีๆ และมีเรี่ยวแรงฟิตๆ ไว้ออกกำลังกายได้นานๆ ผมว่า การตรวจฮอร์โมนก็เป็นการตรวจที่ตอบโจทย์เป้าหมายของคุณเหมือนกันนะครับ
ที่เซอร์ไพรซ์อีกอย่างก็คือ เรื่องของโรคความดันโลหิตและภาวะอ้วนของผมครับ ผมเข้าใจมาตลอดว่ามันไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับฮอร์โมนเลย ที่ไหนได้ เกี่ยวเต็มๆ และผลตรวจฮอร์โมนยังเป็นตัวชี้ทางออกในการลดความรุนแรงของโรคประจำตัวให้ผมอีกต่างหาก
ถ้ารู้ว่าจะได้ข้อมูลดีๆ ติดตัวไปเยอะขนาดนี้ ผมคงให้นาวพาผมมาตรวจนานแล้วครับ เพราะการตรวจฮอร์โมนมันไม่ได้จำกัดแค่ในคนที่เป็นผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุเท่านั้นนะครับ เด็กวัยรุ่น วัยทำงานก็มาตรวจได้แล้วนะครับ
ที่น่าประทับใจอีกอย่างคือ การตรวจฮอร์โมนในวันนี้ก็มีบรรยากาศที่เป็นกันเองและเป็นส่วนตัวมากๆ ครับ คุณหมอผู้อ่านผลตรวจเป็นผู้ชาย มีห้องฟังผลตรวจที่เป็นสัดเป็นส่วนมิดชิด อยากสอบถามเรื่องส่วนตัวอะไรก็ถามได้เลย ไม่ต้องอาย
คุณผู้ชายคนไหนอยากเริ่มตรวจฮอร์โมนและอยากได้สถานที่ตรวจดีๆ เจ้าหน้าที่ พยาบาล และคุณหมอให้บริการที่สุภาพมากๆ มีการอ่านผลตรวจที่ละเอียดและมีการให้คำแนะนำไปดูแลตนเองเพิ่มเติมด้วย ผมแนะนำให้มาที่นี่เลยนะครับ ศูนย์ Premier Life โรงพยาบาลพญาไท 2 หรือจะซื้อแพ็กเกจได้ที่เว็บไซต์ HDmall.co.th ก็ได้เหมือนกันครับ