สรุปการรีวิว
ปิด
ปิด
- เราเข้าใจมาตลอดว่าร่างกายตัวเองแข็งแรง อาจจะมีเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็วบ้าง แต่ก็ไม่คิดว่าจะเป็นโรคร้ายแรงอะไร จนได้ตรวจสุขภาพประจำปี พบว่าเรามีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และตรวจเจอภาวะหัวใจโตกับลิ้นหัวใจรั่ว
- หินปูนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น จากแคลเซียมธรรมชาติในร่างกายที่เกิดการสะสมหรือร่างกายสร้างแคลเซียมขึ้นมาป้องกันการเกิดบาดแผล เกิดจากคราบไขมันส่วนเกินที่รวมตัวไปเกาะกันอยู่ที่ผนังหลอดเลือดแดงได้ด้วย
- CT Scan สามารถถ่ายสแกนหลอดเลือดของเราได้อย่างคมชัด จึงสามารถหาปริมาณแคลเซียมในคราบหินปูนที่เกาะที่หลอดเลือดหัวใจได้แม่นยำ
- การตรวจ CT Scan ก็ไม่เจ็บตัว ไม่ต้องเตรียมตัวอดน้ำหรืออดอาหารมาก่อน และฟังผลได้ทันทีโดย
- หากตรวจไม่พบคราบหินปูนในผนังหลอดเลือด ค่าที่ได้จะเป็น 0 แต่ถ้าพบคราบหินปูนในปริมาณ 100-400 ก็จัดว่ามีความเสี่ยงปานกลาง แต่ถ้าตรวจเจอค่ามากกว่า 400 ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบใน 2-5 ปีได้ แม้ไม่มีอาการ
- รีวิวนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ #HDreview ได้รับการสปอนเซอร์จากทาง HDmall.co.th และโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ
- ดูรายละเอียด ตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ Calcium Scoring
- ดูรายละเอียด โปรโมชั่นทั้งหมดจาก รพ. เปาโล สมุทรปราการ บน HDmall.co.th
- สอบถามแอดมินเพิ่มเติมเกี่ยวกับแพ็กเกจได้ที่ไลน์ @HDcoth
เราเข้าใจมาตลอดว่าร่างกายตัวเองแข็งแรง อาจจะเหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็วบ้าง แต่ก็ไม่คิดว่าจะเป็นโรคร้ายแรงอะไร จนก่อนหน้านี้ได้ไปตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งก็ได้มีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiography: EKG) และตรวจ Echo หัวใจ (Echocardiography: Echo) ด้วย
ปรากฎว่าจากผลตรวจที่ออกมา พบว่าเรามีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ และตรวจเจอภาวะหัวใจโตกับลิ้นหัวใจรั่วค่ะ หลังจากนั้นก็กังวลหนักเลย มองย้อนไปดีๆ ก็เพิ่งรู้ตัวว่าคนในครอบครัวของเราก็เป็นโรคหัวใจโตด้วยเหมือนกัน
อาการเหนื่อยง่ายและหัวใจเต้นเร็วก่อนหน้านี้ก็คงจะเป็นสัญญาณของโรคหัวใจมาตั้งนานแล้ว แค่เราไม่เคยมาตรวจสุขภาพ ก็เลยไม่รู้เท่านั้น
เราเลยอยากรู้เพิ่มเติมอีกว่าควรจะดูแลตัวเองยังไง แล้วหลอดเลือดหัวใจเราผิดปกติมากขนาดไหนอีก ก็มาตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ หรือ Calcium Scoring ที่โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการดูค่ะ
สาเหตุที่มาตรวจโปรแกรมนี้ก็เพราะว่า การตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจสามารถหาความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
และที่โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการก็มีเครื่องมือตรวจที่ทันสมัย มีแพทย์เฉพาะทางอ่านผลให้แบบส่วนตัว ราคาค่าตรวจก็ไม่แพงด้วย เลยตัดสินใจมาใช้บริการที่โรงพยาบาลนี้ค่ะ
คราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจคืออะไร?
สำหรับหลายคนก็อาจเข้าใจว่า “หินปูน” คงจะเกิดขึ้นได้กับที่ฟันเราอย่างเดียวใช่มั้ยล่ะคะ แต่จริงๆ หินปูนสามารถพบได้ที่หลอดเลือดในร่างกายเราด้วยค่ะ โดยเฉพาะตรงหลอดเลือดหัวใจ ถือเป็นจุดเสี่ยงที่พบได้บ่อยเลย
โดยหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากแคลเซียมธรรมชาติในร่างกายที่เกิดการสะสมเป็นก้อนแข็งๆ และไปเกาะอยู่ที่หลอดเลือด
หรืออาจเกิดได้จากร่างกายสร้างแคลเซียมขึ้นมาป้องกันการเกิดบาดแผล ทำให้เกิดการสะสมที่หลอดเลือดเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังเกิดได้จากคราบไขมันส่วนเกินที่รวมตัวไปเกาะกันอยู่ที่ผนังหลอดเลือดแดงได้ด้วย
เมื่อร่างกายเรามีหินปูนเกาะที่ผนังหลอดเลือดมากๆ การไหลเวียนของเลือดก็จะไม่คล่องตัว เกิดปัญหาในการไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจ จนทำให้เราเสี่ยงเกิดโรคร้ายได้หลายโรคเลยค่ะ เช่น
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
- ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
- ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน
การตรวจหาคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ จะทำให้เรารู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้ ซึ่งพอรู้ผลตรวจแต่เนิ่นๆ คุณหมอก็จะวางแผนควบคุมและรักษาให้เราเพื่อลดโอกาศการเกิดโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้ค่ะ
รีวิวตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ ที่ รพ. เปาโล สมุทรปราการ
ขั้นตอนการตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจที่ รพ. เปาโลสมุทรปราการ พอมาถึงก็ลงทะเบียนทำประวัติกับโรงพยาบาลก่อนค่ะ
จากนั้นก็ชั่งน้ำหนัก วัดความดัน วัดส่วนสูงกันให้เรียบร้อย แล้วเราก็ไปต่อที่คลินิกหัวใจและหลอดเลือดของโรงพยาบาลต่อเพื่อเข้าพบคุณหมอกันค่ะ
ซึ่งเราก็ได้แจ้งประวัติสุขภาพให้คุณหมอทราบด้วยว่าก่อนหน้านี้มีตรวจเจอภาวะหัวใจโตและลิ้นหัวใจรั่ว
คุณหมอก็บอกว่าเรามีโอกาสที่จะหัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลวได้อยู่แล้ว ยิ่งถ้าตรวจเจอคราบหินปูนก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเกิดภาวะพวกนี้สูงมากขึ้นไปอีก และเรายังมีโอกาสเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และภาวะหัวใจวายเฉียบพลันด้วย
สำหรับการตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจวันนี้ เราจะตรวจกันด้วยวิธีทำ CT Scan เพื่อให้สามารถคำนวณหาค่าคราบหินปูนหรือแคลเซียมที่ไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดได้
คุณหมอบอกว่า CT Scan เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงที่สามารถถ่ายสแกนหลอดเลือดของเราได้อย่างคมชัด สามารถหาปริมาณแคลเซียมในคราบหินปูนที่เกาะที่หลอดเลือดหัวใจได้แม่นยำมาก
นอกจากนี้เราจะได้รู้ปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดในเชิงลึกก่อนที่จะสายเกินไป แต่ไว้ให้ผลตรวจออกมาก่อน แล้วเดี๋ยวมาช่วยกันวางแผนสุขภาพกันอีกทีค่ะ
พูดเคลียร์สรุปกระบวนการตรวจกับคุณหมอแล้ว เราก็ไปเริ่มทำ CT Scan กันค่ะ ก่อนอื่นก็ต้องเปลี่ยนชุดเป็นชุดสำหรับตรวจ CT Scan กันก่อน หลังจากนั้นก็จะมีเจ้าหน้าที่นำทางเราเข้าไปในห้องทำ CT Scan
พอเข้ามาในห้องทำ CT Scan ก็จะต้องลงไปนอนบนเตียงที่อยู่กึ่งกลางตรงช่องวงกลมของเครื่อง CT Scan แล้วเจ้าหน้าที่จะเอาสายรัดใหญ่ๆ มารัดตัวเราไว้ และจะห่มผ้าให้ด้วยเผื่อว่าเราหนาวระหว่างรอให้เครื่องทำงาน
เมื่อห่มผ้าให้เราเรียบร้อย เจ้าหน้าที่จะกดปุ่มให้เตียงขยับเข้าไปตั้งอยู่ตรงกึ่งกลางของเครื่อง CT Scan กันเลย
หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะเข้าไปในห้องควบคุม CT Scan ที่อยู่ติดกันค่ะ แล้วควบคุมถ่ายภาพเอกซเรย์หลอดเลือดของเราออกมา ระหว่างนั้นเราก็แค่นอนนิ่งๆ อยู่บนเตียงเอาไว้เหมือนเดิมก็พอ
การตรวจ CT Scan ไม่เจ็บค่ะ ไม่ต้องฉีดยา วางยาชา วางยาสลบ หรือเจาะเข็มอะไรทั้งนั้น ไม่ต้องเตรียมตัวอดน้ำหรืออดอาหารมาก่อนด้วย
ขั้นตอนการตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจใช้เวลาประมาณ 10 นาทีก็เสร็จ จากนั้นเราก็ออกมาเปลี่ยนเสื้อผ้า แล้วไปฟังผลตรวจกับคุณหมอกันต่อค่ะ
ผลตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ
สำหรับวิธีการอ่านค่า CT Scan ในวันนี้ คุณหมอแจ้งว่าหากตรวจไม่พบคราบหินปูนในผนังหลอดเลือด ค่าที่ได้จะเป็น 0 ค่ะ และหมายถึงเรามีความเสี่ยงต่ำในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
แต่ถ้าเครื่องตรวจพบคราบหินปูนในปริมาณ 100-400 ก็จัดว่ามีความเสี่ยงปานกลางค่ะ แต่ถ้าตรวจเจอค่ามากกว่า 400 อันนี้ถือว่าอันตรายแล้วค่ะ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบใน 2-5 ปีได้ แม้ไม่มีอาการ
จากผลตรวจที่ออกมา คุณหมอได้ให้เราดูภาพหลอดเลือดหัวใจที่อยู่บนจอคอมพิวเตอร์ คุณหมอแจ้งว่าค่าแคลเซียมที่อยู่ในคราบหินปูนที่ตรวจพบค่อนข้างสูงอยู่ที่ค่า 3,000 กว่าเลยค่ะ ซึ่งมองจากรูปก็จะเห็นด้วยว่ามีหินปูนเกาะอยู่ที่หนังหลอดเลือดเราทั้งซ้ายขวาเยอะเลย
คุณหมอจึงแจ้งตามตรงว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ใน 2-5 ปีข้างหน้า และเสี่ยงสูงกว่ากลุ่มคนวัยเดียวกันด้วยนะ
การดูแลตัวเองเพื่อเลี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
สำหรับขั้นตอนการดูแลตนเองหลังจากนี้ คุณหมอย้ำก่อนว่าการดูแลตนเองนับจากนี้จะเป็นการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่แค่ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เพื่อลดโอกาสไม่ให้เราเสียชีวิจจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบค่ะ
อย่างแรก เราจะต้องลดการกินอาหารที่มีไขมันสูงทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นเนย นม กะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารทอด ไข่แดง อาหารทะเล หนังหมู หนังไก่ แล้วเปลี่ยนมากินพวกเนื้อปลา เนื้อหมูสันนอก หมูสันใน อกไก่ อาหารที่ปรุงด้วยวิธีการต้มนึ่งหรือย่างแทนค่ะ
อย่างที่สอง ต้องออกกำลังกายทุกวัน วันละ 30 นาทีก็พอ แต่ต้องสม่ำเสมอทุกวัน อย่างที่สาม ต้องนอนพักผ่อนให้พอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง
อย่างที่สี่ ต้องกินยาที่คุณหมอสั่งจ่ายให้ โดยจะเป็นยาลดไขมัน ยาป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด
และอย่างสุดท้าย หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอีก ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที ถึงตอนนั้นคุณหมออาจจะส่งตรวจฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจอีกทีค่ะ
ต้องกลับไปปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันหลายอย่างเลยค่ะ จากผลตรวจวันนี้ก็น่าตกใจอยู่ แต่อย่างน้อยเราก็รู้แล้วว่าต้องดูแลตนเองยังไงต่ออย่างถูกวิธี ต้องขอบคุณคุณหมอจากโรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการจริงๆ ที่ช่วยให้คำแนะนำเป็นอย่างดี
ก่อนจากลากัน เราก็ได้ถามคุณหมอต่อสักหน่อยว่า ใครควรมาตรวจคราบหินปูนที่หลอดเลือดหัวใจบ้าง เผื่อจะนำไปบอกต่อเพื่อนๆ คนรู้จักที่มีความเสี่ยงเหมือนกันค่ะ
คุณหมอจึงแนะนำว่าพออายุ 40 ปีขึ้นไปก็ควรมาลองตรวจสักครั้งได้แล้ว รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่จัด ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจด้วย หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิต หรือตรวจเจอไขมันในเลือดสูง น้ำหนักเกินเกณฑ์ ก็ควรมาตรวจเช่นกันค่ะ ต่อให้ไม่มีอาการแต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงพวกนี้ก็ควรมาตรวจค่ะ
อย่ารอช้านะคะทุกคน ใครอ่านรีวิวแล้วพบว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยง รีบมาตรวจตั้งแต่ยังไม่มีอาการค่ะ จะได้หาทางรับมือกับปัญหาสุขภาพที่ตรวจพบได้ถูก ไม่อย่างนั้นอันตรายถึงชีวิตได้นะคะ
สำหรับโปรแกรม ตรวจคราบหินปูนในหลอดเลือดหัวใจ Calcium Scoring ที่ โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ ดูรายละเอียดได้ที่ HDmall.co.th ค่ะ
ช่วยให้ได้ราคาค่าตรวจที่ถูกขึ้น และมีแอดมินช่วยนัดหมายวันเวลาตรวจที่เราสะดวกกับโรงพยาบาลให้ด้วย หรือถ้าสงสัยข้อมูลส่วนไหน สามารถแอดไปที่ไลน์ @HDcoth เพื่อคุยกับแอดมินได้ค่ะ