เคนมผงคืออะไร? ยาต้องห้ามที่อันตรายถึงตาย


เคนมผง, เฮโรอีน, ยาเค, สารเสพติด, โรเซ่

HDmall สรุปให้!

ขยาย

ปิด

  • เคนมผง คือ ยาเสพติดชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำยาหลายชนิดมาผสมเป็นผงปั่นละเอียดคล้ายนมผง ใช้วิธีการสูดดมเข้าผ่านจมูก ลักษณะมั่วสุมเช่นนี้เสี่ยงต่อการกระจายเชื้อโควิด-19 ด้วย
  • ส่วนผสมที่อาจพบได้แก่ เคตามีน เฮโรอีน ยาไอซ์ โรเซ่ (ยาสลบ) และอาจมีสารประกอบของสารที่ใช้ในการประหารนักโทษด้วย
  • เคนมผงจะส่งผลต่อระบบประสาท มีอาการทางจิต หลอน กดการหายใจ หากใช้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตสูง
  • เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสารเสพติดได้ที่ HDmall หรือตรวจโควิด แตะตรงนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสอบถามแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth


ยาเสพติดที่เคยพบในประเทศไทยมีหลายชนิด และในปัจจุบันก็แพร่กระจายไปในหลายพื้นที่ เนื่องจากอาจมีราคาถูกลง หาได้ง่ายขึ้น ทำให้มีนักเสพหน้าใหม่เพิ่มขึ้น

ล่าสุดมียาเสพติดชนิดใหม่ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปแล้วหลายราย และมีราคาเพียง 500 บาท เท่านั้น ชื่อว่า “เคนมผง” นั่นเอง


เลือกหัวข้อที่สนใจเกี่ยวกับเคนมผมที่นี่

  • เคนมผงคืออะไร?
  • ยาเคนมผงผสมอะไรบ้าง?
  • ผลข้างเคียงของเคนมผง

  • เคนมผงคืออะไร?

    เคนมผง คือชื่อยาเสพติดชนิดหนึ่งที่เกิดจากการนำตัวยาหลายชนิดมาผสมเองในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติด ลักษณะเป็นผงปั่นละเอียดคล้ายนมผง ใช้วิธีการสูดดมเข้าผ่านจมูก

    หากรับเข้าไปเกินขนาด ฤทธิ์ของยาจะเข้าไปส่งผลต่อระบบประสาท กดการหายใจ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้

    เคนมผง ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมายที่คนทั่วไปห้ามมีไว้ในครอบครองหรือจำหน่าย หากฝ่าฝืนอาจถูกแจ้งข้อหามีวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ไว้ในความครอบครองและจำหน่าย โดยผิดกฏหมาย

    ยาเคนมผงผสมอะไรบ้าง?

    ยาเคนมผงจากกรณีที่เป็นข่าว กำลังอยู่ในระหว่างตรวจพิสูจน์ส่วนผสมที่แท้จริง แต่เบื้องต้นส่วนผสมที่อาจพบอาจมีดังนี้

    • เคตามีน (Ketamine) เป็นสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและสมอง ช่วยระงับความรู้สึก ต้านอาการซึมเศร้ารุนแรง แต่หากใช้เกินปริมาณที่เหมาะสม จะทำให้หมดสติ ปัสสาวะเป็นเลือด ปากซีด เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หัวใจเต้นผิดจังหวะ จึงอนุญาตให้ใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น
    • เฮโรอีน (Heroin) เป็นสารสังเคราะห์มาจากมอร์ฟีน (Morphine) แต่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่า เสพติดง่ายกว่า และอันตรายมาก โดยเข้าไปทำให้สมองหลั่งสารโดปามีน (Dopamine) มากขึ้น ทำให้รู้สึกมีความสุข แต่หากใช้มากเกินไปจะทำให้สมองไม่สามารถหลั่งโดปามีนได้ตามปกติจนมีอาการ ง่วงนอนตลอดเวลา พูดไม่ชัด ซึมเศร้า ความจำเสื่อม มีน้ำมูก และอาจทำให้มีพฤติกรรมก้าวร้าว
    • ยาไอซ์ เป็นหนึ่งในรูปแบบยาบ้า (Methamphetamine) ที่มีความบริสุทธิ์ 100% จึงมีความรุนแรงกว่ายาบ้ามาก มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทให้รู้สึกกะปรี้กะเปร่า อยู่ไม่สุก นอนไม่หลับ และมีความต้องการทางเพศสูง หากใช้มากเกินไปจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันสูง ตกใจ หวาดหลัว จนเกิดเป็นโรคจิตได้
    • โรเซ่ เป็นหนึ่งในรูปแบบของยานอนหลับ อาจช่วยสงบประสาท คลายกล้ามเนื้อ ซึ่งควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น

    นอกจากนี้ รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยังกล่าวว่าอาจมีสารประกอบเหล่านี้ด้วย

    • โซเดียม เพนโทธาล (Sodium Pentothai) เป็นสารประกอบยาสลบชนิดที่ใช้ในการในประหารชีวิตนักโทษ ทำให้หมดสติอย่างรวดเร็ว
    • แพนคิวโรเนียม โบรไมด์ (Pencuronium bromide) มีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อ มีส่วนทำให้หัวใจหยุดทำงาน
    • โพแทสเซียม คลอไรด์ (Potassium chloride) เป็นยาที่ทำให้หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตได้

    อย่างไรก็ตาม ยาเคนมผงอาจไม่มีส่วนผสมที่แน่นอน ผู้ที่นำไปเสพอย่างผิดวิธีอาจมีการผสมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต

    ผลข้างเคียงของเคนมผง

    ยาเคนมผง มีส่วนผสมหลักเป็นเคตามีน แต่เนื่องจากการนำยาชนิดอื่นมาผสมด้วยจึงทำให้ผลข้างเคียงรุนแรงมากขึ้น ดังนี้

    • มึนเมา
    • ประสาทหลอน
    • หวาดระแวง คิดว่ามีคนจะทำร้าย
    • สูญเสียความจำ
    • เสียความสามารถในการเคลื่อนไหว
    • มีปัญหาการรับรู้ทางจิต
    • อาจกลายเป็นคนวิกลจริต
    • กดการหายใจ
    • มีโอกาสเสียชีวิต

    ในกรณีที่ใช้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ จะมีโอกาสที่จะเสียชีวิตมากขึ้นแม้จะเสพเพียงครั้งแรกเท่านั้น นอกจากนี้ผู้ป่วยบางรายที่ไม่ถึงกับชีวิต และเข้ารับการรักษา ก็ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้

    ดังนั้น หากคุณเป็นผู้เคยใช้สารเสพติดดังกล่าว หรือพบเห็นคนที่ใช้สารเสพติด แนะนำให้เข้ารับการบำบัดทันที เพราะนอกจากจะเสี่ยงกระทบต่อสุขภาพแล้ว การมั่วสุมใช้สารเสพติดยังมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโควิดได้ด้วย

    เปรียบเทียบราคาแพ็กเกจตรวจสารเสพติดได้ที่ HDmall หรือตรวจโควิด แตะตรงนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสอบถามแอดมินได้ที่ไลน์ @hdcoth

    ที่มาของข้อมูล

    WebMD, What You Need to Know About Ketamine’s Effects, (https://www.webmd.com/depression/features/what-does-ketamine-do-your-brain#1), 27 February 2018.

    Jaime Herndon, MS, MPH, MFA, Heroin Addiction: What You Should Know, (https://www.healthline.com/health/heroin-addiction), 25 July 2018.

    กรุงเทพฯธุรกิจ, ทำความรู้จัก “เคนมผง” ยาเสพติดฤทธิ์แรง, (https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/916666), 11 มกราคม 2564.

    ภญ. กิตติมา วัฒนากมลกุล, ยาไอซ์ (Ice), (https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/88/ยาไอซ์-Ice/).

    กรมประชาสัมพันธ์, เตือนภัยกลุ่มวัยรุ่นนิยมทดลองสิ่งแปลกใหม่ ชี้ยาเคนมผง ออกฤทธิ์รุนแรง อันตรายอาจถึงตายได้แม้เสพครั้งแรก, (https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/7195).

    @‌hdcoth line chat