faq gastric sleeve surgery 1

รวม 23 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการผ่าตัด ลดขนาดกระเพาะอาหาร ตอบโดยแพทย์

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร เป็นหนึ่งในวิธีรักษาผู้ที่มีภาวะอ้วนให้กลับมามีน้ำหนักตัวปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กลับมามีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่มาพร้อมโรคอ้วน เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือข้อเข่าเสื่อมได้อีกด้วย

ตอบคำถามโดย นาวาโท นพ.คมเดช ธนวชิระสิน แพทย์ศัลยกรรมผ่าตัดโรคอ้วนและเมตาโบลิค จาก โรงพยาบาลพระรามเก้า

สารบัญ

รวมคำถาม-คำตอบ ผ่าตัด ลดขนาดกระเพาะอาหาร ตอบโดยแพทย์

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร คืออะไร?

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร ในอดีตใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหาร หรือโรคแผลในกระเพาะอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดเอากระเพาะอาหารส่วนที่ไม่ดีออกไป ซึ่งผลที่ตามมาคือ ทำให้ผู้เข้ารับการรักษามีน้ำหนักตัวลดลง โรคประจำตัวต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน หรือค่าระดับความดันโลหิตดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงได้มีการศึกษาอย่างจริงจัง แล้วนำมาใช้รักษาในผู้ที่เป็นโรคอ้วนในปัจจุบัน – ตอบโดย นาวาโท นพ.คมเดช ธนวชิระสิน

การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร แบ่งเป็น 2 รูปแบบหลักๆ คือ ผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง และผ่าตัดบายพาส (Bypass) เพื่อทำทางเบี่ยงทางเดินอาหาร ซึ่งทั้ง 2 วิธี สามารถทำร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา – ตอบโดย นาวาโท นพ.คมเดช ธนวชิระสิน
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลง แบ่งเป็น 2 วิธี คือ “ใช้ห่วงรัดให้เล็กลง” แต่ไม่นิยม เพราะเสี่ยงต่อการผ่าตัดซ้ำ การเกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือห่วงกินเนื้อเยื่อกระเพาะอาหาร และ “การผ่าตัดกระเพาะอาหารบางส่วนออกด้วยวิธีการส่องกล้อง” ซึ่งเป็นวิธีผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารมาตรฐาน
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารแต่ละวิธีมีข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกัน แต่สามารถทำร่วมกันได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในผลการรักษา ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์เพิ่มเติมเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับการรักษามากที่สุด
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร จะผ่าตัดกระเพาะอาหารส่วนที่มีโอกาสโตมากขึ้น และส่วนที่ผลิตฮอร์โมนที่ทำให้อยากอาหารออกไป ซึ่งจำเป็นต้องทำโดยแพทย์ผู้มีความชำนาญการ
การที่กระเพาะอาหารมีขนาดเล็กลงจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง อีกทั้งกระเพาะอาหารส่วนที่ผลิตฮอร์โมนทำให้รู้สึกหิวยังถูกตัดออกไปบางส่วน จึงทำให้ผู้เข้ารับการรักษาไม่รู้สึกหิวมากเท่าเดิม ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จึงมีส่วนช่วยให้ผู้เข้ารับการรักษามีน้ำหนักตัวลดลงนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เข้ารับการรักษาจะต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์ เช่น การควบคุมอาหาร หรือออกกกำลังกายร่วมด้วย
ในทางการแพทย์ สามารถช่วยรักษาโรคเบาหวาน และทำให้ค่าระดับความดันโลหิตดีขึ้นได้จริง โดยเฉพาะในผู้ป่วยระยะแรก เนื่องจากน้ำหนักตัวลดลง และฮอร์โมนในร่างกายสมดุลมากขึ้น
ผู้ที่มีอายุระหว่าง 17-70 ปี ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก
ผู้ที่มีอายุระหว่าง 17-70 ปี ที่มีค่า BMI มากกว่า 32 หรือเป็นภาวะโรคอ้วน สามารถเข้ารับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักได้
ผู้ที่อายุน้อยกว่า 17 ปี เพราะยังอยู่ในวัยเจริญเติบโต ผู้ที่มีอายุมากกว่า 70 ปี เพราะมีความเสี่ยงสูง และผู้ที่เป็นโรคร้ายแรงที่ยังอยู่ในกระบวนการรักษา เช่น โรคมะเร็ง
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร มีความเสี่ยงในการเกิดการรั่วซึม เลือดออก หรือเกิดรอยปริ จึงจำเป็นต้องทำกับแพทย์ผู้ชำนาญการ โดยโรงพยาบาลพระเก้าจะลดความเสี่ยงด้วยการใช้กาวติดเนื้อเยื่อเสริมกับการเย็บ และให้ผู้เข้ารับการรักษาพักฟื้นดูอาการที่ห้องไอซียู 1 คืน โดยในวันถัดไปจะให้ผู้เข้ารับการรักษากลืนแป้งแบเรียมซัลเฟต (Barium sulfate) เพื่อเอกซเรย์ดูการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหารและตรวจการรั่วซึมซ้ำอีกครั้ง แล้วย้ายไปพักฟื้นที่ห้องพักปกติต่ออีก 2 วัน
เตรียมร่างกายกับแพทย์ โดยการเข้ารับตรวจสุขภาพ ตรวจโรคประจำตัว และภาวะเสี่ยงต่างๆ และเตรียมใจว่า จะไม่สามารถรับประทานอาหารได้ในปริมาณเท่าเดิม และปรับทัศนคติในการใช้ชีวิตใหม่
ก่อนเข้ารับการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารจะต้องเข้ามานอนที่โรงพยาบาลเพื่อรับยาละลายลิ่มเลือด 1 คืน ในวันผ่าตัดจะต้องนอนที่ห้องไอซียูเพื่อสังเกตอาการได้อย่างใกล้ชิด 1 คืน และพักฟื้นที่ห้องพักปกติต่ออีก 2 คืน รวมเป็นทั้งหมด 4 คืน 5 วัน
ผลลัพธ์ในการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนักจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวตั้งต้น โดยส่วนมาก สัปดาห์แรกๆ น้ำหนักตัวจะลดลง 1-2 กิโลกรัม และเดือนแรกน้ำหนักตัวจะลดประมาณ 10 กิโลกรัม
ลักษณะการรับประทานอาหารจะแบ่งเป็น 4 สัปดาห์ โดยสัปดาห์แรก รับประทานอาหารเหลวใส สัปดาห์ที่ 2 รับประทานอาหารที่มีกากใยและข้นมากขึ้น เช่น ซุป สัปดาห์ที่ 3 รับประทานอาหารอ่อนนุ่ม เช่น ไข่ตุ๋น และสัปดาห์ที่ 4 รับประทานอาหารได้ตามปกติ โดยเน้นโปรตีน และการดื่มน้ำให้เพียงพอ
หลังผ่านช่วงพักฟื้นไปแล้ว สามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารสามารถช่วยลดน้ำหนักตัวได้อย่างถาวร และช่วยให้รู้สึกหิวน้อยลง เนื่องจากฮอร์โมนที่ทำให้หิวผลิตได้ลดลง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตัวของผู้เข้ารับการรักษาด้วย
หากเป็นการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหารให้เล็กลงอย่างเดียว ไม่ได้ผ่าตัดบายพาสเปลี่ยนเส้นทางเดินอาหาร จะไม่ส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร อย่างไรก็ตาม ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะรับประทานอาหารได้น้อยลง จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์มากๆ เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดสารอาหาร
ในกรณีที่ไม่มั่นใจว่าได้รับสารอาหารเพียงพอ สามารถเลือกรับประทานอาหารเสริมจำพวกวิตามิน และแร่ธาตุได้ อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดบายพาสเปลี่ยนเส้นทางเดินอาหาร จะต้องเข้ารับการตรวจระดับวิตามินในเลือดและเข้ารับการให้วิตามินเสริม เพราะการเปลี่ยนเส้นทางเดินอาหารจะทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้น้อยลง – ตอบโดย นาวาโท นพ.คมเดช ธนวชิระสิน
ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัดลดขนาดกระเพาะอาหาร แพทย์จะติดตามอาการอย่างใกล้ชิด เพราะร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งฮอร์โมนในร่างกาย การรับประทานอาหารที่เปลี่ยนไป การจัดการอารมณ์ และสภาพแผลผ่าตัด หลังจากนั้นจะนัดตรวจติดตามอาการเป็นระยะ เริ่มจาก 1 เดือน 3 เดือน ไปจนถึง 1 ปี ซึ่งในระหว่างนั้นจะมีเจ้าหน้าที่โทรไปสอบถามอาการอยู่เสมอ

Scroll to Top