สารพัดปัญหาเรื่อง น้องสาว มีกลิ่น scaled

ช่องคลอดมีกลิ่น แก้ปัญหาได้อย่างไรบ้าง

โดยปกติ ช่องคลอดของผู้หญิง จะมีฤทธิ์เป็นกรด ทำให้มีกลิ่นได้เล็กน้อย น้ำปลา ปลาเค็ม คาวปลา เน่า เหม็นเค็ม เป็นกลิ่นเปรี้ยวอ่อนๆ และอาจจะมีตกขาวได้ โดยตกขาวก็คือสารคัดหลั่งที่มาจากช่องคลอดและมูกที่ปากมดลูกออกมาปนกัน

ลักษณะของตกขาวปกติจะแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงของรอบประจำเดือน โดยช่วงก่อนไข่ตก (2 สัปดาห์แรก หลังประจำเดือนวันแรก) จะมีลักษณะเป็นมูกยืดใส ส่วนหลังไข่ตก ลักษณะตกขาวจะเปลี่ยนเป็นสีขาวคล้ายแป้ง ซึ่งไม่ทำให้มีอาการคัน ระคายเคือง และไม่มีกลิ่นเหม็น

สาเหตุของกลิ่นเหม็น ส่วนใหญ่มาจากเชื้อแบคทีเรียที่ผิดปกติในช่องคลอด อาจเป็นการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือภาวะไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด ซึ่งมักพบการมีตกขาวที่ผิดปกติร่วมด้วย

ต้นตอของปัญหาน้องสาวมีกลิ่น

  • ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
  • การไม่ใส่ใจสุขอนามัย
  • การลืมเปลี่ยนผ้าอนามัย
  • การมีเหงื่อออก
  • การติดเชื้อ
  • ทวารหนักทะลุเข้าช่องคลอด ความผิดปกติของช่องเปิดระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก
  • มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งช่องคลอด
  • การรับประทานอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารประเภทหัวหอม กาแฟ หน่อไม้ฝรั่ง หรือเครื่องเทศบางชนิด
  • การใช้ยารักษาโรคบางอย่าง ยาปฎิชีวนะบางอย่าง
  • การเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน
  • การสวนล้างช่องคลอด

ช่องคลอดมีกลิ่นเหม็น มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยถ้าเป็นกลิ่นเหม็นเน่า รุนแรง มีตกขาวสีเหลืองเขียวคล้ายหนอง มีอาการปวดท้องน้อย มีไข้ร่วมด้วย มักเกิดจากการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน กรณีนี้ควรไปพบแพทย์ทันที เพื่อให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม เพราะอาจมีการติดเชื้อที่รุนแรงได้

อีกกรณีของปัญหากลิ่นเหม็นของน้องสาวที่พบได้บ่อย คือ น้องสาวมีกลิ่นเหม็นเค็ม เหมือนปลาเค็มหรือกลิ่นคาวปลา มักพบร่วมกับการมีตกขาวสีขาวเนื้อเนียน ปริมาณมาก (Homogeneous white discharge) อาการมักไม่รุนแรง มักจะไม่มีปวดท้องหรือไข้ร่วมด้วย กรณีนี้จะเกิดจากภาวะไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด (Bacterial vaginosis)

เมื่อพบสาเหตุช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นแล้ว ก็ควรปรับพฤติกรรมเหล่านั้น รักษาความสะอาดของน้องสาวให้ดี ซึ่งเป็นวิธีแก้แบบธรรมชาติเบื้องต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ภาวะน้องสาวมีกลิ่นเกิดเป็นซ้ำอีก

ภาวะไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอด (Bacterial vaginosis)

ปกติแล้ว ในช่องคลอดของผู้หญิงจะมีแบคทีเรียประจำถิ่น (Normal flora) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ดีอาศัยอยู่ คือ แบคทีเรียกลุ่มแลคโตบาซิลัสประจำช่องคลอด ซึ่งทำให้ช่องคลอดอยู่ในสภาวะสมดุล เป็นกรดอ่อนๆ ไม่มีกลิ่น

ถ้ามีภาวะอะไรก็ตามที่เป็นอันตรายต่อแลคโตบาซิลัส ทำให้แบคทีเรียที่ดีกลุ่มนี้ลดลง แบคทีเรียอื่นที่เป็นแบคทีเรียที่ไม่ดีก็จะเจริญขึ้นมาแทนที่ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic bacteria) ทำให้ช่องคลอดมีอาการผิดปกติ ตกขาวมาก และมีกลิ่นเหม็น เหมือนกลิ่นปลาเค็ม กลิ่นคาวปลา

สาเหตุที่ทำให้แบคทีเรียแลคโตบาซิลัสลดลง เช่น การทำความสะอาดช่องคลอดที่ไม่เหมาะสม การสวนล้างช่องคลอด การใช้ยาฆ่าเชื้อที่เกินจำเป็น หากปรับพฤติกรรม อาจแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องใช้ยา

วิธีแก้ช่องคลอดมีกลิ่น ด้วยวิธีธรรมชาติ

  • สวมใส่กางเกงชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย และใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่น เพื่อป้องกันการเกิดความชื้น และเพิ่มอากาศถ่ายเท
  • อาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีหลังการออกกำลังกาย
  • ควรควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • รักษาสุขอนามัยที่ดี โดยการล้างช่องคลอดด้วยน้ำอุ่น และสบู่ที่ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคือง
  • หลีกเลี่ยงการสวนล้างช่องคลอด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่อาจเพิ่มกลิ่นช่องคลอด เช่น หัวหอม เครื่องเทศต่างๆ หรือของหมักดอง
  • หลังจากการปัสสาวะ ให้ทำความสะอาด โดยการเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลัง หรือเช็ดเป็นวงกลม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของแบคทีเรียจากทวารหนักสู่ช่องคลอด
  • รับประทานโยเกิร์ต หรืออาหารจำพวกโปรไบโอติกส์ หรือรับประทานอาหารเสริมที่มีส่วนผสมของโปรไบโอติกส์
  • หลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์ และครีมภายในช่องคลอด เพราะสามารถก่อให้เกิดอาการระคายเคืองได้

ถ้ามีอาการตกขาวผิดปกติ มีกลิ่นเหม็นมาก การแก้ด้วยวิธีธรรมชาติอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควรหรือเห็นผลช้า แนะนำว่าควรไปพบแพทย์ตรวจภายใน เพื่อจะได้รับการวินิจฉัยให้ถูกต้อง แก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดและเห็นผลลัพธ์เร็วกว่า

หากแพทย์วินิจฉัยแล้วพบว่าเกิดจากภาวะไม่สมดุลของแบคทีเรียในช่องคลอดจริง การรักษาจะทำโดยการใช้ยาฆ่าเชื้อที่ครอบคลุมกลุ่มแบคทีเรียที่หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic bacteria)

สิ่งที่สำคัญคือต้องรับประทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole) รับประทานต่อเนื่องเป็นเวลา 7 วัน หรือยา เมโทรไนดาโซล (Metronidazole), ไตไนดาโซล (Tinidazole)

นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว ผู้ป่วยควรสังเกตว่าตนเองมีพฤติกรรมอะไรที่มีความเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายต่อแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอด เช่น การรับประทานยาฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสม การทำความสะอาดบริเวณน้องสาวที่ไม่ถูกต้อง


เขียนบทความโดย พญ. พิมพกา ชวนะเวสน์


ที่มาของข้อมูล

  • กิตติรัตน์ เตชะไตรศักดิ์, ประสงค์ ตันมหาสมุทร, มงคล เบญจาภิบาล, อรรถพล ใจชื่น, ธันยารัตน์ วงศ์วนานุรักษ์. ตำรานรีเวชวิทยา ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, 2560.
  • ประภาพร สู่ประเสริฐ, ฉลอง ชีวเกรียงไกร, เฟื่องลดา ทองประเสริฐ, ทวิวัน พันธศรี. สูตินรีเวชเชียงใหม่. เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2558.
  • Berek JS, Berek DL, Hengst TC, Barile G, Novak E. In: Berek & Novak’s gynecology 15th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins, 2012.
Scroll to Top