Default fallback image

รวมสาเหตุโรคกระดูกพรุน รู้เร็วลดเสี่ยง เลี่ยงก่อนสาย

โรคกระดูกพรุนฟังดูเหมือนเป็นโรคที่ไกลตัว และเกิดขึ้นได้เฉพาะกับผู้สูงอายุ แต่จริง ๆ แล้ว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ระยะของโรคส่วนมากใช้เวลานานหลายปี และไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า กว่าจะรู้อีกทีก็ตอนเกิดอุบัติเหตุ หรือตอนกระดูกพรุนไปแล้วนั่นเอง

อยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน เพราะยิ่งรู้เร็ว ยิ่งลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้ทัน 

ทำไมกระดูกพรุน 

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือภาวะที่ความหนาแน่นและมวลกระดูกลดลง 

ตามธรรมชาติกระดูกของคนเราจะประกอบด้วย เซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ทำหน้าที่สร้างกระดูกขึ้นมาใหม่จากแคลเซียมและโปรตีนตามกระบวนการของร่างกาย และเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูกที่เก่าออก

เมื่อมีการสร้างและการสลายกระดูกไม่สมดุลกัน ส่งผลให้เกิดการสลายตัวของกระดูกเก่าเร็วกว่าการสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมา ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกเปราะบาง และผิดรูป 

เมื่อเกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น บิดตัวหรือเอี้ยวตัวอย่างทันทีทันใด ลื่นล้ม ไอ จาม ก็อาจทำให้เกิดกระดูกแตกหักได้ง่ายกว่าปกติ อาจเสี่ยงพิการ และกระทบต่อคุณภาพชีวิต

ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน มีอะไรบ้าง

อย่างที่บอกว่าไปว่าความผิดปกติของการสร้างกระดูกแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยเอื้อให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้มากขึ้น 

อายุ
มวลกระดูกของคนเราจะหนาแน่นที่สุดในช่วงอายุ 30 ปี หลังจากนั้นกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกายจะเริ่มช้าลงตามอายุ ทำให้กระบวนการสร้างดูกใหม่ช้าลงตามไปด้วย จึงพบโรคกระดูกพรุนได้บ่อยในคนอายุ 50 ปีขึ้นไป 

เพศ
เพศหญิงมีความหนาแน่นและมวลกระดูกน้อยกว่าเพศชาย จึงมีแนวโน้มเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่า โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งมีการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ลดลง ทำให้เนื้อกระดูกลดลงตามไปด้วย เช่น

  • ผู้หญิงอายุเกิน 60 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 10 คน ใน 100 คน
  • ผู้หญิงอายุเกิน 70 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 20 คน ใน 100 คน
  • ผู้หญิงอายุเกิน 80 ปี โอกาสเกิดกระดูกพรุน 40 คน ใน 100 คน

ส่วนผู้ชายจะมีความเสี่ยงมากขึ้นเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) น้อยลง หรือในช่วงอายุ 70 ปีขึ้นไป 

กรรมพันธุ์
คนที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคกระดูกพรุนสูงกว่าคนทั่วไป 

โรคประจำตัว และอาการเจ็บป่วย
อาการเจ็บป่วยบางอย่างที่ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง และความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมต่าง ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไตวาย เบาหวาน โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคมะเร็งกระดูก พิษสุราเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ หรือต่อมหมวกไต

ยาบางประเภท
การได้รับยาบางประเภทต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อมวลกระดูก ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ เช่น ยารักษาโรคข้ออักเสบ ยารักษาโรคแพ้ภูมิตัวเอง ยารักษาโรคมะเร็ง หรือยากลุ่มสเตียรอยด์

การบริโภคอาหาร
เกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ ได้แก่ รับประทานสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูกไม่เพียงพอ ได้แก่ แคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน 

หรือรับประทานอาหารบางอย่างที่ทำให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูกเสียสมดุล เช่น อาหารที่เค็มจัดและคาเฟอีน จะทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากขึ้น และยังส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียม 

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง หรือมากกว่า 3 แก้วต่อวัน จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้น เพราะแอลกอฮอล์จะลดการดูดซึมแคลเซียมของร่างกาย

การสูบบุหรี่
เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่จะเข้าไปทำลายเซลล์ในการสร้างมวลกระดูก เพิ่มโอกาสการเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น 

การออกกำลังกาย
การออกกำลังจะช่วยเสริมสร้างมวลกระดูกให้มีความแข็งแรงมากขึ้น คนที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย นาน ๆ ออกกำลังกายที หรือไม่ออกกำลังกายเลยเป็นเวลานาน ก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน 

มีปัจจัยเสี่ยง เลี่ยงก็ยาก ตรวจคัดกรองให้อุ่นใจ เช็กราคา เปรียบเทียบแพ็กเกจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน จากคลินิกและรพ. ใกล้คุณ

รู้ได้อย่างไรว่ากระดูกพรุน อาการและวิธีการสังเกต 

โรคกระดูกพรุน จะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยแทบจะไม่รู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคกระดูกพรุน จนกว่าจะเกิดอาการกระดูกแตกหรือหัก ซึ่งอาจเกิดจากอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออาจเกิดแบบไม่ทราบสาเหตุ เช่น 

  • มีอาการปวดเรื้อรังบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะอาการปวดหลัง ปวดเอว เนื่องจากกระดูกข้อสะโพกและกระดูกส่วนหลัง เป็นส่วนที่เป็นกระดูกพรุนได้มากที่สุด 
  • ความสูงลดลง เตี้ยลง โดยอาจเปรียบเทียบจากที่เคยวัดล่าสุด หากลดมากกว่า 6 เซนติเมตร หรือมากกว่า 2 เซนติเมตรภายใน 1 ปี อาจมีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน 
  • มีอาการหลังค่อม หลังคด
  • มีอาการกระดูกแตกหักง่าย ถึงแม้ไม่ได้รับการกระทบแบบรุนแรง

คัดกรองความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน ป้องกันความเสี่ยงได้ง่าย ๆ   

โรคกระดูกพรุนมีระยะการเกิดโรคนาน และไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า การตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนด้วยการวัดมวลกระดูก (Bone mineral density: BMD) เป็นทางเลือกช่วยดูแลสุขภาพกระดูกง่าย ๆ โดยเฉพาะผู้สูงวัยและคนที่มีปัจจัยเสี่ยง 

การวัดมวลกระดูกทำได้หลายวิธี วิธีมาตรฐานที่ใช้วินิจฉัยโรคกระดูกพรุน คือ การใช้รังสีเอกซเรย์พลังงานต่ำ (Dual Energy X-ray Absorptiometry) เรียกสั้น ๆ ว่าเครื่อง DEXA หรือ DXA เป็นเครื่องมือรังสีพิเศษที่ใช้ตรวจกระดูกได้ทุกส่วนในร่างกาย ใช้เวลาตรวจ 1015 นาที และไม่เจ็บปวด

ปกติแล้ว การตรวจวัดมวลกระดูกจะเน้นตรวจบริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอวและกระดูกสะโพก เพราะเป็นตำแหน่งที่พบการพรุนของกระดูกได้บ่อย หากค่าความหนาแน่นอยู่ที่ 1.0 ถึง 2.50 แสดงว่ามีภาวะกระดูกบาง หรือหากมีค่าน้อยกว่า 2.50 แสดงว่ามีภาวะกระดูกพรุน 

การตรวจเจอโรคกระดูกพรุนตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยชะลออาการของโรค และวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น และดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธีมากขึ้น

เมื่อไหร่ควรตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุน 

การตรวจคัดกรองโรคกระดูกพรุนจะแนะนำให้ตรวจในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนสูง เช่น 

  • ผู้หญิงอายุ 65 ปีขึ้นไป หรือผู้ชายอายุ 70 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนก่อนอายุ 45 ปี หรือผ่าตัดเอารังไข่ออกทั้ง 2 ข้างก่อนหมดประจำเดือน
  • ผู้หญิงที่มีภาวะเอสโตรเจนในเลือดต่ำก่อนหมดประจำเดือน อย่างน้อย 1 ปี ยกเว้นช่วงที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตร
  • คนทานยาที่ส่งผลต่อกระดูกหรือยาสเตียรอยด์ (Steroid) ต่อเนื่องเป็นเวลานาน 
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหักจากกระดูกพรุน
  • มีโรคหรือภาวะที่ส่งผลให้มวลกระดูกลดลง เช่น โรคข้ออักเสบ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไตวาย เบาหวาน ภาวะต่อมพาราไทรอยด์ทางานมากเกินไป พิษสุราเรื้อรัง ธาลัสซีเมีย หรือโรคมะเร็งกระดูก 

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ไม่แน่ใจความเสี่ยงของโรค หรืออยากเข้ารับการตรวจัดกรองโรคกระดูกพรุน สามารถปรึกษาแพทย์เบื้องต้นก่อนเข้ารับการตรวจได้ เพื่อถึงประโยชน์และความคุ้มค่าสูงสุด

โรคกระดูกพรุนมักไม่แสดงอาการชัดเจน ทำให้หลายคนชะล่าใจ แต่ภัยเงียบนี้เอง อาจเป็นอันตรายและกระทบต่อสุขภาพระยะยาว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงก่อโรค และการตรวจวัดมวลกระดูก จึงเป็นแนวทางที่ช่วยให้ห่างไกลกับโรคกระดูกพรุนได้

ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งลดความเสี่ยงกระดูกพรุน เช็กราคาแพ็กเกจคัดกรองภาวะกระดูกพรุน ทำนัดปรึกษาคุณหมอ พร้อมรับโปรดี ราคาประหยัด 

Scroll to Top