Ciprofloxacin (ไซโปรฟลอกซาซิน)

Ciprofloxacin (ไซโปรฟลอกซาซิน) เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาอาการติดเชื้อจากแบคทีเรียหลากหลายชนิด และมีผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรง จึงมักจะนำมาใช้ก็ต่อเมื่อยาปฏิชีวนะตัวอื่น ๆ ที่ปลอดภัยกว่ารักษาไม่เห็นผล

Ciprofloxacin ใช้รักษาอะไรบ้าง

กลไกการออกฤทธิ์ของยา Ciprofloxacin

ยาไซโปรฟลอกซาซินเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน (Fluoroquinolone) 

ตัวยามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ดีเอ็นเอไจเรส (DNA gyrase) และเอนไซม์โทพอยโซเมอเรส 4 (Topoisomerase IV) ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอของแบคทีเรีย ยานี้จึงช่วยลดการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียนั่นเอง

รูปแบบยา Ciprofloxacin

ยาไซโปรฟลอกซาซินมีจำหน่ายในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • ยากิน รูปแบบเม็ด ประกอบด้วยไซโปรฟลอกซาซิน ขนาด 250 และขนาด 500 มิลลิกรัม
  • ยาฉีด ประกอบด้วยไซโปรฟลอกซาซินเข้มข้น 100 มิลลิกรัม ในยาฉีด 50 มิลลิลิตร
  • ยาหยอดหู

ข้อควรระวังในการใช้ยา Ciprofloxacin

  • ไม่ใช้ยากับผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ หรือแพ้ยาในกลุ่มควิโนโลน (Quinolone)
  • ไม่ใช้ยากับผู้ป่วยที่กำลังใช้ยาทิซานิดีน (Tizanidine)
  • การใช้ยา Ciprofloxacin อาจมีผลข้างเคียงเป็นอาการมึนงงหรือง่วงซึม ในระหว่างที่ใช้ยาจึงไม่ควรขับรถหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักร จนกว่าจะแน่ใจว่ายาไม่ส่งผลให้รู้สึกมึนงงหรือง่วงซึม
  • การใช้ยาไซโปรฟลอกซาซินอาจมีผลข้างเคียงเป็นอาการมึนงงหรือง่วงซึม จึงไม่ควรขับรถหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักรในระหว่างที่ใช้ยา หรือจนกว่าจะแน่ใจว่ายาไม่ส่งผลให้รู้สึกมึนงงหรือง่วงซึม
  • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจ้า ควรใส่เสื้อผ้าปกปิดให้มิดชิดถ้าต้องตากแดด และควรทาครีมกันแดดอยู่เสมอ เนื่องจากยาอาจมีผลข้างเคียง ทำให้ผิวไวต่อแสงได้
  • ก่อนใช้ยา ควรแจ้งหมอก่อนเสมอ ถ้า:
    • มีอาการชัก หรือโรคลมชัก 
    • เป็นโรคระบบประสาทส่วนกลาง
    • เป็นโรคพร่องเอนไซม์ G6PD 
    • มีภาวะการเต้นของหัวใจผิดจังหวะแบบ QT interval prolongation 
    • เคยได้รับปลูกถ่ายไต หัวใจ ปอด
    • เป็นโรคตับหรือโรคไต 

ปริมาณการใช้ยา Ciprofloxacin

ยา Ciprofloxacin รูปแบบเม็ดสำหรับกิน กินก่อนอาหาร หลังอาหาร หรือตอนท้องว่างได้ แต่ควรกินเวลาเดียวกันทุกวัน 

  • รักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน และการติดเชื้อที่ผิวหนัง
    ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 500–750 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7–14 วัน
  • รักษากรวยไตอักเสบ ชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน
    ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
    กรณีมีภาวะแทรกซ้อน ให้กิน 500–750 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลาอย่างน้อย 10 วัน 
  • รักษาต่อมลูกหมากอักเสบจากการติดเชื้อ
    ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 500–750 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ถ้าเป็นอาการเฉียบพลัน ให้กินเป็นเวลา 2–4 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นเรื้อรัง ให้กินเป็นเวลา 4–6 สัปดาห์ 
  • รักษาไทฟอยด์
    ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
  • รักษาอาการท้องเสีย
    ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1–5 วัน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย
  • รักษาการติดเชื้อที่กระดูกและข้อ
    ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 500–750 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ใช้ยาติดต่อกันนานที่สุดไม่เกิน 3 เดือน
  • รักษากระเพาะปัสสาวะอักเสบ ชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน
    ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 250–500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 วัน
    สำหรับชนิดมีภาวะแทรกซ้อน ให้กินครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
  • รักษาและป้องกันหลังจากการได้รับเชื้อแอนแทรกซ์ผ่านการสูดดม
    ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง จนครบ 60 วัน หลังจากได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อบาซิลลัส แอนทราซิส (Bacilus anthracis) ที่ก่อให้เกิดโรคแอนแทรกซ์ 
  • รักษาการติดเชื้อในช่องท้อง
    ผู้ใหญ่ กินครั้งละ 500–750 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5–14 วัน 

ยา Ciprofloxacin ชนิดยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ

  • รักษาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง และการติดเชื้อที่ผิวหนัง
    ผู้ใหญ่ ให้ยาแบบ Infusion นานกว่า 60 นาที ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือวันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 7–14 วัน 
  • รักษาต่อมลูกหมากอักเสบจากการติดเชื้อ
    ผู้ใหญ่ ให้ยาแบบ Infusion นานกว่า 60 นาที ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 28 วัน 
  • รักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ชนิดมีภาวะแทรกซ้อน
    ผู้ใหญ่ ให้ยาแบบ Infusion นานกว่า 60 นาที ครั้งละ 200–400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7–14 วัน 
  • รักษาและป้องกันการติดเชื้อแอนแทรกซ์หลังจากการสูดดมเชื้อ
    ผู้ใหญ่ ให้ยาแบบ Infusion นานกว่า 60 นาที ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 60 วัน 
  • รักษาการติดเชื้อที่กระดูกและข้อ
    ผู้ใหญ่ ให้ยาแบบ Infusion นานกว่า 60 นาที ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง หรือ 3 ครั้ง เป็นเวลา 4–12 สัปดาห์ 

เมื่อลืมกินยา Ciprofloxacin ต้องทำอย่างไร  

ถ้าลืมกินยา ให้กินทันทีที่นึกออก โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า ในกรณีที่นึกออกตอนใกล้เวลากินยาอีกรอบ ให้ข้ามไปกินมื้อถัดไปได้เลย และไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่าอีกเหมือนกัน 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Ciprofloxacin

ยา Ciprofloxacin อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง กลืนลำบาก ปวดศีรษะ มึนงง สับสน นอนไม่หลับ สั่น ง่วงซึม ฝันร้าย เห็นภาพหลอน ไวต่อแสง ยาตกผลึกในปัสสาวะ ค่าไนโตรเจนในกระแสเลือด (Blood urea nitrogen: BUN) สูงขึ้น ค่าการทำงานของตับผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ บวมน้ำ วูบ ส่งผลต่อเส้นเอ็น และในกรณีที่เป็นยาฉีด อาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณที่ฉีดได้ด้วย 

นอกจากนี้ ตัวยายังมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น แพ้ยาจนทำให้หน้าบวม ปากบวม คอบวม เป็นลมพิษ หายใจลำบาก หรือท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Clostridium difficile (CDAD)

การได้รับยาเกินขนาดอาจทำให้มึนงง ปวดศีรษะ สั่น หนื่อย ชัก เห็นภาพหลอน สับสน ไม่สบายท้อง หรือส่งผลต่อการทำงานของตับและไตได้ ถ้ามีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปหาหมอทันที 

ข้อมูลในการใช้ยา Ciprofloxacin ในผู้มีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตร 

ยาไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) จัดอยู่ในกลุ่มยาประเภท C เป็นยาที่เสี่ยงต่อความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ จึงควรระมัดระวังการใช้ยานี้กับผู้มีครรภ์และผู้ที่กำลังให้นมบุตร และก่อนใช้ยาต้องพูดคุยกับหมอถึงวิธีใช้ยา ประโยชน์ และอันตรายจากการใช้ยาด้วย 

ประเภทของยา Ciprofloxacin ตามข้อมูลจากองค์การอาหารและยา ประเทศไทย

จากข้อมูลขององค์การอาหารและยา ประเทศไทย ไซโปรฟลอกซาซิน (Ciprofloxacin) จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย จำหน่ายเฉพาะในร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรชั้นหนึ่งเป็นผู้จ่ายยาเท่านั้น 

การเก็บรักษายา Ciprofloxacin

  • แบบเม็ดสำหรับกิน ควรเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส
  • แบบฉีดควรเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิ 5–30 องศาเซลเซียส และเก็บให้พ้นจากแสงแดด

อ่านบทความความรู้ด้านสุขภาพแบบรอบด้านจาก HDBlog ได้ที่นี่

อย่าลืมตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ป่วยเป็นอะไร จะได้รักษาให้หายไว ๆ
HDmall อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยดูแลสุขภาพของคุณ เราเลยมัดรวมโปรแกรมตรวจสุขภาพมาให้ ถ้าหาอันไหนไม่เจอ ทักหาแอดมินของเราได้เลย! 


ตรวจสอบความถูกต้องโดย ทีมแพทย์ HD

ที่มาของข้อมูล

  • Zhanel GG, Fontaine S, Adam H, Schurek K, Mayer M, Noreddin AM, Gin AS, Rubinstein E, Hoban DJ (2006). “A Review of New Fluoroquinolones : Focus on their Use in Respiratory Tract Infections”. Treatments in Respiratory Medicine. 5 (6): 437–65. doi:10.2165/00151829-200605060-00009. PMID 17154673.
  • “Ciprofloxacin Hydrochloride”. The American Society of Health-System Pharmacists. Archived from the original on 23 September 2015. Retrieved 23 August 2015.
Scroll to Top