อุณหภูมิที่ร้อนจัดสามารถทำให้เกิดอาการแพ้ที่เรียกว่า “โรคลมพิษ (Urticaria)” ได้ โดยโรคนี้จะส่งผลต่อผิวของผู้ป่วยโดยตรง เพราะอากาศ และอุณหภูมิในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงของฉับพลัน นอกจากนี้โรคลมพิษยังเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสแดด หรือแหล่งที่ให้ความร้อนอื่นๆ เป็นเวลานานด้วย และยังเกิดได้จากการออกกำลังกายหนักๆ (High Impact)
สารบัญ
อาการของโรคลมพิษ
- มีผื่นแดงขึ้นบนผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณแก้ม คอ ใต้หน้าอก หรือบริเวณอื่นๆ ที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้
- รู้สึกคัน และแสบร้อน
- มีไข้
- อาเจียน
อาการของโรคลมพิษนอกจากรักษาได้ด้วยยาต้านฮิสตามีนและสเตียรอยด์แล้ว ยังมีวิธีรักษาอื่นๆ โดยอาศัยวัตถุดิบจากธรรมชาติอีก ดังนี้
6 วิธีช่วยบรรเทาอาการแพ้ที่เกิดจากความร้อนอย่างง่ายๆ
1. น้ำแข็ง หรือการประคบเย็น
การประคบน้ำแข็งบนผิวถือเป็นหนึ่งในวิธีที่รู้จักกันดีที่สุดซึ่งช่วยลดการระคายเคืองที่เกิดจากการแพ้ความร้อนได้ เพราะความเย็นจากน้ำแข็งจะช่วยลดการอักเสบได้ดี ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิต และการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายดีขึ้น
วิธีใช้
- นำน้ำแข็งหลายก้อนไปห่อในผ้านุ่มๆ และนำมาประคบบริเวณที่ระคายเคืองเบาๆ เป็นเวลา 5-10 นาที
- ทำซ้ำ 2-3 ครั้งต่อวัน
2. น้ำมันมะกอก
มีการพิสูจน์แล้วว่า กรดไขมันจำเป็น (Essential Fatty Acid: EFA) ในน้ำมันมะกอกสามารถช่วยต่อสู้กับปัญหาผิวแห้ง และปัญหาแก่ก่อนวัยได้อย่างดีเยี่ยม
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาว่า น้ำมันมะกอกช่วยในการรักษาอาการคัน แถมยังมีการศึกษาว่าการทาน้ำมันมะกอกทำให้ชั้นผิวเสียหายซึ่งอาจทำให้เกิดผื่นแพ้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้น้ำมันมะกอก
วิธีใช้
- เทน้ำมันมะกอกบนผิวเพียงเล็กน้อย และถูเบาๆ
- ปล่อยให้น้ำมันซึมเข้าผิว และทำซ้ำ 2 วันต่อครั้ง
3. ว่านหางจระเข้
เจลว่านหางจระเข้ขึ้นชื่อเรื่องการให้ความชุ่มชื้นต่อผิวเพราะมีคุณสมบัติช่วยลดผื่นและลดรอยแดงที่เกิดจากความร้อนได้ ด้วยความที่ว่านหางจระเข้อุดมไปด้วยน้ำและสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) จึงช่วยให้ผิวชุ่มชื้น และทำให้ค่ากรดด่างที่ผิวสมดุล
อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่า ว่านหางจระเข้สามารถรักษาลมพิษได้ แต่มีการรายงานถึงการแพ้ว่านหางจระเข้ ดังนั้นผู้ที่จะใช้ว่านหางจระเข้บรรเทาอาการลมพิษจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง หากมีอาการแพ้ควรหยุดใช้ทันที
วิธีใช้
- ถูเจลว่านหางจระเข้ 1 ช้อนโต๊ะในบริเวณที่มีปัญหา
- รอประมาณ 20 นาที แล้วค่อยล้างออกด้วยน้ำเย็น
- ทำเช่นนี้ 3 ครั้งต่อวัน
4. ชาคาโมมายล์
ชาคาโมมายล์แบบเย็นเป็นโลชั่นที่ช่วยเพิ่มความสดชื่น คุณสามารถดื่มชาคาโมมายล์โดยตรงเพื่อควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
แต่ควรระวังอาการแพ้คาโมมายล์ด้วย เนื่องจากเคยมีรายงานว่า มีผู้แพ้ชาคาโมมายล์แบบอานาฟิแลกซิส
หากไม่แน่ใจว่า คุณแพ้ชาคาโมมายล์หรือไม่ นอกจากการตรวจภาวะแพ้และภูมิแพ้อาหารแล้ว คุณอาจตรวจภาวะภูมิแพ้อาหารแฝงร่วมด้วย เพื่อความปลอดภัยในการใช้ชาคาโมมายล์
วิธีใช้
- ใส่คาโมมายล์แบบแห้ง 1 ช้อนโต๊ะลงในน้ำร้อน 1 แก้ว และปล่อยทิ้งไว้ 10 นาที
- เมื่ออุณหภูมิอยู่ในระดับที่คุณสามารถทนได้แล้ว ให้นำมาถูบริเวณที่มีปัญหา
- ดื่มชาคาโมมายล์ 1-2 แก้วต่อวัน
5. โอ๊ตมีล
โอ๊ตมีลมีสารที่ช่วยเติมความชุ่มชื้น อีกทั้งยังช่วยซ่อมแซมและบำรุงผิวได้ด้วย ดังนั้นจึงมีผู้นำโอ๊ตมีลมาใช้ในการบรรเทาผื่นแพ้จำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาที่ระบุว่า โอ๊ตมีลเป็นหนึ่งในสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผื่นแพ้ได้ ดังนั้นจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
วิธีใช้
- ใส่ข้าวโอ๊ต 1 ถ้วย ในอ่างอาบน้ำ และปล่อยทิ้งไว้ 5 นาที หรือจะผสมข้าวโอ๊ตกับน้ำกุหลาบ และนำไปนวดบริเวณผิวที่มีปัญหาก็ได้
- ทำซ้ำวันละ 1 ครั้ง จนกระทั่งควบคุมอาการได้
6. น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ล
น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลมีประโยชน์ในแง่ของการควบคุมกรดด่างของผิวตามธรรมชาติ แต่ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิ้ลนั้นสามารถช่วยบรรเทาอาการลมพิษ หรือทำให้เกิดอาการแพ้มากขึ้น
วิธีใช้
- ผสมน้ำ และน้ำส้มสายชูในอัตราส่วนเท่ากัน แล้วนำไปบรรจุในขวดสเปรย์ และพ่นให้ทั่วบริเวณที่มีปัญหา
- ปล่อยให้ซึมเข้าผิวอย่างเป็นธรรมชาติ และทำซ้ำ 2 ครั้งต่อวัน
คุณจะเห็นได้ว่า วิธีการบรรเทาอาการลมพิษทั้ง 6 แบบนั้นไม่ได้มีขั้นตอนซับซ้อน อีกทั้งวัตถุดิบทางธรรมชาติเหล่านี้ยังจะช่วยบำรุงผิวให้ดูดีขึ้นกว่าเดิมได้อีกด้วย นี่อาจจะเป็นไอเดียใหม่ๆ ของการรักษาโรคลมพิษได้
อย่างไรก็ตาม วิธีป้องกันไม่ให้คุณเกิดโรคลมพิษจากอุณหภูมิร่างกายที่ร้อนจัด นั่นคือ ให้คุณหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่ร้อนจัด หรืออับ และไม่มีอากาศถ่ายเท ให้ใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนา สามารถถ่ายเทความร้อนข้างในร่างกายได้เป็นอย่างดี
เหล่านี้เป็นวิธีการหลัก แต่ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาเรื่องการตรวจหาสาเหตุของอาการแพ้ต่อไป เพียงเท่านี้ร่างกายของคุณก็จะห่างไกลจากโรคลมพิษได้แล้ว
ตรวจสอบความถูกต้องโดย นพ. พิสุทธิ์ พงษ์ชัยกุล