8 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษาถุงน้ำรังไข่ scaled

8 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษาถุงน้ำรังไข่

คุณกำลังจะเข้ารับการผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ หรือเนื้องอกรังไข่ อยู่หรือเปล่า มีเรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับการผ่าตัดเพิ่มเติมไหม เรารวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว อ่านได้ที่นี่ ครบทุกประเด็น

1. ภาวะถุงน้ำรังไข่ ไม่รักษาได้หรือไม่?

ตอบ: ภาวะถุงน้ำในรังไข่ หากเป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง (Functional Cyst) ที่เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่ ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา เพราะถุงน้ำชนิดนี้จะยุบตัวและฝ่อไปเอง

แต่ถ้าเป็นถุงน้ำชนิดอื่นๆ เช่น ถุงน้ำเดอร์มอยด์ ถุงน้ำที่เกิดจากการที่เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ หรือที่รู้จักในชื่อ ช็อกโกแลตซีสต์ ถุงน้ำเหล่านี้จะไม่สามารถยุบตัว หรือไปได้เอง จำเป็นต้องได้รับการรักษา หรือผ่าตัด

ทั้งนี้หากปล่อยทิ้งไว้อาการต่างๆ เช่น ปวดท้องน้อย หรือประจำเดือนมาผิดปกติ จะไม่มีวันหายไป และยังอาจเกิดความเสี่ยงตามมาได้ เช่น ถุงน้ำรั่ว แตก หรือบิดขั้ว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยปวดท้องอย่างเฉียบพลัน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

หรืออีกกรณีคือ ถุงน้ำรังไข่บางชนิดอาจมีโอกาสพัฒนาไปเป็นมะเร็งรังไข่ได้ ซึ่งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง มีกระบวนการรักษาที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ระยะเวลารักษานานขึ้น และค่าใช้จ่ายสูงขึ้นอีกด้วย

กำลังสงสัย รังไข่เราปกติดีหรือเปล่า การตรวจความผิดปกติรังไข่-ท่อนำไข่มีกี่วิธี? แบบไหนบ้าง อธิบายทุกวิธีครบจบในที่เดียว อ่านเพิ่มเติมคลิก

2. ผ่าตัดรังไข่แบบเปิด หรือแบบส่องกล้อง แบบไหนดีกว่ากัน?

ตอบ: การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่แบบเปิดหน้าท้อง หรือการผ่าตัดแบบดั้งเดิม เป็นการผ่าตัดเปิดแผลบริเวณหน้าท้อง ความยาวประมาณ 6-8 นิ้ว สามารถรักษาความผิดปกติได้ทุกกรณี แต่ผู้ป่วยจะมีแผลเป็นบริเวณหน้าท้อง รวมทั้งใช้ระยะเวลาพักฟื้นนานกว่า 

ส่วน การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่โดยการส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง เป็นการผ่าตัดโดยใช้การส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง โดยจะกรีดเปิดแผลใต้สะดือ ขนาดเพียง 0.5-1 เซนติเมตร ประมาณ 2-3 จุด 

ข้อดีคือแผลจะมีขนาดเล็ก เจ็บน้อยกว่า และฟื้นตัวได้ไวกว่า แต่ก็มีข้อจำกัดคือ ถ้าถุงน้ำมีขนาดใหญ่ 15 เซนติเมตรขึ้นไป จะไม่สามารถผ่าตัดด้วยวิธีนี้ได้

3. หลังผ่าตัดภาวะถุงน้ำรังไข่ ต้องพักฟื้นกี่วัน เมื่อไหร่ไปทำงานได้?

ตอบ: สำหรับการผ่าตัดรังไข่แบบเปิดหน้าท้อง จะต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ​ 3 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1-2 สัปดาห์

ขณะที่การผ่าตัดถุงน้ำในรังไข่โดยการส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง ส่วนใหญ่จะพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 1-3 วัน และพักฟื้นต่อที่บ้านประมาณ 1 สัปดาห์

4. อาการข้างเคียงหลังการผ่าตัดภาวะถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ รังไข่ ท่อนำไข่ เป็นอย่างไร?

ตอบ: อาการข้างเคียงโดยทั่วไปที่เกิดขึ้นได้หลังจากการดมยสลบ เช่น เจ็บคอ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ส่วนอาการข้างเคียงหลังฉีดยาชาบริเวณหลัง เช่น อาการคันตามตัว คันตามใบหน้า คลื่นไส้อาเจียน หรือท้องอืด โดยอาการจะเป็นมากในวันแรก หลังจากนั้นอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นจนกลับเป็นปกติ

5. หลังจากการผ่าตัดรับประทานอาหารได้เมื่อไหร่?

ตอบ: แพทย์จะให้งดน้ำและอาหารจนครบ 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด หลังจากนั้นเริ่มให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเหลวทีละน้อยๆ ก่อน และค่อยๆ เพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย

6. หลังจากตัดรังไข่ออกไปแล้วจะมีบุตรได้หรือไม่?

ตอบ: ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการผ่าตัดรูปแบบใด 

    • กรณีตัดรังไข่ออก 1 ข้าง แต่ไม่ได้ตัดมดลูกออก หากรังไข่ข้างที่เหลืออยู่ ยังทำงานได้ตามปกติ ร่างกายจะแทบไม่ได้รับผลกระทบ ยังคงมีฮอร์โมนเพศ มีการตกไข่ ตั้งครรภ์ได้ และมีประจำเดือนตามปกติ
    • กรณีตัดรังไข่ออก 2 ข้าง แต่ไม่ได้ตัดมดลูกออก ร่างกายจะขาดทั้งเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศหญิง แต่ยังมีมดลูกสำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคต โดยจำเป็นต้องใช้เซลล์ไข่จากผู้อื่น หรือหากเคยฝากไข่ไว้ ก็สามารถใช้ไข่ของตัวเองได้ ร่างกายจะไม่มีประจำเดือน และเข้าสู่ภาวะวัยทองทันที ยกเว้นจะได้รับฮอร์โมนทดแทนจากแพทย์
    • กรณีตัดรังไข่ออก 2 ข้าง และตัดมดลูกออก ร่างกายจะขาดทั้งเซลล์สืบพันธุ์และฮอร์โมนเพศหญิง และไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ไม่มีประจำเดือน ส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำการผ่าตัดนี้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีบุตรแล้ว และอยู่ในช่วงวัยสูงอายุ

หากต้องผ่าตัดรังไข่ ท่อนำไข่ และกำลังมองหาแพคเก็จราคาไม่แพง ทักหา HDcare เราพร้อมช่วยคุณทำนัดปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง รวดเร็ว ทันใจ ไม่ต้องรอคิวนาน คลิกที่นี่เลยคลิกที่นี่เลย

7. หลังจากตัดรังไข่ออกไปแล้ว จะเข้าสู่วัยทองหรือไม่?

ตอบ: หากตัดรังไข่ออกเพียง 1 ข้าง และรังไข่ข้างที่เหลืออยู่ ยังทำงานได้ตามปกติ ร่างกายจะแทบไม่ได้รับผลกระทบ ยังคงมีฮอร์โมนเพศ มีการตกไข่ ตั้งครรภ์ได้ และมีประจำเดือนตามปกติ

แต่กรณีที่ตัดรังไข่ออก 2 ข้าง ร่างกายจะไม่มีประจำเดือน และเข้าสู่ภาวะวัยทองทันที

หากผู้ป่วยอยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน จะถือว่าไม่กระทบมากนัก เพราะก็ใกล้สู่วัยทองแล้ว 

แต่ในกรณีที่หญิงวัยเจริญพันธุ์จำเป็นต้องตัดรังไข่ออก 2 ข้าง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แพทย์อาจจะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อรักษาต่อไป 

เปรียบเทียบ ผ่าตัดถุงน้ำรังไข่ แบบเปิด แบบส่องกล้อง ข้อมูลครบ จบในที่เดียว อ่านเพิ่มเติมคลิก 

8. หลังผ่าตัดรังไข่ จะยังมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม?

ตอบ: หลังจากที่ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดรังไข่ ต้องงดมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 4-6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันบาดแผลได้รับความกระทบกระเทือน ฉีกขาด หรือติดเชื้อ แต่หลังจากนั้น สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ

ยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผ่าตัดถุงน้ำรังไข่หรือเปล่า อยากปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง ทักมาหา HDcare  เราพร้อมช่วยคุณทำนัดปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง รวดเร็ว ทันใจ ไม่ต้องรอคิวนาน คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top