รู้ไหม? ผู้หญิงทุกคน มีไข่จำนวนจำกัด! ยิ่งอายุมากขึ้น ปริมาณไข่ก็น้อยลง และคุณภาพก็ลดลงเรื่อยๆ ด้วย
ถ้ายังไม่อยากมีลูกตอนนี้ แต่ไม่อยากให้ไข่เสื่อมสภาพ อยากให้ลูกแข็งแรง การฝากไข่คือคำตอบ บทความนี้เราได้รวบรวมทุกเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการฝากไข่เอาไว้แล้ว
สารบัญ
- 1. ฝากไข่คืออะไร?
- 2. ทำไมต้องฝากไข่?
- 3. ฝากไข่อายุเท่าไหร่ดี? ฝากไข่หนึ่งครั้งเก็บได้กี่ฟอง? เก็บไข่ไว้ได้กี่ปี?
- 4. ผสมเทียม 1 ครั้ง (IVF, ICSI) ต้องใช้ไข่กี่ฟอง?
- 5. ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่ตกเจ็บไหม ยุ่งยากแค่ไหน?
- 6. ฉีดฮอร์โมนจะอ้วนขึ้นไหม นานแค่ไหนน้ำหนักถึงกลับมาปกติ?
- 7. ฝากไข่ แช่แข็งไข่ อันตรายไหม มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?
- 8. ยังไม่แต่งงาน ฝากไข่ได้ไหม? ถ้าอยากมีลูก แต่ยังไม่มีสามี ใช้อสุจิของผู้บริจาคแทนได้รึเปล่า?
- 9. เลือกคลินิกหรือโรงพยาบาลไหนดี?
- 10. ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แพงรึเปล่า?
1. ฝากไข่คืออะไร?
ตอบ: ฝากไข่ แช่แข็งไข่ (Egg Freezing) คือ การเอาไข่ที่สมบูรณ์ออกมาจากรังไข่ แล้วแช่แข็งไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า -196° ซึ่งไข่จะถูกหยุดอายุ ไม่ให้เสื่อมสภาพ ถ้าในอนาคตพร้อมมีลูก ค่อยนำออกมาใช้งาน ซึ่งไข่ของเราก็จะมีคุณภาพดี สมบูรณ์เหมือนเดิม
2. ทำไมต้องฝากไข่?
ตอบ: การฝากไข่เป็นการเพิ่มโอกาสตั้งท้องและลดโอกาสเสี่ยงที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรม เพราะคุณภาพของไข่ก็จะถูกหยุดไว้ตอนอายุที่ไข่ถูกเก็บ โดยยิ่งอายุมาก ปริมาณไข่ก็น้อยลง คุณภาพของไข่ก็จะแย่ลง ทำให้มีลูกได้ยากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า คนที่มีลูกหลังอายุ 35 ปี โอกาสที่ลูกจะเป็นดาวน์ซินโดรมจะสูงขึ้นมาก และยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเสี่ยงก็ยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยสถิติเฉลี่ยคือ
- อายุ 25 ปี โอกาสเสี่ยง 1 ใน 1,200
- อายุ 35 ปี โอกาสเสี่ยง 1 ใน 350
- อายุ 45 ปี โอกาสเสี่ยง 1 ใน 30
รีบปรึกษาคุณหมอ เพิ่มโอกาสท้อง-ลดโอกาสเสี่ยงดาวน์ซินโดรม วันนี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย คลิกเลย!
3. ฝากไข่อายุเท่าไหร่ดี? ฝากไข่หนึ่งครั้งเก็บได้กี่ฟอง? เก็บไข่ไว้ได้กี่ปี?
ตอบ: จริงๆ แล้วสามารถฝากไข่ได้ทุกวัยที่มีประจำเดือน แต่ยิ่งฝากไข่ตอนอายุน้อย ยิ่งดี เพราะจะเก็บไข่ได้มากและคุณภาพดี โดยคุณหมอแนะนำว่าควรฝากไข่ก่อนอายุ 35 ปี จะดีที่สุด แต่ถ้าอายุมากกว่านี้ก็เก็บได้เช่นกัน แต่ปริมาณไข่ที่เก็บได้อาจจะน้อยลง โดยเฉลี่ยแต่ละช่วงอายุจะเก็บไข่ได้ดังนี้
-
- อายุ 30 ปี ปริมาณไข่ที่เก็บได้ ประมาณ 10-15 ฟอง
- อายุ 35 ปี ปริมาณไข่ที่เก็บได้ ประมาณ 10 ฟอง
- อายุ 40 ปี ปริมาณไข่ที่เก็บได้ ประมาณ 6-8 ฟอง
ส่วนระยะเวลาในการแช่แข็งไข่ ยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนว่าเก็บได้สูงสุดกี่ปี แต่มีบางคนเก็บไว้นานนับ 10 ปี ตอนเอาออกมาใช้ก็ยังตั้งท้องได้สำเร็จ
4. ผสมเทียม 1 ครั้ง (IVF, ICSI) ต้องใช้ไข่กี่ฟอง?
ตอบ: ปกติการผสมเทียม 1 ครั้ง คุณหมอจะใช้ไข่ประมาณ 6 ฟอง เพื่อเพิ่มโอกาสสำเร็จ เพราะแม้ว่าไข่ที่เราเก็บไว้จะสมบูรณ์มากๆ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของอสุจิ และความสมบูรณ์ของมดลูกด้วย ไม่ได้แปลว่าไข่ทุกฟองจะมีโอกาสติด 100% ฉะนั้นถ้าอายุมาก เก็บไข่ได้น้อย โอกาสสำเร็จก็อาจจะน้อยลงด้วย
ยิ่งรีบเก็บตอนอายุยังน้อย ยิ่งได้ไข่ที่ไข่ปริมาณเยอะ แถมคุณภาพดี ไม่ต้องเสียเวลาและเสียเงินเก็บไข่หลายที
5. ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นให้ไข่ตกเจ็บไหม ยุ่งยากแค่ไหน?
ตอบ: เจ็บเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเข็มที่ฉีดฮอร์โมนมีขนาดเล็กมาก แต่อาจจะยุ่งยากเล็กน้อย เพราะต้องฉีดเองติดต่อกันประมาณ 8 – 10 วัน โดยจิ้มไปหน้าท้อง บริเวณข้างๆ สะดือ ถ้าใครกลัวเข็ม อาจจะไปเลือกวิธีไปโรงพยาบาลทุกวันเพื่อให้พยาบาลฉีดให้ก็ได้
6. ฉีดฮอร์โมนจะอ้วนขึ้นไหม นานแค่ไหนน้ำหนักถึงกลับมาปกติ?
ตอบ: หลังฉีดฮอร์โมน มีโอกาสอ้วนขึ้น จากอาการบวมน้ำ พุงป่อง (ไม่ได้อ้วนขึ้นจากไขมันที่เพิ่มขึ้น) ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปหลังการฉีดฮอร์โมน
โดยอาการนี้จะหายไปหลังจากเก็บไข่เสร็จและประจำเดือนมา น้ำหนักจะค่อยๆ ลดลงและท้องยุบลงจนเป็นปกติ รวมเวลาที่จะอ้วนขึ้นและน้ำหนักกลับมาเป็นปกติ ประมาณ 1 เดือน
7. ฝากไข่ แช่แข็งไข่ อันตรายไหม มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?
ตอบ: การฝากไข่ไม่อันตราย แต่อาจมีผลข้างจากการฉีดฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้ไข่ตก เช่น คลื่นไส้เล็กน้อย มีมูกใสๆ ออกจากช่องคลอด คล้ายกับช่วงที่เราไข่ตกระหว่างมีประจำเดือน อาจมีอาการบวมน้ำ ท้องป่อง น้ำหนักขึ้น ซึ่งอาการนี้จะหายไปหลังจากเก็บไข่เสร็จแล้ว
นอกจากนี้หลังจากการเก็บไข่เสร็จ อาจรู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน คัดหน้าอก ปวดศีรษะ มีอาการปวดหน่วงๆ ท้องน้อย เหมือนปวดประจำเดือน หรือแน่นท้องได้บ้าง และรอบประจำเดือนจะมาไม่เหมือนรอบเดิม แต่ไม่ใช่อาการข้างเคียงที่ส่งผลร้ายแรง
อยากมีลูก แต่ตอนนี้ยังไม่พร้อม ฝากไข่คือคำตอบ ช่วยคงสภาพไข่ ให้สมบูรณ์ที่สุด รอวันที่คุณพร้อมที่สุดสำหรับการตั้งครรภ์ ค้นหาแพ็กเกจฝากไข่ หรือปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง คลิกเลย
8. ยังไม่แต่งงาน ฝากไข่ได้ไหม? ถ้าอยากมีลูก แต่ยังไม่มีสามี ใช้อสุจิของผู้บริจาคแทนได้รึเปล่า?
ตอบ: ผู้หญิงทุกคนสามารถฝากไข่ได้ แต่ตอนที่จะนำไข่ออกมาใช้ กฎหมายระบุว่าต้องมีทะเบียนสมรสมายืนยัน ถ้าต้องการใช้อสุจิที่มีผู้บริจาค ก็ต้องมีทะเบียนสมรสและให้สามีเซ็นยินยอมด้วย
9. เลือกคลินิกหรือโรงพยาบาลไหนดี?
ตอบ: ควรเลือกสถานพยาบาลที่มีมาตรฐานรองรับ มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มีเทคโนโลยีครบวงจร ทั้งการเก็บไข่ แช่แข็งไข่ ละลายไข่ การผสมเทียม การตรวจวินิจฉัยโรคทางพันธุกรรม เพราะในอนาคตเมื่อเราพร้อมท้อง ก็ต้องใช้เทคโนโลยีด้านการผสมเทียมอื่นๆ เช่น IVF, ICSI เพื่อช่วยในการท้องด้วย
แต่ก็สามารถฝากไข่และผสมเทียมคนละที่ได้ แต่ขั้นตอนการย้ายไข่อาจทำให้อุณหภูมิไม่เสถียร อาจจะมีผลต่อคุณภาพของไข่ได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายไข่เพิ่มเติมด้วย
10. ค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ แพงรึเปล่า?
ตอบ: ค่าใช้จ่ายของการฝากไข่จะแบ่งเป็น 2 ส่วน เวลาเปรียบเทียบแพ็กเกจฝากไข่ คุณสามารถเปรียบเทียบได้ตามรายการเหล่านี้
ส่วนแรกคือค่าแช่แข็งไข่
- ประมาณ 100,000 – 150,000 บาท สิ่งที่ต้องเปรียบเทียบคือ
- ราคาของแพ็กเกจรวมฮอร์โมนหรือไม่ ถ้ารวม ได้กี่หน่วย ถ้าไม่รวมหรือต้องการฮอร์โมนมากกว่าที่มีในแพ็กเกจ ต้องจ่ายหน่วยละเท่าไหร่?
- แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเราต้องใช้กี่หน่วย
- ต้องตรวจเลือดก่อน คุณหมอถึงรู้ว่าจะใช้ฮอร์โมนเท่าไหร่และปรับตามการตอบสนองของร่างกาย
- เคสส่วนใหญ่ใช้ฮอร์โมนและยากระตุ้นไข่ไม่เกิน 3,000 หน่วย ยังไม่มีเคสที่ใช้เกิน
- แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเราต้องใช้กี่หน่วย
- ราคาของแพ็กเกจรวมค่าฝากไข่ปีแรกหรือไม่ ถ้ารวม ได้กี่ฟอง ถ้าไม่รวมหรือค้องการฝากไข่มากกว่าที่มีในแพ็กเกจ ต้องจ่ายฟองละเท่าไหร่?
- ราคาของแพ็กเกจรวมฮอร์โมนหรือไม่ ถ้ารวม ได้กี่หน่วย ถ้าไม่รวมหรือต้องการฮอร์โมนมากกว่าที่มีในแพ็กเกจ ต้องจ่ายหน่วยละเท่าไหร่?
ส่วนที่สองคือค่าฝากไข่รายปี
- ส่วนใหญ่คลินิกหรือ รพ. จะคิดราคาฝากไข่ ประมาณ 1,000-2,000 บาท/ฟอง/ปี
- เช่น ถ้าคุณเก็บไข่ได้ 8 ฟอง แล้วที่คลินิกหรือ รพ. มีค่าเก็บอยู่ที่ 2,000 บาท/ฟอง/ปี คุณจะต้องจ่ายค่าฝากไข่ปีละ 16,000 บาท
รู้ข้อมูลครบ แต่ยังลังเลใช่ไหม เราควรฝากไข่หรือเปล่า? นัดคุยกับคุณหมอเฉพาะทาง ผ่านทีม HDcare สะดวกรวดเร็ว ทันใจ หรือค้นหาแพ็กเกจตรวจคัดกรองภาวะมีบุตรยาก จาก ร.พ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย