cardiovascular treatment comparison 01 scaled

วิธีรักษาโรคหัวใจ ผ่าตัด ไม่ผ่าตัด มีวิธีไหนบ้าง

แนวทางการรักษาโรคหัวใจมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค รวมถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งหลายคนอาจกังวลว่าการรักษาโรคหัวใจนั้น จำเป็นต้องผ่าตัดเพียงอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วทุกวันนี้การรักษาโรคหัวใจไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเสมอไป หรือหากจำเป็นต้องผ่าตัด วิวัฒนาการทางการแพทย์ก็พัฒนาไปมาก จนทำให้การผ่าตัดไม่น่ากลัว หรือมีความเสี่ยงสูงอย่างที่หลายคนกังวล 

มาดูกันว่า การรักษาโรคหัวใจทั้งแบบผ่าตัด และไม่ผ่าตัด มีวิธีไหนบ้าง และแต่ละวิธีเหมาะกับใคร ข้อดี ข้อจำกัด เป็นไรอย่าง

การรักษาโรคหัวใจแบบไม่ผ่าตัด

ตามปกติแล้ว หากผู้ป่วยมีอาการของโรคหัวใจที่ไม่รุนแรง หรืออยู่ในภาวะที่ควบคุมได้ แพทย์มักแนะนำให้รักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดก่อน โดยวิธีการรักษาโรคหัวใจแบบไม่ผ่าตัด มีดังนี้

1. การรักษาด้วยยา

แพทย์จะให้ผู้ป่วยรับประทานยา เช่น ยาขยายหลอดเลือดหัวใจ ยาลดไขมันในเลือด หรือยาควบคุมความดันโลหิต เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยมักจะให้รักษาไปพร้อมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นปัจจัยเสี่ยง เช่น ควบคุมอาหาร ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

เหมาะกับใคร

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะแรก เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่ยังไม่รุนแรง
  • ผู้ป่วยโรคหัวใจที่แพทย์ประเมินแล้วว่าสามารถควบคุมโรคได้ด้วยการใช้ยา

2. การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน

การทำบอลลูนหัวใจ (Balloon Angioplasty) คือกระบวนการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตันโดยไม่ต้องผ่าตัด โดยแพทย์จะผ่าตัดเปิดแผลขนาดเล็กบริเวณขาหนีบ หรือข้อมือ จากนั้นจะสอดสายสวนหัวใจ ซึ่งเป็นท่ออ่อนที่มีบอลลูนขนาดเล็กอยู่ตรงปลาย เข้าไปทางหลอดเลือด เมื่อถึงตำแหน่งที่หลอดเลือดตีบ จึงดันขยายบอลลูนออก เพื่อถ่างขยายผนังหลอดเลือดที่ตีบแคบ เพราะไขมันหรือคราบหินปูนต่างๆ ให้กางออก เพื่อให้เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ดีอีกครั้ง

ปัจจุบันแพทย์มัก ทำบอลลูนหัวใจควบคู่กับการใส่ขดลวดถ่างขยาย (Stent) ที่มีลักษณะที่เป็นโครงตาข่าย เข้าไปค้ำยันผนังหลอดเลือดที่ตีบ เพื่อเสริมความแข็งแรงเพิ่มเติม ทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การขยายหลอดเลือดหัวใจตีบด้วยบอลลูน

คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

ทำความรู้จักวิธี การทำบอลลูนหัวใจคู่กับการใส่ขดลวดถ่างขยาย (Stent) แบบเจาะลึก ขั้นตอน ข้อดี ข้อจำกัด เจ็บไหม พักฟื้นนานแค่ไหน คลิกอ่านต่อ

เหมาะกับใคร

  • ผู้ป่วยที่เส้นเลือดหัวใจตีบขั้นรุนแรง
  • ผู้ป่วยที่มีการตีบหลายตำแหน่งในหลอดเลือด หรือลักษณะการตีบค่อนข้างยาว
  • ผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดทำ Bypass หัวใจแล้วมีการตีบซ้ำ
  • ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 
  • ผู้ที่ไม่ต้องการผ่าตัด หรือมีความเสี่ยงสูง ไม่สามารถผ่าตัดทำ Bypass หัวใจได้

4. การจี้ด้วยไฟฟ้าผ่านคลื่นเสียงความถี่สูง (Electro Physiologic Study and Radiofrequency Ablation)

เป็นวิธีการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) โดยแพทย์จะสอดสายสวน (Catheter) ที่มีขั้วไฟฟ้าขนาดเล็กเข้าไปในหลอดเลือดบริเวณขาหนีบหรือข้อมือ เพื่อตรวจหาตำแหน่งที่มีความผิดปกติของการส่งสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ 

จากนั้นจะใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงส่งผ่านทางสายสวนเข้าไปจี้ทำลายเนื้อเยื่อของหัวใจที่เป็นต้นเหตุของการเต้นผิดจังหวะ  ช่วยคืนจังหวะการเต้นของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ โดยวิธีนี้ให้ผลสำเร็จสูงประมาณ 95%

เหมาะกับใคร

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation)

5. การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ (Pacemaker Implantation)

การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการรักษาภาวะหัวใจเต้นช้าผิดปกติ (Bradycardia) หรือการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอ

แพทย์จะฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในหน้าอก ใต้ผิวหนังของผู้ป่วย แล้วใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเพื่อช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ โดยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปกระตุ้นให้หัวใจเต้น เมื่ออัตราการเต้นของหัวใจต่ำกว่าปกติ

เหมาะกับใคร

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้าเกินไป (Bradycardia) 
  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ หรือไม่สม่ำเสมอ

จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคหัวใจแบบไม่ผ่าตัดนั้นมีหลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะเหมาะกับอาการ ภาวะ และความรุนแรงของโรคที่แตกต่างกันไป รวมถึงให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันด้วย

แต่ขณะเดียวกัน บางอาการและผู้ป่วยบางราย ก็ไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีที่กล่าวมาข้างต้น จึงต้องมีการผ่าตัดรักษาโรคหัวใจ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง

การรักษาโรคหัวใจแบบผ่าตัด

การรักษาโรคหัวใจด้วยการผ่าตัด เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับการรักษาโรคหัวใจที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งปัจจุบันด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่พัฒนาไปมาก ทำให้การผ่าตัดไม่น่ากลัว หรืออันตรายอย่างที่หลายคนกังวล รวมทั้งหากผลการผ่าตัดเป็นไปได้ด้วยดี ไม่มีภาวะแทรกซ้อนใดๆ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยก็จะดีขึ้นมาก โดยการผ่าตัดที่ทำอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีดังนี้

1. การผ่าตัดบายพาสหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary Artery Bypass Surgery) เป็นการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน โดยแพทย์จะนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกาย เช่น ขา แขน หรือหน้าอก มาเชื่อมต่อกับหลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน เพื่อสร้างเส้นทางใหม่ให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้อย่างราบรื่น โดยไม่ต้องผ่านบริเวณที่ตีบหรืออุดตัน

แบบจำลองการผ่าตัดบายพาสหัวใจ

คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

การผ่าตัดบายพาสหัวใจมี 3 รูปแบบ ได้แก่

  1. การผ่าตัดบายพาสแบบหยุดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้รักษาโรคหัวใจมานานนับ 30 ปี โดยแพทย์จะผ่าตัดเปิดช่องอก และใช้ยาหยุดการเต้นของหัวใจเอาไว้ชั่วคราว และระหว่างผ่าตัดจะใช้อุปกรณ์พิเศษคือ เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On-Pump CABG) เป็นตัวช่วยให้เลือดยังสามารถไหลเวียนไปทั่วร่างกายโดยไม่ผ่านหัวใจได้ การผ่าตัดรักษาวิธีนี้ ให้ผลลัพธ์ที่ดีทั้งในระยะสั้น และระยะยาว
  2. การผ่าตัดบายพาสแบบไม่หยุดหัวใจ (Off-Pump Coronary Artery Bypass: OPCAB) วิธีนี้คล้ายคลึงกับวิธี CABG แตกต่างกันที่แพทย์จะไม่ใช้ยาเพื่อหยุดการเต้นของหัวใจ แต่จะใช้ “Local Stabilizer” เข้ามาหยุดพื้นที่ของหัวใจที่ต้องเชื่อมต่อทางเบี่ยงให้หยุดนิ่งเท่านั้น แต่พื้นที่ส่วนอื่นๆ ของหัวใจจะยังสูบฉีดเลือดตามปกติ วิธีนี้จะช่วยลดการเสียเลือด ลดเวลาในการผ่าตัดและการพักฟื้น รวมทั้งลดภาวะแทรกซ้อนจากเครื่องปอดและหัวใจเทียมลงได้ด้วย แต่ศัลยแพทย์จะต้องมีความชำนาญการสูง 
  3. การผ่าตัดบายพาสหัวใจแบบแผลเล็ก (Minimally Invasive Direct Coronary Artery Bypass Grafting) เป็นการผ่าตัดเทคนิคใหม่ที่ใช้อุปกรณ์พิเศษ ทำให้แพทย์ไม่ต้องผ่าเปิดช่องอกขนาดใหญ่ ช่วยให้แผลเป็นมีขนาดเล็กลง ลดการเสียเลือดและการพักฟื้น มักทำในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันอยู่บริเวณด้านหน้าของหัวใจ แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่หลอดเลือดหัวใจอุดตันมากกว่า 1 เส้น

เหมาะกับใคร

  • ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
  • ผู้ที่รักษาด้วยการขยายหลอดเลือด (Balloon Angioplasty) หรือการใส่ขดลวด (Stent) แล้วไม่ได้ผล

ทำความรู้จักวิธีการผ่าตัดบายพาสแบบไม่หยุดหัวใจ แบบเจาะลึก ขั้นตอน ข้อดี ข้อจำกัด เจ็บไหม พักฟื้นนานแค่ไหน คลิกอ่านต่อ

2. การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน (EVAR) 

การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน (Endovascular Aneurysm Repair – EVAR) เป็นวิธีการรักษาโรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง หรือฉีกขาด ใช้เพื่อซ่อมแซมและป้องกันการแตกของหลอดเลือด

แพทย์จะใส่หลอดเลือดเทียมชนิดขดลวดหุ้มกราฟต์ (Stent Graft) เข้าไปในหลอดเลือด เมื่อถึงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงโป่งพอง หรือฉีกขาด หลอดเลือดเทียมจะขยายตัวขึ้น ในขนาดเท่าหลอดเลือดแดงปกติ และแนบติดกับผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ ซึ่งเลือดจะไหลผ่านหลอดเลือดเทียมโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องผ่าตัดนำหลอดเลือดที่โป่งพองออก

การผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน (EVAR)

คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

เหมาะกับใคร

  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง
  • ผู้ป่วยที่มีปัญหาหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด หรือเสียหาย

ทำความรู้จักวิธีการผ่าตัดสอดใส่หลอดเลือดเทียมผ่านสายสวน (EVAR) แบบเจาะลึก ขั้นตอน ข้อดี ข้อจำกัด เจ็บไหม พักฟื้นนานแค่ไหน คลิกอ่านต่อ

3. การผ่าตัดซ่อมแซม / เปลี่ยนลิ้นหัวใจ

เป็นการผ่าตัดรักษาภาวะที่ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกติ เช่น ลิ้นหัวใจตีบ (ไม่เปิดพอให้เลือดไหลผ่าน) หรือลิ้นหัวใจรั่ว (ปิดไม่สนิททำให้เลือดไหลย้อนกลับ) ซึ่งส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวหากไม่ได้รับการรักษา

แพทย์จะพิจารณาว่าควรซ่อมแซมลิ้นหัวใจเดิม หรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจใหม่ ขึ้นอยู่กับความเสียหายของลิ้นหัวใจ

เหมาะกับใคร

  • การซ่อมแซมลิ้นหัวใจ เหมาะกับผู้ที่ลิ้นหัวใจยังมีโอกาสฟื้นฟูและยังไม่เสื่อมสภาพมาก 
  • การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ เหมาะกับผู้ที่ลิ้นหัวใจเสื่อมสภาพหรือมีความเสียหายรุนแรงจนไม่สามารถซ่อมแซมได้

4. การผ่าตัดหัวใจเทียม (Heart Transplant)

เป็นการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจากผู้บริจาคให้แก่ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรง หรือโรคหัวใจอื่นๆ ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีการอื่นได้อีกแล้ว โดยหัวใจของผู้ป่วยเดิมไม่สามารถทำงาน ในการส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เหมาะกับใคร

  • ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวอย่างรุนแรง ซึ่งไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่นๆ
  • ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ ทำให้การสูบฉีดเลือดล้มเหลว

Heart attack treatment scaled

คลิกที่นี่เพื่อดูภาพขนาดใหญ่

จะรู้ได้อย่างไรว่า ควรรักษาแบบผ่าตัด หรือไม่ผ่าตัด

การตัดสินใจว่าควรรักษาโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงของผู้ป่วย หากโรคหัวใจยังไม่รุนแรงมาก และผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ำต่อภาวะแทรกซ้อน การรักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด มักจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม

ในทางกลับกัน การผ่าตัดหัวใจมักจะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีโรครุนแรง ไม่สามารถรักษาด้วยยา หรือวิธีอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น หรือมีปัญหาหัวใจที่ซับซ้อน อาจต้องการการผ่าตัด เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว

จะเห็นได้ว่า การเลือกวิธีรักษาโรคหัวใจที่เหมาะสม ต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย ควรปรึกษาแพทย์ผู้เฉพาะทาง เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด

รักษาโรคหัวใจด้วยวิธีไหนดี? วิธีไหนเสี่ยงน้อย แต่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดสำหรับเรา? นัดคุยกับคุณหมอเฉพาะทาง ผ่านทีม HDcare สะดวกรวดเร็ว ทันใจ หรือค้นหาแพ็กเกจรักษาโรคหัวใจ จาก รพ. หรือคลินิกใกล้คุณได้ทันที คลิกที่นี่เลย

Scroll to Top