หากคุณกำลังประสบปัญหา ฟันสั้น เนื้อเหงือกเยอะ เหงือกนูน ขอบเหงือกไม่เท่ากัน จนอาจทำให้รูปปากไม่สวยงาม เวลายิ้มแล้วรู้สึกไม่มั่นใจ การทำเลเซอร์เหงือก (Gingivectomy) เป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ไขปัญหาเหงือกเยอะ ขอบเหงือกไม่สม่ำเสมอ ช่วยเสริมให้ฟันดูยาวขึ้น สร้างรอยยิ้มที่สวยขึ้นโดยไม่ต้องผ่าตัด
สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลก่อนทำเลเซอร์เหงือก ขั้นตอนทำเลเซอร์เหงือก ข้อดี-ข้อเสียและวิธีดูแลตัวเองหลังทำ HDmall.co.th รวบรวมมาให้แล้ว
สารบัญ
- เลเซอร์เหงือกคืออะไร?
- เลเซอร์เหงือกช่วยอะไรบ้าง?
- ข้อดีของการเลเซอร์เหงือก
- ข้อเสียของการเลเซอร์เหงือก
- เลเซอร์เหงือกเหมาะกับใคร
- เลเซอร์เหงือกไม่เหมาะกับใคร
- เลเซอร์เหงือกเจ็บไหม?
- การเตรียมตัวก่อนเลเซอร์เหงือก
- ขั้นตอนการเลเซอร์เหงือก
- หลังเลเซอร์เหงือกดูแลตัวเองอย่างไร?
- ความเสี่ยงของการเลเซอร์เหงือก
- เลเซอร์เหงือกอันตรายไหม?
- ทำเลเซอร์เหงือกแล้วอยู่ถาวรไหม?
- เลเซอร์เหงือกแล้วจัดฟันได้ไหม?
เลเซอร์เหงือกคืออะไร?
เลเซอร์เหงือก คือ วิธีการตัดเหงือกรูปแบบหนึ่ง โดยใช้เลเซอร์ตัดแต่งและเปลี่ยนรูปร่างของเหงือก ให้สวยงามขึ้น โดยจะตัดเหงือกบางส่วนออกเพื่อให้เห็นฟันเต็มซี่ และปรับแนวเหงือกให้เรียบเสมอกัน
เลเซอร์เหงือกช่วยอะไรบ้าง?
เลเซอร์เหงือก เป็นวิธีการเอาเนื้อเยื่อเหงือกบางส่วนออกเพื่อรักษาโรคเกี่ยวกับเหงือกและช่วยปรับรูปเหงือกให้สวยงาม โดยประโยชน์ของการเลเซอร์เหงือก อาจมีดังนี้
- ช่วยแก้ปัญหาเหงือกดำ
- ช่วยกรอความสูงของขอบเหงือก แก้ปัญหายิ้มเห็นเหงือกเยอะ
- ช่วยแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างฟันกับเหงือก ลดการติดของเศษอาหาร
- ช่วยแก้ปัญหาเหงือกไม่เท่ากันได้
- ช่วยกำจัดเนื้อเยื่อเหงือกอักเสบ
ข้อดีของการเลเซอร์เหงือก
ข้อดีของการใช้เครื่องเลเซอร์ในการผ่าตัดเหงือกมี ดังนี้
- ผ่าตัดเสร็จรวดเร็ว
- ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
- ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังผ่าตัดได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้มีดผ่าตัด
ข้อเสียของการเลเซอร์เหงือก
ข้อเสียของการใช้เครื่องเลเซอร์ผ่าตัดเหงือก มีดังนี้
- มีราคาแพง
- ต้องใช้ทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงในการผ่าตัด ด้านตกแต่งเหงือกโดยเฉพาะ
เลเซอร์เหงือกเหมาะกับใคร
คนที่เหมาะกับการใช้เลเซอร์เพื่อตกแต่งเหงือก มีดังนี้
- คนที่มีเนื้อเหงือกเยอะ เหงือกหนา เหงือกเกิน
- คนที่มีลักษณะเหงือกไม่สม่ำเสมอ
- คนที่ต้องการตัดแต่งเหงือก เพื่อปรับรอยยิ้ม
- คนที่เหงือกคลุมเนื้อฟันเยอะ
- คนที่ต้องการลดระดับเหงือกและกระดูก
เลเซอร์เหงือกไม่เหมาะกับใคร
แม้ว่าการเลเซอร์เหงือกจะมีความปลอดภัยสูง แต่กลุ่มคนที่ไม่เหมาะสำหรับการเลเซอร์เหงือก มักเป็นคนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง ดังนี้
- คนที่มีโรคเลือดออกง่าย
- คนที่มีโรคเบาหวานและแผลหายยาก
- คนที่แสดงอาการทางโรคระหว่างทำฟัน เช่น โรคหัวใจที่จะเจ็บหน้าอกขณะทำฟัน หรือโรคหอบที่อาการกำเริบขณะทำฟัน
ดังนั้นก่อนจะเลเซอร์เหงือ ควรแจ้งโรคประจำตัวต่างๆ ทั้งที่ปรากฏตามข้อด้านบน และไม่ได้ปรากฏในข้อต่างๆ ด้านบนให้ทันตแพทย์ทราบตั้งแต่ตอนประเมินสุขภาพฟันเบื้องต้น ทันตแพทย์จะได้วางแผนการรักษาด้วยวิธีอื่นต่อไปได้
เลเซอร์เหงือกเจ็บไหม?
การเลเซอร์เหงือกจะเจ็บน้อยกว่าการผ่าตัดเหงือกด้วยมีดผ่าตัด รวมถึงมีการใช้ยาชาเพื่อระงับความรู้สึกเจ็บร่วมด้วย หลังจากเลเซอร์เหงือกแล้วแผลจะหายเจ็บภายใน 2–3 วัน และช่องปากจะกลับมาเป็นปกติภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่การดูแลแผลและทำความสะอาดช่องปากถูกต้องตามคำแนะนำของทันตแพทย์
การเตรียมตัวก่อนเลเซอร์เหงือก
ก่อนวันทำเลเซอร์เหงือก ทันตแพทย์จะนัดตรวจสุขภาพฟัน เตรียมความพร้อมช่องปาก ดังนี้
- เอกซ์เรย์ (X-Ray) ช่องปาก
- รีมาร์กจุดที่จะใช้เลเซอร์ผ่าตัด
- อธิบายแผนการรักษาช่องปากเพื่อให้ผู้รับบริการ เตรียมตัวก่อนวันผ่าตัดเหงือก
- หากมีโรคประจำตัวหรือมียาทานประจำ ควรปรึกษาทันตแพทย์ทุกครั้ง
- หากเป็นคนที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ควรทำความสะอาดช่องปากให้สะอาดเป็นพิเศษ
ขั้นตอนการเลเซอร์เหงือก
การเลเซอร์เหงือกจะใช้เวลาประมาณ 1–2 นาทีต่อซี่ ขึ้นอยู่กับลักษณะเหงือกที่ต้องผ่าตัดออก และก่อนเริ่ม ทันตแพทย์จะตรวจสภาพเหงือกเบื้องต้นเพื่อประเมินความเหมาะสม หากมีจุดที่ต้องเลเซอร์เหงือกหลายจุด จะแบ่งทำเฉพาะจุดและนัดหมายเลเซอร์ในครั้งต่อไป สำหรับขั้นตอนการเลเซอร์เหงือกมีดังนี้
- ทันตแพทย์จะฉีดยาชาบริเวณเหงือกที่ต้องการผ่าตัด
- ทันตแพทย์จะใช้เลเซอร์ตัดเหงือกออก
- ในระหว่างการใช้เลเซอร์ผ่าตัดเหงือก จะใช้เครื่องดูดน้ำลายไปควบคู่กัน
- หลังจากตัดเหงือกไปบางส่วน ทันตแพทย์จะใช้เลเซอร์ในการตกแต่งเหงือกให้สวยงาม
- เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้ว จะใช้ผ้าก๊อตปิดที่แผล
หลังเลเซอร์เหงือกดูแลตัวเองอย่างไร?
แม้เลเซอร์เหงือกจะเกิดแผลเล็กน้อย และค่อนข้างมีความปลอดภัย แต่ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ และการดูแลช่องปากที่เหมาะสมด้วย ดังนี้
หลังจากผู้รับบริการทำเลเซอร์เหงือกเสร็จ ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากในการทำความสะอาดช่องปากในรอบ 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้แผลอักเสบได้ มีดังนี้
- ไม่ควรใช้ไหมขัดฟัน แปรงสีฟัน หรือน้ำยาบ้วนปากในรอบ 24 ชั่วโมงแรกหลังเลเซอร์เหงือก หรือตามทันตแพทย์แนะนำ
- ไม่ควรรับประทานอาหารหรือขนมที่เคี้ยวยาก เช่น เยลลี่ หมากฝรั่ง
- ไม่ควรรับประทานอาหารรสจัดและอาหารหมักดอง เพราะจะทำให้แผลหายยาก
- ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีความแข็ง เช่น น้ำแข็ง ถั่ว
- ไม่ควรสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
ความเสี่ยงของการเลเซอร์เหงือก
โดยปกติแล้วการเลเซอร์เหงือกมีโอกาสเกิดความเสี่ยงได้ค่อนข้างน้อย ซึ่งความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น อาจมีดังนี้
- อาจเกิดการแพ้ยาชา
- เหงือกอาจมีอาการอักเสบ
หลังจากเลเซอร์เหงือกแล้ว อาจมีอาการเจ็บแผลบริเวณที่ทำเลเซอร์ได้บ้าง แต่หากอาการเจ็บมากขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์โดยทันที
เลเซอร์เหงือกอันตรายไหม?
การผ่าตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ มีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำและไม่เป็นอันตราย เนื่องจากใช้เวลาไม่นาน ไม่มีการเย็บแผลและไม่ทำให้เกิดเลือดซึม อีกทั้งรอยแผลยังมีขนาดเล็ก สามารถหายเองได้ภายใน 2 สัปดาห์
ทำเลเซอร์เหงือกแล้วอยู่ถาวรไหม?
หลังทำเลเซอร์เหงือก หากขอบกระดูกเดิมไม่ได้ถูกแก้ไข จะทำให้เหงือกสามารถงอกขึ้นมาใหม่ได้ ทั้งนี้การงอกใหม่ของเหงือกขึ้นอยู่กับพันธุกรรม โครงสร้างขอบกระดูกของ และการดูแลรักษาสภาพฟันของแต่ละคน หากคุณดูแลรักษาสภาพฟันอย่างถูกต้อง ผลของเลเซอร์เหงือกจะอยู่นานมากขึ้น
เลเซอร์เหงือกแล้วจัดฟันได้ไหม?
หลังจากทำเลเซอร์เหงือกแล้วสามารถจัดฟันได้ นอกจากนี้การทำเลเซอร์เหงือก ยังช่วยเพิ่มพื้นที่ในการติดเครื่องจัดฟัน ทั้งนี้การเลเซอร์เหงือกสามารถทำก่อนหรือหลังการจัดฟันได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ กรณีทำเลเซอร์เหงือกหลังจัดฟัน จะช่วยเพิ่มความยาวของฟันและทำให้ริมฝีปากดูบางลงได้
การทำเลเซอร์เหงือก เป็นวิธีตัดแต่งเหงือกและผ่าตัดเหงือก ที่ความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงได้น้อย หลังทำเสร็จแพทย์จะแนะนำวิธีดูแลตัวเองและทำความสะอาดช่องปากที่ถูกต้อง
ที่มาของข้อมูล
- Healthline,Everything to Know About a Gingivoplasty , (https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/everything-to-know-about-a-gingivoplasty), 31 July 2020.
- Healthline, What to Expect from Gingivectomy , (https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/gingivectomy), 9 May 2019.